คลังเก็บหมวดหมู่: รายงาน ศปช.
รวมรายชื่อผู้เสียชีวิตเมษา-พฤษภา 53 และความคืบหน้าทางคดี
นอกเหนือ
ข้อมูลรายละเอียดการเสียชีวิตและการดำเนินคดีของผู้เสียชีวิต ทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐในช่วงเหตุการณ์การชุมนุมปี 2553 ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
วันที่ 10 เมษายน 2553
1. นายเกรียงไกร คำน้อย
2. นายอนันท์ ชินสงคราม
3. นายมนต์ชัย แซ่จอง
สี่แยกคอกวัว
4. นายธวัฒนะชัย กลัดสุข
5. นายไพรศล ทิพย์ลม
6. นายอำพน ตติยรัตน์
7. นายอนันต์ สิริกุลวาณิชย์
8. นายเทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์
9. นายสวาท วางาม
10. นายบุญธรรม ทองผุย
11. นายสมิง แตงเพชร
12. นายสมศักดิ์ แก้วสาร
13. นายนภพล เผ่าพนัส
ถนนดินสอ
14. นายบุญจันทร์ ไหมประเสริฐ
15. นายยุทธนา ทองเจริญพูลพร
16. นายวสันต์ ภู่ทอง (ศาลออกคำสั่งไต่สวนการตายแล้ว)
17. นายสยาม วัฒนนุกุล (ศาลออกคำสั่งไต่สวนการตายแล้ว)
18. นายจรูญ ฉายแม้น (ศาลออกคำสั่งไต่สวนการตายแล้ว)
19. นายฮิโรยูกิ มูราโมโต้ (Mr. Hiroyuki Muramoto) (ศาลออกคำสั่งไต่สวนการตายแล้ว)
20. นายทศชัย เมฆงามฟ้า (ศาลออกคำสั่งไต่สวนการตายแล้ว)
21. นายคนึง ฉัตรเท
22. พลทหาร ภูริวัฒน์ ประพันธ์
23. พลทหาร อนุพงษ์ เมืองรำพัน
24. พ.อ. ร่มเกล้า ธุวธรรม
25. พลทหาร สิงหา อ่อนทรง
26. พลทหาร อนุพงศ์ หอมมาลี
สวนสัตว์เขาดิน
27. นายมานะ อาจราญ (ศาลออกคำสั่งไต่สวนการตายแล้ว)
วันที่ 22 เมษายน 2553
28. นางธันยนันท์ แถบทอง
วันที่ 28 เมษายน 2553
29. ร้อยตรีณรงค์ฤทธิ์ สาละ (ศาลออกคำสั่งไต่สวนการตายแล้ว)
วันที่ 7 พฤษภาคม 2553
30. ส.ต.อ. กานต์ณุพัฒน์ เลิศจันทร์เพ็ญ
วันที่ 8 พฤษภาคม 2553
31. จ.ส.ต.วิทยา พรมสารี
วันที่ 13 พฤษภาคม 2553
ถนนพระราม 4
32. พล.ต. ขัตติยะ สวัสดิผล
33. นายชาติชาย ชาเหลา (ศาลออกคำสั่งไต่สวนการตายแล้ว)
วันที่ 14 พฤษภาคม 2553
ถนนพระราม 4
35. นายเสน่ห์ นิลเหลือง
36. นายอินแปลง เทศวงศ์
37. นายบุญมี เริ่มสุข (ศาลออกคำสั่งไต่สวนการตายแล้ว)
38. นายฐานุทัศน์ อัศวสิริมั่นคง (ศาลออกคำสั่งไต่สวนการตายแล้ว)
39. นายประจวบ ศิลาพันธ์ (ยื่นคำร้องไต่สวนการตาย 8 ก.ค. 56)
40. นายปิยะพงษ์ กิติวงศ์ (ยื่นคำร้องไต่สวนการตาย 8 ก.ค. 56)
41. นายสมศักดิ์ ศิลารักษ์ (ยื่นคำร้องไต่สวนการตาย 8 ก.ค. 56)
ถนนราชปรารภ
42. นายทิพเนตร เจียมพล
43. นายกิติพันธ์ ขันทอง
44. นายชัยยันต์ วรรณจักร
45. นายธันวา วงศ์ศิริ
46. นายบุญทิ้ง ปานศิลา
47. นายสรไกร ศรีเมืองปุน
48. นายเหิน อ่อนสา
49. น.ส.สัญธะนา สรรพศรี
50. นายมนูญ ท่าลาด
51. นายพัน คำกอง (ศาลออกคำสั่งไต่สวนการตายแล้ว)
52. ด.ช. คุณากร ศรีสุวรรณ (ศาลออกคำสั่งไต่สวนการตายแล้ว)
วันที่ 15 พฤษภาคม 2553
ถนนพระราม 4
53. นายวารินทร์ วงศ์สนิท
54. นายพรสวรรค์ นาคะไชย (ศาลออกคำสั่งไต่สวนการตายแล้ว)
55. นายมานะ แสนประเสริฐศรี (ศาลออกคำสั่งไต่สวนการตายแล้ว)
56. นายเกรียงไกร เลื่อนไธสง
57. นายวงศกร แปลงศรี
ถนนราชปรารภ
58. นายสมาพันธ์ ศรีเทพ
59. นายสุภชีพ จุลทัศน์
60. นายอำพล ชื่นสี
61. นายชาญณรงค์ พลศรีลา (ศาลออกคำสั่งไต่สวนการตายแล้ว)
62. นายธนากร ปิยะผลดิเรก
63. นายอุทัย อรอินทร์
วันที่ 16 พฤษภาคม 53
ถนนพระราม 4
64. นายสมชาย พระสุพรรณ
65. นายสุพรรณ์ ทุมทอง
66. นายเฉลียว ดีรื่นรัมย์
67. นายวุฒิชัย วราคัม
68. นายประจวบ ประจวบสุข (ศาลออกคำสั่งไต่สวนการตายแล้ว)
69. นายเกียรติคุณ ฉัตร์วีระสกุล (ศาลออกคำสั่งไต่สวนการตายแล้ว)
70. นายสมัย ทัดแก้ว
71. นายสุพจน์ ยะทิมา
17 พฤษภาคม 2553
72. จ.ส.อ.พงศ์ชลิต ทิพยานนทกาญจน์
73. นายสมพาน หลวงชม
74. นายเยื้อน โพธิ์ทองคำ
18 พฤษภาคม 2553
75. นายมูฮัมหมัด อารี (ออง ละวิน ชาวพม่า)
19 พฤษภาคม 2553
ถนนราชปรารภ
76. นางประจวบ เจริญทิม
77. นายปรัชญา แซ่โค้ว
78. น.ส.วาสินี เทพปาน
ถนนราชดำริ
79. นายถวิล คำมูล
80. นายธนโชติ ชุ่มเย็น
81. นายนรินทร์ ศรีชมภู (ยื่นคำร้องไต่สวนการตาย 29 ก.ค. 56)
82. ส.อ. อนุสิทธิ์ จันทร์แสนตอ
83. ชายไม่ทราบชื่อ
84. นายฟาบิโอ โปเลงกี (Mr. Fabio Polenghi) (ศาลออกคำสั่งไต่สวนการตายแล้ว)
วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร
85. นายมงคล เข็มทอง (ศาลออกคำสั่งไต่สวนการตายแล้ว)
86. นายสุวัน ศรีรักษา (ศาลออกคำสั่งไต่สวนการตายแล้ว)
87. น.ส. กมนเกด อัดฮาด (ศาลออกคำสั่งไต่สวนการตายแล้ว)
88. นายอัครเดช ขันแก้ว (ศาลออกคำสั่งไต่สวนการตายแล้ว)
89. นายอัฐชัย ชุมจันทร์ (ศาลออกคำสั่งไต่สวนการตายแล้ว)
90. นายรพ สุขสถิตย์ (ศาลออกคำสั่งไต่สวนการตายแล้ว)
ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์
ต่างจังหวัด
92. นายทรงศักดิ์ ศรีหนองบัว
93. นายเพิน วงศ์มา
94. นายอภิชาติ ระชีวะ
อัพเดทข้อมูลวันที่ 17 เมษายน 2556 19.20 น.
ความจริงคือหนทางสู่ความยุติธรรม: รายงานแสวงหาข้อเท็จจริงฉบับภาษาไทย
บทนำ ไม่นานหลังการปราบปรามการชุมนุมคนเสื้อแดง เสียงเรียกร้องให้มีการสมานฉันท์ สามัคคี ปรองดองก็ดังกระหึ่มขึ้น เสียงร้องเหล่านี้มักแฝงมากับการบอกให้ประชาชนช่วยกัน “ทำให้สังคมก้าวไปข้างหน้า” “ห้นหน้ามาคืนดีกัน” “เลิกแบ่งสีแบ่งฝ่าย” ซึ่งแท้ที่จริงก็คือการบอกให้ผู้ถูกกระทำ “ลืม เงียบเฉย และยอมจำนน” ต่อความอยุติธรรมนั่นเอง เหตุการณ์ทำนองนี้เป็นสิ่งที่ผู้มีอานาจและปัญญาชนที่สนับสนุนพวกเขากระทำบ่อยครั้งในอดีต ดังจะเห็นว่าความรุนแรงทางการเมืองทุกครั้งในประเทศไทย จบลงด้วยการนิรโทษกรรมให้แก่ผู้อยู่เบื้องหลังการปราบปรามประชาชน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนอาชญากรรมของรัฐต่อประชาชน ให้กลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย ความเงียบและการยอมจำนนของเหยื่อจึงเป็นด้านมืดของวัฒนธรรมการเมืองไทยที่บูชา “ความมั่นคง” “ความสามัคคี” “ความปรองดอง” แต่ดูถูกเหยียบยํ่าสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกกระทำ เป็นวัฒนธรรมการเมืองที่ช่วยกันโอบอุ้มประเพณีของการปล่อยให้ผู้กระทำผิดที่มีอำนาจลอยนวล (culture of impunity) เป็นภาวะด้านชาและมืดบอดต่อความเจ็บปวดของคนร่วมสังคมเดียวกัน เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่จนแทบจะเป็นเนื้อเดียวกันกับจิตวิญญาณของการเป็นพลเมืองไทยที่ดี ที่ถูกกล่อมเกลาด้วยวาทกรรมรักชาติตลอดมา ในขณะที่ปัญญาชนในสังคมมักหยิบยืมแนวคิด ทฤษฎี หรือวาทกรรมจากตะวันตกเพื่อแสดงถึงความทันสมัยของตนเอง แต่เมื่อต้องรับมือกับปัญหาความรุนแรงและความอยุติธรรมภายในสังคมไทยที่มีสาเหตุมาจากกลุ่มอานาจเดิม ซึ่งไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ฐานอำนาจอยู่ที่เสียงส่วนใหญ่ของประชาชน พวกเขากลับไม่สามารถเรียนรู้บทเรียนใด ๆ จากสังคมภายนอกได้เลย แม้แต่ คอป. ที่ยืมเอาแนวคิดเรื่องการแสวงหาความจริงในฐานะที่เป็นด้านที่แยกไม่ได้จากการแสวงหาความยุติธรรม ก็ดูจะรับเอามาแต่ส่วนที่เป็นวาทศิลป์ มากกว่าจะรับเอาแก่นสารของแนวคิดดังกล่าวมาผลักดันให้เป็นจริง ขณะที่พวกเขาไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า สังคมต้องรับรู้ “ความจริง” และรื้อฟื้น “ความยุติธรรม” ให้แก่เหยื่อ แต่ดูเหมือนว่าพวกเขาไม่สามารถสลัดหลุดออกจากความปรองดองแบบไทย ๆ ที่มุ่งปกป้องสถาบันอำนาจในสังคมเป็นสำคัญ หากเราหันไปดูสังคมอื่นที่เคยประสบกับความรุนแรงทางการเมืองโดยรัฐ เช่น แอฟริกาใต้ อาร์เจนตินา ชิลี ฯลฯ การสร้างความปรองดองล้วนต้องเดินควบคู่ไปกับการคืนความยุติธรรมให้แก่เหยื่อ อย่างน้อยที่สุด ความยุติธรรมขั้นพื้นฐานที่จะต้องมีให้ได้ คือการเปิดเผยความจริงว่าใครคือผู้กระทำและอยู่เบื้องหลังอาชญากรรมต่อประชาชน ในสังคมเหล่านี้ ความจริงและความยุติธรรมดูจะเป็นคุณค่าที่มีความสำคัญมากกว่าการปรองดอง ความสามัคคี ความสงบสุข และความมั่นคงของรัฐ เพราะพวกเขาเชื่อว่าหนทางเดียวที่จะป้องกันไม่ให้การละเมิดสิทธิในชีวิตของประชาชนอย่างรุนแรงโดยอานาจรัฐเกิดขึ้นอีก มีแต่ต้องเรียนรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในอดีต ใครคือผู้สั่งการ ใครคือผู้สมรู้ร่วมคิดก่ออาชญากรรมต่อเพื่อนร่วมแผ่นดินของตน อุดมการณ์แบบไหนที่ทำให้ผู้มีอำนาจสามารถระดมคนชาติเดียวกันให้ช่วยกันสังหารคนอีกกลุ่มหนึ่งได้อย่างเลือดเย็น โครงสร้างทาง อำนาจหรือระบบราชการหรือระบบกฎหมายแบบใดที่อนุญาตให้ผู้สั่งการเชื่อว่าพวกเขาจะสามารถรอดพ้นจากการรับผิดได้ ใครบ้างที่จะต้องถูกลงโทษ ฯลฯ ประเด็นเหล่านี้คือหัวใจสำคัญที่ทำให้ประชาชนในประเทศอื่น ๆ เห็นความสำคัญของการแสวงหาความจริง และร่วมกันต่อสู้เพื่อคืนความยุติธรรมให้แก่เหยื่อให้ได้ แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะต้องเสี่ยงภัยและใช้เวลาต่อสู้กับอำนาจเผด็จการอย่างเนิ่นนานก็ตาม แต่ในกรณีของไทย เสียงเรียกร้องให้มีความปรองดองนั้นดังกระหึ่ม ขณะที่เสียงเตือนให้สังคมต้องมุ่งไปที่การแสวงหาความจริงและนำผู้กระทำผิดมาลงโทษกลับอ่อนแอกระปลกกระเปลี้ย สำหรับสังคมไทย ความจริงและความยุติธรรมไม่ใช่สิ่งที่มีความสำคัญแม้แต่น้อย ฝ่ายที่มีอำนาจรัฐและบรรดาปัญญาชนที่ช่วยปกป้อง อำนาจเหล่านี้ต่างช่วยกัน “มอมยา” ให้ผู้คนในสังคมคล้อยตามไปกับการปล่อยให้ผู้กระทำผิดลอยนวล โดยไม่ต้องคิดมากว่าเหตุการณ์อาชญากรรมโดยรัฐจะกลับมาทำร้ายประชาชนในอนาคตซํ้าแล้วซํ้าเล่าอีกหรือไม่ เราอยู่กับปัจจุบันเสียจนไม่ยี่หระกับอนาคตของตนเอง ไม่ยี่หระต่ออนาคตของสังคมไทย ไม่ยี่หระกับโศกนาฏกรรมที่เราทิ้งไว้ให้แก่ของคนรุ่นหลัง ฉะนั้น ความพยายามของคนกลุ่มหนึ่งในนามของ ศปช. ที่ท่านถืออยู่ในมือนี้ จึงเกิดขึ้นด้วยความหวังว่า สักวันหนึ่ง หากผู้คนในสังคมนี้ไม่กลายเป็นโรคความจำเลอะเลือนทางการเมืองไปหมดเสียก่อน เราจะสามารถสถาปนาความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ปราบปรามประชาชนในเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2553 และนำผู้ที่เกี่ยวข้องมารับผิดได้ในที่สุด เรามีความหวังว่าข้อมูลที่รวบรวมขึ้นมานี้จะมีประโยชน์ต่อกระบวนการยุติธรรมในอนาคตได้บ้าง รายงานฉบับนี้เป็นเสมือนคำประกาศต่อสังคมไทยว่า วัฒนธรรมแห่งการปล่อยให้ผู้กระทำผิดที่มีอำนาจลอยนวล และการเหยียบยํ่าสิทธิในชีวิตและความเป็นคนจะต้องยุติลงในสังคมไทยเสียที ถึงเวลาที่คนรุ่นใหม่จะต้องช่วยกันรื้อถอนวัฒนธรรมการเมืองอันน่ารังเกียจที่ครอบงำสังคมไทยนี้ เราขอเน้นยํ้าว่า ความจริงและความยุติธรรมมีความสำคัญมากกว่าความปรองดองอันหลอกลวงฉาบฉวย ความจริงและความยุติธรรมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างสังคมใหม่ ที่คุณค่าและศักดิ์ศรีของประชาชนทุกชนชั้นต้องได้รับการเคารพและปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ณ จุดหนึ่งบนแผ่นดินที่เปื้อนเลือด กรกฎาคม 2555 |
|
ดาวน์โหลดรายงาน – บทที่ 1 กำเนิดและพลวัตร “คนเสื้อแดง” – บทที่ 2 ข้อเท็จจริงการเสียชีวิตและความรุนแรง เมษา 53 – บทที่ 3 ข้อเท็จจริงการเสียชีวิตและความรุนแรง พฤษภา 53 3.1 ความตายที่สวนลุมพินี-บ่อนไก่ – บทที่ 4 เชิงอรรถความตายจากการสลาย การชุมนุมเมษา-พฤษภา 2553 อำพราง อัปลักษณ์ และอำมหิต – บทที่ 5 การจับกุมดำเนินคดีอันสืบเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองปี 53 – บทที่ 6 บทวิเคราะห์การใช้กำลังเกินกว่าเหตุในการสลายการชุมนุม – บทที่ 7 การใช้กฎหมายความมั่นคงในการจัดการการชุมนุมทางการเมืองกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน – บทที่ 8 ปฏิบัติการด้านข้อมูลข่าวสารของรัฐบาลในช่วงของความขัดแย้ง – บทที่ 9 “We Come in Peace” สันติวิธีฉบับคนเสื้อแดง ภาคผนวก– การตาย – การจับกุม
– เอกสารสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการการชุมนุมของ นปช. ปี 2553 (สามารถดาวน์โหลดเอกสารแยกตามหัวเรื่องได้ที่นี่ เดือนมีนาคม เมษายน พฤษภาคม และหลังการสลายการชุมนุม) – รายงานการสืบหาข้อเท็จจริงประเทศไทย ใบอนุญาตฆ่า(ไทย / อังกฤษ) |