ลำดับเหตุการณ์

นอกเหนือ

มิถุนายน 2553

1 มิถุนายน 2553

นปช.

รัฐบาล – ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ต. สุเมธ เรื่องสวัสดิ์ รอง ผบช.น. ให้ บก. ต่างสรุปผลการดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมืองของ นปช. แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ประกอบด้วย

  1. คดีเกี่ยวกับวัตถุระเบิด จับกุมได้ 6 คดี ออกหมายจับ 2 คดี อยู่ระหว่างดำเนินการ 54 คดี รวม 62 คดี
  2. คดีอาญา (วางเพลิง) จับกุมได้ 1 คดี ออกหมายจับ 2 คดี อยู่ระหว่างดำเนินการ 36 คดี รวม 39 คดี คดีอาญา (ฆ่า/พยายามฆ่า) อยู่ระหว่างขอหมายจับ 1 คดี อยู่ระหว่างดำเนินการ 17 คดี รวม 18 คดี คดีอาญา (ทำร้ายร่างกาย) อยู่ระหว่างดำเนินการ 2 คดี คดีอาญา (ลักทรัพย์/ทำให้เสียทรัพย์/ปล้นทรัพย์) จับกุมได้ 21 คดี ออกหมายจับ 1 คดี อยู่ระหว่างดำเนินการ 12 คดี รวม 34 คดี
  3. คดีอาญาอื่นๆ (ความมั่นคงฯ) จับกุมได้ 3 คดี ออกหมายจับ 2 คดี อยู่ระหว่างดำเนินการ 2 คดี รวม 7 คดี
  4. คดี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จับกุมได้ 160 คดี
  5. คดีอื่นๆ เช่น ยุทธภัณฑ์ทหาร จับกุมได้ 1 คดี ออกหมายจับ 2 คดี อยู่ระหว่างดำเนินการ 1 คดี รวม 4 คดี
  6. คดีชันสูตรผลิกศพ อยู่ระหว่างดำเนินการ 37 คดี รวมทั้งสิ้น 363 คดี

ขณะที่กรมสอบสวนคดีพิเศษยังเดินหน้าขอออกหมายจับผู้กระทำผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพิ่มเติม

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ

 

8 มิถุนายน 2553

นปช.

รัฐบาล – ครม. เห็นชอบแต่งตั้งนายคณิต ณ นคร เป็นประธาน คอป.

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ

 

9 มิถุนายน 2553

นปช.

รัฐบาล – ที่ บช.น. พล.ต.ต. ปิยะ อุทาโย โฆษก บช.น. สรุปตัวเลขคนที่ถูกหมายจับตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉินว่ามีทั้งหมด 85 รายทั่วประเทศ อยู่ใน กทม. 84 ราย ต่างจังหวัด 1 ราย โดยใน 84 รายจับแล้ว 31 ราย ซึ่งบางส่วนยังควบคุมตัวอยู่ บางส่วนปล่อยตัวไปแล้ว

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ

 

21 มิถุนายน 2553

นปช.

รัฐบาล – พล.อ. อนุพงษ์ ในฐานะหัวหน้ารับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงนามในคำสั่งเรียกบุคคลและนิติบุคคลรวม 83 ราย เข้าชี้แจงธุรกรรมต้องสงสัยทางการเมืองตั้งแต่วันที่ 22 มิ.ย.

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ

 

26 มิถุนายน 2553

นปช. –  นายสมบัติ บุญงามอนงค์ นัดหมายไปผูกผ้าสีแดงที่ป้ายสี่แยกราชประสงค์ ทำให้ถูกตำรวจจับกุม ตามหมายศาลที่ออกเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 53 ฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯ  (ดู “จับ “บก.ลายจุด” ไป ตชด.คลอง 5 ปทุมธานีข้อหาฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน,” ประชาไท, 26 มิ.ย.53

รัฐบาล

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ

 

กรกฎาคม 2553

11 กรกฎาคม 2553

นปช. – เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 11 ก.ค.2553 นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ “หนูหริ่ง” แกนนำกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง นำสมาชิกประมาณ 100 คน มารวมตัวกันเพื่อผูกผ้าสีแดงที่โคนเสาป้ายสี่แยกราชประสงค์  (ดู “บุกราชประสงค์ ผูกผ้าแดง เย้ยรัฐบาลรอบ2,” ไทยรัฐออนไลน์, 11 ก.ค.53

รัฐบาล

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ

 

สิงหาคม 2553

16 สิงหาคม 2553

นปช.

รัฐบาล – นายกรัฐมนตรีประกาศยกเลิกใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ใน 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย และอุบลราชธานี

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ

 

23 สิงหาคม 2553

นปช.

รัฐบาล – กรมสอบสวนคดีพิเศษแถลงความคืบหน้าคดีที่เกี่ยวเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่รับเป็นคดีพิเศษว่ามีทั้งสิ้น 266 คดี เป็นคดีก่อการร้าย 145 คดี คดีขู่บังคับรัฐบาล 21 คดี คดีทำร้ายเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชน 80 คดี และคดีกระทำผิดต่ออาวุธยุทธภัณฑ์ 20 คดี ส่วนการเสียชีวิตทั้ง 91 รายยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่ทั้งหมดหรือไม่ เนื่องจากมีชายชุดดำเข้าไปเกี่ยวข้อง โดยยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น  (ดู “DSIยันชันสูตร91ศพม็อบแดงถูกต้องตามกม.,” คมชัดลึกออนไลน์, 23 ส.ค.53)

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ

 

25 สิงหาคม 2553

นปช.

รัฐบาล – ที่ประชุม ศอฉ. สั่งให้ดีเอสไอเร่งสรุปเรื่องการเสียชีวิตทั้ง 91 รายภายใน 60 วัน

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ

 

กันยายน 2553

19 กันยายน 2553

นปช. – มีการจัดชุมนุมใหญ่ที่แยกราชประสงค์ เพื่อรำลึก 4 เดือนเหตุการณ์สลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 53 และ ครบ 4 ปี รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และมีกิจกรรมการวางพวงหรีดไว้อาลัยแด่ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม 10 เม.ย. และ 19 พ.ค.ที่ผ่านมา นอกจากนี้ มีการแสดงละครใบ้ล้อเลียนการเมือง

ที่ จ.ขอนแก่น มีจัดกิจกรรมวางดอกกุหลาบแดงที่เรือนจำกลางแสดงการต่อต้านรัฐประหาร และให้กำลังใจคนเสื้อแดง 4 คน ที่ถูกควบคุมตัวในข้อหาเผาศาลากลางจังหวัด และสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีขอนแก่นที่ถูกควบคุมตัวอยู่ที่นี่ และได้ฝากจดหมายที่เขียนให้กำลังใจว่าจะไม่ทอดทิ้งกัน ผ่านทางเจ้าหน้าที่เรือนจำไปยังทั้ง 4 คนด้วย

ที่จ.อุดรธานี กลุ่มคนเสื้อแดง ได้ทำบุญเลี้ยงพระที่วัดทิพย์สันติวัน และนำกุหลาบแดงไปวางหน้าเรือนจำจังหวัด

ที่ จ.ชัยภูมิ นักศึกษาและกลุ่มคนเสื้อแดง ประมาณ 1,000 คน นปช.รวมตัวกันที่บริเวณหน้าอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพญาแล กลางใจเมืองชัยภูมิ โดย นพ.ประสิทธิ์ชัยวิรัตนะ และ นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ส.ส.ชัยภูมิ เปิดเวทีปราศรัยโจมตีการทำงานของรัฐบาล พร้อมนำรูปนายอภิสิทธิ์ มาเหยียบย่ำ และร่วมกันปล่อยลูกโป่งสีแดงเขียนข้อความด่ารัฐบาล ขึ้นสู่ท้องฟ้า จากนั้นเคลื่อนขบวน ไปวางดอกกุหลาบแดงหน้าเรือนจำจังหวัด เพื่อให้กำลังใจคนเสื้อแดงที่ถูกคุมขังอยู่ ท่ามกลางกำลังตำรวจนับร้อยมาดูแลความสงบ  (ดู “เสื้อแดงพรึ่บรวมพลังล้น “ราชประสงค์” ตร.จัดกำลังคุมเข้ม,” เดลินิวส์, 20 ก.ย.53)

รัฐบาล

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ

 

ธันวาคม 2553

21 ธันวาคม 2553

นปช.

รัฐบาล – ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม มีมติยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในพื้นที่ 4 จังหวัดที่เหลือ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ มีผลตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม พร้อมตั้งศูนย์ติดตามสถานการณ์ (ศตส.) ขึ้นมาทดแทนศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ที่ต้องยุบเลิกไปโดยสภาพ โดยมี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เสนาธิการทหารบก (เสธ.ทบ.) เป็นผู้อำนวยการ ศตส. และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน ศตส.

ครม.ยังเห็นชอบให้ปล่อยตัวผู้ร่วมชุมนุมเหตุการณ์เดือน เม.ย.ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำจำนวน 104 คน และรับทราบผลสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองของคณะกรรมการที่มี นายคณิต ณ นคร เป็นประธาน

ทั้งนี้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ศตส.จะเป็นหน่วยงานภายในของ กอ.รมน. ใช้โครงสร้างตามกฎหมายมากำหนดแผนงานต่างๆ และคนที่เข้ามาติดตามสถานการณ์ รวมถึงบริหารแผนงานก็จะมีอำนาจหน้าที่ตามลำดับชั้น  (ดู “มติ ครม.เลิก พรก.ฉุกเฉิน กทม. ปล่อยตัวชั่วคราว 104 ผู้ชุมนุม ‘แดง’,” ประชาไท, 22 ธ.ค.53)

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ

 

<<< Back

ลำดับเหตุการณ์

นอกเหนือ

17 พฤษภาคม 2553

นปช. – โรงแรมดุสิตโดนถล่มด้วยระเบิดเอ็ม 79 หลายลูก

รัฐบาล –  ศอฉ.ประกาศย้ำให้ผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่ราชประสงค์ภายในเวลา 15.00 น.

12.50 น. นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย และนายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง แถลง

นายสาทิตย์ระบุว่ามี 3 กลุ่มเสี่ยงที่จะถูกปฏิบัติการโดยกองกำลังติดอาวุธของผู้ก่อการร้าย

สาทิตย์อธิบายกระแสข่าวเรื่องทหารฆ่าประชาชนว่า เจ้าหน้าที่อยู่ห่างจากจุดชุมนุมที่ราชประสงค์ 1.5-2 กิโลเมตร ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ถูกขัดขวางจากกองกำลังติดอาวุธ แม้ว่าผู้ชุมนุมจะมีการใช้เพียงหนังสติ๊กแต่ก็ได้มีกองกำลังติดอาวุธอยู่ในแนวหลัง ส่วนการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่นั้นเป็นไปเพื่อป้องกันตัวในที่ตั้ง

ปณิธานกล่าวถึงข้อเรียกร้องของแกนนำ และยืนยันถึงการให้ยุติการชุมนุม และหยุดการโจมตีเจ้าหน้าที่

ดูคลิป 20100517_CRES_001

ศอฉ. ออกประกาศ 3 ข้อ

  1. ให้ผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่การชุมนุมโดยด่วน ภายในวันนี้ เวลา 15.00 น.
  2. ผู้ที่สมัครใจจะเดินทางออกจากพื้นที่ชุมนุมภายในเวลากำหนดเจ้าหน้าที่จะ อำนวยความสะดวกให้ท่านเดินทางกลับภูมิลำเนาของท่านโดยปลอดภัย
  3. หากผู้ใดยังอยู่ในพื้นที่การชุมนุมจะถือว่ามีความผิดมีโทษจำคุกสูงสุด 2 ปี การอยู่ในพื้นที่ชุมนุมยังเป็นภัยต่อตัวท่าน เพราะกลุ่มก่อการร้ายกำลังทำให้บาดเจ็บและเสียชีวิตในพื้นที่

(ดู “ศอฉ.ขีดเส้น ก่อนบ่าย3 ผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่,” ประขาไท, 17 พ.ค.53  ; ดูคลิป 20100517_CRES_002)

เวลา 20.45 น. ศอฉ.แถลงข่าว

พ.ต.อ.ทรงพล วัฒนะชัย รองผบก.น.1 รายงานความคืบหน้าผลการดำเนินคดีผู้ที่ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินในรอบ 2 วันที่ผ่านมา และกล่าวอีกว่า สำหรับร้านจำหน่ายยาง ถ้าทางการทราบว่าท่านมีส่วนรู้เห็นก็มีความผิดตามกฎหมายเช่นกัน ขณะนี้ ตำรวจจับกุมผู้ลำเลียงยางรถยนต์ได้หลายคดี ยึดได้ 600 กว่าเส้นแล้ว

พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ.กล่าวว่า ศอฉ. มีความเป็นห่วงต่อความปลอดภัยของประชาชนทั่วไป เพราะมีข้อมูลข่าวสารว่า กลุ่มก่อการร้ายที่ชุมนุมที่ราชประสงค์มีความพยายมมสร้างสถานการณ์ทำร้าย ประชาชนให้บาดเจ็บเ สียชีวิต เป้าหมายคือประชาชนทั่วไป ผู้ที่ร่วมชุมนุม หน่วยกู้ภัย และสื่อมวลชน วันนี้ชัดเจนว่า บริเวณตึกชีวาทัยใกล้กับตึกเซ็นจูรี่ มีกลุ่มชายฉกรรจ์ประมาณห้าถึงสิบคน แต่งกายคล้ายทหารขึ้นไปซุ่มยิงชั้น 24 ถึง 27 ขึ้นไปซุ่มยิงอย่างนี้ส่งผลให้ประชาชนที่ผ่านไปมาอาจได้รับอันตรายได้ แม้กระทั่งทหารเอง ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น คุณกำปั้น (คริชนะ พาณิชย์พงษ์ หรือกำปั้น วงบาซู) และญาติที่เสียชีวิตก็มีความเป็นไปได้สูงว่าซุ่มยิงมาจากตึกชีวาทัย ขณะนี้เจ้าหน้าที่พยายามเข้าไปกดดันตรวจสอบพื้นที่ แต่เป็นตึกกำลังก่อสร้างมีผ้าใบคลุมอยู่จึงตรวจสอบยาก

“นอก จากนี้ยังมีความพยายาทำลายทรัพย์สิน ปล้นสดมภ์ ทำร้ายประชาชนให้บาดเจ็บ เสียชีวิต การจุดไฟเผายาง อาคารบ้านเรือน ทำลายรถน้ำมัน กลุ่มก่อการร้ายที่ใช้ชื่อว่า “เสื้อแดง” ไม่สามารถปฏิเสธการรับผิดชอบดังกล่าว เพราะเป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีใครเข้าไปในนั้นเลย” พ.อ.สรรเสริญกล่าว

จาก นั้น พ.อ.สรรเสริญ เปิดคลิปแสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้ชุนนุมใช้เด็กเป็นโล่มนุษย์ อยู่เหนือยางรถยนต์ ขณะที่คนอื่นอยู่ต่ำกว่ายางรถยนต์ และภายหลังกองยางมีทั้งระเบิดเพลิง การเผายาง รวมไปถึงแสดงภาพผู้ชุมนุมคนหนึ่งถืออาวุธปืนสั้น นอกจากนี้ยังฉายคลิปบริเวณชุมชนบ่อนไก่ซึ่งปรากฏชายโม่งดำลักษณะถือปืนเอ็ม สิบหก โดยพ.อ.สรรเสริญกล่าวว่า แสดงว่ามีอาวุธสงครามอยู่จริง โดยพยายามทำร้ายประชาชนด้วย เดิมเป้าหมายหลักคือทหาร แต่ตอนนี้เป้าหมายหลักของผู้ก่อการร้ายเปลี่ยนไปเพื่อให้ท่านเกิดความรู้สึก ไม่ปลอดภัย ท้ายที่สุด คือคลิปภาพเมื่อ 3-4 วันก่อนที่เจ้าหน้าที่ทหารเข้าไปเอารถน้ำแล้วโดนรุมทำร้าย พร้อมทั้งมีผู้นำปืนเอ็ม16ไป

“มี การปล้นสดมภ์ ขโมยน้ำมันจากรถทหารที่ถูกยึด แล้วเอาไปทำระเบิดเพลิง ทั้งยังมีการทุบทำลายตู้เอทีเอ็ม ขโมยเงินไป ภายในร้านสะดวกซื้อเอาไปทุกอย่างอาหารการกิน ยกเว้นหนังสือ ไม่ได้เอาไปเพราะรับข้อมูลด้านเดียวจากแกนนำ” พ.อ.สรรเสริญกล่าว

เขากล่าวทิ้งท้ายว่า กลุ่มคนกลุ่มนี้พยายามใช้คำพูดว่าให้ทหารหยุดฆ่าประชาชน พยายามบิดเบือนข้อมูล เพราะทหารไม่ได้ประสงค์ทำร้ายประชาชนเลย เพียงแค่กระชับวงล้อม และตั้งด่านเท่านั้น ความสูญเสียทั้งการบาดเจ็บและเสียชีวิต ส่วนหนึ่งเกิดจากกลุ่มก่อการร้ายกดดันเจ้าหน้าที่ตามด่านต่างๆ รวมถึงใช้กลุ่มคนจำนวนมากเคลื่อนหาทหาร

“ถ้าท่านไม่เคลื่อนที่เข้ามาก็ไม่เกิดการสูญเสีย ถ้าเราปล่อยให้ผู้ก่อการร้ายถึงตัว ผู้เสียชีวิตจะเพิ่มทบเท่าทวี แต่ไม่ใช่กลุ่มก่อการร้าย แต่เป็นเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ทุกฝ่ายที่ช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง” พ.อ.สรรเสริญกล่าว

(ดู “จำคุกผู้จะร่วมชุมนุมเพิ่มหลายราย สรรเสริญโชว์คลิป ชี้ผู้ก่อการร้ายทำร้ายประชาชน,” ประขาไท, 17 พ.ค. 53  ; ดูคลิป 20100517_CRES_003)

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – สื่อเครือมติชน-ข่าวสด-ประชาชาติธุรกิจออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่กำลังขัดแย้งกันอยู่ยุติการเข่นฆ่ากันในทันที

น.ส. นภัส ณ ป้อมเพ็ชร์ ทำหนังสือถึง CNN เพื่อประท้วงการรายงานข่าวการชุมนุมที่ให้ภาพด้านลบต่อทหารและรัฐบาลไทย แต่เสนอภาพด้านบวกต่อผู้ชุมนุมเสื้อแดง (ต่อมาได้มีหนังสือจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐานลงวันที่ 24 ก.ค. 53 ลงชื่อพระนางเจ้าสิริกิตติ์ ถึง น.ส. นภัส แสดงความชื่นชมที่ช่วยฟื้นฟูภาพลักษณ์ของประเทศชาติ)

เกิดเหตุยิงเอ็ม 79 ใส่โรงแรมดุสิตธานี 3 ลูกซ้อน และปาระเบิดใส่ธนาคารกรุงเทพ สาขาลำลูกกา

หมายเหตุ –

 

18 พฤษภาคม 2553

นปช. – ช่วงค่ำ พล.อ. เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว. พร้อมคณะ และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ กับแกนนำ นปช. แถลงข่าวร่วมกันหลังหารือถึงแนวทางยุติความขัดแย้ง โดยแกนนำ นปช. รับข้อเสนอของ ส.ว. ยอมเข้าสู่กระบวนการเจรจากับรัฐบาล โดยมีนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภาเป็นคนกลาง ท่ามกลางความไม่พอใจของผู้ชุมนุม

มีการชุมนุมของคนเสื้อแดงในส่วนภูมิภาครวม 17 จังหวัด

รัฐบาล – ศอฉ. ออกคำสั่งห้ามสถาบันการเงินดำเนินการทำธุรกรรมกับบุคคลและนิติบุคคลระลอกสอง จำนวน 19 ราย

ศอฉ. แถลงข่าว โดยพ.ต.อ.ทรงพล วัฒนชัย รองผู้บังคับการอำนวยการกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บชน.) ในฐานะรองโฆษก บชน. กล่าวถึงความคืบหน้าการจับกุมผู้จำหน่ายยางรถยนต์เก่าเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคมว่า ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจมีการรายงานผลการจับกุมยางรถยนต์เก่า ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติสามารถอายัดและจับกุมยางรถเก่าได้ทั้งสิ้น 9,021 เส้น

พ.ต.อ.ทรงพล กล่าวว่า ขณะนี้ตำรวจได้มีการจับกุมนายพิเชษฐ์ หรือ ภูมิกิตติ สุขจินดาทอง อายุ 50 ปี ที่บริเวณถนนสามเสน ซ.สามเสน 6 เขตดุสิต กทม. รับบทบาทเป็นการ์ดนปช. และรับมอบหมายเป็นหัวหน้าในการดูแลรับผิดชอบพื้นที่การชุมนุมที่แยกราชประสงค์ ซึ่งขณะนี้ได้ทำการสืบสวนและควบคุมตัวอยู่ที่กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค 1 คลองหลวง จ.ปทุมธานี

จากการตรวจสอบเบื้องต้นนายพิเชษฐ์ ถือเป็นแกนนำหลักคนหนึ่ง ในลักษณะที่เป็นการ์ดคอยปกป้องรักษาแนว ซึ่งเราได้นำปัญหาตรงนี้ไปร้องขอต่อศาล เพื่อให้ออกหมายจับ ซึ่งนำมาซึ่งการจับกุมตามหมายจับได้ ซึ่งเราสามารถจับได้ขณะที่เขาออกมานอกพื้นที่ชุมนุมเพราะเรามีการเฝ้าติดตาม

ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) แถลงผลการประชุม ศอฉ. ในช่วงเช้า ซึ่งมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง ในฐานะผอ.ศอฉ.เป็นประธานว่า นายพิเชษฐ์ ถือเป็นมือขวาของพล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก และมีส่วนในการดำเนินการในลักษณะก่อการร้าย คุมการ์ดและควบคุมการปฏิบัติทางยุทธิวิธี ทั้งหลาย ถือว่า มีความหมายและเป็นผลดีอย่างมากต่อการปฏิบัติ ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ไม่ได้อยู่เฉย แม้ว่าวันนี้การบีบวงล้อมพื้นที่เรดโซนยังไม่ได้ดำเนินการ แต่มีความพยายามที่จะจัดการกับกลุ่มผู้ที่ออกมานอกเขตเรดโซน เพื่อสร้างความวุ่นวาย

ผู้สื่อข่าวรายงานศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้มีการแจกจ่ายเอกสารสรุปการใช้อาวุธ เอ็ม 79 ที่ใช้ในการยิงประชาชน ทหาร ตำรวจ ตั้งแต่วันที่ 13 -17 พ.ค.รวมทั้งสิ้น 56 ลูก โดยแบ่งเป็น

วันที่ 13 พ.ค. จำนวน 1 นัด เวลา 19.25 น. เกิดเหตุระเบิดเอ็ม 79 บริเวณแยกศาลาแดง จำนวน 2 นัด

วันที่ 14 พ.ค. จำนวน 21 นัด เวลา 18.45 น. เกิดเหตุระเบิดเอ็ม 79 จากบริเวณแยกศาลาแดงจำนวน 8 นัด เวลา 19.50 น. บริเวณบ่อนไก่ ถ.พระราม4 จำนวน 3 นัด เวลา 20.20 น. บริเวณบ่อนไก่ ถนนราชปรารภ สี่แยกประตูน้ำ จำนวน 4 นัด เวลา 22.05 น.บริเวณแอร์พอร์ตลิงค์ จำนวน 4 นัด เวลา 22.50 น. ตกหน้าแนวทหาร ม.พัน.5 บ่อนไก่ 1 นัด เวลา 23.15 น. บริเวณ แยกสามเหลี่ยมดินแดง 1 นัด

วันที่ 15 พ.ค. จำนวนทั้งสิ้น 19 นัด เวลา 05.15 น. ตกบริเวณหน้าแนวทหาร ม.พัน 5 หน้าสนามมวยลุมพินี จำนวน 1 นัด เวลา 16.40 น. เหตุระเบิดเอ็ม 79 ตกทางด่วนพระรามสี่ มาที่สนามมวยลุมพินีจำนวน 10 นัด เวลา 17.05 น. เหตุระเบิดเอ็ม 79 จากทางลงด่วนพระรามสี่ จำนวน 15 นัด เวลา 17.45 น.ตกหน้าแฟลต 5 สน.ลุมพินี จำนวน 1 นัด เวลา 18.45 น. ตกหน้า สน.ลุมพินี 1 นัด และสวมลุมพินีอีก 1 นัด

วันที่ 16 พ.ค. เวลา 17.00 น.ตกบริเวณบ่อนไก่ จำนวน 5 นัด

วันที่ 17 พ.ค. เวลา 00.30 น.ตกที่หน้าโรงแรมดุสิตธานี 1 นัด และอาคารเอื้อเจือเหลียงจำนวน 3 นัด เวลา 19.35 น.เหตุระเบิดเอ็ม 79 บริเวณใต้ทางด่วนพระรามสี่จำนวน 4 นัด 21.30 น.ตกใต้ทางด่วนพระรามสี่ อีก 2 นัด

ด้านกรุงเทพธุรกิจรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า ขณะนี้นายกรัฐมนตรีได้ให้นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ติดต่อประสานงานกับ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง เพื่อหาข้อยุติในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ หลังจากที่นายณัฐวุฒิ ได้มีการติดต่อประสงค์ที่จะขอเจรจาเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ทำให้วันนี้นายณัฐวุฒิ ได้สั่งการให้กองกำลังติดอาวุธ หรือ ชายชุดดำ หยุดปฏิบัติการในการตอบโต้เจ้าหน้าที่ทหารบริเวณโดยรอบการชุมนุมของกลุ่มคน เสื้อแดงที่สี่แยกราชประสงค์ทั้งหมด ทำให้วันนี้ไม่ค่อยมีเสียงระเบิดจากอาวุธสงคราม เอ็ม 79 แต่อย่างใด

เวลา 11.30 น. ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. แถลงผลการประชุม ศอฉ.ในช่วงเช้าที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง ในฐานะผอ.ศอฉ.เป็นประธานว่า เวลานี้ยังไม่เหมาะสมที่จะใช้เคอร์ฟิว แต่โอกาสวันข้างหน้ายังไม่แน่นอนต้องดูความเหมาะสมของสถานการณ์ในแต่ละช่วงไปก่อน

เรื่องการทบทวนการใช้อาวุธของทหาร ตำรวจ ซึ่งที่ผ่านมาเราชี้แจงตลอดว่า การใช้อาวุธกระสุนจริง ก่อนการใช้มีขั้นตอนจากเบาไปหาหนัก แต่ขณะนี้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป เพราะมีความรุนแรงมาก อย่างไรก็ตาม ทหาร ตำรวจจะไม่ใช้อาวุธกับผู้ไม่มีอาวุธร้ายแรงในมือ หรือผู้ที่ไม่พยายามเฮโลมากดดันที่ด่านต่างๆ ของเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระยะห่าง ขณะนี้ผู้ก่อการร้ายพยายามนำกองยางมาตั้งเป็นบังเกอร์ใกล้แนวที่ทหาร ตำรวจตั้งด่าน ซึ่งเราไม่สามารถปล่อยให้มีการดำเนินการอย่างนั้นได้ จำเป็นต้องรักษาระยะห่างระหว่างแนวกองยาง กับด่านของเจ้าหน้าที่ไว้ที่ 350-400 เมตร เราพยายามใช้การยิงด้วยกระสุนจริงในพื้นที่ที่ไม่มีใครอยู่ เพื่อข่มขวัญ หรือป้องปรามไม่ให้มีความพยายามเคลื่อนกองยางเข้ามา แต่เขามีความพยายามตั้งกองยางเพื่อใช้อาวุธเอ็ม 79 ในการยิงทำร้ายเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และประชาชนผู้บริสุทธิ์ ซึ่งเอ็ม 79 มีระยะหวังผลที่ 150 เมตร และมีพื้นที่หวังผล 350 เมตร ดังนั้นไม่สามารถปล่อยให้บังเกอร์ผู้ก่อการร้ายมาอยู่ใกล้กับด่านเจ้า หน้าที่ในระยะใกล้กว่า 400 เมตรได้

ส่วนที่มีการตั้งข้อสงสัยว่า ขณะนี้ไม่มีทหารเสียชีวิตเลย เพราะเรานำมาบทเรียนเมื่อวันที่ 10 เม.ย.มาใช้ คือ ไม่ให้กลุ่มก่อการร้ายหรือผุ้ชุมนุมเข้าประชิดตัวได้ และเราได้มีการใช้กระสุนจริงในการปฏิบัติภารกิจ

พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า ส่วนกรณีที่นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงว่า มีการต่อสายคุยกับนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงนั้น เป็นความพยายามของนายณัฐวุฒิที่จะติดต่อเจรจาด้วยการใช้คำว่า ขอให้ทหารหยุดยิง ศอฉ.เรียนมาตลอดว่า เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจใช้กระสุนจริงต่อเมื่อถูกยิง ถูกกดดันด้วยอาวุธสงครามเข้ามาก่อน ดังนั้นหากให้ทหารหยุดยิง ไม่ใช่เรื่องยาก คือ การให้กลุ่มก่อการร้ายยุติการดำเนินการในลักษณะการทำร้ายเจ้าหน้าที่

“นายณัฐวุฒิเป็นแกนนำในพื้นที่ และพยายามบอกตลอดให้สังคมทราบว่า ไม่รู้ ไม่เห็นเกี่ยวกับการก่อการร้าย แต่ที่ผ่านมามีภาพ มีข้อมูลโยงใยว่า เป็นไปไม่ได้ที่แกนนำจะไม่รู้ว่า มีผู้ขนอาวุธ มีการตระเตรียมอาวุธยุทโธปกรณ์ไว้ในพื้นที่จำนวนมาก แต่สิ่งที่นายณัฐวุฒิได้เผลอพูดอกมากับนายกอร์ปศักดิ์ว่า เขาสามารถที่จะเรียกคนที่ออกมาสร้างความวุ่นวายภายนอกทั้งการใช้อาวุธสงคราม ยิงเจ้าหน้าที่ ประชาชนนั้น กลับมาที่แยกราชประสงค์ได้แต่ขอให้ทหารหยุดยิงแล้วกัน ซึ่งหลักฐานชัดเจน และเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงได้ว่า นายณัฐวุฒิ คือ ผู้ก่อการร้ายตัวใหญ่”  โฆษกศอฉ.กล่าว

พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. กล่าวว่า ปัจจุบันเจ้าหน้าที่สามารถการควบคุมการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตย (นปช.)ในพื้นที่ต่างๆ ได้ ภาพรวมการชุมนุมที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น 17 จังหวัด รวมมวลชนประมาณ 2,400 คน ในพื้นที่เขตแหลมฉบังมีมากที่สุด ประมาณ1,400-1,500 คน จังหวัดอื่นๆ ตามภาคเหนือ อีสาน มีจังหวัดละ 50-100 คน

สิ่งที่ ศอฉ.ต้องการมากที่สุดคือการยุติการก่อจลาจลนอกพื้นที่เรดโซน ต้องไม่ให้มีการตั้งเวทีปราศรัยในจุดต่างๆ โดยหากมีการตั้งเวที คนปราศรัยจะเจอหมายจับ คนฟังการปราศรัยจะได้รับหมายเรียกตามกฎหมายพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่จะดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเต็มที่

ไทยรัฐออนไลน์ รายงานว่า พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กล่าวถึงการซุ่มยิงและทำร้ายประชาชนกับเจ้าหน้าที่ว่า ยังมีกลุ่มบุคคลไม่ทราบฝ่าย ใช้อาวุธปืนยิงมาจากอาคารชีวาทัย ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ติดกับโรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค ทำให้ไม่สามารถเข้าไปประชาสัมพันธ์กดดันกับผู้ชุมนุมได้ ทางบก.น.1 จึงได้ประสานหน่วยทหารให้ดำเนินการต่อไป

ผบช.น.กล่าวอีกว่า วันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา เวลา 18.00 น. เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่ชั้น 3 อาคารชีวาทัย คาดว่าจะมีมือปืนซ่อนตัวอยู่ หลังเกิดเหตุได้ประสานกทม. นำรถดับเพลิง 3 คันมาควบคุมเพลิง จนกระทั่งเวลาประมาณ 20.00 น. เพลิงจึงสงบ และวันที่ 18 พ.ค. เวลา 07.00 น. เกิดเพลิงไหม้อาคารร้าง เลขที่ 12 ถนนดินแดง แขวงและเขตดินแดง รถดับเพลิง 10 คันรุดไปที่เกิดเหตุ ใช้เวลาควบคุมเพลิง 2 ชั่วโมงจึงสงบ ผู้ชุมนุมจับกุมตัวนายแดง (นามสมมุติ) อายุ 14 ปี สอบสวนรับสารภาพว่า เป็นผู้ลงมือวางเพลิง ทำด้วยความคึกคะนอง จึงส่งตัวดำเนินคดีตามกฎหมาย และนำตัวส่งสถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน  (ดู “ศอฉ.แถลงจับมือขวาเสธ.แดง หน.คุมการ์ด เผย 5วัน มีการยิงเอ็ม 79 รวม 56 ลูก,” ประขาไท, 18 พ.ค. 53)

16.30 น. นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลง

นายสาทิตย์ชี้แจงในนามของรัฐบาลและทางศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ถึงประเด็นที่มีกลุ่มสมาชิกวุฒิสภา นำโดยประธานสมาชิกวุฒิสภา เสนอตัว เป็นคนกลางในการเจรจาระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายของผู้ชุมนุมนั้น ว่าแนวทางของการเจรจานั้น เป็นแนวทางที่รัฐบาลได้ดำเนินการมาโดยตลอด รวมถึงการเสนอแผนปรองดองก่อนหน้านี้ แต่ก็ถูกปฏิเสธโดยฝ่ายของกลุ่มผู้ชุมนุม โดยเฉพาะก็มีการปรากฎข้อมูลชัดเจนว่าเป็นการแทรกแซงในการตัดสินใจโดยผู้บงการซึ่งอยู่ต่างประเทศ อย่างไรก็ตามเมื่อทาง สว. ได้มีการเสนอตัวเป็นคนกลางในการเจรจานั้น ทางฝ่ายรัฐบาลก็ให้ความสำคัญ โดยทางนายกรัฐมนตรีได้โทรศัพท์ไปยังท่านประธานวุฒิสภา เพื่อชี้แจงถึงแนวทางจุดยืนของรัฐบาลเป็นอย่างไร แต่เนื่องจากสถานการณ์ขณะนี้ บานปลายออกไป เป็นการสร้างความรุนแรง โดยมีกลุ่มของมวลชน ซึ่งใช้ความรุนแรง และกลุ่มของผู้ก่อการร้าย ซึ่งใช้อาวุธสงคราม ร้ายแรง โจมตีรัฐบาล ผู้ที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ และประชาชนผู้บริสุทธิ์ จนทำให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน ในวงกว้าง ดังนั้นทางรัฐบาลจึงได้ ชี้แจงจุดยืนไปว่า สถานการณ์นี้ จะยุติลงได้ และมีการเจรจา ต่อเมื่อมีการยุติการชุมนุมแล้ว

นายปณิธานชี้แจงว่า คณะรัฐมนตรีได้ปรึกษาหารือกันในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นในวันนี้ และมีมติยืนยันว่า รัฐบาลเดินหน้าผลักดันแผนปรองดอง ซึ่งมีห้าองค์ประกอบที่ชัดเจน และได้รับการสนับสนุนจากในประเทศและนานาชาติ การควบคุมพื้นที่ราชประสงค์ไม่มีปัญหาเท่าไหร่แล้วนะครับ ในพื้นที่เองก็มีสถานการณ์ที่ปรกติแล้วก็มีผู้คนที่ไปชุมนุมน้อยลงตามลำดับ ถึงแม้ว่าหลายพื้นที่ขณะนี้การชุมนุมก็คลี่คลายลงตามลำดับ แต่กลุ่มมวลชนบางกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มที่ติดอาวุธ ก็ยังสามารถที่จะยั่วยุ วางกำลัง และก็สามารถที่จะโจมตีทำร้ายเจ้าหน้าที่ทำร้ายประชาชนได้

เพราะฉะนั้นก็เป็นความจำเป็นที่จะต้องประกาศให้ประชาชนทราบว่าจะต้องหลีกเลี่ยงจากพื้นที่เหล่านี้ ผู้แทนของศอฉ.ได้รายงานให้กับคณะรัฐมนตรีทราบว่า มีพลแม่นปืน ติดอาวุธ อยู่ในกลุ่มกองกำลังติดอาวุธ เพื่อที่จะทำร้ายประชาชน ทำร้ายผู้สื่อข่าว ทำร้ายผู้แทน ของหน่วยงานแพทย์และอนามัย จึงต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง แต่ขณะนี้การเข้าไปปิดเส้นทางเหล่านั้น การเข้าไปสกัดกั้น การเข้าไปกดดันก็ทำงานได้ผลขึ้นตามลำดับ แต่ว่าจะต้องใช้เวลา นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีก็มีมติให้ตั้งแต่วันที่ ๑๙ ถึงวันที่ ๒๑ พ.ค.๒๕๕๓ เป็นวันหยุดราชการ ในเขต กทม.
ดูคลิป 20100518_CRES_002

เวลา 18.30 น.ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร. 11 รอ.) พล.ต.ต. อำนวย นิ่มมะโน รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รองผบช.น.) และพ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ร่วมกันแถลงข่าวผ่านสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

พล.ต.ต. อำนวยกล่าวว่า กรณีที่มีความพยายามจะตั้งเวทีคู่ขนานกับเวทีที่แยกราชประสงค์ ซึ่งการชุมนุมที่แยกราชประสงค์นั้นศาลแพ่งได้ชี้แล้วว่าเป็นการชุมนุมที่ผิด กฎหมาย เพราะมีการใช้ความรุนแรง มีการละเมิดสิทธิของสาธารณชน อีกทั้งในระยะหลังมานี้มีความชัดเจนว่าไม่ใช่การชุมนุมที่สงบ และก่อให้เกิดความรุนแรง ดังนั้น ใครก็ตามที่ตั้งเวทีคู่ขนานสนับสนุนเวทีราชประสงค์ เท่ากับเป็นการสนับสนุนการกระทำผิดกฎหมาย สนับสนุนการใช้ความรุนแรงภายใต้พื้นที่ที่มีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งเข้าข่ายองค์ประกอบเป็นผู้สนับสนุนการก่อเหตุร้าย

ขณะนี้ศาลอาญารัชดาได้อนุมัติหมายจับแล้ว 2 เวที คือ เวทีที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และเวทีย่านนางเลิ้ง ใกล้มูลนิธิบ้านเลขที่ 111 ทั้งนี้ ทุกเวทีที่มีการตั้งจะมีการขออนุมัติหมายจับแกนนำและผู้ที่ไปตั้งเวทีคู่ ขนานทุกราย รวมถึงเวทีในต่างจังหวัดที่มีการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ด้วย

นอกจากนี้ บช.น.ยังได้ดำเนินการในเชิงรุก โดยได้อายัดยางรถยนต์เก่าซึ่งอยู่ในร้านค้ายางรวม 139 ร้านค้า รวมยาง 21,660 เส้น ซึ่งทั้งหมดนี้ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนเด็ดขาด หากร้านใดจะจำหน่ายต้องไปขออนุมัติจากสถานีตำรวจในท้องที่ ไม่เช่นนั้นจะอนุมัติหมายจับ นอกจากนี้ในส่วนกองบัญคับการตำรวจภูธรภาค 1 (บช.ภ. 1) ยังได้อายัดยางเอาไว้ 9,000 เส้น เมื่อรวมยางของ บช.น. และบช.ภ.1 ขณะนี้ได้อาญัติยางไว้กว่า 30,000 เส้น

พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่าที่ผ่านมายังคงมีการบิดเบือนข่าวสารสร้างภาพลักษณ์ที่เสียหายแก่เจ้าหน้าที่ ในสายตาต่างชาติโดยตลอด จากนั้น ได้ทำการชี้แจงโดยมีการนำเอารูปทหารจำนวน 7 คนที่ถูกยิงตาย ซึ่งถูกนำมากล่าวอ้างว่าเป็นทหารที่กำลังปลดประจำการและถูกยิงชีวิตโดนผู้ บังคับบัญชาเนื่องจากไม่ยอมไปปราบผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง ทั้งที่รูปดังกล่าวเป็นรูปของทหารที่เสียชีวิตจากการทำหน้าที่ที่บันนังสตา ในปี 2550

หลังจากนั้น พ.อ.สรรเสริญได้โชว์ภาพนิ่งเพิ่มเติมจากวันก่อน โดยภาพที่นำมาโชว์เป็นเด็กคนเดียวกันแต่ร้องไห้หลังจากวันก่อนเป็นช่วงที่ ไม่ได้ร้องไห้ นอกจากนั้นได้แสดงคลิปผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงสอนให้เด็กเป็นคนจุดป้องไฟยิงใส่ ทหาร โดยกล่าวว่านอกจากใช้เด็กเป็นโล่มนุษย์ ยังปลูกฝังค่านิยมความรุนแรงให้เยาวชนรวม รวมทั้งเปิดคลิปผู้ก่อการร้ายสวมเครื่องแบบที่ดูคล้ายเจ้าหน้าที่ โดยแจงว่าเป็นการใส่ร้ายเจ้าหน้าที่ และขอให้ประชาชนใช้ดุลพินิจในการบริโภคข่าวสาร โดยตรวจสอบข้อมูลจากข่าวของรัฐอีกครั้งหนึ่งด้วย  (ดู “ศอฉ.แถลง ศาลออกหมายจับ 5 แกนนำตั้งเวทีคู่ขนาน ขู่ดำเนินการในต่างจังหวัดด้วย,” ประขาไท, 18 พ.ค. 53 ; ดูคลิป 20100518_CRES_003)

20.30 น. พล.ท. ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองเสนาธิการทหารบกแถลงว่า ผู้ชุมนุมพื้นที่ราชประสงค์ลดลงเหลือ 3,000-5,000 คน ขณะนี้เจ้าหน้าที่ทหารซึ่งปิดล้อมราชประสงค์อยู่นั้นต้องเผชิญอยู่กับอาวุธสงครามของกองกำลังติดอาวุธ ซึ่งแฝงตัวอยู่ในผู้ชุมนุม ที่อยู่รายล้อมรอบด่านด้านนอก โดยเฉพาะด้านราชปรารภ ประตูน้ำ และบ่อนไก่ ในห้วงเวลาตั้งแต่เริ่มขยับวงล้อมเข้าไป สามสี่วันที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ที่ประจำด่านก็ถูกอาวุธยิงเข้ามา ทั้งปืนเล็ก กระสุน M79 รวมถึงสิ่งเทียมอาวุธ เท่าที่บันทึกไว้ในช่วงตั้งแต่วันที่ 13 จนถึงปัจจุบัน ถูกยิง M79 รวมกันแล้ว 58 นัด นอกจากนั้น สิ่งที่เจ้าหน้าที่เผชิญอยู่ก็คือ การก่อความวุ่นวายของผู้ชุมนุมที่อยู่ด้านนอก มีการเผายางรถยนต์ มีการเผายานพาหนะของทางราชการ มีการเผาทำลายสิ่งก่อสร้าง และยังมีการลอบทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์

สิ่งที่แกนนำผู้ชุมนุมกำลังทำอยู่คือ พยายามสร้างภาพความวุ่นวายให้เห็นว่ารัฐนั้นไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ เพื่อจะให้เกิดความรุนแรง ยั่วยุให้เจ้าหน้าที่ใช้กำลัง ใช้อาวุธสงครามเข้าทำร้ายประชาชน และพยายามที่จะดึงองค์กรระหว่างประเทศเข้ามา

หลังกองยางที่นปช.อยู่สุ่มเสี่ยงที่จะถูกกองกำลังติดอาวุธเข้าทำร้ายท่าน และโยนความผิดให้เจ้าหน้าที่ ถามว่าทำไมทหารถึงไม่บาดเจ็บ หรือบาดเจ็บน้อย แล้วก็ไม่เสียชีวิตเลย จากประสบการณ์จากวันที่ 10 เม.ย. เราก็ปรับให้มีระยะห่างกับผู้ชุมนุมประมาณ 300-400 เมตร เพื่อป้องกันอาวุธของกองกำลังติดอาวุธ นอกจากนั้นเราก็ยังมีส่วนระวังป้องกันในพื้นที่ที่เราวางตัวอยู่ ตรวจการลงไปยังพื้นที่ตรงหน้า ถ้าเราพบ กองกำลังติดอาวุธถืออาวุธอยู่ เราก็จะสกัด

ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บนั้น ผมก็ตอบไม่ได้ว่ามาจากการสกัดกั้นของเรา หรือกองกำลังติดอาวุธ แต่เวลาบาดเจ็บเขาอยู่ในแนวของผู้ชุมนุมหลังกองยางหรืออยู่ในที่ใดก็ตาม พอได้รับบาดเจ็บ เวลานำส่งโรงพยาบาลเขาไม่ได้เอาปืนที่คนๆ นั้นถือติดไปด้วย ภาพก็จะกลายเป็นว่าเจ้าหน้าที่ยิงผู้บริสุทธิ์ ทั้งๆ ที่ในข้อเท็จจริง ในบางโอกาสคนๆ นั้นอาจจะถืออาวุธอยู่ก็ได้ แล้วเจ้าหน้าที่ที่ระวังป้องกันนั้นได้หยุดยั้งเขาเสียก่อน แต่ก็ไม่ได้มุ่งหมายถึงชีวิต

วันที่ 10 เม.ย. ที่คอกวัวกับสตรีวิทย์ กองกำลังติดอาวุธที่แฝงตัวอยู่ได้ใช้ลูกระเบิดขว้าง 2 ลูก M79 รวมแล้ว 25 นัดยิงเข้าใส่เจ้าหน้าที่ รวมทั้งใช้ปืนเล็กกับอาวุธสงครามยิงเข้าใส่ทหาร เราเสียชีวิตไป 5 คน บาดเจ็บ 567 คน ถ้าทหารวางกำลังแบบนั้นอีก จะเกิดการสูญเสียแน่

ทำไมประชาชนถึงตาย เพราะมีกองกำลังแฝงตัวอยู่ บางคนก็อาจจะเป็นผู้ก่อการที่ถือปืน บางคนก็อาจจะพยายามคืบคลานเข้ามาในแนวที่เราติดป้ายไว้แล้วว่า เป็นแนวกระสุนจริง ก็ยังเข้ามาเพื่อจะทำอะไรก็แล้วแต่ เราก็จะรักษาระยะห่างไม่ยอมให้เข้า ก็ใช้อาวุธตามหลักที่เรากำหนดไว้

ในพื้นที่ต่างจังหวัดก็มีเหตุการณ์เกิดขึ้นหลายจังหวัดเหมือนกัน ในลักษณะของการตั้งเวทีคู่ขนาน มีการปิดถนนบ้างเล็กน้อย หลังจากที่เราประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพิ่มเติมในบางจังหวัด ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะ ผบ.กองกำลังจังหวัด ก็ได้เข้าไปคลี่คลายสถานการณ์ ซึ่งในภาพรวมยังถือว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ได้

ดูคลิป 20100518_CRES_004

 

19 พฤษภาคม 2553

นปช. – ประมาณ 13.45 น. แกนนำ นปช. บางส่วนเข้ามอบตัว

เหตุการณ์ความรุนแรงและจลาจลเกิดขึ้นใน กรุงเทพมหานคร โดยเกิดเพลิงไหม้อาคารต่างๆ รวมทั้งตลาดหลักทรัพย์ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3 ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัวเวิลด์ และเกิดเหตุการณ์ทำนองเดียวกันในหลายจังหวัด โดยเฉพาะที่ศาลาว่าการประจำจังหวัด

รัฐบาล –  รัฐบาลประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในอีก 2 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ และมุกดาหาร

ทหารบุกสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์ตั้งแต่เวลา 5.45 น.

เวลา 09.35 น. นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยว่า รัฐบาลและ ศอฉ.กำลังปฏิบัติการกระชับวงล้อมเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องวันนี้ เพื่อที่จะให้มีการรักษาความปลอดภัย ดูแลความสงบ ระงับเหตุร้าย และบรรเทาสาธารณภัยที่เกิดขึ้นเมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา ขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงเข้าไปในพื้นที่ปฏิบัติการ รัฐบาลขอให้เจ้าหน้าที่ในท้องถิ่น รวมทั้ง กทม. ได้เตรียมความพร้อมในการเข้าไปบรรเทาสาธารณภัย ชุมชนอาสาสมัครต่างๆ ที่จะเข้าไปดูแลปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้ก็พร้อมแล้ว ประชาชนที่อยู่ในบริเวณต่างๆ หากว่าได้พบเห็นเหตุร้าย สาธารณภัย อักคีภัย ขอให้แจ้งไปที่สายด่วนของ กทม. หรือหน่วยงานต่างๆ

ดูคลิป 20100519_CRES_001

เวลา 11.35 น. นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ยัน ศอฉ. ควบคุมพื้นที่ลุมพินีได้แล้ว และกำลังมีการกระชับวงล้อมเพิ่มในบริเวณใกล้เคียง รวมทั้งได้รับแจ้งว่าแกนนำ นปช. บางคนได้ทำการหลบหนีออกจากพื้นที่แล้ว หากประชาชนที่พบเห็นแกนนำ นปช. หรือการก่อเหตุการณ์ความไม่สงบให้โทรแจ้งมายังสายตรงของ ศอฉ. ส่วนผู้ชุมนุมที่ต้องการกลับภูมิลำเนานั้นมีจุดรับส่งที่สนามกีฬาแห่งชาติ โดยสามารถใช้เส้นทางผ่านสี่แยกปทุมวันซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ของ ศอฉ. คอยดูแลอยู่

ดูคลิป 20100519_CRES_002

14.00 น. พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก ในฐานะโฆษกศอฉ. แถลงว่า ในขณะนี้ ศอฉ. ควบคุมสถานการณ์ในภาพรวมไว้ได้แล้ว ขณะนี้กำลังอำนวยความสะดวกให้ผู้ชุมนุมเดินทางกลับภูมิลำเนา โดยขอให้ผู้ชุมนุมไปที่สนามกีฬาแห่งชาติ และลำดับต่อไปจะดำเนินการควบคุมตัวแกนนำ ส่วนการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ได้หยุดการรุกคืบหน้าในภาพรวมแล้ว

ดูคลิป 20100519_CRES_003

เวลา 16.00 น. ศอฉ. ประกาศเคอร์ฟิว โดยนายกรัฐมนตรีได้ออกข้อกำหนดตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉินห้ามมิให้บุคคลใดในเขตพื้นที่ กทม. ออกนอกเคหะสถานภายในเวลาตั้งแต่ 20.00 น. ของวันที่ 19 พ.ค. 53 ถึงเวลา 06.00 น.ของวันที่ 20 พ.ค.53  (ดู “ศอฉ.ประกาศเคอร์ฟิวตั้งแต่คืนนี้ 20.00 น.ถึง 06.00 น.วันพรุ่งนี้,” ประขาไท, 19 พ.ค. 53 ; ดูคลิป 20100519_CRES_004)

เวลา 17.00 น. นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฯ รายงานความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาความความไม่สงบ ซึ่งมีกลุ่มบุคคลออกมาก่อการจราจลในหลายพื้นที่ ว่าขณะนี้เจ้าหน้าสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ตามลำดับ แต่เจ้าหน้าที่ยังคงต้องทำงานต่อไปโดยเฉพาะในยามค่ำคืน เมื่อสถานการณ์ยังไม่เรียบร้อย รัฐบาลขอความร่วมมือประชาชนให้ช่วยกันเฝ้าระวัง และให้อยู่ในบ้านไม่ออกนอกเคหะสถาน อีกสักครู่โทรทัศน์ทุกช่องจะมีการปรับผังรายการพิเศษเพื่อให้รัฐบาลสื่อสารกับประชาชนอย่างเป็นระบบ

รัฐบาลขอเรียกร้องให้ทุกคนที่กำลังก่อความไม่สงบยุติการกระทำดังกล่าว ขณะนี้แกนนำ นปช. ได้ยุติการชุมนุมแล้ว และได้ยอมรับแผนปรองดองแห่งชาติตั้งแต่แรก รัฐบาลหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้นำเอาแผนปรองดองมาแก้ไขปัญหาของประชาชน

ดูคลิป 20100519_CRES_005

เวลา 18.30 น. โทรทัศน์ออกอากาศรายการพิเศษเพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนในขั้นตอนการปฏิบัติตัว การเตรียมความพร้อมในการประกาศเคอร์ฟิวของรัฐบาลเพื่อเตรียมตัวสำหรับการรับมือสถานการณ์ที่ฉุกเฉินร้ายแรงในค่ำคืนนี้ และให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการยับยั้งเหตุการณ์ที่รุนแรงและเลวร้ายที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยของเรา มีนายแทนคุณ จิตต์อิสระ เป็นผู้ดำเนินรายการ และมีนายปณิธาน วัฒนายากร พนิช วิกิตเศรษฐ์ ในฐานนะผู้ช่วย รมต. กระทรวงต่างประเทศ และอนุสิทธิ์ คุณากร ในฐานะรองเลขาธิการ สมช. เป็นผู้มาพูดให้ข้อมูล

ปณิธานอธิบายสาเหตุของการลุกลามของสถานการณ์หลังจากที่แกนนำมอบแล้วว่า ได้มีกองกำลังติดอาวุธปะปนในพื้นที่ชุมนุมและนอกพื้นที่ชุมนุมตามที่เคยอธิบายไว้ก่อนแล้ว เข้าปะทะกับเจ้าหน้าที่และทำร้ายประชาชน  ปฏิบัติการในคืนนี้เป็นการจัดการกับกลุ่มคนที่ไม่ยอมยุติการชุมนุมและไม่ยอมรับแผนปรองดอง ขณะนี้ทางต่างประเทศเข้าใจและเห็นแล้วว่าเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน

จุดประสงค์ของแกนนำบางกลุ่มและคนที่อยู่เบื้องหลังคือการลดความน่าเชื่อถือของประเทศไทย เขาโจมตีเจ้าหน้าที่เพื่อให้เจ้าหน้าที่ต่อสู้ แล้วตัดตอนว่าเจ้าหน้าที่ต่อสู้กับประชาชน ทำให้ประชาชนล้มตาย เขาจะเอาสิ่งเหล่านี้ไปร้องเรียนกับนานาชาติ ทำให้รัฐบาลนั้นหมดสภาพจากการกดดันจากต่างประเทศ แต่ต่างประเทศก็เห็นว่าแนวทางของรัฐบาลนั้นถูกต้องแล้ว คืนนี้สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ก็จะคุยกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเขามีจุดยืนสนับสนุนการทำงานของรัฐบาล แต่เป็นห่วงเรื่องความรุนแรง

ดูคลิป 20100519_CRES_006

เวลา 19.50 น. ศอฉ.ประกาศเคอร์ฟิว โดยนายกรัฐมนตรีได้ออกข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ห้ามมิให้บุคคลใดในเขตพื้นที่ประกาศสถานการณ์สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงทั่วประเทศ เพิ่มอีก 23 จังหวัด (ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดชลบุรี จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดน่าน จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสกลนคร จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดมุกดาหาร) ออกนอกเคหะสถานภายในเวลาตั้งแต่ 20.00 น. ของวันที่ 19 พ.ค. 53 ถึงเวลา 06.00 น.ของวันที่ 20 พ.ค. 53  (ดู “ศอฉ.ประกาศเคอร์ฟิวตั้งแต่คืนนี้ 20.00 น.ถึง 06.00 น.วันพรุ่งนี้,” ประชาไท, 19 พ.ค. 53 ; ดูคลิป 20100519_CRES_007)

เวลา 22.00 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย รายงานสถานการณ์ที่ผ่านมาว่า จากมาตรการในการกระชับวงล้อมการชุมนุมในพื้นที่ราชประสงค์ช่วงที่ผ่านมา ได้เกิดปฏิกิริยาจากผู้ชุมนุมและจากผู้ก่อการร้าย ซึ่งทำให้เกิดเหตุการณ์การวางเพลิงหรือการปิดเส้นทางการจราจรหลายจุด ดังนั้นเราจึงได้ตัดสินใจในการกระชับวงล้อมเมื่อเช้านี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ยุติการชุมนุมโดยเร็วที่สุด ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ยึดหลักปฏิบัติตามหลักสากล ต่อมาในช่วงบ่ายแกนนำผู้ชุมนุมได้ยุติการชุมนุม ทาง ศอฉ. ก็อำนวยความสะดวกให้ผู้ชุมนุมเดินทางกลับภูมิลำเนา และเข้าตรวจพื้นที่ต่างๆ ซึ่งก็ได้ตรวจพบอาวุธจำนวนมาก ตามที่ได้รายงานให้ประชาชนทราบไปแล้ว

อย่างไรก็ดีการยุติการชุมนุมได้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่กลุ่มที่ใช้อาวุธก่อการร้าย จึงได้เดินหน้าสร้างความวุ่นวาย สร้างความปั่นป่วน โดยเฉพาะการวางเพลิง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้เร่งคลี่คลายสถานการณ์ บางจุดเจ้าหน้าที่สามารถระงับเหตุได้ แต่หลายจุดมีผู้ใช้อาวุธต่อผู้ที่พยายามเข้าไปดับเพลิงหรือช่วยเหลือประชาชน ทำให้ยากลำบากในการระงับเหตุนั้นๆ  และเพื่อให้การทำงานของเจ้าหน้าที่สะดวกมากขึ้น จึงจำเป็นต้องประกาศเคอร์ฟิว ขณะนี้ ศอฉ. ได้ดำเนินการดูแลผลกระทบที่จะเกิดขึ้นและเฝ้าระวังป้องกันในคืนนี้

ทั้งหมดนี้มีเป้าหมายเดียวคือ นำความสงบสุขกลับคืนสู่บ้านเมือง บุคคลที่กำลังทำผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการวางเพลิง จะมีโทษหนักและก็เชื่อมโยงกับเรื่องของความผิดฐานการก่อการร้ายด้วย  ขอให้ประชาชนให้ความร่วมมือกับมาตรการที่รัฐบาลและ ศอฉ. ประกาศและเฝ้าระวังเป็นหูเป็นตาให้กับเจ้าหน้าที่

ดูคลิป 20100519_CRES_008_PM

เวลา 22.13 น. นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และ พ.ต.อ.ทรงพล วัธนะชัย รองผู้บังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (รองผบก.อก.บช.น.) และรองโฆษก บช.น.แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

โดยนายธาริตประกาศเตือนผู้ไม่หวังดีกับบ้านเมือง ให้หยุดยั้งการกระทำความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์สถานที่ราชการและเอกชน และความผิดฐานก่อการร้าย เพราะมีโทษรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต และความผิดทั้งสองฐานนั้นมีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน หากพบการกระทำที่จะวางเพลิงเผาทรัพย์หรือปล้นสะดมภ์เจ้าหน้าที่มีความจำเป็นที่จะต้องอาวุธ โดยเฉพาะอาวุธปืน ยิงสะกัดกั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุร้าย ถ้าท่านไปร่วมการชุมนุมห้อมล้อมสถานที่ราชการและมีการวางเพลิงก็ถือเป็นความผิดร่วมกันทั้งสิ้น

ดูคลิป 20100519_CRES_009

เวลา 22.35 น. พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก ในฐานะโฆษกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) แถลงว่า ศอฉ. ได้จัดประชุมเพื่อสรุปผลการปฏิบัติเมื่อเวลา 19.30 น. โดยมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ เป็นประธานการประชุม และมีนายกฯ เข้ารับฟังการประชุมด้วย

พ.อ. สรรเสริญแจ้งผลการประชุมที่สำคัญ ได้แก่

  1. ทบทวนการปฏิบัติในช่วงที่ผ่านมา: กลุ่ม นปช. ได้ชุมนุมที่แยกราชประสงค์เป็นเวลากว่า 1 เดือน ซึ่งสร้างผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อประชาชนและประเทศชาติ จนกระทั่ง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ศอฉ. ได้ปรับกำลังกระชับวงล้อมเพื่อบีบพื้นที่การชุมนุมให้น้อยลง ซึ่งการชุมนุมนั้นได้ยกระดับเป็นการก่อการร้ายเต็มรูปแบบ การกระชับวงล้อมเป็นลักษณะสี่เหลี่ยมเพื่อที่จะสกัดกั้นไม่ให้มีการเพิ่มเติมบุคคลเข้าไปในพื้นที่ชุมนุม แต่สามารถผ่านออกมาได้ และเป็นการป้องกันไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายอาวุธสงครามเข้าออกในพื้นที่ ซึ่งได้ดำเนินการควบคู่ไปกับการจำกัดการบริการสาธารณะในทุกรูปแบบ เพื่อยุติการชุมนุมหรือลดจำนวนผู้ชุมนุมลง แต่กลุ่มก่อการร้ายในพื้นที่การชุมนุมของคนเสื้อแดงก็ยังเพิกเฉย จนกระทั่งวันนี้ เวลา 5.45 น. ศอฉ. ได้ตัดสินใจเข้ากดดันและควบคุมพื้นที่บริเวณสวนลุมพินีเนื่องจากมีข้อมูลข่าวสารชัดเจนว่าในพื้นที่มีการซ่องสุมอาวุธสงครามและมีการก่อการร้ายอย่างเต็มรูปแบบ มีความพยายามยิงอาวุธทำร้ายเจ้าหน้าที่ตามด่านต่างๆ รวมทั้งประชาชนผู้บริสุทธ์ด้วยในเวลา 10.15 น. ศอฉ.ก็สามารถควบคุมพื้นที่สวนลุมพินีได้สมบูรณ์แล้วดำเนินการขั้นต่อไป คือปรับแนววางกำลังเพื่อกระชับวงล้อมต่อโดยเริ่มตั้งแต่แยกสามย่าน อังรีดูนังค์ และศาลาแดง มุ่งหน้าเข้าสู่แยกราชประสงค์ แต่ปรากฏว่ากลุ่มก่อการร้ายในพื้นที่ได้พยายามสร้างสถานการณ์ โดยการเผาทำลายอาคารต่างๆ ตลอดเวลา ศอฉ.จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการปรับการวางกำลัง รุกคืบหน้าต่อไปเพื่อเปิดทางให้หน่วยงานต่างๆ เข้าไปควบคุมเพลิงเวลา 13.45 น. เจ้าหน้าที่สามารถเข้ากดดันจนทำให้แกนนำของกลุ่มก่อการร้ายต้องยุติการชุมนุมและยอมมอบตัว หลังจากนั้น ศอฉ.ได้หยุดเคลื่อนกำลังเข้ากดดันบริเวณพื้นที่แยกราชประสงค์เพื่อลดบรรยากาศความตึงเครียด และอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนผู้หลงผิดที่จะกลับภูมิลำเนาได้เดินทางออก ขณะเดียวกันก็ดำเนินการควบคุมตัวแกนนำไปยังสถานที่ที่จัดเตรียมไว้ ทั้งนี้ในระหว่างที่เจ้าหน้าที่ได้หยุดการเคลื่อนกำลัง ปรากฏว่ากลุ่มผู้ก่อการร้ายที่แฝงตัวอยู่ก็ได้ก่อความวุ่นวาย โดยเข้าทุบทำลายห้างร้าน วางเพลิงอาคารสถานที่สำคัญต่างๆ กว่า 20 แห่ง อย่างไรก็ดีขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้เข้าควบคุมเพลิงได้เกือบหมดแล้ว คงเหลือแต่เพียง CTWที่ยังควบคุมเพลิงไม่ได้ทั้งหมด ด้วยมีผู้ก่อการร้ายซุ่มยิงอยู่บนอาคารสูง ลอบทำร้ายเจ้าหน้าที่ แต่ในขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังพยายามคลี่คลายสถานการณ์อยู่ ในขณะเดียวกันในต่างจังหวัดก็ได้มีการพยายามสร้างสถานการณ์ความวุ่นวายขึ้น แต่ขณะนี้สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ทุกจังหวัด
  2. จนกระทั่งปัจจุบัน ได้มีการประกาศพื้นที่ที่มีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ทั้งสิ้น 24 จังหวัด ซึ่งได้ประกาศเคอร์ฟิวเพื่อควบคุมสถานการณ์
  3. การปฏิบัติภารกิจในวันนี้จนถึงเวลา 20.00 น. จากการตรวจสอบปรากฏว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บ 59 ราย เสียชีวิต 6 ราย เป็นทหาร 1 นาย ชาวอิตาลี 1 ราย สตรี 1คน ผู้ชาย 3 คน
  4. สถานการณ์โดยรวม พื้นที่ชั้นในบริเวณแยกราชประสงค์ยังเป็นพื้นที่เสี่ยงอยู่ สำหรับผู้ชุมนุมนั้นยังคงเหลืออยู่ในสามพื้นที่ คือ โรงพยาบาลตำรวจ โรงแรมอมรินทร์ และวัดประทุมฯ ซึ่งวันพรุ่งนี้ตำรวจจะเป็นแกนหลักเข้าไปคัดแยกและพิจารณาดำเนินการตามข้อกฎหมายและส่งกลับภูมิลำเนา

ดูคลิป 20100519_CRES_010

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – ส.ว. สายพิราบแถลงถูกรัฐบาลหักหลัง

หมายเหตุ –

 

ปฏิกิริยาต่างๆ ต่อการเข้าสลายการชุมนุม

14 พฤษภาคม 2553 – นปช. อุบลราชธานี ใช้รถยนต์ ปิดสะพานเสรีประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสะพานคู่ข้ามแม่น้ำมูลระหว่าง อ.เมือง กับอ.วารินชำราบ(www.khaosod.co.th 15 พ.ค.53)

15 พฤษภาคม 2553 – นปช. เชียงใหม่ เดินทางไปยังจวนผู้ว่าฯ สถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา จีน อังกฤษ และ ไปที่ค่าย กาวิละ คัดค้านการใช้ความรุนแรงที่กรุงเทพ(www.khaosod.co.th 16 พ.ค.53)

16 พฤษภาคม 2553 – นปช. อุบลราชธานี จุดไฟเผายางรถยนต์ตามสถานที่ต่างๆ โดยในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 บุกเข้าเผาศาลากลาง และปะทะกับเจ้าหน้าที่(www.khaosod.co.th 17,20,21 พ.ค.53)

นปช. พะเยา ชุมนุมที่หน้าศาลากลางจังหวัด เรียกร้องให้รัฐบาลหยุดสั่งยิงที่กรุงเทพฯ(www.khaosod.co.th 17 พ.ค.53)

17 พฤษภาคม 2553 – นปช.ร้อยเอ็ด ปิดถ.สุริยะเดชบำรุง กลางเมืองร้อยเอ็ด หน้าศาลากลาง

กลุ่มพระสงฆ์ ยื่นหนังสือถึงสหประชาชาติ(ยูเอ็น) เรียกร้องรัฐบาลยุติใช้ความรุนแรงเข่นฆ่าประชาชน และให้ยูเอ็นเข้ามาไกล่เกลี่ยปัญหาความรุนแรงระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มเสื้อแดง

นปช. จังหวัดชลบุรี ชุมนุมที่สี่แยกทางเข้าท่าเรือแหลมฉบัง อ.ศรีราชา

นปช. จังหวัดเชียงราย ชุมนุมที่ศาลากลาง เรียกร้องให้รัฐบาลยุติความรุนแรง

นปช. จังหวัดนครราชสีมา ชุมนุมที่ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี

นปช. จังหวัดมหาสารคาม แห่ขบวนจักรยานยนต์ บีบแตรขับไล่รัฐบาลทั่วเขตเทศบาล และมีการเผายางรถยนต์ตามจุดต่างๆกว่า 10 จุด

นปช. จังหวัดเลย ชุมนุมที่สนามกีฬาจังหวัด เรียกร้องให้รัฐบาลหยุดปราบปราบประชาชน

นปช. จังหวัดมุกดาหาร ชุมนุมที่ศาลากลางจังหวัด เรียกร้องให้รัฐบาลยุติการเข่นฆ่าประชาชน

เกิดเหตุระเบิดที่ธนาคารกรุงเทพ สาขาลำลูกกา คลอง 2 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา ปทุมธานี

เกิดเหตุปาประทัดยักษ์ใส่ธนาคารทหารไทย สาขาหนองหอย อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่

เกิดเหตุปาระเบิดธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาช้างเผือก อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
(www.khaosod.co.th 18 ,21 พ.ค.53)

19 พฤษภาคม 2553 – เกิดเหตุเผาทำลายสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพ 36 จุด ประกอบด้วย 1) ศูนย์การค้าเซ็น เซ็นทรัลเวิลด์ สี่แยกราชประสงค์ 2) โรงภาพยนตร์สยามสแควร์ 3)อาคารตลาดหลักทรัพย์ ถ.รัชดา เขตคลองเตย 4) อาคารมาลีนนท์ 5.) ธ.กรุงเทพ สาขาพระราม 4 เขตคลองเตย 6)การไฟฟ้านครหลวง คลองเตย 7) ธ.กรุงเทพ สาขาอโศก ดินแดง 8) ธ.ออมสิน สาขาดินแดง 9) ธ.กรุงเทพ สาขาดินแดง 10)อาคารสำนักงาน ป.ป.ส. 11) ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ข้างสำนัก งาน ป.ป.ส. 12) ธ.กรุงเทพ สาขาอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 13).ธ.กรุงเทพ สาขาสุขุมวิท 83 14) ธ. กสิกรไทย สาขางามดูพลี 15) ธ. กรุงเทพ สาขาสาธุประดิษฐ์ 16) ธ.กรุงเทพ สาขาถนนจันทน์ 17) ธ.กรุงเทพ สาขาสะพานเหลือง 18) ธ.นครหลวงไทย สาขาตลาดปีนัง เขตคลองเตย 19) อาคารล็อกซ์เล่ย์ เขตคลองเตย 20) ห้างเซ็นเตอร์ วัน อนุสาวรีย์ชัยฯ 21) ร้านแม็คโด นัลด์ สาขาข้างห้างเซ็นเตอร์ วัน 22) ห้างวัตสัน อนุสาวรีย์ชัยฯ 23) ร้านหนังสือดอกหญ้า อนุสาวรีย์ชัยฯ 24) ธ.กสิกรไทย สาขาอนุสาวรีย์ชัยฯ 25) ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น สาขาอนุสาวรีย์ชัยฯ 26) ร้านก๋วยเตี๋ยวพระ นคร อนุสาวรีย์ชัยฯ 27) ร้านทองพหลโยธิน ซอย 1 28) ธ.กรุงเทพ สาขาหัวลำโพง 29) ธ.กรุงไทย สาขาหน้าโรงเรียนมาแตร์เดอี 30) ห้างบิ๊กซี ราชดำริ 31) ตึกสหชาติ (ตึกร้าง) บริเวณสามเหลี่ยมดินแดง 32) ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาประชาชื่น 33) ธ. กรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ ซอย 6 34) ธ.ซีไอเอ็มบี สาขาสยามสแควร์ 35) ตึกแถวสี่ชั้น 30 ห้อง สยามสแควร์ ซอย 5 36) ธ.นครหลวงไทย สาขาราชปรารภ (www.khaosod.co.th 20 พ.ค.53)

นปช.จังหวัดนนทบุรี ชุมนุมหน้าสถานีดาวเทียมไทยคม แยกแคราย จุดไฟเผายางรถยนต์บนถนนรัตนาธิเบศร์ รวมทั้งทำลาย-เผาธนาคาร กรุงเทพ และร้าน 7-eleven ในบริเวณใกล้เคียงอีกหลายแห่ง(www.khaosod.co.th 20,21 พ.ค.53)

นปช. จังหวัดอยุธยา ชุมนุมที่ถนนด้านหน้าอาคารศูนย์ราชการจังหวัด เรียกร้องให้ยุติการใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม(www.khaosod.co.th 20 พ.ค.53)

นปช. จังหวัดลพบุรี ชุมนุมที่วงเวียนพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์ และเผายางรถยนต์(www.khaosod.co.th 20 พ.ค.53)

นปช. จังหวัดขอนแก่น บุกเข้าไปเผาศาลากลางจังหวัด และสถานีวิทยุโทรทัศน์เอ็นบีที, ทุบทำลายธนาคารกรุงเทพ สาขาขอนแก่น และตู้เอทีเอ็ม, พยายยามจะบุกบ้านบ้านนายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ ส.ส.ขอนแก่น พรรคภูมิใจไทย แต่ถูกยิงตอบโต้ได้รับบาดเจ็บ (www.khaosod.co.th 20 พ.ค.53)

นปช. จังหวัดกาฬสินธุ์ ชุมนุมที่หน้าศาลากลางจังหวัด และได้รวบรวมบัตรประชาชนไปมอบคืนให้ผู้ว่าราชการจังหวัด(www.khaosod.co.th 20 พ.ค.53)

นปช. จังหวัดอุดรธานี ชุมนุมบริเวณหน้าศาลากลาง และบุกพังประตูรั้วเข้าไปเผาอาคารบริเวณศาลากลาง และสำนักงานเทศบาลนครอุดรธานี (www.khaosod.co.th 20 พ.ค.53 ; “รวบแดงตจว.74ปะทะตาย2,” กรุงเทพธุรกิจ, 21 พ.ค.53)

นปช. จังหวัดเชียงใหม่ ชุมนุมเผายางรถยนต์หน้าจวนผู้ว่า, ใช้ก้อนหินขว้างเข้าไปในธนาคารกรุงเทพ สาขาท่าแพ ใช้รถจักรยานยนต์ออกตระเวนทุบทำลายทรัพย์สินสาธารณะ ขว้างระเบิดเพลิง เผายางรถยนต์ในพื้นที่ตัวเมืองเชียงใหม่ อ.สันป่าตอง และ อ.สันทราย(www.khaosod.co.th 20 พ.ค.53)

นปช. จังหวัดชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร รวมตัวกันปิด ถ.สายเอเชีย ฝั่งขาเข้ากรุงเทพ ม. 2 ต.อู่ตะเภา อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาถ เป็นเวลาสั้นๆ เพื่อไว้อาลัยแก่คนเสื้อแดงที่ถูกยิงเสียชีวิตที่กรุงเทพ(ไทยรัฐ, 20 พ.ค.53)

นปช. จังหวัดชลบุรี ชุมนุมปิดถนนทางเข้า-ออกโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ บนถนนสุขุมวิท อ.ศรีราชา(ไทยรัฐ, 20 พ.ค.53)

ปาระเบิดธนาคารไทยพาณิชย์สาขาคลอง 10 อ.ธัญบุรี จ.ปมุมธานี(www.khaosod.co.th 20 พ.ค.53)

ปาระเบิดธนาคารกรุงเทพ สาขาย่อยกาดน้ำทอง ต.นาจักร อ.เมือง จ.แพร่ (www.khaosod.co.th 20 พ.ค.53)

วางเพลิงตู้เอทีเอ็มธนาคารกรุงเทพ สาขาถนนสายลวด ต.ปากน้ำ อ.เมืองสมุทรปราการ และธนาคารกรุงเทพ สาขาสำโรงเหนือ และพยายามก่อเหตุวางเพลิงร้านสะดวกซื้อ 7-eleven (www.khaosod.co.th 20 พ.ค.53; ไทยรัฐ, 21 พ.ค.53)

วางเพลิงและเผายางรถยนต์ตามจุดต่างๆ ในพื้นที่หลายจุด ในเขตเทศบาลเมือง, อ.พาน, อ.แม่สาย จ.เชียงราย(www.khaosod.co.th 20 พ.ค.53)

20 พฤษภาคม 2553 – วางเพลิงใส่ธนาคารนครหลวงไทย สาขาสามเหลี่ยมดินแดง (ไทยรัฐ, 21 พ.ค.53)

 

เหตุการณ์ภายหลังสลายการชุมนุม

20 พฤษภาคม 2553

นปช. – (เน้นตัวแดง)นายวีระ นพ.เหวง และนายก่อแก้ว มอบตัวที่กองปราบปราม แกนนำ นปช. ทั้งหมดถูกนำไปควบคุมตัวที่กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศ ตำรวจตระเวณชายแดน หรือค่ายนเรศวร อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี เช่นเดียวกับแกนนำ 5 คนที่มอบตัวไปเมื่อวันที่ 19 พ.ค. ยกเว้นนายจตุพรที่ได้รับการปล่อยตัวเพราะใช้เอกสิทธิ์ ส.ส.

รัฐบาล – เวลา 10.30 น. พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม พร้อมคณะเข้าตรวจพิสูจน์ศพผู้เสียชีวิตภายในวัดปทุมวนารามฯ จำนวน 6 ศพ พญ.คุณหญิงพรทิพย์ กล่าวว่า ผู้เสียชีวิตอยู่ในเต็นท์พยาบาลถูกกลุ่มคนไม่ทราบฝ่ายยิงใส่ บาดแผลทั้ง 6 ศพไม่ได้เสียชีวิตจากอาวุธชนิดเดียวกันทั้งหมด เพราะ 2 ศพมีรูขนาด 2 ซ.ม. และไม่ทะลุ ที่เหลือถูกยิงเป็นรูเล็กๆ คล้ายๆ ปืนเอ็ม 16 แต่ยังตอบไม่ได้ ขณะที่อีกศพมีรอยเขม่าที่ท้อง (ดู “ศอฉ. โชว์อาวุธ กระสุน-ปืน-ระเบิด อ้างยึดจากสวนลุม-วัดปทุมฯ,” ประชาไท, 21 พ.ค.53

11.00 น. นายปณิธาน วัฒนายากร โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก โฆษกศอฉ. แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

นายปณิธานรายงานสถานการณ์ว่า เมื่อคืนนี้เป็นที่ปรากฎชัดเจนว่ามีการก่อความไม่สงบ ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะความพยายามในการก่อกวน วางเพลิง ทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนในพื้นที่ ตลอดแนวถนนพระรามสี่ บริเวณคลองเตย บริเวณปากซอยไผ่สิงโต และในบริเวณพื้นที่ที่มีความสำคัญของทางราชการ ย่านศูนย์การค้า และบริเวณรอบๆกรุงเทพความพยายามดังกล่าวทำให้มีการบาดเจ็บและล้มตายของประชาชน เฉพาะเมื่อวานรายงานเบื้องต้นพบว่ามีผู้บาดเจ็บประมาณ 88 ราย มีผู้เสียชีวิตแล้ว 7 ราย

ประชาชนที่มาชุมนุมส่วนใหญ่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์กติกา ได้เดินทางกลับสู่ภูมิลำเนาโดยปรกติ แต่ยังมีคนอีกกลุ่มนึงที่พยายามจะสร้างสถานการณ์ วันนี้ ศอฉ. จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปในพื้นที่เพิ่มเติม เพื่อควบคุมเหตุการณ์

เมื่อคืนมีการปะทะกันรอบๆ วัดปทุมวนาราม รัฐบาลและ ศอฉ. ได้รับการร้องขอให้เข้าไปช่วยเหลืคนที่บาดเจ็บ คนที่เสียชีวิต ในบริเวณวัดปทุมวนารามในตอนหัวค่ำ แล้วก็ได้ประสานส่งเจ้าหน้าที่ ส่งหน่วยพยาบาลเข้าไป ปรากฎว่าเข้าไม่ได้ โดนต่อต้านอย่างรุนแรงจากกลุ่มบุคคลที่ติดอาวุธ กว่าเจ้าหน้าที่จะสามารถเข้าไปเพื่อเปิดพื้นที่ให้ลำเลียงเอาคน บาดเจ็บคนที่เสียชีวิตออกมาได้ ใช้เวลานานมาก เหตุการณ์ที่วัดปทุมวนารามมีการวางแผน มีการดำเนินการ มีการกระทำซึ่งต่อต้านการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อย่างชัดเจน เมื่อเช้านี้สำนักข่าวต่างประเทศหลายสำนักได้รายงานตรงกันถึงกลุ่มคนเหล่านี้ที่ได้วางเพลิง ก่อกวน ที่มีอาวุธสงคราม นำมาซึ่งความสูญเสียต่างๆ ที่เกิดขึ้น

รัฐบาลยืนยันว่า จะดำเนินการทุกวิถีทางที่จะปกป้องดูแลชีวิตพี่น้องประชาชน วันนี้จะมีการประกาศมาตรการเพิ่มเติม รวมทั้งการประกาศห้ามออกนอกเคหะสถาน ซึ่งพ.อ.สรรเสริญ ก็จะได้แถลงต่อไป

พ.อ.สรรเสริญแถลงว่า ศอฉ. มีเรื่องสำคัญที่จะเรียนประชาชนเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังต่อไปนี้

  1. เมื่อวานในพื้นที่ต่างจังหวัด ทั้งเหนือ กลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความพยายามในการสร้างสถานการณ์อยู่ตลอด อย่างไรก็ตามเมื่อเช้านี้ได้มีการตรวจสอบกับทางผู้ว่าราชการจังหวัดและแม่ทัพภาค ก็ได้ข้อมูลว่าเจ้าหน้าที่สามารถที่จะควบคุมสถานการณ์ในภาพรวมไว้ได้เรียบร้อย และสามารถจับกุมกลุ่มผู้กระทำความผิดได้จำนวนหนึ่ง สำหรับในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เมื่อวานจนกระทั่งเมื่อคืนที่ผ่านมา ก็มีความพยายามในการสร้างสถานการณ์ การเผาวางเพลิง เพื่อทำลายทรัพย์สินของทางราชการ อาคารพาณิชย์ สถานีโทรทัศน์ เป็นจำนวนถึง 39 แห่ง เมื่อคืนหลายพื้นที่ เจ้าหน้าที่สามารถเข้าควบคุมเพลิงและยุติการก่อเหตุได้ แต่ในบางพื้นที่ยังคุมได้ไม่เต็มที่นัก เนื่องจากมีกลุ่มก่อการร้าย มีอาวุธสงครามที่ร้ายแรง ซึ่งคอยลอบยิงเจ้าหน้าที่ ในระหว่างที่จะเข้าไปแก้ไขสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา
  2. เรื่องความพยายามที่จะลอบทำร้ายประชาชน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ชุมนุมเอง ในเขตวัดปทุมวนาราม เมื่อเช้าคุณหมอพรทิพย์ได้แจ้งให้ทราบว่า ก่อนหน้าที่จะแถลงข่าวประมาณ 20 นาที คุณหมอพร้อมคณะได้เข้าไปตรวจสอบในพื้นที่ ก็พบศพผู้เสียชีวิตประมาณ 6 ศพอยู่ในเต็นท์กาชาด สอบถามข้อมูลเบื้องต้นได้ความว่า มีผู้ลอบยิงอาวุธสงคราม มายังพี่น้องประชาชนในขณะที่เขาพยายามจะเดินออกจากพื้นที่วัดปทุมวนาราม ผ่านแยกปทุมวัน เพื่อไปทางสนามกีฬาศุภชลาศัย ตามที่เจ้าหน้าที่ได้อำนวยความสะดวกเพื่อให้พี่น้องประชาชนได้กลับบ้าน ในช่วงเวลาประมาณ 17.00-18.00 น.สิ่งหนึ่งที่ยืนยันได้เป็นอย่างดีคือ ในช่วงเวลาดังกล่าวเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจยังไม่สามารถที่จะเข้าไปยังบริวณพื้นที่วัดปทุมวนารามได้เลย คงมีเฉพาะเจ้าหน้าที่กาชาด กทม. และอื่นๆ ที่พยายามเข้าไปดูแล เรายืนยันมาโดยตลอดว่า เจ้าหน้าที่ทหารตำรวจไม่มีความประสงค์ที่จะทำร้ายประชาชนหรือผู้ที่ไม่มีอาวุธ เมื่อวานนี้เจ้าหน้าที่ทหารตำรวจใช้กำลังทั้งสิ้นถึง 112 กองร้อย ในการที่จะกดดันเพื่อให้มีการยุติการชุมนุม ถ้าเรามีความตั้งใจที่จะทำร้ายพี่น้องประชาชน ยอดจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจะสูงกว่านี้มากนัก เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐทุกฝ่าย รวมถึงทาง ศอฉ. พร้อมที่จะให้ความยุติธรรม ด้วยกระบวนการตรวจสอบทุกอย่างที่มีอยู่ รวมทั้งในทางนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งวันนี้ คุณหมอพรทิพย์ได้เข้าไปในพื้นที่เกิดเหตุแล้ว
  3. เรื่องของการสร้างสถานการณ์วางเพลิง เผาทรัพย์ ก่อเหตุความวุ่นวายไปทั่ว นั้นเป็นการดำเนินการอย่างมีแผน มีระบบ ก่อนหน้าที่จะมีการชุมนุมที่ราชประสงค์ ได้มีการชุมนุมในพื้นที่ตามต่างจังหวัด แล้วก็มีแกนนำบางท่านได้ปราศรัยอย่างชัดเจน ยุยงให้เกิดการเผาทำลายทรัพย์ (มีการเปิดคลิปปราศรัยของณัฐวุฒิ “เผาทั่วประเทศ เผาไปเลยพี่น้อง ผมรับผิดชอบเอง ถ้าคุณยึดอำนาจพวกผม เผาทั่วประเทศ เผาไปเลยพี่น้อง ผมรับผิดชอบเอง แล้วใครจะจับ ใครจะอะไร มาเอากับผมนี่ ถ้าคุณยึดอำนาจ เผา)
  4. ก่อนหน้านี้ประมาณสองสัปดาห์ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง เป็นหัวหน้าทีมในการเข้าไปตรวจค้นที่พักอาศัยบางแห่ง แล้วก็สามารถ ตรวจยึดอาวุธสงคราม ระเบิด สิ่งเทียมอาวุธ ระเบิดแสวงเครื่อง ได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งคุณหญิงหมอพรทิพย์ก็ได้นำมาแถลงข่าวเมื่อประมาณสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ในขณะเดียวกัน เมื่อวาน ในพื้นที่สวนลุมพินีก็มีการจับวัตถุระเบิด อาวุธสงคราม และสิ่งเทียมอาวุธได้อีกจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ พล.ต.ท. วรพงษ์ ชิวปรีชา ได้รายงานกับที่ประชุม ศอฉ. เมื่อวานนี้ในช่วงเวลา 19.30 น. ว่า ในระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปในพื้นที่อาคารเซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อที่จะไปอำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ชุดดับเพลิงเข้าไปควบคุมเพลิง ก็ได้ถูกยิงต่อต้านจากกลุ่มชายชุดดำที่มีอาวุธสงคราม แต่ก็สามารถบุกเข้าจับตัวได้จำนวนหนึ่ง ปะทะกันสองครั้ง จับได้ครั้งละประมาณสี่ถึงห้าคน
  5. การปฏิบัติของ ศอฉ. ในวันนี้ ในส่วนของเจ้าหน้าที่ทหารจะดำเนินการในเรื่องการเข้าตรวจสอบรายละเอียดของพื้นที่ในรัศมีโดยรอบของแยกราชประสงค์ ที่เรายังเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่สุ่มเสี่ยงต่ออันตราย รวมทั้งในอาคารสถานที่ ต่างๆ ซึ่งเราเชื่อว่ายังเป็นที่หลบซ่อนของกลุ่มชายชุดดำที่มีอาวุธสงคราม แล้วลอบทำร้ายเจ้าหน้าที่ และวางเพลิงเผาทรัพย์ในที่ต่างๆ อยู่ ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะคัดแยกคัดกรองผู้ร่วมชุมนุม เพื่อบันทึกรายละเอียดสำหรับการดำเนินการตามข้อกฎหมายในอนาคต แล้วก็จะส่งตัวกลับบ้านอย่างปลอดภัย
  6. ขณะนี้มีความพยายามในการสร้างสถานการณ์บางอย่าง เพราะฉะนั้น นอกเหนือจากพี่น้องประชาชนในที่ชุมชนต่างๆ ทั้งในกรุงเทพ และในต่างจังหวัด จะต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตา แจ้งข้อมูลข่าวสารให้กับเจ้าหน้าที่ ฝ่ายราชการได้รับทราบแล้ว สิ่งหนึ่งที่ทาง ศอฉ. ได้มองเห็นความจำเป็นก็คือ ความเข้มแข็งของพี่น้องในชุมชนเอง โดยผู้นำของชุมชน โดยพี่น้องประชาชนในพื้นที่ชุมชนจะต้องช่วยกันในการที่จะ ดูแลรักษาชุมชนของท่านให้เกิดความปลอดภัย
  7. ศอฉ.ได้พิจารณานำเสนอรัฐบาลว่า จะขอให้มีการประกาศ พื้นที่ ที่ห้ามออกนอกเคหสถานในยามวิกาล ต่ออีกสามวัน ในพื้นที่เดิม แต่จะปรับเวลาห้ามออกนอกเคหสถานยามวิกาล เป็นยี่สิบเอ็ดนาฬิกาหรือสามทุ่ม จนกระทั่งถึงตีห้า

(ดูคลิป 20100520_CRES_001)

13.00 น. ศอฉ. ประกาศขยายมาตรการห้ามออกจากเคหะสถานอีก 3 วัน แต่ลดระยะเวลาเป็นช่วง 21.00 น. – 05.00 น. ของวันถัดไป

ดูคลิป 20100520_CRES_002

16.00 น. พ.ต.อ.ทรงพล วัธนะชัย รองผู้บังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (รอง ผบก.อก.บช.น.) รองโฆษก บชน. พ.ต.อ.วิสูตร ฉัตรชัยเดช รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี ผู้แทนกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 และแพทย์หญิงคุณหญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ร่วมกันแถลง

โดยในส่วนของกองบัญชาการตำรวจนครบาลนั้น รายงานว่าภายหลังจากการเข้าเคลียร์พื้นที่ในลริเวณสวนลุมพินี ก็ตรวจค้นพบอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน ประกอบไปด้วย หัวกระสุนที่ยังไม่ได้ยิงจำนวน 80 ลูก M79 จำนวน 18 นัด และเครื่องกระสุนปืน M16 จำนวน 250 นัด เครื่องกระสุนปืนที่ใช้ยิงกับ HK จำนวน 2 นัด และหลังจากที่มีการประกาศการสลายการชุมนุมแล้วมีการก่อเหตุจลาจล ทาง สน.ปทุมวันได้ทำการจับกุมผู้ต้องหาร่วมกันปล้นทรัพย์และฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ 9 คน พร้อมของกลางประกอบไปด้วยโทรศัพท์มือถือ เครื่องวีดีโอ สุรา วิทยุ และอุปกรณ์อีกหลายอย่าง นอกจากนี้ยังได้ทำการจับกุม ผู้ต้องหาที่ร่วมการลักทรัพย์และผู้ที่ก่อเหตุความวุ่นวายบริเวณโดยรอบได้อีกจำนวน 24 ราย นำส่งสถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน

ด้านกองบัญชาการตำรวจภูธรภาคหนึ่งแถลงว่า ตำรวจภูธร จังหวัดนนทบุรี สภ.บางใหญ่ ได้ตรวจค้นผู้ต้องสงสัย 3 คน ซึ่งใช้รถแท๊กซี่เป็นพาหนะ พบระเบิดพีบอมป์ ด้ามไม้ ลูกดอก มีดพับ กล้องส่องทางไกล ซุกซ่อนอยู่ด้านหลังของรถแท็กซี่ ส่วนตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการ โดย สภ.สำโรงเหนือ บริเวณหน้า ได้สกัดจับกลุ่มวัยรุ่นซึ่งใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะ 4 คัน ปิดป้ายทะเบียนรถ และใช้หน้ากากปิดหน้า แล้วขว้างระเบิดเพลิงเข้าไปที่ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำโรงเหนือ เจ้าหน้าที่สามารถเข้าจับกุมผู้ต้องหาได้หนึ่งราย ซึ่งจากการสอบสวน ทราบว่า ถ้าเราจับกุมไม่ได้ ก็จะไปก่อเหตุอีกหลายราย

ด้านหมอพรทิพย์ได้รายงานว่า เมื่อวานได้มีการขอพื้นที่คืนบริเวณถนนสารสิน ทางทหารและตำรวจได้ตรวจพบอุปกรณ์จำนวนมาก ประกอบไปด้วยพาร์ทบอม เป็นลูกระเบิดทุกรูปแบบ โดยมีการประกอบเอง มีวัตถุดิบ มีสารเคมีสามแกลลอนใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญวัตถุระเบิดได้บอกว่าสารเคมีอันนี้ผสมกับน้ำมันและตกผลึก จะทำระเบิดได้ ซึ่งก็พบเป็นสารที่อยู่ในวัตถุระเบิดที่เราได้พบ นอกจากนั้นก็พบอาวุธก่อเหตุจำนวนหนึ่ง

สำหรับวันนี้มีภารกิจอยู่ 2 ภารกิจ ภารกิจแรกคือ เข้าตรวจในพื้นที่ที่มีการชุมนุมกัน ทางทหารได้เข้าตรวจค้น ก็พบว่าในบริเวณเต็นท์ของการ์ดเสื้อแดง มีกระสุนปืนเอ็ม16 และก็พบระเบิดและระเบิดเพลิง

ภารกิจที่สองคือการชันสูตรศพ ก็เป็นที่ชัดเจนว่า เมื่อวานผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในเต็นท์พยาบาลในวัดปทุมวนาราม ได้ถูกยิงโดยกลุ่มบุคคล ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นฝ่ายใด เสียชีวิตทั้งหมด 6 คน เมื่อเช้านี้บรรดาชาวบ้านกลัวว่าเจ้าหน้าที่จะเอาศพไปซ่อน ดังนั้นเมื่อเราเข้าไปจึงได้ทำให้เขาเห็นว่าอย่างน้อยมีการชันสูตรร่วมแล้ว ศพจะไม่หายไปไหน แล้วศพก็ถูกส่งไปชันสูตรที่สถาบันนิติเวช

หลังจากนั้น พ.อ. สรรเสริญได้ชี้แจงเรื่องที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าไปดับเพลิงในอาคารที่มีเพลิงไหม้ได้ว่า เนื่องจากมีกลุ่มบุคคลคอยขัดขวาง และการวางเพลิงนั้นมีการวางแผนไว้แล้วพร้อมกับเปิดภาพคนที่ใส่หมวกไหมพรมปิดหน้า ใช้วิทยุสื่อสาร โดย พ.อ. สรรเสริญอธิบายว่าเป็นการสื่อสารแจ้งสถานการณ์และสั่งการในการวางเพลิง และได้แสดงภาพที่อธิบายว่าเป็นเจ้าหน้าที่กำลังจะเข้าไประงับเหตุแต่ถูกยิงเสียชีวิต (ซึ่งที่จริงเป็นภาพของวันที่ 15 พ.ค. ไม่ใช่ 19 อย่างที่พ.อ.สรรเสริญกล่าว คนที่ถูกยิงเสียชีวิตนั้นคือนายมานะ สนประเสริฐศรี) พ.อ.สรรเสริญยังแสดงภาพคนกำลังเล็งปืน (ภาพบริเวณงามดูพลี ใกล้ๆ กับจุดที่นายมานะถูกยิง แต่คาดว่าจะเป็นภาพก่อนที่มานะจะวิ่งเข้าไปแล้วถูกยิงในจุดนั้น) ภาพคนใส่หมวก ปิดหน้า ชุดดำที่สะพายเป้ถือบ้องเหล็กสำหรับยิงพลุตะไล รวมถึงผู้ชุมนุมที่เอาเสื้อเกราะกันกระสุนของทหารมาใส่พร้อมผ้าพันคอของ นปช. โดยสรรเสริญอธิบายภาพว่าเป็นผู้ชุมนุมที่ต้องการให้คนเข้าใจผิดว่าเป็นเจ้าหน้าที่

ดูคลิป 20100520_CRES_003

เวลา 20.30 น. ณ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ พล.ท.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองเสนาธิการทหารบก แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย สรุปการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ทหารในการขอคืนพื้นที่เมื่อวานนี้

ดูคลิป 20100520_CRES_004

ศอฉ. ยังได้ออกคำสั่งห้ามสถาบันการเงินดำเนินการทำธุรกรรมกับบุคคลและนิติบุคคลระลอกที่สาม จำนวน 21 ราย

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย –

หมายเหตุ –

 

21 พฤษภาคม 2553

นปช. –

รัฐบาล – นายกรัฐมนตรีแถลงว่า รัฐบาลยังคงดำเนินการตามแผนปรองดองเพื่อฟื้นฟูและการกลับคืนสู่สภาพปกติ จะมีการจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อสืบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงการชุมนุม

ศอฉ. จัดตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อรับลงทะเบียนธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุมเพื่อให้ความช่วยเหลือและการฟื้นฟู

กองทัพภาคที่ 2 ออกคำสั่งเรียกแกนนำคนเสื้อแดง รวมทั้ง ส.ส. พรรคเพื่อไทย รวม 20 คน ในพื้นที่ภาคอีสาน 7 จังหวัด ให้มารายงานตัวที่กองทัพภาคที่ 2

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย –

หมายเหตุ –

 

22 พฤษภาคม 2553

นปช. –

รัฐบาล – ศอฉ. แถลงสรุปแก่คณะทูตานุทูตต่างประเทศ ผู้ช่วยทูตทหารต่างประเทศ รวมทั้งสื่อมวลชนไทยและต่างประเทศ เกี่ยวกับการปฏิบัติการกระชับวงล้อมที่แยกราชประสงค์ พร้อมกับนำอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ระบุว่าเจ้าหน้าที่ตรวจยึดได้จากบริเวณพื้นที่การชุมนุมมาจัดแสดงหลายร้อยรายการ

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย –

หมายเหตุ –

 

23 พฤษภาคม 2553

นปช. –

รัฐบาล –  ศอฉ. ประกาศขยายมาตรการห้ามออกนอกเคหะสถาน เป็นวันที่ 23-24 พฤษภาคม และลดช่วงเวลาเป็นระหว่างเวลา 23.00 – 04.00 น. ของวันถัดไป ขณะเดียวกัน มีการเปิดเส้นทางจราจร ซึ่งเคยปิดกั้นในช่วงการปิดล้อมการชุมนุม เพื่อให้สาธารณชนได้ใช้ตั้งแต่เวลา 04.00 น. ในวันที่ 24 พฤษภาคม

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – Big Cleaning Day ดารา/นักร้อง รวมถึงกลุ่มประชาชน ออกมาทำความสะอาดราชประสงค์และพื้นที่อื่นๆ ที่มีการชุมนุม

หมายเหตุ –

 

24 พฤษภาคม 2553

นปช. –

รัฐบาล – นายสุเทพระบุชายที่อยู่บนรางรถไฟฟ้าบีทีเอสในช่วงเกิดเหตุผู้เสียชีวิตในวัดประทุม ไม่ใช่ทหาร แต่เป็นโจรผู้ร้าย

ศอฉ. ขยายเคอร์ฟิวเพิ่มอีก 7 วัน ไปถึงวันที่ 31 พ.ค. แต่เปลี่ยนเวลาเป็น 00.00-04.00 น. พร้อมกับย้ายที่ประชุม ศอฉ. จาก ร.11 รอ. ไปยังกองบัญชาการทหารบก

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – นายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ เข้ามอบตัวกับกองปราบปรามคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

หมายเหตุ –

 

25 พฤษภาคม 2553

นปช. –

รัฐบาล – นายมานิต วัฒนเสน ปลัดกระทรวงมหาดไทย มีคำสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ถูกเผาศาลากลางจังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น มุกดาหาร อุบลราชธานี และอุดรธานี มาช่วยราชการที่กระทรวงมหาดไทย

คณะรัฐมนตรีอนุมัติมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม รวมถึงการจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้สูญเสียธุรกิจจากการวางเพลิง รวมทั้งการช่วยเหลือระยะยาวแก่ชุมชุนที่ได้รับกระทบ ลูกจ้าง และเจ้าของธุรกิจ

คณะรัฐมนตรีตัดสินให้ขยายมาตรการห้ามออกนอกเคหสถานเป็นวันที่ 25-28 พฤษภาคม 2553 ในช่วงเวลาเที่ยงคืนถึงตีสี่ของวันถัดไป

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว. สาธารณสุข สรุปตัวเลขผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ระหว่างวันที่ 12 มี.ค. – 25 พ.ค. 53 มีผู้เสียชีวิต 88 คน บาดเจ็บ 1,885 คน

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – ศาลอาญาอนุมัติหมายจับอดีตนายกรัฐมนตรี นายทักษิณ ชินวัตร ข้อหาก่อการร้ายอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ตามที่ดีเอสไอยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม นอกจากนี้ ยังมีหมายจับแกนนำ นปช. และสมาชิกในข้อหาเดียวกัน

หมายเหตุ –

 

27 พฤษภาคม 2553

นปช. –

รัฐบาล – พล.ต.อ. ปทีป รักษาราชการแทน ผบ.ตร. สั่งย้ายนายตำรวจหลายนาย ในจังหวัดที่ศาลากลางถูกเผา

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย –  อ.สุธาชัย อดข้าวประท้วงในค่ายทหารสระบุรีหลังถูกห้ามอ่านหนังสือ หนังสือพิมพ์ และดูโทรทัศน์

หมายเหตุ –

 

29 พฤษภาคม 2553

นปช. –

รัฐบาล – รัฐบาลประกาศยกเลิกเคอร์ฟิว

นายกฯ อภิสิทธิ์เชิญทูตกว่า 70 ประเทศ และองค์กรอื่นอีกจากกว่า 30 ประเทศ รวมทั้งสื่อต่างประเทศเข้าฟังคำชี้แจงเหตุการณ์สลายการชุมนุม ยืนยันพร้อมตั้งคณะกรรมการกลางขึ้นมาตรวจสอบเหตุการณ์ ถ้าผิดก็พร้อมรับผิด

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย –

หมายเหตุ –

 

31 พฤษภาคม 2553 – มีการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและ รมต. อีก 5 คน โดยมีเรื่องการสลายการชุมนุมเป็นประเด็นหนึ่งที่สำคัญในการอภิปราย

 

<<< Back                                                                                                                                                                                Next >>>

 

ลำดับเหตุการณ์

นอกเหนือ

27 เมษายน 2553

นปช. – นปช. สกลนคร ชุมนุมที่ ต.สว่างอินแดง อ. สว่างดินแดง เพื่อสกัดกั้นและตรวจค้นรถที่สงสัยว่าจะนำทหารและตำรวจเข้ากรุงเทพ

เวทีราชประสงค์ตึงเครียดเมื่อมีข่าวสะพัดว่าทหารจะบุกมาทางรถไฟฟ้าเพื่อสลายการชุมนุม การ์ด นปช. นำกำลังปิดสถานีรถไฟฟ้าชิดลมทำให้รถไฟฟ้าต้องหยุดเดินรถ ตำรวจต้องเข้ามาเจรจาทำความเข้าใจก่อนจะเปิดเดินรถในเวลา 10.00 น.

รัฐบาล – เวลา 14.05 น. นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุม ครม. ว่า รัฐบาลมีแนวทางชัดเจนให้สลายการปิดถนน และจับกุมดำเนินคดีกลุ่มคนที่กีดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่

“วันนี้ด่านถาวรจะเร่งดำเนินการจับกุม ดำเนินคดี และจะทำต่อเนื่องในหลายกรณี ทั้งหมายเรียก หมายจับ โดยบุคคลใดได้รับหมายเรียก 2 ครั้ง ไม่มารายงานตัวก็จับกุมดำเนินคดี” นายปณิธาน กล่าว

นายปณิธาน กล่าวว่า รองนายกฯ รายงานว่า มีมวลชนหลายจังหวัดออกมาชุมนุมต่อต้านคนเสื้อแดง จึงขอให้แต่ละจังหวัดเข้มงวดดูแลให้การชุมนุมเป็นไปตามกฎหมาย ไม่ให้เผชิญหน้าหรือปะทะกัน การชุมนุมทำได้อยู่แล้วทุกกลุ่มแต่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์กติกา

“ท่านนายกฯ ได้เน้นย้ำนี่คือวิกฤติของชาติ ทุกกระทรวงต้องระดมกำลังแก้ปัญหา ในส่วนศอฉ.จะเดินหน้าคลี่คลายสกัดกั้นการตั้งด่านของนปช.การข่มขู่ประชาชน ตามด่านต่างๆ ศอฉ.จะจัดเจ้าหน้าที่คลี่คลายตามจุดนั้น โดยด่านกทม. 200 กว่าด่าน จะปรับมาตรการเข้มข้นขึ้น ไม่ให้ข่มขู่คุกคาม หากประชาชนพบเห็นการกระทำของกลุ่มคนเสื้อแดงเข้ามาขัดขวางกีดขวางขอให้แจ้ง” นายปณิธาน กล่าว

นายปณิธาน กล่าวว่า นายกฯ ให้แนวทางไว้ในที่ประชุม ครม.จำเป็นแยกแยะผู้ชุมนุมชัดเจนระหว่างผู้เดือดร้อน และก่อกวนเข้าข่ายก่อการร้าย ซึ่งในต่างประเทศอาจไม่เข้าใจมากนัก เมื่อเช้านายกฯ ได้บันทึกรายการซีเอ็นเอ็นออกเครือข่ายทั่วโลก เวลา 02.00 น. วันพรุ่งนี้ และช่วงเย็นจะบันทึกรายการบีบีซี เพื่อให้นานาชาติรับทราบการเดินหน้าแก้ปัญหาของรัฐบาลไม่ให้เกิดก่อการร้าย และระดมเจ้าหน้าที่ปลัดกระทรวง เจ้าหน้าที่แก้ปัญหาให้กับประชาชน หากเจ้าหน้าที่คนใดไม่ปฏิบัติหน้าที่ ละเมิดกฎหมาย ก็จะดำเนินการต่อไป (ดู “มาร์คลั่นกลางที่ประชุม ครม.สลายเสื้อแดงทุกด่าน,” prachatai, 27 เม.ย.53

เวลา 19.40 น. ณ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11รอ.) พันเอก สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก ในฐานะโฆษกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน แถลงภายหลังการประชุม ศอฉ. ทั้งสองช่วงของวันนี้ ที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการศอฉ. เป็นประธานการประชุม ว่า ในเวลาตั้งแต่ 04.00 น. – 06.00 น. วันนี้ เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ได้ประสานการปฏิบัติเข้าวางกำลังในบริเวณพื้นที่ เพื่อจะครอบคลุมย่านราชประสงค์ โดยจัดตั้งเป็นด่านตรวจ ด่านสกัดแข็งแรง ประกอบกำลังทั้งทหาร ตำรวจ ที่มีจำนวนเพียงพอในแต่ละด่านรวม 6 ด่าน คือ ด่านแยกพญาไท แยกศาลาแดง แยกพงษ์พระราม แยกนราธิวาส-สีลม แยกอังรีดูนังต์ และแยกอโศกมนตรี ซึ่งภารกิจหลักของด่านทั้ง 6 แห่งจะทำหน้าที่ตรวจสอบบุคคลต้องสงสัย ควบคุมและลิดรอนการนำอาวุธสงครามเข้าและออกจากพื้นที่บริเวณแยกราชประสงค์ รวมทั้งดำเนินการจับกุมผู้ที่กระทำความผิดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินด้วย

นอกจากนั้น ในเวลา 16.00 น. มีการประชุมร่วมกันระหว่างนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่และในส่วนของทหารระดับผู้บัญชาการทหารบกลงมาจนถึงระดับเจ้ากรม มีรองนายกฯ สุเทพ เป็นประธาน โดยได้มีการเน้นย้ำซักซ้อมความเข้าใจในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ เพื่อที่จะคลี่คลายสถานการณ์การชุมนุมที่สร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้อง ประชาชน ทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และในต่างจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการซักซ้อมทำความเข้าใจถึงการเตรียมการขอพื้นที่การชุมนุมคืน หรือจะเรียกว่าการสลายการชุมนุมก็สุดแล้วแต่ ซึ่งขณะนี้มีความพร้อมเรื่องกำลัง รอวันเวลาที่เหมาะสมเท่านั้น แต่คงไม่สามารถแจ้งให้ทราบได้ว่าเมื่อไร

โฆษก ศอฉ. เน้นย้ำอีกครั้งว่าจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ในการเข้าปฏิบัติภารกิจของเจ้าหน้าที่ด้วยการยึดตามกรอบ กฎ กติกา 7 ประการ โดยไม่มีการใช้อาวุธกระสุนกับพี่น้องประชาชน คงมีเฉพาะการยิงขึ้นฟ้า หรือการยิงเพื่อป้องกันชีวิตของตนเองเท่านั้น ในวันนี้คงต้องเปลี่ยนไป หลักการโดยรวมเหมือนเดิม คือยึดตามหลักสากล เบาไปหาหนัก แต่คงต้องมีระยะห่างระยะต่อ เพราะเราคงไม่สามารถปล่อยให้เข้ามาถึงตัวได้ จะต้องมีระยะปลอดภัยตั้งแต่ 100 เมตรเป็นต้นมาก็คงจะต้องเริ่มเตือนด้วยแก๊สน้ำตา น้ำ เครื่องขยายเสียง กำลังส่งสูง จะไม่ยอมให้เข้าใกล้ในระยะเกินกว่า 30 – 40 หลา เจ้าหน้าที่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ปืนลูกซอง แต่ต้องเรียนอีกครั้งว่าวิธีการใช้อาวุธจริงนั้นเรามีการซักซ้อมการปฏิบัติ เพื่อสามารถชี้ชัดต่อสังคมได้ว่าไม่ได้มุ่งที่จะเอาชีวิตกับผู้ชุมนุม มีความสมเหตุสมผลพอเหมาะกับเหตุการณ์ และเพียงพอที่จะระงับยับยั้งไม่ให้ผู้ชุมนุมกระทำความผิดตามกฎหมายต่อไปได้

โฆษก ศอฉ. กล่าวว่า ศาลได้ชี้ชัดแล้วว่าการสลายการชุมนุมนั้นทำได้ แต่ต้องทำตามขั้นตอนหลักสากลจากเบาไปหาหนัก ซึ่งวันนี้เรามีการชี้แจงทำความเข้าใจในขั้นตอนทั้งหลายชัดเจนแล้ว แต่ความจำเป็นเรื่องการใช้อาวุธกระสุนจริงนั้นมีความจำเป็น เพราะทหาร ตำรวจก็มีเลือดเนื้อมีชีวิตเหมือนกัน มีสิทธิ์ที่จะปกป้องชีวิตของเขาได้ เหตุการณ์ที่ผ่านมาก็ได้บ่งบอกแล้วว่ากลุ่มผู้ชุมนุมมีอาวุธร้ายแรง มีอาวุธหลายอย่างที่ทำขึ้นและสามารถเอาชีวิตได้ทั้งสิ้น

“อย่างที่เคยเรียนให้ทราบว่า มีการนำเอาอาวุธสงครามของเจ้าหน้าที่ที่นำมายิงขึ้นฟ้า และยิงเพื่อปกป้องชีวิตของตนเองในการปฏิบัติภารกิจเมื่อวันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมาไปวางกองบนเวที กลุ่มแกนนำก็บอกเองว่าการ์ดของตนเอง ที่เห็นว่าเป็นไอ้โม่งนั้นเอาปืนมาส่งให้ จนป่านนี้ปืนทั้งหลายเหล่านั้นจำนวน 68 รายการ ยังไม่ได้รับคืนเลย ก็แสดงว่ากลุ่มแกนนำได้เอาไปแจกจ่ายหมดแล้ว คงมีหลงไปที่นายเมธี อมรวุฒิกุล 1 กระบอก แล้วก็โดนจับได้ รับสารภาพ และให้การที่เป็นประโยชน์ในเรื่องอาวุธปืนเหล่านี้ ซึ่งก็คงจะต้องไปว่ากันในกระบวนการทางศาล เมื่อเรื่องยุติ” โฆษกศอฉ. กล่าว

 

ผู้สื่อข่าวถามว่า วันนี้ ศอฉ. ได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับการออกหมายเรียกโครงข่ายที่เป็นขบวนการล้มสถาบัน หรือไม่ โฆษกศอฉ. กล่าวว่า เรื่องนี้รองนายกฯ สุเทพ จะเป็นผู้ชี้แจงในรายละเอียดด้วยตนเอง ทุกอย่างอยู่ในกระบวนการที่สามารถดำเนินการได้ตามกระบวนการยุติธรรม และคืนวันนี้ได้เรียกประชุมฝ่ายกฎหมายและอัยการมาหารือเพื่อออกหมายเรียกผู้ร่วมขบวนการล้มล้างสถาบัน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้ออกหมายเรียกไปแล้ว 135 คน แต่เข้ามาชี้แจงตามหมายเรียก 85 คน (ดู “ศอฉ.ยันทหาร ตำรวจ พร้อมผนึกกำลังปฏิบัติการขอคืนพื้นที่แยกราชประสงค์ โดยรอเวลาที่เหมาะสม,” ศูนย์ข่าวทำเนียบรัฐบาล, 27 เม.ย.53  ; ดู “ศอฉ.ลั่นจำเป็นต้องใช้ปืนลูกซองหากผู้ชุมนุมเข้ามาใกล้,” ประชาไท, 28 เม.ย.53)

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – กลุ่มเสื้อหลากสี ชุมนุมที่วงเวียนโอเดียน เยาวราช

กลุ่มคนรักสีลม ชุมนุมที่หน้าอาคารสีลมคอมเพล็ก ถนนสีลม ต่อต้านการชุมนุมของ นปช.

หมายเหตุ

28 เมษายน 2553

นปช. –  นปช. เคลื่อนขบวนรถมอเตอร์ไซต์และรถยนต์รณรงค์ไปยังตลาดไท เพื่อให้กำลังใจ นปช. ปทุมธานี ที่ถูกสลายการชุมนุม และชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน

นปช. เชียงใหม่ ปะทะกับเจ้าหน้าที่ ก่อนบุกเข้าไปในศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ หลังเกิดเหตุม็อบปะทะกับทหารที่ตลาดไท

นปช. อ่างทองชุมนุมที่ริมถนนสายเอเชีย เพื่อสกัดตำรวจจากอ่างทองที่จะเดินทางเข้ากรุงเทพ

นปช. นครพนม ปิดถนนสายธาตุพนม,มุกดาหาร บริเวณสามแยกบ้านต้อง อ.ธาตุพนม ตั้งจุดสกัดตำรวจ-ทหารที่จะเดินทางเข้ากรุงเทพ

รัฐบาล – ตำรวจ-ทหารสกัดขบวน นปช. บริเวณหน้าอนุสรณ์สถานดอนเมืองกลางสายฝน มีผู้บาดเจ็บนับสิบ พลทหารเสียชีวิต 1 รายจากการถูกยิง มีรายงานข่าวว่าทหารยิงกันเอง

ช่วงบ่าย สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม Springnews ได้เผยแพร่ภาพหน่วยเคลื่อนที่เร็วของทหารถูกยิงด้วยกระสุนปืน หลังจากเคลื่อนมอเตอร์ไซค์เข้าใกล้ด่านสกัดของเจ้าหน้าที่ทหารที่กั้นอยู่ โดยเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ทหารเสียชีวิต 1 นาย คือ พลทหารณรงค์ฤทธิ์ สาระ (ดูคลิปได้ที่ 2010.04.28 Spring News report ‘Friendly fire’ shot by soldier.) ทั้งนี้สำนักข่าวบีบีซี และหนังสือพิมพ์ข่าวสด รายงานตรงกันว่าทหารมีการยิงปืนใส่พวกเดียวกัน หลังจากนั้นในช่วงเย็นเว็บไซต์ www.springnewstv.com ของสถานีโทรทัศน์ช่องดังกล่าวก็ได้ถูก ศอฉ. ปิดกั้น (ดู “คลิปสปริงนิวส์ ทหารหน่วยเคลื่อนที่เร็วถูกยิงหลังเข้าใกล้แนวป้องกันของทหาร,” ประชาไท, 28 เม.ย.53  ; ดู “บล็อคเว็บข่าวสปริงนิวส์หลังเหตุปะทะ,” ประชาไท, 28 เม.ย. 53

ต่อมา เวลาประมาณ 21.15 น. ศอฉ. แถลงข่าว พล.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศอฉ. กล่าวว่า เวลา 12.00 น. เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจได้สนธิกำลังเข้าคลี่คลายสถานการณ์การก่อความ วุ่นวายของกลุ่ม นปช. ที่ประสงค์จะเดินทางไปตลาดไท โดยเจ้าหน้าที่ได้ตั้งด่านสกัดไว้ที่ดอนเมือง และขอให้ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และผู้บังคับการทหารอากาศ ได้ชี้แจงรายละเอียด

พ.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ชี้แจงว่า สืบเนื่องจากมีการชุมนุมของ นปช. 2 จุด คือ ตลาดไทย และอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ดอนเมือง เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องควบคุมสถานการณ์ เพราะทั้ง 2 จุด มีการประกาศ ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แล้วซึ่งไม่สามารถชุมนุมได้ โดยกำลังตำรวจ ทหารบก ทหารอากาศ ได้ปฏิบัติงานร่วมกัน ขั้นตอนการเข้าคุมสถานการณ์นั้นได้เน้นย้ำหน้าที่ให้ทำตามขั้นตอน จากเบาไปหาหนัก แต่ประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่าบางครั้งมีอาวุธร้ายแรงมาจากผู้ชุนุม ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องเตรียมความพร้อมด้วย โดยในวันนี้ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการด้วยความยากลำบาก เพราะพื้นที่ตรงกลางระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้ชุนนุมยังมีผุ้ใช้รถใช้ถนนอยู่ อีกทั้งผู้ชุมนุมใส่เสื้อหลากสี ทำให้การแยกแยะระหว่างประชาชนผู้บริสุทธิ์กับผู้ชุมนุมเป็นไปด้วยการยาก ลำบาก ต้องระมัดระวัง ส่วนการเจรจาเพื่อขอให้เลิกก็ทำไประยะหนึ่ง ปรากฏว่ามีหนัง

ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวต่อว่า ผลการปฏิบัติการครั้งนี้ น่าเสียใจที่เกิดการสูญเสียอีก โดยทหารเสียชีวิต 1 นาย บาดเจ็บ 2 นาย ผู้ชุมนุมบาดเจ็บ 17 ราย เราพยายามจะแยกแยะผู้กระทำควาผิดด้วยการจับกุมแกนนำ ซึ่งจับได้ 14 คน ที่ตลาดไท 7 คน อนุสรณ์สถานฯ 7 คน ยึดรถจักรยานยนต์ที่ก่อเหตุได้อีก 1 คัน และเราสามารถยึดอาวุธสงคราม M 79 ส่วนประกอบเครื่องยิงด้วยจากการตั้งด่านของทหารอากาศร่วมกับตำรวจจราจร

พลอากาศตรีอานนท์ จารยะพันธุ์ ผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง ชี้แจงเพิ่มเติมว่า จากเหตุการณ์จับยึดกระสุน M79 ได้นั้น เมื่อประมาณ 16.30 น. ได้รับแจ้งว่าพบผู้ต้องสงสัยขี่จักรยานยนต์ มีลักษณะท่าทีจะเข้ามาร่วมกับผู้ชุมนุมบริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ จุดที่เกิดเหตุอยู่หน้าฐานทัพอากาศ ฝั่งถนนวิภาวดีขาเข้า เส้นทางคู่ขนาน ซึ่งกองทัพอากาศจัดกำลัง 2 กองร้อยเพื่อรักษาความสงบ และปฏิบัติหน้าที่บนทางด่วนโทลล์เวย์เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ก่อความไม่สงบยิง อาวุธร้ายแรงลงมาด้านล่าง และยังมีจุดสกัดที่พบจักรยานยนต์คันดังกล่าว โดยคนขับพยายามจะขับขี่ผ่านด่านทหาร แต่เมื่อผู้ต้องสงสัยเห็นด่านก็หลบหนี เจ้าหน้าที่ก็วิ่งตาม ผู้ต้องสงสัยออกไปทางถนนย่อยด้านข้าง หลบหนีทางหมู่บ้านบันฑิตโฮมซึ่งเป็นซอยตัน ขณะติดตาม ผู้ต้องสงสัยทิ้งถุงสีดำไว้ และได้ทิ้งจักรยานยนต์หลบหนีไปในป่าหญ้า หลังจากนั้น สารวัตรทหารได้แจ้งเจ้าหน้าที่ตรวจวัตถุระเบิด และเจ้าหน้าที่ได้ใช้ปืนแรงดันน้ำความดันสูงเปิดถุงดังกล่าว พบกระสุน M79 จำนวน 62 นัด ในจำนวนนี้เป็นรุ่นเจาะเกราะ 42 นัด ถุงดังกล่าวเป็นถุงพลาสติก มีเอกสารอย่างที่ทางตำรวจชี้แจงตกอยู่ในที่เกิดเหตุทั้งนี้ กระสุนทั้งหมดบรรจุใส่กล่องไปรษณีย์ ภายในกระสอบปุ๋ยและมีถุงดำห่อหุ้มอีกชั้นหนึ่ง

นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวว่า จุดที่อันตรายอย่างยิ่งคือ การตรวจสอบวัตถุระเบิดร้ายแรงจำนวนมากดังกล่าว ในการพบอาวุธร้ายแรงแบบนี้เป็นความผิดตามกฎหมายซึ่งขณะนี้ได้มีมติให้คดีก่อการร้ายเป็นคดีพิเสษ การสะสมอาวุธร้ายแรงที่มีการเตรียมการไปใช้ที่เกิดเหตุเป็นความผิดฐานก่อการร้าย ดีเอสไอจะได้ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการสอบสวนเรื่องนี้ต่อไป เพื่อคลี่คลายความจริงให้ปรากฏและนำผู้กระทำผิดมาลงโทษต่อไป

พ.อ.สรรเสริญ กล่าวอีกว่า เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้วยความยากลำบาก เพราะผู้ชุมนุมใส่เสื้อหลากสี และปะปนกับผู้ใช้ถนน ประกอบกับวันนี้มีฝนตกหนัก และพบอาวุธสงครามร้ายแรง ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่มั่นใจ และในเวลา 17.30 น.จึงยุติการปฏิบัติ เพราะเกรงว่าจะสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ในการปราบปรามครั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้ใช้อาวุธจริงและกระสุนจริงหรือไม่ พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจก็มีเลือดมีเนื้อเหมือนกัน และตลอดเวลาที่ผ่านมาเราจะเห็นว่าผู้ชุมนุมมีอาวุธสงคราม จึงเป็นความจำเป็นที่เจ้าหน้าที่จะไม่ยอมให้กลุ่มผู้ชุมนุมได้เข้าใกล้แนวของเจ้าหน้าที่

เมื่อถามว่าได้ตรวจสอบหรือไม่ว่าพลทหารที่เสียชีวิต เสียชีวิตจากสาเหตุอะไร พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า คงต้องตรวจสอบกันก่อน เพราะในพื้นที่มีข้อจำกัดหลายอย่าง ทั้งสภาพดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน

ดู “ศอฉ.แถลงผลงานสกัดเสื้อแดงที่ดอนเมือง พบกระสุน M79 อื้อ แต่ผู้ต้องสงสัยหนีไปได้,” ประชาไท, 28 เม.ย.53  และดูคลิป 20100428_CRES_001

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – เกิดเหตุระเบิดหน้าธนาคารกรุงเทพ สาขาตลิ่งชัน ถ.บรมราชชนนี

กลุ่มเสื้อหลากสี นครราชสีมา ชุมนุมเพื่อให้กำลังใจทหารที่กองทัพภาคที่ 2 ค่ายสุรนารี เรียกร้องให้ใช้กฎอัยการศึก ปราบปราบคนเสื้อแดง

กลุ่มเสื้อหลากสี ชุมนุมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

เวลา 12.30น. ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาฯ นายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าวกรณีที่ถูกระบุรายชื่ออยู่ในผังล้มเจ้าของ ศอฉ.

  1. ข้าพเจ้าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า เครือข่ายที่มีพฤติกรรมล้มสถาบันใดๆ และไม่เห็นด้วยว่า จะมีเครือข่ายอะไรในลักษณะเช่นนี้ นอกจากการใส่ร้ายป้ายสีที่ ศอฉ.สร้างขึ้นมาเอง เพื่อทำลายล้างทางการเมืองฝ่ายตรงข้าม ที่กำลังต่อต้านและเรียกร้องรัฐบาลให้ยุบสภา
  2. ข้าพเจ้าจะขออำนาจศาลเพื่อคุ้มครองในกรณีที่อาจจะเกิดภัยจากการถูกใส่ร้ายในข้อหาร้ายแรง
  3. เพื่อที่จะปกป้องสิทธิของข้าพเจ้า ก็จะดำเนินการฟ้องร้องแก่ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด หรือ ศอฉ. โดยจะดำเนินคดีทั้งทางอาญาและทางแพ่งภายในสัปดาห์นี้

(ดู “สุธาชัยเตรียมฟ้อง ศอฉ. โต้ไม่เชื่อมีเครือข่ายล้มเจ้า แค่ป้ายสีทางการเมือง,” prachatai, 28 เม.ย.53

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 29 เม.ย.53 และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน

 

29 เมษายน 2553

นปช. – ที่สำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำ ประเทศไทย ตัวแทน นปช. ยื่นหนังสือถึง EU ขอให้ทางอียูส่งเจ้าหน้าที่มาร่วมตรวจสอบและสังเกตการณ์การดำเนินการของรัฐบาลในการสลายการชุมนุม

นายพายัพ ปั้นเกตุ นำการ์ด นปช. 200 คน บุกค้น โรงพยาบาลจุฬาฯ อ้างเห็นทหารแอบซุ่มอยู่ในโรงพยาบาล

รัฐบาล – นายสุเทพโต้ข่าวทหารยิงกันเอง อ้างต้องรอผลการชันสูตรก่อน

กลางคืน เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม ส.ต.ต.บัณฑิต สิทธิทุม ตำรวจนอกราชการ สังกัด สภ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว ผู้ต้องหาก่อเหตุยิงอาร์พีจีใส่กระทรวงกลาโหมเมื่อคืนวันที่ 20 มีนาคม ได้พร้อมนายศุภณัฐ อุยเวช (ดู “ศอฉ. เผยเป้า RPG วัดพระแก้ว จับมือยิงสนิทแดง,” ไทยรัฐออนไลน์, 30 เม.ย.53

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – ช่วงเช้าที่หน้ากรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11รอ.) ที่ตั้งของ ศอฉ. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยหลายร้อยคน เดินทางไปยื่นหนังสือเรียกร้องต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และ และ พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองโดยเร็วที่สุด

เวลาประมาณ 10.35 น. พล.ต.จำลอง และนายพิภพ ได้ยื่นหนังสือดังกล่าวต่อนายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในฐานะตัวแทนรัฐบาล และ พล.ต.จิรเดช สิทธิประณีต เลขานุการกองทัพบก ในฐานะตัวแทนผู้บัญชาการทหารบก ณ บริเวณ ด้านหน้า ร.11 รอ. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก่อนแยกย้ายกันกลับบ้าน ทั้งนี้ข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรฯ ได้แก่

  1. ขอให้รัฐบาลประกาศจุดยืนนโยบายและกรอบปฏิบัติที่ชัดเจนและเป็น รูปธรรมต่อการเอาผิดการชุมนุมที่ผิดกฎหมายและจัดการกับกลุ่มก่อการร้าย โดยนายกฯ จะต้องชี้แจงต่อสาธารณะให้เห็นถึงมาตรการและแนวทางที่ชัดเจนต่อการ กอบกู้วิกฤติการณ์ของบ้านเมือง
  2. ขอเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณาประกาศ พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงในจังหวัดที่มีพื้นที่สุ่มเสี่ยง และมีการสถาปนาอำนาจรัฐเถื่อนซ้อนกับอำนาจรัฐไทย เพื่อมาตรการในการกอบกู้สถานการณ์บ้านเมือง โดยรัฐบาลและกองทัพจะต้องใช้มาตรการทางทหารโดยประกาศกฎอัยการศึกในพื้นที่ ที่จำเป็นเร่งด่วนเพื่อยุติการชุมนุมที่ผิดกฎหมายจัดการกับกลุ่มก่อการร้าย ขบวนการล้มเจ้า และพยายามสถาปนาอำนาจรัฐเถื่อนโดยเร็ว
  3. ขอเรียกร้องให้บรรดาทหารหาญทุกเหล่าทัพตื่นตัวและตระหนักในขบวนการ ล้มเจ้า ขบวนการก่อการร้ายและสถาปนาอำนาจรัฐเถื่อนที่ขยายตัวไปตามจังหวัดต่างๆ ทั้งนี้กลุ่มพันธมิตรฯ พร้อมเป็นพลเมืองอาสาปกป้องชาติและราชบังลังก์ร่วมกับ บรรดาทหาร เพื่อให้สังคมไทยปลอดจากอำนาจรัฐเถื่อนและนำความสงบสันติสุขกลับคืนสังคมไทย โดยเร็ว

(ดู “พันธมิตรฯ ชุมนุมหน้าราบ 11 เรียกหากฎอัยการศึก,” ประชาไท, 29 เม.ย.53)

Facebook ของประชาไทถูก ศอฉ. บล็อก (ดู “ศอฉ.บล็อคเฟซบุ๊คประชาไท,” ประชาไท, 29 เม.ย. 53)

ศาลสั่งจำคุก 7 นปช. ที่ถูกจับหน้าอนุสรณ์สถานคนละ 2 เดือนโดยไม่รอลงอาญา

พธม. และกลุ่มคนเสื้อหลากสีหลายจังหวัดยื่นหนังสือที่ค่ายทหารในพื้นที่ เร่งให้จัดการคนเสื้อแดง

หมายเหตุ

 

30 เมษายน 2553

นปช. – พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย แต่งเครื่องแบบเต็มยศ บุกราบ 11 หลังมีชื่อในแผนผังล้มเจ้า ยื่นหนังสือชี้แจง ศอฉ.

นปช. ขอนแก่น รวมตัวกันที่สนามบินขอนแก่นและทำการปิดถนน เพื่อดักไล่ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายคนหลากสี ที่เดินทางมาร่วมกิจกรรมกลุ่มคนเสื้อหลากสีขอนแก่น

รัฐบาล – นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ แถลงว่า ส.ต.ต. บัณฑิตสารภาพว่า วันเกิดเหตุเดินทางเข้ากรุงเทพฯ พร้อมนางจุรีพร สินธุไพร แกนนำเสื้อแดงพัทยา น้องสาวนายนิสิต สินธุไพร เพื่อร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดง และ พ.ต.ท. ศุภชัย ผุยแก้วคำ พนักงานสอบสวน สภ.เมืองพัทยา และเป็นน้องเขยนายนิสิต ให้ค่าตอบแทน 5 แสนบาท โดยนำเครื่องยิงอาร์พีจีไปยิงวัดพระแก้ว แต่โดนสายไฟจึงไม่ถูกเป้าหมาย จึงได้ทิ้งอาวุธไว้ในรถแล้วหนีไป

ส่วนเอ็ม 67 ที่ยึดได้ในรถทีมยิงอาร์พีจีเป็นล็อตเดียวกับ 8 คดีระเบิดกรุงเทพก่อนหน้านี้

พล.ต.อ. ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา ที่ปรึกษา (สบ. 10) แถลงความคืบหน้าคดีระเบิดในช่วงที่มีการชุมนุมของ นปช. ตั้งต้นเดือนมีนาคมถึงสิ้นเดือนเมษายนว่า ทั่วประเทศมีคดีระเบิดทั้งสิ้น 60 คดี โดย 46 คดี เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ที่เหลือเกิดขึ้นในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 4 และภาค 5

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – โรงพยาบาลจุฬาฯ ปิดชั่วคราว และเคลื่อนย้ายผู้ป่าวยไปยัง โรงพยาบาลอื่นๆ

องค์กรต่างๆ ออกมาประณาม นปช. ที่บุก รพ. จุฬาฯ

กลุ่มเสื้อหลากสี มอบดอกไม้ให้ทหารที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ เรียกร้องให้รัฐบาลและทหารกับ นปช. แม้จะมีการสูญเสียบ้างก็ต้องทำ

หมายเหตุ

 

พฤษภาคม 2553

1 พฤษภาคม 2553

นปช. – ด้านเวทีที่ราชประสงค์ เวลาประมาณ 18.20 น. นพ. เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. แถลงข่าวว่า นายวีระ มุสิกพงษ์ ประธาน นปช. ได้เจรจากับ ผอ. ร.พ. จุฬาลงกรณ์ แล้วโดยได้ข้อสรุปว่า นปช.ยินดีอำนวยความสะดวกให้คนป่วยไปใช้บริการได้ โดยร.พ. จะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในวันที่ 2 พ.ค.และในวันที่ 3 พ.ค. นปช.จะยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงนายคริสเตียน บรูนเนอร์ หัวหน้าฝ่ายภูมิภาคองค์กรกาชาดสากล โดยอธิบายความจำเป็นที่ นปช. ต้องเข้าไปตรวจสอบภายในว่า ร.พ. ว่า เป็นการป้องกันชีวิตของผู้ประท้วง เพราะได้ข่าวว่ามีการซ่องสุมกำลังทหารเอาไว้ภายใน โดยยืนยันว่าไม่มีเจตนาทำอันตรายหรือข่มขู่ใคร (ดู “สังฆราชเสด็จศิริราช ศอฉ.มีมติรุกคืนพื้นที่ถึงสารสิน,” ประชาไท, 2 พ.ค. 53)

แกนนำ นปช. เริ่มขัดแย้งกับเสธ. แดง กรณีสั่งให้ตั้งบังเกอร์ที่แยกศาลาแดง ทั้งที่ นปช. มีมติให้รื้อถอนเพื่อเปิดทางให้ โรงพยาบาลจุฬาฯ

รัฐบาล – ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.)นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการ ศอฉ. แถลงถึงกรณีที่คนเสื้อแดงบุกเข้าไปในโรงพยาบาล ว่า ตนรู้สึกสลดใจที่เห็นภาพการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลอื่น และที่น่าสลดใจยิ่งกว่าคือ สมเด็จพระสังฆราชทรงประชวรอยู่ที่นั่น ก็ถูกย้ายห้องพักเช่นกัน ทำให้คนไทยเศร้าใจและโกรธเคืองมาก ช่วงเช้าวันนี้จึงได้สั่งให้ พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) ไปเปิดทางเข้า-ออกโรงพยาบาลให้ได้

ต่อมาเวลา 20.30 น. พ.อ. เสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. แถลงผลการประชุมที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะรองประธาน เป็น ผอ.ศอฉ. และมีนายกฯ เข้าร่วมรับฟังว่า จากกรณีเสื้อแดงบุกเข้าไปค้นโรงพยาบาลจุฬาฯ เป็นเรื่องที่สังคมไม่สบายใจด้วยกันทุกฝ่าย เพราะโดยปกติไม่ว่ากลุ่มไหนฝ่ายไหน โรงพยาบาลพร้อมบริการทุกคน แต่การดำเนินการของคนเสื้อแดงทำให้ประชาชนขาดความมั่นใจ ทุกฝ่ายจึงร่วมกันประณามการกระทำของคนเสื้อแดง ซึ่งแกนนำไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้

พ.อ.สรรเสริญกล่าวว่า ในการประชุม ศอฉ.เช้าวันที่ 1 พฤษภาคม นายกรัฐมนตรีสั่งให้ตำรวจท้องที่เข้าไปวางกำลังและเปิดพื้นที่หน้าโรงพยาบาลให้หมด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับหมอและพยาบาล รวมทั้งให้มั่นใจกับประชาชน ดังนั้น วันที่ 2 พฤษภาคม ผบ.ตร.จะต้องดำเนินการต่อเนื่อง โดยเคลียร์พื้นที่ทั้งหมดด้วยวิธีต่างๆ เริ่มต้นจากการเจรจา หากไม่ได้ผลต้องใช้กำลังดำเนินการ ซึ่ง ศอฉ.มั่นใจว่าตำรวจสามารถปฏิบัติภารกิจได้ เปิดหมดจนแยกสารสิน (ดู “สังฆราชเสด็จศิริราช ศอฉ.มีมติรุกคืนพื้นที่ถึงสารสิน,” ประชาไท, 2 พ.ค.53

เจ้าหน้าที่ดีเอสไอค้นห้องพักนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ แกนนำคนเสื้อแดง ย่านลาดพร้าว พบกระสุนปืนจำนวนมาก

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – ศูนย์สิทธิมนุษยนเอเชีย (ACHR) ออกแถลงการณ์ระบุว่า ทหารไทยใช้กำลังโดยไม่เหมาะสมกรณีเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน มีหลักฐานชัดว่าทหารไทยใช้อาวุธปราบปรามประชาชน แนะให้ศาลอาญาระหว่างประเทศพิจารณา

ภายหลังโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ย้ายผู้ป่วย 171 ราย ไปตามโรงพยาบาลต่างๆ รวม 27 แห่ง สืบเนื่องจากกรณีที่ผู้ชุมนุมกลุ่ม นปช. ขอเข้าตรวจค้นหาทหารที่เข้าใจว่าแฝงตัวอยู่ในโรงพยาบาลเมื่อค่ำวัน ที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา ในเวลา 14.00 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์เพื่อทรงเยี่ยมสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่ยังคงรับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาลเพียงพระองค์เดียว ทั้งนี้ได้ทรงรับสั่งให้ย้ายสมเด็จพระสังฆราชไปยังโรงพยาบาลศิริราชเพื่อความปลอดภัย ต่อมาเวลา 17.30 น. แพทย์ได้ทูลเชิญสมเด็จพระสังฆราชเสด็จไปยังโรงพยาบาลศิริราช ด้าน นพ. อดิศร ภัทราดูลย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาฯ กล่าวว่าหากกลุ่ม นปช. ยอมเจรจาและถอยร่นออกไปถึงบริเวณแยกสารสิน โรงพยาบาลก็จะสามารถเปิดให้บริการประชาชนได้ตามปกติ (ดู “สังฆราชเสด็จศิริราช ศอฉ.มีมติรุกคืนพื้นที่ถึงสารสิน,” ประชาไท, 2 พ.ค. 53)

หมายเหตุ

 

2 พฤษภาคม 2553

นปช. – นปช. ยอมย้ายเครื่องกีดขวางหน้า โรงพยาบาลจุฬาฯ ไปที่สวนลุมพินี หลังเจรจากับ พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผบช.น.

รัฐบาล

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – ศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์ ผอ.โรงพยาบาลจุฬาฯ ยัน โรงพยาบาลยังไม่เปิดบริการจนกว่าจะแน่ใจว่าปลอดภัย ยืนยันไม่ยอมให้ ตำรวจ-ทหาร ใช้มาเป็นฐานปราบผู้ชุมนุม

นายอนุธีร์ เดชเทวพร เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) และเพื่อนนักศึกษา ได้รับหมายเรียกจากศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.) ให้ไปรายงานตัวที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ราบ 11) ในวันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม เวลา 10.00 น. (ดู “ศอฉ. เรียก เลขาฯ สนนท. รายงานตัว 10 โมงเช้า วันนี้ (2 พ.ค.),” ประชาไท, 2 พ.ค. 53)

เลขา สนนท. และนักศึกษา 2 คน ไปราบ 11 รายงานตัวตามหมายเรียอกของ ศอฉ.

พร้อมขอทนายเข้าร่วมแต่ถูกปฎิเสธ เจ้าหน้าที่อ้างเป็นการเรียกมาคุยไม่จำเป็นต้องมีทนาย ขณะที่สมาชิก สนนท. ร่วมออกแถลงการณ์ประณามการคุกคามจากรัฐทหารของรัฐบาล

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวระบุว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 53 นายสลักธรรม โตจิราการ นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุตรชายของ นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช.ได้เข้ารายงานตัวที่ ศอฉ. ทำให้ขณะนี้มีนักศึกษาอย่างน้อย 4 รายที่ถูก ศอฉ.เรียกไปรายงานตัว (ดู “ศอฉ.ไม่ให้ทนายร่วมสอบ เลขาฯ สนนท.-นศ. อ้างเพียงเรียกมาคุย ด้าน สนนท.จี้รัฐหยุดคุกคาม,” ประชาไท, 2 พ.ค.53 ; และดูบทวิเคราะห์เพิ่มเติมที่ “รายงาน: สำรวจหมายเรียกรายงานตัว ศอฉ. ปฏิบัติการจิตวิทยาของรัฐบาลอภิสิทธิ์ปี2553,” ประชาไท, 3 พ.ค. 2553)

หมายเหตุ

 

3 พฤษภาคม 2553

นปช.

รัฐบาล – เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการปฏิบัติการด้านกำลังในการแก้ปัญหาการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงว่าต้องมีการปฏิบัติการด้านกำลัง เพราะประจักษ์ชัดว่าผู้มาชุมนุมไม่ได้ชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ สันติอหิงสาอย่างที่พูดกัน แต่เป็นการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย คุกคามสิทธิเสรีภาพประชาชนคนอื่น สร้างความเดือดร้อน เช่น การปิดกั้นเส้นทางจราจร การยึดพื้นที่ย่านธุรกิจการค้า และการปิดบุกรุกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งรัฐบาลต้องแก้ไข แต่ต้องใช้เวลาคือ การอธิบายให้คนบริสุทธิ์ที่เข้าไปร่วมอยู่ในกระบวนการนี้ได้รู้ว่าการชุมนุม ลักษณะนี้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย การที่ผู้ชุมนุมเข้าไปอยู่ในพื้นที่เท่ากับไปเป็นโล่มนุษย์ให้กับผู้ก่อการร้าย และผู้ที่กระทำความผิดต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร จึงขอให้ประชาชนออกจากพื้นที่แยกราชประสงค์ให้เหลือแต่พวกก่อการร้าย แกนนำหรือพวกฮาร์ดคอร์ทั้งหลาย เพื่อให้เจ้าหน้าที่จะได้เข้าไปดำเนินการ

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยระบุว่ามีกองกำลังที่ใส่ชุด ทหารแต่สวมรองเท้าแตะมาลอบยิงกลุ่มคนเสื้อแดง รองนายกฯ กล่าวว่ามีทหารใส่รองเท้าแตะ เพราะทหารนอนอยู่แล้วมีคนไปยิง เขาก็ต้องลุกขึ้นเอาปืนมาต่อสู้ เป็นเรื่องจริงที่ทหารนั้นอยู่ที่ตึกชาญอิสระ วันนั้นเขายิงเข้าไปในตึกชาญอิสระ ทหารก็ต้องลุกขึ้นคว้าปืนมาต่อสู้ จะให้ทหารแต่งเครื่องแบบนอนทั้งคืนหรืออย่างไร

ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางแกนนำผู้ชุมนุมระบุว่ามีทหารอยู่ใน ร.พ.จุฬา รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า “โกหก พรรคนั้นโกหกกันทั้งพรรค” ผู้สื่อข่าวถามว่า นายวีระ มุสิกพงศ์ แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ออกมาระบุว่าบุตรชายถูกทหารบุกตรวจค้นใช้ปืนจ่อหัว รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยืนยันว่าเราไม่มีความรุนแรง

ผู้สื่อข่าวถามว่า หากมีการสลายการชุมนุมจะมีการจับตายแกนนำ เหมือนกับที่แกนนำนปช.ได้ประกาศไว้หรือไม่ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า “ถ้าเขามีอาวุธต่อสู้ก็ว่ากันไปตามเรื่องตามราว”

ผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงว่าท่านไม่การันตีว่าจะไม่จับตาย รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า “ผมจะไปการันตีชีวิตแกนนำได้อย่างไร ถ้าเขาพกปืนเอ็ม 16 หรือเอาปืนทราโวมายิงทหาร เดี๋ยวนี้แกนนำของคุณไม่ใช่คนธรรมดาแล้ว”

เวลา 11.25 น. ณ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11รอ.) พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิดโฆษกกองทัพบก ในฐานะโฆษกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)ได้ให้สัมภาษณ์ถึงการประชุม ศอฉ. เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาว่า การประชุมเมื่อวานกับช่วงเช้าที่ผ่านมานั้น มีเรื่องของการให้จัดเตรียมรถเกราะสำหรับที่จะดำเนินการในการสลายการชุมนุม เพราะว่ารถเกราะก็ถือว่าเป็นยุทโธปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ทำให้เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจที่จะเข้าปฏิบัติภารกิจในการสลายการชุมนุมมีความปลอดภัย และจะเป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีว่ากลุ่มผู้ชุมนุมมีอาวุธยิงใส่เราหรือไม่ เพราะขณะที่เคลื่อนด้วยรถเกราะเข้าไปก็จะคงได้มองเห็นว่ามีอาวุธอะไรบ้างที่ยิงมาหาเรา ในขณะเดียวกัน เมื่อมีรถเกราะแล้วก็จะทำให้เราเคลื่อนที่เข้าหากลุ่มผู้ชุมนุมได้โดยไม่ต้องมีการตอบโต้กันด้วยอาวุธเกินความจำเป็นซึ่งก็ถือว่าเป็นความปลอดภัยด้วยกันทั้งสองฝ่าย (ดู “ศอฉ.ประกาศใช้รถหุ้มเกราะสลายการชุมนุม สุเทพไม่การันตีชีวิตแกนนำ,” ประชาไท, 3 พ.ค.53 ; ดู “รองนายกฯ สุเทพยันสนธิกำลังทหาร ตำรวจ พลเรือนเพื่อให้บ้านเมืองสงบสุข,” ศูนย์สื่อทำเนียบรัฐบาล, 3 พ.ค.53 ; ดู “ศอฉ.จัดเตรียมรถเกราะ สำหรับดำเนินการในการสลายการชุมนุม เพื่อลดการตอบโต้กันด้วยอาวุธเกินความจำเป็น,” ศูนย์สื่อทำเนียบรัฐบาล, 3 พ.ค.53)

นายธาริต อธิบดีดีเอสไอ แถลงข่าวการจับกุมนายสุรชัย นิลโสภา และนายชาตรี ศรีจินดา ระบุเป็นการ์ด นปช. ที่ใช้อาวุธปืนยิงเฮลิคอปเตอร์ขณะโปรยใบปลิวในวันที่ 10 เมษายน

นายกฯ แถลงในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยถึงแผนการปรองดอง โดยระบุหากสถานการณ์สงบลงอาจจะมีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 14 พ.ย. หากสถานการณ์ไม่สงบก็ทำตามแผนปรองดองต่อไป และจะตั้งกรรมการอิสระสอบสวนเหตุการณ์วันที่ 10 22 และ 28 เมษายน

ช่วงค่ำ นายกรัฐมนตรีแถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เสนอ 5 กรอบในการดำเนินการเพื่อนำไปสู่ความปรองดองและแก้ไขสถานการณ์ปัญหาความขัดแย้ง และประกาศว่ารัฐบาลพร้อมจัดการเลือกตั้งในวันที่ 14 พ.ย. 53 แต่หากผู้ชุมนุมไม่ยอมรับรัฐบาลยังจะเดินหน้าแผนปรองดองต่อไป แต่คงไม่สามารถกำหนดวันเลือกตั้งที่แน่นอนได้

แผนปรองดองประกอบด้วย

  1. การป้องกันสถาบันกษัตริย์ไม่ให้ถูกดึงเข้ามาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง
  2. การปฏิรูปอย่างมีส่วนร่วม ให้ความสำคัญเกี่ยวกับความทุกข์ยากของประชาชน เช่น ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ความยากจนและความไม่เป็นธรรมทางสังคมอย่างเป็นระบบและยั่งยืน
  3. รับรองอิสระในการทำงานของสื่อและสร้างสรรค์ โดยไม่เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการสร้างความเกลียดชังและความรุนแรง
  4. จัดตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น
  5. สร้างระบบทางการเมืองที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันเพื่อให้การเลือกตั้งครั้งต่อไปได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ ร.พ. จุฬา รวมตัวกันที่หน้าตึกอำนวยการเรียกร้อง นปช. อย่าขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ พร้อมออกแถลงการณ์ขอให้กลุ่มผู้ชุมนุมเคลื่อนย้ายไปถึงแยกสารสินเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการทำงานของโรงพยาบาลและผู้ป่วยที่มารับบริการ

เวลา 10.55 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีฯ เสด็จไปยังตึก ภปร. โรงพยาบาลจุฬาฯ ทรงเยี่ยมประชาชนและผู้ป่วย พร้อมกับให้กำลังใจเจ้าหน้าที่

กลุ่มเสื้อหลากสีชุมนุมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ คัดค้านการยุบสภา และขอให้ทหาร-ตำรวจออกมาดำเนินการกับ นปช.

หมายเหตุ

 

4 พฤษภาคม 2553

นปช. – 16.00 น. แกนนำ นปช. แถลงยอมรับโรดแม็ปปรองดอง แต่ยังไม่ประกาศยุติการชุมนุมทันที รอให้นายกฯ ระบุให้ชัดก่อนว่าจะยุบสภาวันไหน เพราะการประกาศวันเลือกตั้งเป็นอำนาจของ กกต. ไม่ใช่อำนาจของนายกฯ พร้อมทั้งให้เลิกคุกคามการชุมนุมด้วย

รัฐบาล

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย –

หมายเหตุ

 

5 พฤษภาคม 2553

นปช.

รัฐบาล – เว็บไซต์ข่าวประชาไท www.prachatai.net ถูก ศอฉ. ปิดกั้นอีกครั้ง ซึ่ง www.prachatai.net เป็นโดเมนใหม่ของเว็บไซต์ประชาไท ที่เปิดใช้เมื่อวันที่ 9 เม.ย. หลังจากwww.prachatai.com ซึ่งเป็นโดเมนเดิมถูกปิดกั้นไปก่อนหน้านี้ตามคำสั่งที่ลงนามโดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผอ. ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย(ศอ.รส.) (ดู “ศอฉ.บล็อคประชาไทอีกครั้ง แต่ยังเข้าได้ที่ www.prachatai1.com,” 5 พ.ค. 53)

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ

 

6 พฤษภาคม 2553

นปช. – นปช. เรียกร้องให้รัฐบาลและกองทัพลงสัตยาบันการทำแผนโรดแม็ป 5 ข้อ และกำหนดวันยุบสภาที่ชัดเจน

รัฐบาล – เวลา 10.30 น. ณ กรมทหารกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์(ร.11รอ.)พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก ในฐานะโฆษกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน แถลงภายหลังการประชุมศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อเช้าว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจของ ศอฉ. ได้ดำเนินการกระจายกำลังออกเป็นด่านย่อยในด่านใหญ่ที่มีอยู่ 6 ด่านแข็งแรงรอบบริเวณพื้นที่ราชประสงค์นั้น มีการกระจายกำลังเพื่อที่จะป้องกันไม่ให้มีการนำเอาอาวุธสงครามออกนอก พื้นที่ เพราะที่ผ่านมาได้มีการยืนยันว่า บริเวณพื้นที่การชุมนุมนั้น ได้มีการเก็บอาวุธสงครามไว้จำนวนหนึ่งและมีกลุ่มผู้ก่อการร้ายพร้อมที่จะสร้างสถานการณ์ไว้ตลอด

นอกจากนี้ ในช่วงที่ผ่านมากลุ่มผู้ชุมนุมในบริเวณพื้นที่การชุมนุมก็มีโอกาสรับข้อมูลข่าวสารจากภายนอกน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลที่เกิดจากกลุ่มแกนนำบนเวทีให้ข้อมูล ฉะนั้น ได้มีความพยายามที่จะส่ง SMS ผ่านทางโทรศัพท์มือถือเพื่อให้รู้ว่าบริเวณพื้นที่นั้นไม่ปลอดภัย จึงขอเชิญชวนประชาชนที่ออกมาเรียกร้องเรื่องราวต่างๆ ออกนอกพื้นที่ เพราะนายกรัฐมนตรีได้ออกมาประกาศอย่างชัดเจนว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่

ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางศอฉ. ได้มีการประเมินสถานการณ์อย่างไรบ้างที่ผู้ชุมนุมได้มีการชุมนุมจนถึงวันนี้ โฆษก ศอฉ. กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้ประกาศแผนปรองดอง 5 ข้อ เป็นการประกาศกับคนไทยทั้งประเทศ ไม่ใช่เฉพาะ นปช. ฉะนั้น ตนคิดว่าทางนปช. ไม่มีทางเลือกมากนัก อีกทั้งไม่มีสิทธิที่จะมาต่อรองเรื่องใด ๆ ทั้งสิ้น ในแผน 5 ข้อที่ประกาศไป ไม่ได้หมายความว่าจะไม่การสลายการชุมนุม ในส่วนของรัฐบาลจะมีการดำเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป และศอฉ. จะรับผิดชอบในการแก้ไขการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย ซึ่งมีการก่อการร้ายเข้าไปปะปนอยู่ เพราะฉะนั้นไม่เกี่ยวข้องกัน

ทั้งนี้ ศอฉ. ได้มีการนำเสนอต่อที่ประชุมเมื่อเช้านี้ว่า การที่มีข้อต่อรองว่าให้ถอนทหารออกจากพื้นที่และยกเลิกประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน(พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ) นั้น ซึ่งจริงแล้ว เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐบาล แต่ทางศอฉ. ได้เสนอไปแล้วว่าไม่มีความเหมาะสมที่จะดำเนินการ (ดู “ศอฉ. ตั้งด่านย่อยรอบพื้นที่ราชประสงค์ป้องกันการนำเอาอาวุธสงครามออกนอกพื้นที่,” ข่าวทำเนียบ, 6 พ.ค.53 ; ดู “ศอฉ.ลั่นเสื้อแดงไม่มีสิทธิต่อรอง มีโรดแมปไม่ได้แปลว่าจะไม่สลายการชุมนุม,” ประชาไท, 6 พ.ค.53)

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – พธม. ประณามแผนปรองดองของรัฐบาลและไล่นายอภิสิทธิ์พ้นเก้าอี้นายก

ที่ห้องจี๊ด เศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการจัดงานเปิดตัวหนังสือ “หลากมิติกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” และรายงานสถานการณ์ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในปัจจุบัน รวมทั้งการอภิปรายทางวิชาการเรื่อง “บทวิพากษ์ขบวนการล้มเจ้า ฉบับ ศอฉ.” (ดู “เสวนาวิพากษ์ขบวนการล้มเจ้า ฉบับ ศอฉ.- เปิดตัวหนังสือยุคล่าแม่มด,” ประชาไท, 7 พ.ค.53)

หมายเหตุ

 

7 พฤษภาคม 2553

นปช.

รัฐบาล

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – นายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ฟ้องนายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ และ พ.อ. สรรเสริญ แก้วกำเนิด หมิ่นประมาท กล่าวหาว่าอยู่ในขบวนการล้มเจ้า

กลุ่มเสื้อหลากสี ชุมนุมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

กลางดึกวันที่ 7 พ.ค. ต่อเนื่องถึงรุ่งเช้าวันที่ 8 พ.ค. เกิดเหตุคนร้ายยิงปืนใส่ด่านเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ตั้งอยู่หน้า ธ.กรุงไทย สาขาย่อยอาคารซิลลิค ถ.สีลม และยิงระเบิดชนิดเอ็ม 79 เข้าใส่ด่านตรวจร่วมตำรวจ-ทหาร ใกล้สะพานลอยระหว่างสวนลุมพินีกับอาคารอื้อจื่อเหลียง ถ.พระราม 4 ส่งผลให้ ส.ต.ท.กานต์นุพัฒน์ เลิศจันทร์เพ็ญ และ จ.ส.ต. วิทยา พรมสำลี เสียชีวิต มีผู้บาดเจ็บ 6 ราย เป็นตำรวจ 5 นาย พลเรือน 1 ราย  (ดู “ชี้ปมบึ้มสวนลุมแค้นถูกตร.จับ จุฬาฯแฉโทรลึกลับป่วน,”คมชัดลึก, 9 พ.ค. 53 ; “เซ่น2ศพ!ยิงเอ็ม79ศาลาแดง,”ข่าวสด, 9 พ.ค. 53 ; “2 ตำรวจพลีชีพ เอ็ม 79 บึ้ม! สวนลุม 3 ลูกซ้อน กราดเอ็ม 16 ถล่มสีลม,” แนวหน้า, 9 พ.ค. 53 ; “ประณามแก๊งทมิฬฆ่า2ตร.ล้มปรองดอง,” ไทยรัฐ, 9 พ.ค. 53 ; “ศอฉ.ชี้ บึ้ม-ยิง สัญญาณเสี่ยงเหตุแทรกซ้อน,” มติชน, 9 พ.ค. 53)

หมายเหตุ

 

8 พฤษภาคม 2553

นปช.

รัฐบาล

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย –  กลุ่มเสื้อหลากสี ชุมนุมที่วงเวียนใหญ่ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 9 พ.ค.53

 

9 พฤษภาคม 2553

นปช.

รัฐบาล

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – เกิดเหตุปาระเบิดชนิดทำเองใส่บ้านคนสนิทผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 บ้านติดริมน้ำปิง บ้านน้ำโทก ต.แม่สบข่า อ.หางดง จ.เชียง ใหม่

คนร้ายปาระเบิดหน้าบ้านนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. ในซอยกรุงเทพฯ-นนทบุรี 43 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กทม.

กลุ่มเสื้อหลากสี ชุมนุมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 10 พ.ค.53

 

10 พฤษภาคม 2553

นปช. – นปช. จัดพิธีไว้อาลัยให้กับผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 10 เม.ย. ครบรอบ 1 เดือน ที่แยกราชประสงค์

ตอนเย็น นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. ขึ้นอ่านมติที่ประชุมแกนนำบนเวทีปราศรัย ที่แยกราชประสงค์ เกี่ยวกับ “เรดแมป” ซึ่งเป็นเงื่อนไขยื่นให้นายกฯ พิจารณาก่อนยุติการชุมนุมว่า ที่ประชุมแกนนำมีมติอย่างเป็นทางการ 3 ข้อ ดังนี้

  1. นปช.แดงทั้งแผ่นดินตอบรับวันเลือกตั้งใหม่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2553 และช่วงวันที่ 15-30 กันยายน 2553 จะเป็นวันประกาศยุบสภาโดยไม่มีเงื่อนไข ประการต่อมาขอให้นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพมอบตัวในคดีสั่งสลายการชุมนุมในวัน ที่ 10 เมษายน 2553 จนมีผู้บาดเจ็บล้มตายเช่นเดียวกับแกนนำ นปช.ที่ต้องคดี นายอภิสิทธิ์ได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครอง ตรงนี้ นปช.ไม่ติดใจ แต่นายสุเทพลาออกจาก ส.ส.ไปแล้ว ไม่มีเอกสิทธิ์คุ้มครอง ต้องเข้ามอบตัวกับตำรวจ ถ้าเข้ามอบตัววันไหน วันนั้นแกนนำ นปช.จะประกาศยุติการชุมนุมทันที และคนเสื้อแดงพร้อมกลับบ้านทันที
  2. ขอให้รัฐบาลคืนสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมพีเพิลแชนแนล (พีทีวี) ให้กลับมาออกอากาศได้ตามปกติเหมือนเดิม และพีทีวีพร้อมให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการกำกับดูแลสื่อเช่นเดียวกับกรณี ของเอเอสทีวี
  3. ขอให้รัฐบาลตัดสินใจยกเลิก พ.ร.ก.บริหารราชการในภาวะฉุกเฉิน หากยังไม่ประกาศยกเลิก รัฐบาลจะยิ่งถูกกระแสสังคมกดดันมากขึ้น

“เรื่องนี้เป็น การแสดงความจริงใจของ นปช.ที่ต้องการนำพาบ้านเมืองไปสู่สันติ ไม่มีคนบาดเจ็บล้มตาย และพร้อมที่จะเสนอแผนปรองดองในส่วนของ นปช.ให้คณะกรรมการที่จะเสนอให้จัดตั้งในเร็วๆ นี้” นายณัฐวุฒิกล่าว

(ดู “นปช.กลับลำ เหวงจี้สุเทพลาออกอีก ไม่สนมอบตัวดีเอสไอยันต้องไปกองปราบฯ,” มติชนออนไลน์, 11 พ.ค. 53)

เวลาประมาณ 18.40 น. ที่เวทีแยกราชประสงค์ แกนนำ นปช. แถลงข่าวบนเวทีถึงท่าที่และการดำเนินการต่อไปของกลุ่มผู้ชุมนุมต่อโรดแมพสร้างความปรองดองของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

นายณัฐวุฒิ ในฐานะเลขาธิการ นปช.กล่าวว่า มติอย่างเป็นเอกฉันท์ นปช. ขอประกาศยอมรับการกำหนดวันเลือกตั้งวันที่ 14 พ.ย.2553 ตามที่นายอภิสิทธิ์เสนอ และยินดีตอบรับการยุบสภาระหว่างวันที่ 15-30 ก.ย. โดยไม่มีเงื่อนไข ทั้งนี้เพื่อไม่ให้มีการบาดเจ็บล้มตายเกิดขึ้นอีก แต่ประเด็นการต่อสู้เรื่องระบบความยุติธรรมที่มี 2 มาตรฐานของ นปช.ทำให้ไม่อาจยอมรับความยุติธรรม 2 มาตรฐานของรัฐในทุกกรณี นั่นหมายความว่า การดำเนินคดีต่างๆ ที่เกิดขึ้นท่ามกลางการต่อสู้ ยืนยันว่าไม่ประสงค์การนิรโทษกรรมใดๆ และยินดีต่อสู้ตามสิทธิของประชาชนตามขั้นตอนของกฎหมาย โดยรัฐบาลต้องปฏิบัติตามกระบวนการยุติธรรมในมาตรฐานเดียวกัน

เมื่อแกนนำตอบรับการปรองดองแล้ว นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพก็ต้องเดินหน้าสู่กระบวนการยุติกรรมจากเหตุการณ์ 10 เม.ย. และทางแกนนำยินดีจะเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในข้อหาก่อการร้าย แม้โทษสูงสุดจะถึงขั้นประหารชีวิต ซึ่งในส่วนนี้ทั้งนายสุเทพและนายอภิสิทธิ์ก็ต้องยินดีจะรับโทษสูงสุดโดยการประหารชีวิตเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม นายอภิสิทธิ์ในฐาน ส.ส. เนื่องจากอยู่ระหว่างสมัยประชุมสภา จึงมีเอกสิทธิคุ้มครองเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ แต่ในส่วนนายสุเทพนั้นได้ลาออกจากตำแหน่ง ส.ส.แล้ว จึงขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการออกหมายเรียกในฐานะผู้ต้องหาสั่งฆ่าประชาชน และเรียกร้องให้นายสุเทพเดินทางไปม็อบตัวตามหมายเรียกของเจ้าหน้าที่

เลขาธิการ นปช.กล่าวต่อมาว่า จากเหตุการณ์ในอดีต ทั้งเหตุการณ์เดือนตุลาฯ หรือพฤษภาฯทมิฬ ผู้มีอำนาจที่กระทำผิดนั้นไม่ได้รับโทษ มีการนิรโทษกรรม งดเว้นโทษให้ แต่กรณีวันที่ 10, 22, 28 เม.ย.จะต้องมีผู้มีอำนาจได้รับโทษตามกฎหมาย นี่ถือเป็นคดีประวัติศาสตร์ที่มีการดำเนินคดีกับผู้ที่สั่งการให้ฆ่าประชาชน เพื่อเป็นเครื่องเยียวยาให้กับวีรชนที่จากไปทุกชีวิต

 “หากนายสุเทพ เดินทางไปพบเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อมอบตัวเมื่อไหร่ คนเสื้อแดงก็จะเดินทางกลับบ้านเมื่อนั้น หรือหากนายสุเทพ ทำตัวยิ่งใหญ่ปฏิเสธการมอบตัว เราก็จะไม่ยุติการชุมนุม แต่ถ้านายสุเทพมอบตัวในข้อหาสั่งฆ่าประชาชนเมื่อไรเราก็จะกลับบ้านวันนั้น และทางแกนนำที่โดนข้อหาต่างๆ ก็พร้อมจะเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเช่นกัน” แกนนำ นปช.กล่าว

ต่อมานายณัฐวุฒิ ให้สัมภาษณ์อีกครั้งหลังนายปณิธานระบุ นายสุเทพจะไปรับทราบข้อกล่าวหาต่อดีเอสไอ วันที่ 11 พ.ค.ว่า การอ้างว่าจะเข้ารับทราบข้อกล่าวหาของนายสุเทพ ต่อดีเอสไอไม่มีความสง่างาม เพราะนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ เป็น 1 ในกรรมการ ศอฉ.ย่อมแสดงให้เห็นถึงการมีผลประโยชน์ทับซ้อน หากคดีนี้ดำเนินต่อไป นายธาริต ในฐานะ 1 ในกรรมการ ศอฉ.ก็ต้องถูกดำเนินคดีด้วย จึงขอเรียกร้องว่าขอให้ดำเนินการอย่างสง่างามมีมาตรฐานเท่ากัน เพราะคดีสั่งฆ่าประชาชนนี้มีการไปร้องเรียนที่ดีเอสไอและตำรวจหลายคดี แต่ก็ดองเรื่องเอาไว้ จนเมื่อ นปช. แถลงมติในเรื่องนี้ นายสุเทพกลับเอามาใช้เป็นเกมการเมืองเพื่อผลประโยชน์

นายณัฐวุฒิ กล่าวว่าขอเรียกร้องให้กระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีคนไปแจ้งความดำเนินคดีแล้ว ให้ลงมาทำคดีนี้ด้วยการออกหมายเรียกให้นายสุเทพมารายงานตัวและรับทราบข้อกล่าวหา

เวลา 22.00 น. นายจตุพร พรหมพันธุ์ ปราศรัยว่า กรณีนายสุเทพจะไปพบอธิบดีดีเอสไอวันที่ 11 พฤษภาคม ถือเป็นการหลอกต้มคนเสื้อแดงทั่วประเทศ เนื่องจากคดีสั่งฆ่าประชาชนนั้นยังไม่มีการรับเป็นคดีพิเศษ การไปของนายสุเทพจึงเป็นการไปนั่งกินกาแฟกับนายธาริตมากกว่า นายสุเทพต้องไปมอบตัวต่อตำรวจกองปราบปรามสถานเดียว (ดู “จวกสุเทพเล่นเกมการเมืองเข้าพบ DSI รับทราบข้อกล่าวหา หลังแกนนำแดงจี้มอบตัว ถึงเลิกชุมนุม,” ประชาไท, 11 พ.ค. 53, ; ดู “เสื้อแดงลั่นยุติชุมนุม วันสุเทพมอบตัวกับตร. ที่ไม่ใช่ดีเอสไอ,” ข่าวสดออนไลน์, 10 พ.ค. 53

รัฐบาล – ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล แถลงข่าวหลังการประชุมคณะพนักงานสอบสวน 13 หน่วยงาน เพื่อเร่งรัดคดีเกี่ยวข้องกับการชุมนุมของคนเสื้อแดง

พล.ต.ต.อำนวย กล่าวว่า ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับแนวทางการเตรียมความพร้อมหากกลุ่ม นปช. ยุติการชุมนุม ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม และถ้าแกนนำนปช.เข้ามอบตัวจะต้องดำเนินการเช่นใดบ้าง เนื่องจากแต่ละคนมีคดีความแตกต่างกัน ทั้งคดีตามผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และความผิดตามคดีอาญาหลายข้อกล่าวหา ซึ่งบางคนต้องถูกแจ้งข้อกล่าวหาทั้ง 2 กรณี

นายธาริตกล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยนำญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุสลายการชุมนุม 10 เม.ย. เข้าร้องเรียน พร้อมกล่าวโทษนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการ ศอฉ. รวมทั้งกรรมการ ศอฉ. ทุกคน เกี่ยวกับความไม่ชอบในการสั่งสลายการชุมนุมนั้น ยืนยันว่าจะมีดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา และเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน จะไม่มีการเก็บหรือดองเรื่อง แม้ว่าผู้ถูกกล่าวหาจะเป็นผู้บริหารระดับสูง สำหรับคดีกล่าวโทษนายกฯ กับสถานีตำรวจต่างๆ นั้น สำนวนที่สอบปากคำผู้เสียหายเสร็จสิ้นแล้ว ตำรวจได้ส่งสำนวนคดีให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เนื่องจากเป็นความผิดเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ ตามมาตรา 157 ส่วนคดีที่ยังค้างอยูที่กองบังคับการตำรวจปราบปรามจะโอนมารวมที่ดีเอสไอทั้งหมด

เวลา 18.30 น. ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวภายหลังการประชุม ศอฉ. ว่ารองนายกรัฐมนตรีตัดสินใจที่จะไปพบนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดี(ดีเอสไอ) ในช่วงบ่ายของวันที่ 11 พ.ค. นี้ตามคำร้องทุกข์กล่าวโทษ ส่วนกรณีนายกรัฐมนตรีนั้น จะต้องผ่านขั้นตอนทางรัฐสภาก่อน ทั้งนี้การตัดสินใจเป็นไปตามแนวทางของนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี ก่อนที่ นปช.จะแถลงเรียกร้องให้นายสุเทพเข้ามอบตัว

ด้านนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ กล่าวว่า นายสุเทพได้โทรศัพท์แจ้งมายังตนว่า ในวันที่ 11 พ.ค. นี้ ในเวลา 8.30 น. จะเดินทางมาพบกับตน เพื่อรับทราบการร้องทุกข์กล่าวโทษกรณีที่นายสุเทพ ในฐานะ ผอ.ศอฉ.มีการสั่งทหารให้มีการขอคืนพื้นที่บริเวณแยกคอกวัวจนทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ทั้งนี้สืบเนื่องจากสมาชิกพรรคเพื่อไทยและญาติผู้เสียชีวิตได้มาร้องทุกข์ กล่าวโทษที่ดีเอสไอเมื่อช่วงเข้าที่ผ่านมา เมื่อนายสุเทพรับทราบจึงต้องการเข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรมเรียกร้อง เพราะเชิ่อว่าการเข้ารับทราบการร้องทุกข์กล่าวโทษจะสามารถลดเงื่อนไขหนึ่งของนปช. และจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น (ดู “สุเทพรับฟังข้อกล่าวหาแลกม็อบลงพรุ่งนี้-ศอฉ.เตรียม6แห่งรับ,” กรุงเทพธุรกิจ, 10 พ.ค.53 ; ดู “จวกสุเทพเล่นเกมการเมืองเข้าพบ DSI รับทราบข้อกล่าวหา หลังแกนนำแดงจี้มอบตัว ถึงเลิกชุมนุม,” ประชาไท, 11 พ.ค.53

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – กลุ่มเสื้อหลากสี ชุมนุมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

ตามที่ เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 53 ที่ศาลอาญา ถนนรัชดา นายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ยื่นฟ้อง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 1 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผอ.ศอฉ. จำเลยที่ 2 และพ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. จำเลยที่ 3 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 90, 157, 328 กรณีศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เผยแพร่แผนผังเครือข่ายล้มเจ้า ซึ่งมีชื่อของนายสุธาชัยปรากฏอยู่

นอกจากนี้นายสุธาชัย ยังได้ยื่นฟ้องศาลแพ่งในข้อหาละเมิด ให้ชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 300,554.80 บาท พร้อมอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี และขอให้ศาลเปิดการไต่สวนฉุกเฉินเพื่อขอคุ้มครองชั่วคราว ต่อมาเวลาประมาณ 15.30 น. ศาลไต่สวนฉุกเฉินโดยไต่สวนโจทก์เพียงปากเดียวพร้อมพยานเอกสารอีก 5 ชิ้น และนัดฟังคำสั่งในวันจันทร์ที่ 10 พ.ค.

ล่าสุดบ่ายวันนี้ ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ศาลแพ่งพิเคราะห์คำฟ้องว่า แม้หากจำเลยทั้งสามจะกระทำตามมูลเหตุที่โจทก์นำมาฟ้อง ก็เป็นการกระทำภายในขอบอำนาจที่ พ.ร.ก.ดังกล่าวบัญญัติให้อำนาจไว้ จึงไม่มีเหตุผลที่พวกจำเลยจะดำเนินการไปในฐานะส่วนตัวเพื่อกลั่นแกล้ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดเป็นการส่วนตัวได้ตาม พ.ร.บ. รับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง พิพากษายกฟ้อง
(ย่อหน้าใหม่) ส่วนคดีที่นายสุทธาชัยยื่นฟ้อง นายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ และ พ.อ. สรรเสริญ เป็นจำเลยในคดีอาญา กรณีเดียวกันฐานหมิ่นประมาทเมื่อวันที่ 7 พ.ค. นั้น ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลว่าจะรับฟ้องคดีไว้หรือไม่ (ดู “ศาลยกฟ้องกรณีสุธาชัยฟ้องหมิ่นประมาทมาร์ค-สุเทพ-สรรเสริญทำผังโยงเครือข่ายล้มเจ้า,” ประชาไท, 10 พ.ค.53

นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ (กมม.) กล่าวว่า ทันทีที่แกนนำคนเสื้อแดงยื่น เงื่อนไขให้นายสุเทพไปมอบตัวข้อหาสั่งสลายการชุมนุมวันที่ 10 เมษายน หลัง นปช.แถลงเสร็จไม่ถึง 10 นาที โฆษกรัฐบาลก็ออกมาแถลงว่าพรุ่งนี้นายสุเทพจะไปดีเอสไอเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาทันที เป็นเรื่องตลกมากเพราะประชาชนยังไม่รู้เลยว่าดีเอสไอตั้งข้อหานายกฯ กับรองฯ สุเทพเรื่องสั่งสลายม็อบ 10 เมษา ตั้งแต่เมื่อไหร่ ไม่เคยมีข่าว แต่แกนนำ นปช.รู้อยู่ฝ่ายเดียว

“ผมว่านี่เป็นการจัดฉากร่วมกันระหว่าง แกนนำ นปช.กับรัฐบาล เป็นฉากสุดท้ายของละครน้ำเน่าเรื่องโรดแม็ป ซึ่งก็เป็นการยืนยันชัดเจนว่ามีการตกลงกันมาก่อนล่วงหน้าระหว่างแกนนำม็อบ กับรัฐบาล และเหตุที่ม็อบต้องยื้อมาหลายวันเพราะกลัวว่าจะไม่ได้ประกันตัว งานนี้รัฐบาลอาจจะยอมใช้นายสุเทพ เป็นเหยื่อเพื่อแลกกับการยุติการชุมนุมไปก่อนหลังจากนั้นค่อยว่ากันอีกที ซึ่งวิธีคิดแบบนี้เป็นเรื่องอันตรายเพราะปัญหาไม่จบและกลุ่มก่อการร้ายก็จะ ลอยนวลและให้ประชาชนไปตายเอาดาบหน้า” นายสุริยะใส กล่าว

(ดู “นปช.รับไม่ได้สุเทพจะมอบตัวดีเอสไอ,” คมชัดลึก, 10 พ.ค. 53)

 หมายเหตุ

11 พฤษภาคม 2553

นปช. – นพ. เหวง โตจิราการ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน กล่าวเมื่อวันที่ 11 พ.ค. ถึงกรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาคดีที่ญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุปะทะที่ถ.ราชดำเนิน 10 เม.ย. ร้องทุกข์กล่าวโทษที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ว่าทางแกนนำ นปช. จะไม่รับพิจารณา เนื่องจากดีเอสไอเป็นหน่วยงานหนึ่งในศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)แต่ทางแกนนำจะรับพิจารณาก็ต่อเมื่อนายสุเทพเดินทางไปมอบตัวกับกองบังคับการ กองปราบปราม (ดู “นปช.กลับลำ เหวงจี้สุเทพลาออกอีก ไม่สนมอบตัวดีเอสไอยันต้องไปกองปราบฯ,” มติชนออนไลน์, 11 พ.ค.53)

รัฐบาล – เมื่อเวลา 18.00 น. ที่ ร.11 รอ. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง เป็นประธานการประชุม ศอฉ. ซึ่งที่ประชุม ศอฉ. ได้ประเมินท่าทีของกลุ่มคนเสื้อแดง หลังจากที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้มีการประกาศเสนอแนวทางออกของประเทศด้วยการประกาศการปรองดองแห่งชาติไปตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งทาง ศอฉ.จะรอดูท่าทีของกลุ่มคนเสื้อแดงในวันพรุ่งนี้ (12 พ.ค.) อีก 1 วันเท่านั้น หากยังไม่มีการยุติการชุมนุมที่สี่แยกราชประสงค์ ทาง ศอฉ. ก็คงจะใช้มาตรการกดดันให้กลุ่มคนเสื้อแดงออกนอกพื้นที่ให้เร็วที่สุด เนื่องจากสัปดาห์หน้าโรงเรียนในพื้นที่เขต กทม. จะเปิดภาคเรียนหมดแล้วจะยิ่งทำให้เกิดผลกระทบมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ นายสุเทพ ยังได้ชี้แจงต่อที่ประชุม ศอฉ. ถึงกรณีที่ตนเดินทางไปพบนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาว่า ไม่ได้เดินทางไปตามเงื่อนไขของกลุ่มคนเสื้อแดงที่มีการเรียกร้อง แต่เป็นไปตามนโยบายของ นายอภิสิทธิ์ ที่ต้องการให้ปัญหาความขัดแย้งจบลง และให้เกิดความสมานฉันท์ของบุคคลทั้งสองฝ่าย

มีรายงานด้วยว่า นายสุเทพ สั่งการให้ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ จัดกำลังตำรวจดูแลแกนนำ นปช. 24 คน ที่จะเข้าไปมอบตัวที่กองปราบปรามในวันพรุ่งนี้ (12 พ.ค.) เนื่องจากเกรงว่า จะมีกลุ่มคนเสื้อแดงเดินทางไปให้กำลังใจกับแกนนำที่กองปราบปรามเป็นจำนวนมาก จะสร้างความวุ่นวาย

ที่ประชุมยังได้วิเคราะห์ถึงกลุ่มผู้ชุมนุมว่า ขณะนี้แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงเสียงแตกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือกลุ่มฮาร์คอร์ นำโดยนายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง และ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มของนายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ทำให้เวลานี้แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงไม่สามารถตกลงกันได้ จึงพยายามเยื้อเวลาออกไปเพื่อต้องการชุมนุมต่อ (ดู “มาร์คลั่นจะปรองดองหรือไม่ ให้รีบตอบ-ห้ามต่อรอง จี้เสื้อแดงกลับบ้านพรุ่งนี้,” prachatai, 12 พ.ค.53

เวลา 20.10 น. ที่รัฐสภา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ เเกนนำกลุ่ม นปช. ระบุไม่ยอมสลายการชุมนุมจนกว่านายกรัฐมนตรีและนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี จะมอบตัวในฐานะผู้ต้องหาว่า ขอเรียนย้ำว่าตั้งแต่ที่ตนประกาศแผนปรองดอง 5 ข้อมานั้น ได้พูดตั้งแต่ต้นว่าไม่มีเรื่องเจรจาต่อรองใดๆ หลายเรื่องที่ผู้ชุมนุมพูดมานั้นมันเป็นเรื่องที่มีคำตอบอยู่ในแผนอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเรื่องที่แกนนำ นปช.พูดเรื่องเงื่อนไขที่ตนและนายสุเทพต้องไปมอบตัวนั้น มันไม่ใช่เรื่อง เพราะตนบอกแล้วว่าในเหตุการณ์ต่างๆ นั้นจะมีคณะกรรมการอิสระขึ้นมาสอบสวนเหตุการณ์ เช้าวันนี้กรณีที่นายสุเทพเดินทางไปกรมสอบสวนคดีพิเศษนั้น นายสุเทพไม่ได้ไปมอบตัว แต่นายสุเทพต้องการไปแสดงเจตนาว่ารัฐบาลพร้อมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม วันนี้แกนนำนปช.จะมาเรียกร้องให้นายสุเทพไปมอบตัวนั้นมันมอบตัวไม่ได้ เพราะไม่มีหมายเรียกและหมายจับใดๆ เพราะฉะนั้นเรื่องเหล่านี้ตนคิดว่ามันไม่ใช่ประเด็น ประเด็นคือหากผู้ชุมนุมอยากจะเข้าสู่กระบวนการปรองดอง แต่จะบอกว่าตอบรับและเข้าสู่กระบวนการเงื่อนไขวันเลือกตั้ง14 พฤศจิกายนเท่านั้นไม่ได้ เพราะต้องยกเลิกการชุมนุม หากนำประเด็นเล็กประเด็นน้อยขึ้นมามันก็ไม่เลิกชุมนุม เพราะรัฐบาลไม่มีการต่อรอง รับก็รับ ไม่รับก็ไม่รับ และขอให้ตอบด้วยว่ารับหรือไม่รับ เวลานี้ประชาชนเดือดร้อนมากพอแล้ว ความอดทนของประชาชนกลุ่มอื่นๆ ก็ลดลงมาก ความเสี่ยงต่อการสูญเสียที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นในหรือนอกพื้นที่ชุมนุมนั้นก็มีมากทุกวัน ไม่มีประโยชน์อะไรกับใครเลยที่จะมายื้อเวลาในลักษณะแบบนี้ ซึ่งตนคิดว่าหากไม่ตอบรับก็บอกมาเลยว่าไม่ตอบรับ

ตนถือว่าการไม่ยุติการชุมนุมถือว่าไม่ตอบรับ และวันนี้คณะรัฐมนตรีก็รับทราบสถานการณ์และทราบความจำเป็นของฝ่ายความมั่นคงที่จะต้องดำเนินมาตรการต่อไป ซึ่งจะกระทบต่อประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ ไม่ใช่เฉพาะผู้ชุมนุม แต่รวมทั้งผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่และที่ทำงาน จึงจำเป็นต้องขอความร่วมมือจากประชาชนว่าอาจต้องได้รับความเดือดร้อนมากขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ และจำเป็นที่ต้องเตือนทุกฝ่ายว่า สิ่งที่จำเป็นที่ต้องทำเพื่อคืนความเป็นปกติให้สังคมนั้นต้องทำอย่างเร่งด่วน

 “เพราะฉะนั้นอยากให้ผู้ชุมนุมแสดงออกเลยพรุ่งนี้ แล้วก็กลับบ้านเลย เรื่องอื่นๆ พูดกันทีหลังหากมีความจริงใจกับการปรองดอง เพราะแผนการปรองดองนั้น ผมเดินหน้าทุกเรื่อง วันนี้ ครม.อนุมัติ เรื่องการจัดทำสมัชชาปฏิรูปประเทศไทยที่มีการอนุมัติงบประมาณโดยให้สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในนามมูลนิธิเข้าไปอำนวยการ ส่วนแผนเรื่องสื่อนั้น ผมจะหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ส่วนแผนการเมืองนั้นผมจะขอให้สถาบันพระปกเกล้าเข้ามามีบทบาท ทุกเรื่องเดินไปข้างหน้าทั้งสิ้น ฉะนั้นยุติการชุมนุมเสีย” นายกรัฐมนตรีกล่าว

(ดู “นายกรัฐมนตรีย้ำรัฐมีความชอบธรรมที่จะขอคืนพื้นที่ให้เข้าสู่ภาวะปกติ,” ข่าวทำเนียบ, 11 พ.ค. 53

ศอฉ. ได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญาให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระงับการให้บริการสัญญาณโทรศัพท์ในพื้นที่ที่กำหนด ซึ่งในวันเดียวกันศาลอาญาได้มีคำสั่งให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระงับการให้บริการสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ในบริเวณพื้นที่ที่กำหนด ในบางห้วงเวลา คราวละไม่เกิน 6 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 13-19 พ.ค.53 อ้างจาก คำสั่งศาลอาญา คำร้องที่ 2/2553 เรื่องสั่งให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระงับการให้บริการสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ คราวละไม่เกิน 6 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553, ลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2553

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – เกิดเหตุยิงเอ็ม 79 ใส่ธนาคารกรุงเทพ สาขารัชดา-ลาดพร้าว และวางระเบิดที่บ้านนายอภิชาติ สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. แต่ระเบิดไม่ทำงาน

หมายเหตุ

 

12 พฤษภาคม 2553

นปช. – เมื่อเวลา 10.00 น. นายคารม พลพรกลาง ทนายความกลุ่ม นปช. พร้อมคณะ เดินทางเข้าพบ พ.ต.อ.วีรวิทย์ จันทร์จำเริญ รอง ผบก.น.1 (ฝ่ายสอบสวน) และพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ที่กองบังคับการตำรวจนครบาล 1 เพื่อสอบถามกรณีหมายจับแกนนำ นปช. ที่ถูกออกหมายจับตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และคดีอาญา

ต่อมานายคารมเปิดเผยว่า วันนี้ได้รับการประสานจาก พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผบช.น. เรื่องเข้ามอบตัว โดยอยากให้แกนนำทุกคนเข้ามอบตัว ซึ่งหากจะมีการเข้ามอบตัวจริงๆ น่าจะเป็นที่กองปราบ เพราะการเข้ามอบตัวเป็นไปตามหมาย ฉ.หรือตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งนอกจากนี้ ก็มีหมายเรื่องข้อหาก่อการร้าย ของดีเอสไอ ข้อหาล้มเจ้า ก็อยู่ในอำนาจสอบสวนของดีเอสไอ ซึ่งมีการแจ้งไปแล้ว แต่การสอบสวนพยานหลักฐานคดีล้มเจ้ายังไม่ชัดเจน

ประเด็นของพวกตนคือ แกนนำอยากมอบตัว หากชัดเจนในเรื่อง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพราะสามารถควบคุมตัวได้ 7 วันตามมาตรา 12 จะทำอย่างไร ซึ่งที่จริงดีเอสไอ ซึ่งเป็น 1 ในกรรมการของ ศอฉ. ต้องชัดเจน ว่าหากมอบตัวแล้ว จะมีการขอเพิกถอนหมายตรงนี้ได้หรือไม่ เพราะจะเป็นการปรองดอง เพราะหากมอบตัวก็ประกันตัวไม่ได้ เพราะไม่ใช่อำนาจศาล แต่เป็นอำนาจของศอฉ.

ทนายคารมกล่าวอีกว่า เมื่อสักครู่ที่ผ่านมาได้หารือกับทางนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ว่าหากแกนนำทุกคนไปมอบตัวในทุกข้อหาที่ไม่ใช่ข้อหาตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งกองปราบเป็นคนขอก็ต้องไปฝากขังที่ศาล ซึ่งพวกเราไม่ได้ห่วงอำนาจศาล แต่หากรัฐบาลต้องการปรองดองจริงๆ ก็ให้เพิกถอนและไปจบที่กองปราบเลยจะดีที่สุด ซึ่งหลังจากนี้จะไปเรียกแกนนำทุกคน ซึ่งประเด็นวันนี้คือมีหลายข้อหา โดยเฉพาะ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มี 37 คน รวมแกนนำด้วย หากมอบตัวการควบคุมตัวไม่ใช่เรือนจำ ไม่ใช่ศาล เพราะเหตุหมดแล้ว ขณะนี้เราไม่กังวลเพราะคดีล้มเจ้าการสอบสวนยังไม่ไปถึงไหน แต่ข้อหาก่อการร้าย เป็นหนึ่งในคดีพิเศษ หากเรื่องนี้จบ ไม่ต้องไปที่ศาลก็รับได้ ส่วนจะมอบตัววันไหน เบื้องต้นก็ยังเป็นกำหนดเดิมคือ วันที่ 15 พฤษภาคม แต่ก็ยังไม่มีอะไรชัดเจน เพราะหากมีการมอบตัว แต่ไม่ได้รับการปล่อยตัวก็คิดว่าแกนนำคงไม่เข้ามอบ เพราะกังวลเรื่องนั้น และมีผลกระทบว่าคนที่ชุมนุมที่ราชประสงค์จะทำอย่างไร วันนี้หากไม่มีเรื่อง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ก็เข้ามอบตัวเลย ส่วนที่มีข่าวว่าจะมีบางคนชิงเข้ามอบตัวก่อนนั้นก็ยังไม่มี หากมีการมอบตัวก็น่าจะพร้อมกัน โดยน่าจะไปที่กองปราบ โดยดีเอสไอก็มาที่กองปราบได้ ทั้งในส่วนคดีก่อการร้าย และล้มเจ้า ส่วนประเด็นนายสุเทพก็เป็นอีกเรื่อง

เมื่อ เวลา 12.39 น. นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แถลงถึงกรณีที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.)ประกาศมาตรการกดดัน ด้วยการตัดระบบสาธารณูปโภคว่า เราขอประกาศท่าทีสุดท้ายอย่างชัดเจนว่า เราตอบรับวันเลือกตั้ง 14 พ.ย.และวันยุบสภาไปแล้ว มาตรการที่ได้มีการนำเสนอมานั้นเราก็ได้ตอบรับไปแล้ว แต่ติดค้างเรื่องเดียวคือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่งคง ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามขั้นตอน ถ้ามีการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้องเมื่อไหร่เราก็ประกาศยุติการชุมนุมทันที แต่ถ้านายสุเทพยังเล่นแง่ศรีธนญชัยเช่นนี้ ใช้อำนาจเล่นละครตบตาประชาชนแบบนี้เรารับไม่ได้ ยืนยันว่าถ้ารัฐบาลเลือกปกป้องนายสุเทพคนเดียวด้วยการจัดกำลังทหาร และตำรวจก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องตัดสินใจว่าเลือกอะไรระหว่างนายสุเทพกับ ความปลอดภัยของประชาชนจำนวนมาก เราตัดสินใจแล้วว่าเราจะปักหลักสู้อยู่ที่นี่จนกว่าจะได้รับความยุติธรรม ถ้าหากเราจะลงจากเวทีการต่อสู้โดยไม่อาจอธิบายกับคนเสื้อแดงที่เสียชีวิตไป กว่า 21 ชีวิตได้ว่าจะทวงถามความยุติธรรมอย่างไรเราก็จะอยู่ที่นี่ เป็นไงเป็นกัน เรายินดีที่จะเอาอิสรภาพของเราเป็นเดิมพันเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมต่อไป เราจะรอพวกท่านอยู่ที่นี่ด้วยมือเปล่าๆ สันติวิธี นี่เป็นท่าทีสุดท้าย เราจะไม่แสดงท่าทีนี้อีก

นายณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่า หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตุว่า การเรียกร้องให้นายสุเทพไปมอบตัวต่อกองปราบนั้นไม่มีความหมายอะไร เพราะนายสุเทพเป็นประธานก.ตร. คิดว่าการไปรายงานตัวที่ดีเอสไอของนายสุเทพน่าจะพอแล้ว แต่เราขอบอกว่าแตกต่างกันเพราะคดีนี้เป็นคดีอาญา มีอายุความ เมื่อนายสุเทพมอบตัวอายุความก็จะเดินหน้าทันที ถ้านายสุเทพจะดำเนินการอะไรก็ทำได้ในระยะเวลา 4 เดือนนี้ เพราะนายกรัฐมนตรีประกาศระยะเวลาการยุบสภาไปแล้วในเดือน ก.ย. ดังนั้นการไปดีเอสไอที่ผ่านมาของนายสุเทพจึงไปในฐานะผู้บังคับบัญชา ไม่ใช่ผู้ต้องหา (ดู “ศอฉ. แถลงตัดน้ำ-ไฟ-โทรศัพท์ราชประสงค์เที่ยงคืนนี้ นปช.ลั่นให้รัฐเลือกสุเทพหรือประชาชน,” ประชาไท, 12 พ.ค. 53)

ทางด้าน ส.ส.พรรคเพื่อไทยหารือกันและมีมติว่า นปช.ควรสลายการชุมนุมเพื่อกลับมาตั้งหลักรอดูเหตุการณ์ก่อน ขณะที่ภายในกลุ่มแกนนำ นปช. ก็มีความความขัดแย้งทางความคิดออกเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายที่อยากให้ยุติการชุมนุมกับฝ่ายที่อยากให้ชุมนุมต่อ โดยนายวีระ มุสิกพงศ์ ประธาน นปช. ได้หายตัวไปจากเวทีชุมนุม

รัฐบาล – เมื่อเวลา 10.30 น. ณ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11รอ.) พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศอฉ. แถลงภายหลังการประชุม ศอฉ. ที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการ ศอฉ. เป็นประธานการประชุมว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมาที่กลุ่มผู้ชุมนุมนปช. ได้เริ่มชุมนุมในพื้นที่ต่างๆ ศอฉ. ได้ปฏิบัติงานควบคู่กับรัฐบาลมาโดยตลอด พยายามทุกวิถีทางที่จะนำความสงบกลับมาสู่บ้านเมืองด้วยวิธีการในลักษณะของ การไม่ใช้กำลังเกินความจำเป็น มีการขอคืนพื้นที่บางส่วน มีการบังคับใช้กฎหมายโดยใช้มาตรการจากขั้นเบาไปหาหนัก และได้มีการชี้แจงกับกลุ่มผู้ชุมนุมและประชาชนทราบอยู่ตลอดเวลาว่า การชุมนุมดังกล่าวเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย รัฐธรรมนูญไม่คุ้มครอง เนื่องจากเป็นการชุมนุมที่ทำให้เกิดความเดือดร้อนกับประชาชนโดยทั่วไป ทำให้เจ้าหน้าที่ส่วนราชการต่างๆ ปฏิบัติภารกิจด้วยความยากลำบาก มีการขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อยู่ตลอด และที่สำคัญคือมีกลุ่มก่อการร้าย มีกองกำลังติดอาวุธแฝงตัวปะปนอยู่ในพื้นที่การชุมนุม ซึ่งพื้นที่การชุมนุมที่ราชประสงค์ขณะนี้เป็นพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัย โดยศอฉ.ได้พยายามชี้แจงประชาชนมาโดยตลอด

จวบจนกระทั่งนายกรัฐมนตรีได้ประกาศแผนปรองดองมีข้อความสำคัญ 5 ประการ ที่ในชั้นต้นเข้าใจว่าน่าจะได้รับการตอบรับจากแกนนำของกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งถือว่ามีสัญญาณที่ดีในระยะแรก ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เกิดความรู้สึกสบายใจขึ้นในระดับหนึ่ง แต่ในที่สุดวันนี้สังคมได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมได้พยายามตั้งเงื่อนไขรายวัน บิดพลิ้วเรื่องต่างๆ เพียงเพื่อที่จะประวิงเวลาออกไป แม้ว่าส่วนต่างๆ ของศอฉ. หรือแม้กระทั่งรองนายกฯ สุเทพได้ไปรับทราบข้อกล่าวหาที่กรมสอบสวนคดีพิเศษแล้วก็ตาม และในวันนี้ก็มีความชัดเจนมากขึ้นว่าแกนนำของกลุ่มนปช. ได้ประกาศชัดเจนว่าจะไม่ยอมรับการดำเนินการใด ๆ

ดังนั้น ในขั้นตอนต่อไป ช่วงเช้าที่ผ่านมาศอฉ. ได้มีการประชุมสรุปว่า มีความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการกดดันพื้นที่การชุมนุมอย่างเต็มรูปแบบ โดยเริ่มต้นตั้งแต่วิธีการที่ไม่ใช้กำลังก่อน ด้วยการกำหนดตัดน้ำไฟ สาธารณูปโภค โทรศัพท์ การเดินทางในลักษณะของการใช้การบริการสาธารณะ รถเมล์ รถไฟฟ้า เส้นทางน้ำในคลองแสนแสบ ในบริเวณพื้นที่ชุมนุมทั้งหมด จะมีการปิดเส้นทางเข้า – ออก เส้นทางการส่งกำลังบำรุงให้กับกลุ่มผู้ชุมนุมแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นประชาชนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุม ซึ่งอาศัยอยู่ภายในบริเวณพื้นที่การชุมนุม หรือบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงอาจจะต้องได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ทหารตำรวจที่ตั้งด่านอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่การชุมนุม จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับท่านในการที่จะผ่านเข้า – ออก อาจจะต้องมีการทำเอกสารเป็นรายบุคคล โดยมาตรการต่าง ๆ ดังกล่าวจะเริ่มเร็วที่สุดตั้งแต่เที่ยงคืนวันนี้เป็นต้นไป ซึ่งจะได้มีการเชิญหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการที่กำหนดมาหารือในรายละเอียดข้อปฏิบัติในวันนี้ (ดู “ศอฉ. แถลงตัดน้ำ-ไฟ-โทรศัพท์ราชประสงค์เที่ยงคืนนี้ นปช.ลั่นให้รัฐเลือกสุเทพหรือประชาชน,” ประชาไท, 12 พ.ค. 53)

นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ให้สัมภาษณ์ว่านายอภิสิทธิ์ได้ขอยกเลิกแนวทางปรองดองที่กำหนดวันยุบสภาในช่วง 15-30 กันยายน และวันเลือกตั้งใหม่ 14 พฤศจิกายน 53 แล้วเนื่องจาก นปช. ไม่ยอมสลายการชุมนุม

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – กลุ่มเสื้อหลากสี ชุมนุมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (www.khaosod.co.th 13 พ.ค.53)

หมายเหตุ

 

13 พฤษภาคม 2553
นปช. – หลังเลยกำหนดเส้นตายของ ศอฉ. เสธ.แดง และชาติชาย ชาเหลา ถูกยิงเสียชีวิตในคืนนั้น

รัฐบาล – นายกรัฐมนตรีล้มข้อเสนอเลือกตั้งเดือน พฤศจิกายนเพราะแกนนำ นปช. ไม่มีความจริงใจในกระบวนการปรองดอง และใช้ข้อเรียกร้องใหม่ที่ไม่เป็นเหตุผลเพื่อการชุมนุมต่อไป อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรียืนยันว่าจะยังคงดำเนินการตามแผนปรองดองแห่งชาติต่อไป

ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในพื้นที่ 11 จังหวัด เพื่อป้องกันผู้มาร่วมชุมนุมในกรุงเทพมหานคร (ตามด้วยการประกาศครั้งที่สอง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ครอบคลุม 17 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี นครปฐม อยุธยา ชลบุรี เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง นครสวรรค์ น่าน ขอนแก่น อุดรธานี ชัยภูมิ นครราชสีมา และศรีสะเกษ)

ในเวลา 18.00 น. ศอฉ. เพิ่มมาตรการความปลอดภัยโดยปิดล้อมพื้นที่ชุมนุมสี่แยกราชประสงค์ ตั้งด่านตรวจโดยรอบจากแยกราชเทวีตามถนนเพชรบุรีไปถึงทางเชื่อมกับทางด่วน เพชรบุรี ตามถนนวิทยุถึงสี่แยกระหว่างถนนวิทยุและพระรามสี่ ตามถนนพระรามสี่ถึงแยกสามย่าน และตามถนนพญาไทถึงแยกราชเทวี การบริการสาธารณะ เช่น รถประจำทาง รถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดิน และเรือข้ามฟากภายในบริเวณดังกล่าวถูกระงับ และตามด้วยการระงับด้านสาธารณูปโภค

เวลา 11.30 น. ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) พันเอก สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก ในฐานะโฆษก ศอฉ. แถลงภายหลังการประชุม ศอฉ. ที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการ ศอฉ. เป็นประธานการประชุมว่า ในช่วงระยะเวลา 2-3 วันที่ผ่านมา ทางศอฉ. ได้ดำเนินการตั้งด่านตรวจตราอาวุธควบคุมการผ่านเข้าออกในพื้นที่ของบุคคลต้องสงสัย โดยขณะนี้ได้มีแนวทางการปฏิบัติเปลี่ยนไปโดยเป็นการกำหนดมาตรการในการปิดล้อมสกัดกั้นพื้นที่แยกราชประสงค์อย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของวันนี้ ส่วนพื้นที่ที่จะเกิดผลกระทบนั้น จะเริ่มทางด้านเหนือ โดยเริ่มตั้งแต่แยกราชเทวีไปตามถนนเพชรบุรี จนกระทั่งถึงแยกขึ้นทางด่วนเพชรบุรี ลงมาทางทิศใต้ตั้งแต่แยกขึ้นทางด่วนเพชรบุรีตามถนนวิทยุลงมา จนกระทั่งสี่แยกถนนวิทยุ เรื่อยมาตามถนนพระราม 4 จนไปถึงสี่แยกสามย่าน แล้วขึ้นไปทางเหนือบรรจบกับจุดเริ่มต้นตามถนนพญาไท จนกระทั่งถึงแยกราชเทวี ซึ่งจะเป็นลักษณะของกรอบสี่เหลี่ยม

ดังนั้น กรอบสี่เหลี่ยมนี้จะเริ่มตั้งแต่ถนนพญาไท ถนนเพชรบุรี และถนนวิทยุก็จะมีการปิดการจราจรด้วย ยกเว้นถนนทางด้านทิศใต้ที่เป็นขอบทางด้านใต้คือ ถนนพระราม 4 จะไม่ปิดการจราจร ซึ่งจะเป็นลักษณะสี่เหลี่ยม อีกทั้ง การปิดการจราจรริมขอบของพื้นที่ทั้งสามด้าน และพื้นที่ที่อยู่ในขอบสี่เหลี่ยมทั้งหมดจะปิดการจราจรทุกชนิด 100% อาทิ รถโดยสารประจำทาง รถไฟฟ้า BTS เรือตามคลองแสนแสบ รถไฟฟ้าใต้ดิน สำหรับพี่น้องประชาชนและกลุ่มผู้ชุมนุมสามารถออกนอกพื้นที่ได้ แต่ไม่สามารถผ่านเข้าไปได้ ยกเว้นผู้ที่อยู่อาศัยและผู้ที่มีสถานที่ทำงานอยู่ในบริเวณนั้นจะได้รับอนุญาตให้ผ่านเข้าออกได้ โดยบุคคลที่มีที่พักอาศัยและทำงานในย่านดังกล่าวต้องเตรียมเอกสารหลักฐานที่เพียงพอที่จะยืนยันได้ว่า ท่านอาศัยอยู่ในบริเวณเหล่านั้น ประกอบด้วย สำเนาทำเบียนบ้าน หรือบัตรประจำตัวพนักงาน ว่าทำงานอยู่ที่บริษัทไหน ตึก อาคารไหน ไปแสดงตนต่อเจ้าหน้าที่ประจำด่านตามจุดต่างๆ ที่มีอยู่ทุกเส้นทางที่จะผ่านเข้าไปในพื้นที่สี่เหลี่ยม ไม่ว่าจะเป็นด่านใหญ่ ตรอกซอกซอยทั้งหลาย โดยเจ้าหน้าที่ประจำด่านจะมีเอกสารที่เป็นสติกเกอร์มอบให้โดยเป็นบัตรแสดงตน ในการผ่านเข้าออกให้กับผู้ที่อยู่อาศัยและทำงานในพื้นที่เหล่านั้นได้อย่าง เดียว ทั้งนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมสามารถผ่านออกได้อย่างเดียว ไม่สามารถผ่านเข้าได้

โฆษก ศอฉ. กล่าวว่า ในพื้นที่ที่มีการสกัดกั้นสมบูรณ์ 100% ที่ว่านี้ การบริการสาธารณะทุกชนิดทั้งไฟฟ้า ประปา การจราจร รถไฟฟ้า BTS รถไฟฟ้าใต้ดิน รถประจำทาง และเรือโดยสารจะมีการระงับตั้งแต่เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป โดยไม่ได้หมายความว่าทุกกรณีระงับตั้งแต่ 18.00 น. แต่ว่าส่วนใดที่สามารถดำเนินการได้ก็จะดำเนินการภายใน 18.00 น. ส่วนใดที่ยังไม่พร้อมก็จะต้องเตรียมการให้พร้อมแล้วก็จะดำเนินการทันทีที่ สามารถดำเนินการได้ ซึ่ง ศอฉ. ต้องการให้มาตรการการบริการสาธารณะทุกชนิดนั้น จะส่งผลกระทบและกดดันต่อกลุ่มผู้ชุมนุม เพื่อให้ยุติการชุมนุมแล้วออกจากพื้นที่โดยเร็ว และไม่ต้องการให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนที่พักอยู่อาศัยและทำงานในพื้นที่เหล่านั้น

และในวันนี้พรุ่งนี้ทาง ศอฉ. ได้ข้อความร่วมมือผู้ประกอบการ อาทิ บริษัท ห้างร้าน เอกชน ทั้งหลายที่ประกอบการอยู่ในพื้นที่สี่เหลี่ยม ให้ปิดกิจการชั่วคราวและอนุญาตให้พนักงาน ลูกจ้างทั้งหลายหยุดงานในช่วงตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค. 53 เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย

สำหรับการปฏิบัติเรื่องการกระชับวงล้อมของเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจมีความจำเป็นที่จะต้องกระชับวงล้อมเข้ามา โดยอาศัยรถเกราะหรือรถสายพานลำเลียงคน ซึ่งมีความจำเป็นในการใช้รถดังกล่าว โดยขอให้มองถึงวัตถุประสงค์ของเจ้าหน้าที่ในการใช้งาน อีกทั้ง เจ้าหน้าที่ไม่ได้ต้องการนำอาวุธที่ร้ายแรงมาใช้ต่อพี่น้องประชาชน แต่ว่ารถเกราะ รถสายพานลำเลียงคนที่ว่านั้น มีเกราะในการที่จะป้องกันอันตรายจากอาวุธยิงต่าง ๆ ให้กับเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจที่ปฏิบัติภารกิจ ในขณะเดียวกัน เป็นการสร้างความปลอดภัยให้กับกลุ่มผู้ชุมนุมด้วย ซึ่ง ศอฉ. มั่นใจว่า ภายในพื้นที่การชุมนุมนั้นได้มีกลุ่มผู้ก่อการร้ายและมีอาวุธสงครามอยู่ เมื่อเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจใช้รถเกราะ แล้วมีการยิงอาวุธกระสุนสงครามเข้ามา ก็ทำให้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตอบโต้ด้วยอาวุธกลับไปเกินความจำเป็น โดยเป็นวัตถุประสงค์ของการใช้รถเกราะ

โฆษก ศอฉ. กล่าวเพิ่มเติมว่า การกระชับวงล้อมในวันนี้อาจจะมีความเป็นไปได้ ที่กลุ่มผู้ก่อการร้ายภายในพื้นที่ชุมนุมจะเคลื่อนที่เข้าปะทะเจ้าหน้าที่ ฉะนั้นสิ่งที่ได้เคยชี้แจงให้ทราบว่า เจ้าหน้าที่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนหลักสากล ตามมาตรการจากเบาไปหาหนักทั้ง 7 ขั้นตอน และมีการใช้อาวุธกระสุนจริงด้วย เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมได้พยายามเคลื่อนที่เข้ามายังเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการ ตามขั้นตอนและขอให้หยุด หากไม่หยุดทางเจ้าหน้าที่จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้กระสุนยาง ซึ่งยิงจากปืนลูกซอง

ดังนั้น ถ้ากลุ่มผู้ชุมนุมยังเข้ามาอีกทางเจ้าหน้าที่คงไม่สามารถที่จะปล่อยให้เกิด เหตุการณ์อย่างที่ผ่านมาได้ ที่มีการเข้ามาบุกยึดอาวุธของเจ้าหน้าที่และยึดยานพาหนะของเจ้าหน้าที่ จึงทำให้เกิดเหตุร้ายได้ แต่การยิงนั้นประชาชนสามารถที่จะพิสูจน์จากการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ได้ว่า เจ้าหน้าที่ไม่ได้ต้องการที่จะมุ่งทำร้ายเอาชีวิตของพี่น้องประชาชน เพราะลักษณะท่าทางการยิง การควบคุมกรวยกระสุนสามารถแสดงออกได้อย่างชัดเจนว่า เจ้าหน้าที่ไม่ได้ต้องการที่จะทำร้ายประชาชนถึงชีวิต เพียงแต่ต้องการที่จะหยุดยั้งการปฏิบัติที่ผิดกฎหมายและการพยายามเข้าถึงตัว เจ้าหน้าที่ของท่านให้ได้ อาวุธปืนที่มีอยู่นั้น ไม่ว่าจะเป็นปืนทาโวร์ ปืน M 16 จะมีใช้ใน 3 กรณีเท่านั้น คือ กรณีที่ 1 การยิงข่มขวัญขึ้นฟ้า กรณีที่ 2 มีการยิงเพื่อป้องกันชีวิตของเจ้าหน้าที่ที่จะถุกทำร้ายหมายปองเอาชีวิตและ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงเป็นอย่างอื่นได้ กรณีที่ 3 การยิงไปยังบุคคลที่มีอาวุธอยู่ในมือไม่ว่าจะเป็นปืนอาวุธสงคราม ปืนเล็กยาว ปืนสั้น ลูกระเบิด ซึ่งเห็นเป้าหมายที่ชัดเจนและแน่นอน ก็จะมีการใช้อาวุธเหล่านี้ยิงไปยังบุคคลเหล่านั้นได้ ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่ติดอาวุธ พร้อมที่จะสร้างความเสียหายให้กับพี่น้องประชาชนและสามารถที่จะทำร้ายเจ้า หน้าที่ได้

และอีกส่วนหนึ่งที่เราเรียกว่า คนแม่นปืนระวังป้องกัน ซึ่งเป็นอาวุธในลักษณะปืนเล็กยาวในแบบเดียวกันที่จะยิงผู้ที่เป็นผู้ก่อการ ร้าย โดยมีอาวุธปืน ลูกระเบิด และอาวุธสงครามอยู่ในมือที่จะทำร้ายเจ้าหน้าที่ และจะไม่มีอาวุธหนักอย่างอื่นนอกเหนือไปจากนี้ จะไม่มีการใช้ลูกระเบิดขว้าง จะไม่มีการใช้เครื่องยิง M 79 เพื่อที่แสดงความบริสุทธิ์ใจของเจ้าหน้าที่อย่างแท้จริง ในส่วนกรณีทั้งหมดที่ได้แจ้งให้ทราบนั้น เป็นกรณีที่กระชับวงล้อมเข้าไปแล้วมีความพยายามของกลุ่มผู้ชุมนุมทั้งหลาย ที่จะเข้าปะทะกับแนวด่านสกัดของเจ้าหน้าที่ ไม่ได้หมายถึงการที่จะเข้าไปขอพื้นที่คืน ซึ่งเป็นเรื่องในอนาคตที่ตนขอไม่พูดถึง โดยในวันนี้เป็นแค่การกดดันพื้นที่สี่เหลี่ยมตามแนวเส้นขอบที่แจ้งให้ทราบ ไว้เท่านั้น (ดู “ศอฉ.เพิ่มมาตรการสกัดพื้นที่สี่เหลี่ยมเพื่อป้องกันกลุ่มผู้ก่อการร้ายก่อเหตุ,” ข่าวทำเนียบ, 13 พ.ค.53 ; “สรรเสริญลั่น 6 โมงเย็นตัดน้ำตัดไฟเสื้อแดง ตั้งด่านสกัด 100% ใช้อาวุธจริง รถหุ้มเกราะ,” ประชาไท, 13พ.ค. 53 ; ดูคลิป 20100513_ศอฉ.สั่งปิดล้อม_รปส.18 น.)

ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่า ตกลงการเลือกตั้งยังเป็นวันที่ 14 พฤศจิกายนเหมือน เดิมหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ ขณะนี้ถือว่า เขาไม่มีคำตอบ ผู้สื่อข่าวถามว่า สรุปคือวันที่ 14 พฤศจิกายนจะยกเลิกไม่มีการเลือกตั้งใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า “ใช่ ครับ”

ผู้สื่อข่าวถามว่า แล้วจะเลื่อนไปวันไหน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็ต้องดูสถานการณ์จากวันนี้ไป ซึ่งเรียนแล้วว่าการตอบรับแผนปรองดองนั้น ต้องตอบรับเป็นรูปธรรม คือการยุติการชุมนุม เมื่อเขาไม่ยุติการชุมนุม ผมก็เดินหน้าแผนปรองดอง 5 ข้อ แต่เรื่องการเลือกตั้งก็เป็นดุลพินิจของผมแล้ว ไม่ใช่เรื่องต้องไปกำหนดว่าเป็นวันที่ 14 พฤศจิกายน เพราะเขาไม่ตอบรับ ทำให้บ้านเมืองขณะนี้เหตุการณ์ไม่สงบ และมีความยืดเยื้อต่อไป

นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า ส่วนการทำงานของรัฐบาลในขณะนี้ โจทก์ที่ให้ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) และฝ่ายความมั่นคง ก็ชัดเจนว่าต้องการคืนความเป็นปกติกลับมาให้ประชาชนโดยเร็วที่สุด ซึ่งก็มีการดำเนินการอยู่  (ดู “นายกรัฐมนตรีย้ำแกนนำ นปช.ไม่ตอบรับแผนปรองดอง,” ข่าวทำเนียบ, 13 พ.คง 53 ; ดู “อภิสิทธิ์ลั่นไม่มีเลือกตั้ง 14 พ.ย. จะมีเมื่อไหร่ อยู่ที่ผมจะพิจารณา,” ประชาไท, 13 พ.ค. 53)

ในวันเดียวกันนั้น คณะรัฐมนตรีได้ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ 2 ให้พื้นที่เขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดชลบุรี จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดน่าน จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดศรีสะเกษ เป็นพื้นที่ในเขตประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ 2  (ดู “ศอฉ.ประกาศให้ 17 จังหวัดเป็นพื้นที่ในเขตสถานการณ์ฉุกเฉิน,” ประชาไท, 14 พ.ค. 53)

นอกจากนี้ ศอฉ.ได้ยื่นคำร้องถึงศาลอาญา และศาลมีคำสั่งให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ตัดสัญญาโทรศัพท์ บริเวณพื้นที่ชุมนุมแยกราชประสงค์และบริเวณโดยรอบ เริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 18.00 น.เศษ โดยให้ตัดสัญญาณคราวละไม่เกิน 6 ชั่วโมง จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง

ศอฉ.ยังประกาศคำสั่งให้การประปานครหลวง ระงับการให้บริการในพื้นที่ แยกศาลาแดง ตั้งแต่แยกราชประสงค์, ถ.พระราม 1 ตั้งแต่แยกเฉลิมเผ่า แยกอังรีดูนัง ถ.ราชดำริ ถ.เพลินจิต และ ถ.วิทยุ เริ่มเวลา 21.00 น.

นอกจากนี้ ให้ตัดกระแสไฟฟ้าโดยรอบพื้นที่แยกราชประสงค์ ได้แก่ ชั้นล่างอาคารจอดรถห้างเซ็นทรัลเวิลด์, โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ, อัมรินทร์พลาซ่า, ลานพระบรมรูปรัชกาลที่ 6, ไฟส่องสว่างที่แยกเพลินจิตถึงแยกราชประสงค์, ไฟส่องสว่างตั้งแต่แยกศาลาแดงถึงแยกประตูน้ำ, ไฟส่องสว่างตั้งแต่แยกพระราม 1 ถึงแยกประตูน้ำ และโดยรอบพื้นที่ราชประสงค์

อีกทั้ง ห้ามใช้เส้นทางการจราจรโดยรอบแยกราชประสงค์ ยกเว้นแต่จะได้รับอนุญาตเท่านั้น ประกอบด้วย ก. ถนนเพชรบุรี ตั้งแต่แยกทางด่วนเพชรบุรี ถึงแยกราชเทวี, ข. ถนนพญาไท ตั้งแต่แยกราชเทวี ถึงสามย่าน ค.ถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกวิทยุถึงทางด่วนเพชรบุรี ง.ถนนในพื้นที่ ก.-ค. จนถึงแนวถนนพระราม 4 จ.ถนนราชปรารภ ตั้งแต่สี่แยกประตูน้ำจนถึงแยกมักกะสัน ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  (ดู “ศอฉ.อ้างศาลตัดมือถือ-น้ำ-ไฟ ห้ามใช้ทาง ฝ่าฝืนจำคุก,” prachatai, 14 พ.ค. 53)

ต่อมา พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) แถลงว่า ที่ประชุม ศอฉ.ในเย็นนี้ มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ เป็นประธาน ได้มีการประชุมหารือถึงมาตรการในการดำเนินกลับกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงที่ราช ประสงค์ ซึ่งจะมีการชี้แจงเพิ่มเติมใน 4 ประเด็นได้แก่ คือ

  1. การดำเนินการกดดัน โดยเจ้าหน้าที่ทหารจะดำเนินการโอบล้อมในพื้นที่เพิ่มเติม จากเดิมตั้งแต่แยกราชเทวี ถนนเพชรบุรี ถนนมิตรสัมพันธ์ ถนนวิทยุ ถนนพระราม 4 แยกสามย่าน พญาไท โดยถนนเส้นพระราม 4 จะไม่มีการปิดการจราจร แต่จะมีการปิดถนนเพิ่มเติมคือ ถนนพระราม 1 จนถึงปทุมวัน และถนนราชปรารภถึงมักกะสัน
  2. ศอฉ. ขอชี้แจง ข่าวที่คลาดเคลื่อนที่แกนนำนปช. ได้ขึ้นเวทีระบุว่า ในคืนวันที่ 12 พ.ค. เชื่อมต่อไปยังคืนวันที่ 13 พ.ค. มีเจ้าหน้าที่ทหารทำร้ายร่างกายสมาชิกนปช.ที่ศาลาแดง ตรงข้ามห้างโรบินสัน ซึ่ง นปช.คนดังกล่าว ซึ่งจากการตรวจสอบเหตุการณ์ดังกล่าว พบว่า นปช.คนดังกล่าว ชื่อนายวีระศักดิ์ สังข์ทอง มีอาการมึนเมาสุรา เดินข้ามมาซื้อของที่ฝั่งสีลม และกระทบกระทั่งกับชาวบ้านในพื้นที่ดังกล่าว โดยเจ้าหน้าที่ทหาร ก็ได้เข้าไปช่วยห้ามปราม และส่งนายวีระศักดิ์ ส่งตัวไปยังสถานีตำรวจ เพื่อดำเนินคดี โดยสาเหตุที่ ศอฉ.ต้องออกมาชี้แจง เนื่องจาก หลัง 18.00 น.ของวันนี้ ศอฉ.จะส่งกำลังเข้าพื้นที่ ทำให้ แกนนำนปช.บิดเบือนข้อเท็จจริงว่า ทหารที่ดูแลความปลอดภัยที่บริเวณราชประสงค์ และสีลม ใช้อำนาจเกินกว่าที่จำเป็น
  3. ศอฉ.เตรียมเสนอรัฐบาลประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพิ่มเติม 15 จังหวัด ในจังหวัดภาคกลางได้แก่ ชลบุรี นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี อยุธยา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา ศรีสะเกษ ภาคเหนือ เชียงใหม่ เชียงราย น่าน ลำปาง นครสรรค์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ป้องกันการเคลื่อนไหวในพื้นที่จังหวัดดังกล่าว เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางมาสมทบกับผู้ชุมนุมที่แยกราชประสงค์
  4. แต่งตั้งให้แม่ทัพภาคที่ 3 ทำงานควบคู่กับ ผู้ว่าราชการจังหวัดใน 15 จังหวัดดังกล่าว เพื่อควบคุมรักษาความสงบในพื้นที่ นอกจากนี้ยังกำหนดพื้นที่เขตห้ามบิน เครื่องบิน เครื่องร่อนทุกชนิด มีศูนย์กลางที่แยกราชประสงค์ มีความสูง 6,000 ฟุต รัศมี 3.6 กิโลเมตร โดยทิศเหนือจรด ททบ.5 , ทิศใต้จรดสีลม , ทิศตะวันออก จรดแยกอโศก ทิศตะวันตก จรดแม่น้ำเจ้าพระยา

(ดู “ศอฉ.เล็งเสนอพื้นที่ฉุกเฉินเพิ่ม 15 จังหวัด,” prachatai, 13 พ.ค. 53

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย  –

หมายเหตุ

 

14 พฤษภาคม 2553

นปช. – มีการเผชิญหน้าและปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับทหารหลายระลอกในพื้นที่รอบราชประสงค์เมื่อกำลังทหารรุกคืบกระชับวงล้อมกดดัน

รัฐบาล – นายสุเทพ ในฐานะ ผอ. ศอฉ. ทำหนังสือถึงเลขาธิการคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ขอให้ระงับระงับสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค. เวลา 22.00 น. ถึงวันที่ 15 พ.ค. 53 เวลา 4.00 น.

ศอฉ. ออกประกาศ เรื่อง ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ ฉบับที่ 2 ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะใดๆ เข้าหรือออกในเส้นทาง ถนนพระราม 4 ตั้งแต่สี่แยกสามย่าน ถึง แยกปากซอยงามดูพลี เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2553 เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป

(ดู ประกาศ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เรื่อง ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ ฉบับที่ 2)

เวลา 20.30 น. ศอฉ.แถลงข่าวโดยมี นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ดร.ปณิธาน วัฒนายากร และ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด เป็นผู้แถลง โดยนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงระบุว่า การชุมนุมของผู้ชุมนุมนั้นดำเนินมากว่า 2 เดือนและเป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้ง พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือคำสั่งของศาลแพ่ง และเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการสลายการชุมนุมได้ทันที แต่รัฐบาลได้พยายามเจรจา 2 ครั้ง แต่ท้ายที่สุดผู้ชุมนุมปฏิเสธ และต่อมานายกฯ ได้แเสนอแผนปรองดอง 5 ข้อ และผู้ชุมนุมโดยแกนนำได้ยอมรับในเบื้องต้น แต่ที่สุดมีการปฏิเสธแผนปรองดองซึ่งเป็นผลจากการแทรกแซงและสั่งการของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี การปฏิบัติของ ศอฉ.ที่ผ่านมานั้นพยายามคลี่คลายสถานการณ์โดยปฏิบัติตามหลักสากล และคำนึงถึงชีวิตของผู้ชุมนุม ซึ่งหากผู้ชุมนุมไม่มีการใช้อาวุธก็จะไม่มีการสูญเสีย แต่เมื่อผู้ชุมนุมมีอาวุธ โดยการสั่งการของแกนนำที่ใช้ความรุนแง จึงเกิดความสูญเสียและผลกระทบอย่างที่เห็น

ปัจจุบันเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติการกระชับวงล้อม และสกัดกั้นไม่ให้มีการส่งกำลังสนับสนุนไปยังกลุ่มผู้ชุมนุมที่มิชอบด้วยกฎหมายและเสี่ยงต่อความรุนแรง การปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการเข้าไปในพื้นที่ของผู้ ชุมนุม แต่เหตุการณ์ปรากฏว่าผู้ชุมนุมมีอาวุธและใช้ความรุนแรงโจมตีเจ้าหน้าที่ที่ ปฏิบัติการกระชับวงล้อม ทั้งโจมตีที่ด่านและที่กำลังเคลื่อนที่ เจ้าหน้าที่จึงต้องใช้อาวุธเพื่อป้องกันตัวเองไม่ให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ ทางรัฐบาลยืนยันว่าจะดำเนินการกระชับพื้นที่ต่อไป แต่การปฏิบัติการนี้จะลดความสูญเสียได้ เพราะไม่มีใครอยากให้เกิดความรุนแรง และรัฐบาลก็เช่นกัน วิธีการที่ดีที่สุดคือยุติการชุมนุม และแผนปรองดองทั้ง 5 ข้อก็จะดำเนินการต่อไปอย่างที่ได้ประกาศไว้แล้ว ทั้งการปฏิรูปสื่อ หรือการสร้างความเป็นธรรมทางการเมือง

รัฐบาลขอยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้มีการสั่งให้เจ้าหน้าที่เข้าไปปราบปราม หรือฆ่าประชาชนอย่างที่มีการบิดเบือนข่าวสารแต่อย่างใด แต่เป็นการดำเนินการให้เหตุการณ์สงบลงโดยเร็วให้ประชาชนได้สามารถใช้ชีวิต ได้อย่างสงบสุข

ด้าน พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. กล่าวสรุปการปฏิบัติในช่วง 2 วันที่ผ่านมา (13-14 พ.ค.) ว่า เนื่องจากมีความพยายามของกลุ่มผู้ไม่หวังดีที่จะบิดเบือนข้อเท็จจริง สร้างภาพให้ประชาชนเห็นว่าทหารตำรวจปิดล้อมและใช้อาวุธสงครามยิงใส่ผู้ ชุมนุม จำเป็นต้องทำความเข้าใน ดังนี้

  1. ในวันที่ 13 พ.ค. ศอฉ.สั่งการให้ทหารตำรวจกระชับวงล้อมบริเวณที่ชุมนุมแยกราชประสงค์ทั้ง 4 ด้าน เป็นรูปสี่เหลี่ยม เพื่อกดดันกลุ่มผู้ชุมนุมไม่ให้เพิ่มเติมกำลังคน ตัดการส่งกำลังบำรุง จำกัดบริการสาธารณะ ทั้งประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์บ้าน รวมทั้งปิดการจราจรทุกช่องทาง ซึ่งเห็นว่าเป็นวิธีการที่น่าจะสามารถยุติการชุมนุมได้ หรืออย่างน้อยทำให้จำนวนผู้ชุมนุมลดน้อยลง แต่ 2 วันที่ผ่านมา กลุ่มก่อการร้าย ผู้ชุมนุมบางส่วน กระทั่งกลุ่มรถจักรยานยนต์กวนเมืองได้กดดันด่านเจ้าหน้าที่ตลอดเวลา มีการใช้อาวุธปืนหลายชนิด รวมถึง M79 โดยใช้ผู้ชุมนุมเป็นโล่กำบัง เจ้าหน้าที่จึงจำเป็นต้องป้องกันตนเองและผู้ไม่เกี่ยวข้อง โดยการใช้กำลังจากเบาไปหาหนัก เริ่มแต่ประชาสัมพันธ์ไปถึงการใช้กระสุนยางที่ยิงจากปืนลูกซองทั้งนี้ การขอพื้นที่ที่แยกคอกวัว สถานีไทยคม อนุสรณ์สถาน เจ้าหน้าที่ไม่ได้ใช้อาวุธกับผู้ชุมนุมเลย แต่ปรากฏว่าเมื่อผู้ชุมนุมเข้าถึงเจ้าหน้าที่ก็ทำร้ายและยึดอาวุธดังนั้น เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องรักษาระยะห่างกับผู้ชุมนุม ถ้าผู้ชุมนุมจะเคลื่อนเข้าหาเจ้าหน้าที่ก็จำเป็นต้องใช้ปืนลูกซองกระสุนจริงในการสกัดกั้น โดยจะพยายามยิงลงพื้นในแนวไม่เกินหัวเข่า เพื่อยับยั้งไม่ให้เข้ามาและแสดงออกอย่างชัดเจนว่าไม่ประสงค์จะทำร้ายถึงชีวิต สำหรับปืน M16 ปืนทาโวร์ เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติภารกิจเพราะตลอดเวลาที่ผ่านมาผู้ก่อการร้ายมีอาวุธสงคราม ศอฉ.ได้กำหนดหลักเกณฑ์ใช้งานไว้ 1. ใช้ยิงข่มขวัญขึ้นฟ้า 2. ยิงเป้าหมายที่ตรวจสอบได้ว่าเป็นกลุ่มก่อการร้าย หรือผู้ชุมนุมที่ถืออาวุธสงครามร้ายแรง ลูกระเบิด 3. ยิงป้องกันชีวิตเจ้าหน้าที่และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่การใช้ปืนทั้งสองชนิดนั้นได้กำหนดให้ยิงทีละนัด ไม่มีการยิงเป็นชุด และจะไม่ใช้ M79 ระเบิดแบบขว้างหรืออาร์พีจีแน่นอน อย่างไรก็ตาม ภาพข่าวบางภาพอาจเป็นเพียงบางส่วนของเหตุการณ์จริง อาจได้เห็นเฉพาะช่วงที่ทหารจำเป็นต้องเคลื่อนเข้าผู้ชุมนุมเพื่อผลักดันให้ ผู้ชุมนุมกลับพื้นที่ที่กำหนด หรือยิงสกัดกั้น อาจไม่ได้เห็นภาพทั้งหมด ในช่วงที่ผู้ชุมนุมผู้ก่อการร้ายยิงใส่เจ้าหน้าที่
  2. แยกราชประสงค์เป็นพื้นที่อันตราย ไม่ว่าการสร้างสถานการณ์ของผู้ก่อการร้าย หรือในช่วง 10-20 นาทีที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิต 4 คน บาดเจ็บ 80 กว่าคน อีกทั้งเจ้าหน้าที่ยังยึดอาวุธได้จากการ์ด นปช. ทั้งระเบิดขว้าง เอ็ม 16 ชัดเจนว่ามีการลักลอบเอาอาวุธมาใช้ โดยเฉพาะที่แกนนำเคยยึดได้ที่ลาดหลุมแก้ว คอกวัว รวมแล้วกว่า 68 รายการ เป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าพื้นที่นี้อันตราย การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่นั้นเป็นการกระชับวงล้อม มิใช่การล้อมปราบ ขอเรียนวิงวอน นปช.จังหวัดต่างๆ ไม่ต้องเดินทางเข้ามา กทม. เพราะข้อมูลข่าวสารจากแกนนำบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง ขณะนี้ ศอฉ.ควบคุมสถานการณ์โดยรวมไว้ได้ และจะหลีกเลี่ยงความรุนแรงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

(ดู “สาทิตย์-สรรเสริญ แถลงจะกระชับพื้นที่ต่อไป อ้างผู้ชุมนุมโจมตีก่อนจึงรุนแรง,” ประชาไท, 14 พ.ค. 53 ; ดูคลิป 20100514_CRES_002)

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – ศาลแพ่งยกคำร้องของ นปช. ที่ขอคำสั่งศาลให้ห้ามเจ้าหน้าที่ดำเนินการปิดล้อมการชุมนุม และห้ามสลายการชุมนุม โดยศาลแพ่งพิเคราะห์คำร้องว่าไม่มีความเป็นเหตุเป็นผลเพียงพอ รวมทั้งการดำเนินการปิดล้อมของเจ้าหน้าที่อยู่ภายในอำนาจของฝ่ายบริหาร ขณะที่การสลายการชุมนุมเพื่อให้เกิดความสงบสุข เจ้าหน้าที่ ในกรณีจำเป็น สามารถใช้อาวุธเพื่อการป้องกันตัวและป้องกันมิให้สถานการณ์ขยายตัว แต่ต้องเป็นการดำเนินการตามหลักสากล

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติออกแถลงการณ์เรื่อง “ขอประณามการใช้ความรุนแรงในเหตุการณ์การชุมนุม” ดังนี้

จากเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช.บริเวณแยกราชประสงค์ และพื้นที่ใกล้เคียง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดด้วยความ ห่วงใย และพบว่ามีการละเมิดสิทธิอย่างรุนแรงสูงสุด คือ ถึงขั้นเสียชีวิต มาเป็นระยะๆ จนกระทั่งล่าสุดในคืนวันที่ 13 พฤษภาคม 2553

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ขอประณามการกระทำดังกล่าวว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงอีกครั้ง หนึ่ง ซึ่งหากเหตุการณ์เหล่านี้ยังดำเนินต่อไป คาดว่าจะนำไปสู่ความรุนแรง และความแตกร้าวยิ่งขึ้นในสังคมไทยจนยากที่จะเยียวยา อันเป็นสิ่งที่ประชาชนชาวไทยทุกฝ่ายไม่ปรารถนา

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงขอวิงวอนให้ทุกฝ่ายได้ใช้สติโดยคำนึง ถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก หยุดการเผชิญหน้าและหยุดการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ ทางออกที่ดีที่สุดคือกลับมาสู่การเจรจาโดยเร็วเพื่อนำความสงบและสันติสุขคืน สู่ประเทศไทย ฝ่ายใดปฏิเสธการเจรจา ถือว่าฝ่ายนั้นมีเจตนาทำร้ายประเทศชาติ

(ดู “กก.สิทธิประณามความรุนแรง วอนทุกฝ่ายใช้สติ กลับสู่การเจรจา,” prachatai, 14 พ.ค. 53

หมายเหตุ –

 

15 พฤษภาคม 2553

นปช.

รัฐบาล – นายกฯ อภิสิทธิ์แถลงรัฐบาลถอยไม่ได้แล้ว ไม่ยอมให้จับ กทม. เป็นตัวประกัน ส่วนทหารแถลงโต้ไม่ได้ตั้งใจฆ่าประชาชน แต่เป็นการต่อสู้กับอาวุธสงคราม

นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลง โดยนายสาทิตย์รายงานสถานการณ์ว่า ตั้งแต่เมื่อวานถึงเช้าวันนี้เป็นสถานการณ์ที่มีความรุนแรงต่อเนื่อง

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นชี้ให้เห็นว่า สถานการณ์ได้มาถึงจุดที่สอดคล้องกับสิ่งที่แกนนำ นปช. เคยประกาศว่าจะทำสงครามประชาชนหรือสงครามกลางเมือง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสอดคล้องกับแนวทางที่ทางแกนนำ นปช. ได้มีการปลุกระดม โดยการใช้ข้อมูลข่าวสารบิดเบือนข้อเท็จจริงต่างๆ แล้วปลุกระดมให้ใช้ความรุนแรงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ทำให้ฝ่ายของรัฐจำเป็นต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดต่อไป

ฝ่ายเจ้าหน้าที่เพียงแต่กระชับวงล้อมเข้าไป เป็นการสกัดกั้นการเติมกำลังสนับสนุนผู้ชุมนุมซึ่งนิยมความรุนแรง แต่กลับถูกกองกำลังของฝ่าย นปช. ออกมาโจมตีโดยใช้อาวุธหนักตลอดเวลา อาจจะกล่าวได้ว่า นี่เป็นกองกำลังที่มีอาวุธหนักมากที่สุดนับแต่หลังสงครามคอมมิวนิสต์เป็นต้นมา ที่เป็นการใช้กำลังต่อฝ่ายเจ้าหน้าที่ของบ้านเมือง

สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่า การดำเนินการของ นปช. นั้น มีจุดมุ่งหมายอย่างชัดเจน โดยแกนนำที่ต้องการความรุนแรง เพื่อต้องการโค่นล้มอำนาจรัฐด้วยวิธีการที่รุนแรงและผิดกฎหมาย ทั้งหมดนี้เป็นเพราะความเห็นแก่ตัวของอดีตนายกฯ ทักษิณ และแกนนำที่นิยมความรุนแรงที่ปลุกระดมและใช้มวลชนเป็นเครื่องมือในการต่อสู้ทางการเมืองเพื่อชัยชนะส่วนตน เห็นได้ชัดว่าข้อต่อรองของแกนนำในช่วงหลังไม่ใช่เป็นข้อเรียกร้องเพื่อมวลชน แต่เป็นข้อเรียกร้องส่วนตน เช่น ต่อรองเรื่องของการดำเนินคดี หรือการต่อรองเพื่อการขอการประกันตัว เป็นต้น

ปณิธานรายงานสถานการณ์การชุมนุม ในคืนวันที่ 14 มีกลุ่มติดอาวุธที่พยายามตีกรอบเจ้าหน้าที่เพื่อกดดันไม่ให้เจ้าหน้าที่ตั้งด่านและกระชับกำลังไม่ได้ซึ่งมีลักษณะเหมือนมีการวางแผนไว้แล้ว ซึ่งมีการใช้อาวุธในจุดปะทะหลายจุด และมีการโอบล้อมเจ้าหน้าที่ด้วย และในรอบพื้นที่นอก กทม. มีการระดมคนเข้ามาเพื่อกดดันเจ้าหน้าที่โดยมีการให้ข่าวสารบิดเบือน และในคืนนี้ยังมีการยิงเอ็ม 79 รวม 16 นัดในจุดสกัดรอบๆ แยกราชปรารภ แอร์พอร์ทลิงค์ ประตูน้ำ บ่อนไก่ สวนลุมไนท์บาซ่าร์ และแยกศาลาแดง และมีการพยายามกั้นการจราจรด้วยรถแท็กซี่

ในเวลา 18.30 น. มีการยิงระเบิดเอ็ม 79 ที่แยกศาลาแดง 8 นัด สีลมเซนเตอร์(สีลมคอมเพล็กซ์?) 1 นัด มีผู้บาดเจ็บ 1 คน 18.30 น. ที่แยกราชปรารภมีการเผาทำลายรถบรรทุก เอ็ม 35 ทำให้มีทหารบาดเจ็บ 2 นาย ผู้ชุมนุมเสียชีวิต 1 คน 19.50 น. มีการยิงเอ็ม 79 จากบ่อนไก่ใส่แนวทหาร 3 นัด มีทหารบาดเจ็บ 1 นาย

เวลาประมาณ 20.00 น. เมื่อไม่สามารถฝ่าวงล้อมเข้าไปได้ จึงมีการระดมคนที่ตึกสูงแห่งหนึ่ง ที่ถนนพระราม 4 ซึ่งเป็นตึกของที่ทำการพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง(พรรรค ซึ่งรวมตัวกันหลายร้อยคน

เวลา 20.20 น. มีการระเบิดที่ถนนราชปรารภ สี่แยกประตูน้ำ 4 ครั้ง อีก10 นาทีให้หลัง ที่แอร์พอร์ทลิงค์ อีก 3 ครั้ง ห่างจากแนวของเจ้าหน้าที่ 10 เมตร 21.10 น. มีแท็กซี่รวมตัวกันที่ถนนนราธิวาศ 21.25 น. มีการตั้งด่านตรวจที่แยกปทุมวันขาเข้าโดยกลุ่มผู้ชุมนุม และมีการเผายางที่สะพานข้ามแยกดินแดง 22.00 น. หน้าสถานทูตออสเตรเลียมีการเผายางรถยนต์ 22.05 น. มีการยิงเอ็ม 79 อีก 1 นัดที่แอร์พอร์ทลิงค์ และที่แยกดินแดงมีการรวมตัวกันราว 1,000 คน 22.50 น. มีการยิงเอ็ม 79 อีก 1 นัด ที่บ่อนไก่บริเวณแนวทหาร ประมาณ 12.30 น. มีรถตู้ทะเบียน ฮค 5861 พยายามฝ่าด่านที่แอร์พอร์ทลิงค์มีผู้บาดเจ็บ 3 คน(สมร ไหมทอง, พัน คำกอง, คุณากร) ในตอนเช้า 5.15 น. มีการยิระเบิดเอ็ม 79 อีก 1 นัด หน้าแนวทหารบริเวณสนามมวยลุมพินี สรุปยอดผู้เสียชีวิต 17 ราย บาดเจ็บ 140 ราย

ดูคลิป 20100515_CRES_001

ต่อมา พล.ท.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองเสนาธิการทหารบก แถลงว่า หลังจากที่ปรากฏชัดเจนว่ามีกองกำลังติดอาวุธแฝงตัวอยู่ในผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่ได้รับการสูญเสียอย่างเห็นได้ชัดด้วยอาวุธสงคราม เราจึงจำเป็นต้องให้เจ้าหน้าที่ใช้อาวุธปืนในการป้องกันชีวิตตัวเอง แต่พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ปืนที่เป็นอาวุธสงคราม โดยใช้ปืนลูกซอง ซึ่งได้กำหนดไว้ว่ากระสุนจริงนั้นใช้ได้ใน 3 กรณีเท่านั้น คือ

  1. ใช้ปืนลูกซองเพื่อหยุดยั้งผู้ชุมนุมไม่ให้เข้าใกล้เจ้าหน้าที่ เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียมาก ถ้าจำเป็นต้องมีการยิงจะยิงลงพื้น เพื่อไม่ให้ถึงชีวิตและจะไม่มีการยิงผู้หญิงและเด็กเด็ดขาด
  2. เพื่อป้องกันชีวิตัวเองหากมีการคุกคามถึงแก่ชีวิต
  3. เพื่อตอบโต้กองกำลังติดอาวุธที่ปะปนในกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งได้มีการย้ำแล้วว่าให้ยิงเมื่อพบเป้าหมายเท่านั้น

พล.ท.ดาว์พงษ์ได้เน้นด้วยว่าฝ่ายทหารนั้นไม่มีการใช้เอ็ม 79 ระเบิดขว้างหรืออาร์พีจีแน่นอนเนื่องจากควบคุมความเสียหายไม่ได้ มีเพียงการใช้ปืนพก ปืนลูกซองที่มีทั้งกระสุนจริงและกระสุนยาง และปืนเล็กยาว แล้วแต่ว่าหน่วยนั้นใช้ปืนรุ่นไหน

พล.ท.คณิต ชี้แจงถึงเขตพื้นที่รับผิดชอบของกองทัพภาคที่ 1 ว่า พื้นที่ราชประสงค์มีการใช้หน่วย 3 หน่วย คือ กองพลที่ 1 รอ. กองพลทหารม้าที่ 2 รอ. และกองพลทหารราบที่ 9

พล.ต.กัมปนาท (กองพลที่ 1 รอ.) อธิบายเหตุการณ์วันที่ 14 ในพื้นที่ราชปรารภว่า ได้มีผู้ชุมนุมรื้อถอนกระสอบทรายและใช้อาวุธปืนยิงขู่เจ้าหน้าที่ และนำคนราว 200-300 คน มาล้อมเจ้าหน้าที่ที่แยกหมอเหล็งและยึดรถน้ำทหาร จึงจำเป็นต้องเพิ่มเติมกำลังพล แต่เมื่อมีการเพิ่มกำลังทหารผู้ชุมนุมจึงมีการเพิ่มจำนวนแล้วเข้ากดดัน จึงต้องผลักดันผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่หวงห้ามเด็ดขาด ขณะปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่บ่ายเจ้าหน้าที่ได้ถูกยิงด้วยระเบิดเอ็ม 79 และอาวุธสงครามเป็นระยะตั้งแต่ช่วงบ่าย โดยเจ้าหน้าที่ได้ถูกยิงโดยเอ็ม 79 จำนวน 18 ครั้ง (โชว์ตำแหน่งกระสุนตกบนแผนที่) และยังพบกองกำลังติดอาวุธอยู่แนวหลังมวลชนแล้วยิงใสเจ้าหน้าที่

อีกเหตุการณ์ในช่วงกลางคืนผู้ชุมนุมได้ยึดรถเจ้าหน้าที่ตำรวจขับไปทางบึงมักกะสัน และใช้รถบรรทุกและแท็กซี่วิ่งเข้าหาแนวทหารทหารเมื่อใช้ปืนลูกซองยิงจึงหยุดไว้ได้ ส่วนแท็กซี่ได้วนกลับไป แต่ได้มีผู้เสียชีวิตอยู่หลังรถแท็กซี่ที่ถูกเผา ซึ่งอยู่ห่างออกไป 300 เมตร แต่ระยะยิงของปืนลูกซองไม่ถึง 300 เมตร จากนั้นทหารจึงได้เข้าไปเอาศพและผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล

ในช่วงตี 2 มีกองกำลังไม่ทราบฝ่ายราว 10-15 คน ใส่ชุดดำ พร้อมอาวุธสงครามเคลื่อนเข้าจากทางสามเหลี่ยมดินแดงพร้อมมวลชนเข้าหาแนวทหารแต่ผ่านแนวทหารเข้าไปไม่ได้

พล.ต.สุรศักดิ์ จากกองพลทหารม้าที่ 2 รอ. ชี้แจงการวางกำลังในแนวถนนวิทยุและพระราม 4 ว่าตั้งแต่คืนที่ 13 พ.ค. เวลา 18.00 น. ไปแล้วได้ถูกกองกำลังติดอาวุธปิดล้อมที่ถนนวิทยุตรงข้ามกับสวนลุมไนท์ แต่เนื่องจากเป็นเวลากลางคืน จึงถอนตัวไปอยู่ในสวนลุมไนท์ แต่ได้ถูกดดันโดยการปิดล้อม มีการยิงทั้งพลุและอาวุธสงครามใส่เจ้าหน้าที่ ตลอดทั้งคืน เช้า 14 พ.ค. จึงจัดกำลังเคลียร์สวนลุมไนท์(แต่พอเปิดแผนที่มาเป็นสวนลุมพินี) มีกองกำลัง 20 คน ยิงใส่เจ้าหน้าที่ด้วยอาวุธสงครามจึงต้องยิงตอบโต้กลับเข้าไปในสวนลุม 14.00 น. กองกำลังติดอาวุธได้ ขว้างระเบิดออกมาทำให้มีผู้บาดเจ็บ 7 คน และถอนตัวออกไปทางสะพานไทย-เบลเยี่ยม ในเวลา 15.00 น. ในเวลา 16.00 น. มีกองกำลังติดอาวุธทะเลาะกันและยิงกันภายในสวนลุมพินี

ในด้านสะพานไทย-เบลเยี่ยม เวลา 13.30 น. ได้กดดันกองกำลังติดอาวุธไปทางด่านพระราม 4 (เปิดรูปแนวเจ้าหน้าที่ทหารนั่งหลบอยู่หลังโล่ปราบจลาจล กับชาวบ้านที่ยืนมุงดูทางด้านบ่อนไก่) เวลา 14.45 น. กองกำลังติดอาวุธได้ใช้อาวุธสงครามและปืนพกใส่เจ้าหน้าที่ จึงได้มีการตอบโต้ตามขั้นตอน และมีการใช้แก๊สน้ำตาและกระสุนยางด้วย 15.30 น. กองกำลังติดอาวุธเผายางและรถน้ำบริเวณหน้าปั๊มน้ำมันปตท. ที่บ่อนไก่ 16.00 น. มีประชาชนเอาอาวุธไล่ยิงกองกำลังติดอาวุธเนื่องจากไม่พอใจการกระทำของกองกำลังติดอาวุธ 16.30 น. เนื่องจากฟ้าใกล้มืดเจ้าหน้าที่ได้ติดตามเข้าไปแต่ถูกยิงตอบโต้จากกองกำลังติดอาวุธ (เปิดภาพคนถูกจับที่สนามมวยลุมพินี) ได้ 30 คน ยึดเสื้อเกราะได้ 2 ตัว และอาวุธอีกจำนวนหนึ่ง(ไม่แจกแจง)

นอกจากนี้ได้ชี้แจงเรื่องที่เจ้าหน้าที่บนถนนพระราม 4 ถูกระเบิดเอ็ม 79 ยิงจำนวน 29 นัด(เปิดแผนที่ตำแหน่งกระสุนตก)

พ.อ.สรรเสริญชี้แจงว่าไม่สามารถหลีกเลี่ยงความสูญเสียได้เนื่องจากต้องปราบกองกำลังติดอาวุธจึงทำให้มีผู้เสียชีวิต 16 คนและบาดเจ็บกว่า 140 คน และปัจจัยของการสูญเสียนั้นแยกได้เป็น

กรณีที่หนึ่ง เกิดจากการทำร้ายกันเองระหว่าง การ์ดของนปช. ซึ่งมีความขัดแย้ง และมีข้อมูลข่าวสารเป็นที่ประจักษ์แก่พี่น้องสื่อมวลชนทั้งมวล

กรณีที่สอง เป็นการสูญเสีย เนื่องจากการยิงอาวุธสงคราม ไม่ว่าจะเป็นอาวุธ ปืนเล็กยาว เอ็ม79 ลูกระเบิดขว้าง ประทัดยักษ์ ซึ่งเกิดจากการกระทำของกลุ่มก่อการร้าย ที่แฝงตัวอยู่ในพื้นที่การชุมนุม

กรณีที่สาม เกิดจากการที่พี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบและไม่พอใจการชุมนุมของกลุ่มนปช.ในพื้นที่ต่างๆ ได้ออกมาทำร้าย กลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ได้เข้าควบคุม แล้วก็ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว

และในกรณีที่สี่ เราไม่ได้ปฏิเสธความรับผิดชอบ ว่าในกรณีที่กลุ่มผู้ชุมนุม พยายามที่จะเคลื่อนที่เข้ากดดันเจ้าหน้าที่ ทหาร ตำรวจในด่านต่างๆ เจ้าหน้าที่ก็มีความจำเป็น ที่จะต้องใช้อาวุธ ปืนลูกซอง ในการที่จะยิงลงไปที่พื้น และควบคุมกรวยกระสุนมิให้สูงเกิน หัวเข่า เพียงพอที่จะหยุดยั้ง กลุ่มผู้ชุมนุม ที่พยายามจะเข้ากดดันเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ โดยไม่ได้หวังเอาชีวิต

ในทั้งสี่กรณีนี้ อาจจะส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บ ซึ่งเราก็พยายามอย่างที่สุดที่จะป้องกันไม่ให้เกิดเหตุอย่างนั้น

ดูคลิป 20100515_CRES_003

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ

 

16 พฤษภาคม 2553

นปช. – แกนนำ นปช. ประกาศยินดีเจรจาหาทางออกอย่างสันติวิธี โดยเรียกร้องให้สหประชาชาติมาเป็นคนกลาง โดย พ.ต.ท. ทักษิณออกแถลงการณ์สนับสนุนข้อเสนอดังกล่าว

ด้านคุณหญิงพจมาน และลูกๆ เดินทางออกนอกประเทศ

กลุ่มคนเสื้อแดงในต่างจังหวัดเริ่มมีการเคลื่อนไหวรวมตัวกัน มีการเผารถทหารที่จังหวัดเชียงใหม่

รัฐบาล – 9.30 น. รายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ นายกฯ ขอให้ผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่โดยอ้างว่าการชุมนุมผิดกฎหมาย และอาจจะได้รับอันตรายจากอาวุธสงครามเมื่อผู้ก่อการร้ายปะทะกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งหากเกิดการเสียชีวิตเกิดขึ้นก็จะถูกนำมาใช้ในการกดดันเจ้าหน้าที่และสังคม นายกฯ ยังย้ำว่าผู้ที่ได้ประโยชน์จากความสูญเสียที่สุดคือกลุ่มผู้ก่อการร้าย และยังอธิบายว่าการชุมนุมนั้นได้กลายเป็นเครื่องมือของกลุ่มก่อการร้าย

ดูคลิป 20100516_CRES_001_PM

เวลาประมาณ 13.30 น. พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. กล่าวว่า เตรียมส่งชุดเจ้าหน้าตำรวจ ประสานกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เอ็นจีโอ ให้เข้าไปในพื้นที่ชุมนุมเพื่อนำ เด็ก สตรี คนชรา ออกจากพื้นที่ชุมนุม รวมถึงชายฉกรรจ์ที่ประสงค์จะออกนอกพื้นที่ชุมนุม ส่วนโทษที่ฝ่าฝืนกฎหมายเข้าร่วมชุมนุมนั้น พร้อมจะผ่อนผันให้ จะดำเนินการตั้งแต่บัดนี้จนถึง 15.00 น. ของวันพรุ่งนี้

ศอฉ.ได้ข่าวมาว่า กลุ่มก่อการร้ายพยายามสร้างสถานการณ์โดยพยายามใช้กระสุนยิงใส่เจ้าหน้าที่ ทหาร ตำรวจ เพื่อให้เข้าใจผิดว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายหนึ่งต่ออีกฝ่าย อาจมีการปลอมแปลงใส่ชุดเจ้าหน้าที่ และพยายามทำร้ายผู้บริสุทธิ์ โดยเฉพาะสื่อมวลชน ขอเรียนให้สื่อทราบว่าการปฏิบัติภารกิจของท่านของให้ระมัดระวัง การเข้าพื้นที่ต้องประสานกับทหาร ตำรวจเพื่ออำนวยความสะดวก

การกำหนดพื้นที่ใช้ กระสุนจริง ขอทำความเข้าใจอีกครั้งว่า มิได้หมายความว่าจนท.จะใช้กระสุนจริงยิงทุกกรณี เพียงแต่กำหนดแนวว่าเป็นพื้นที่ใช้กระสุนจริง กลุ่มผู้ชุมนุมหรือกลุ่มก่อการร้ายจะกดดันเลยแนวนี้ไม่ได้ แต่จะดูเป็นกรณีไป ยืนยันว่าจะไม่ใช้อาวุธสงครามกับพี่น้องประชาชนที่ไม่มีอาวุธร้ายแรงในมือ เอ็มสิบหกและทราโวจะยิงเฉพาะข่มขวัญ ยิงผู้มีอาวุธร้ายแรง ป้องกันชีวิตเจ้าหน้าที่กรณีที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง นอกเหนือจากนั้นหากมีการเคลื่อนเข้ากดดันจะใช้ลูกซองยิงกดต่ำ (ดู “ศอฉ.ส่งตำรวจรับคนแก่-เด็ก-ผู้หญิงออกจากราชประสงค์ เตรียมประกาศเคอร์ฟิวบางส่วนกทม.,” ประชาไท, 16 พ.ค.53)

17.27 น. พล.ท.อักษรา เกิดผล ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ในฐานะหัวหน้าส่วนยุทธการ ศอฉ. แถลงถึงผลการหารือการประกาศใช้มาตรการเคอร์ฟิวว่า เมื่อเวลา 14.30 น. ว่า ศอฉ. จะยังไม่ประกาศใช้มาตรการเคอร์ฟิวในห้วงเวลานี้ เนื่องจากยังสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ ยกเว้นเมื่อมีสถานการณ์หรือมีความฉุกเฉินจำเป็น ศอฉ.จะประเมินสถานการณ์และเรียนให้ทราบต่อไป  (ดู “ศอฉ.ยังไม่ประกาศเคอร์ฟิว แจงความสัมพันธ์หน่วยต่างๆ ยังแน่นแฟ้น,” prachatai, 16 พ.ค. 53)

ช่วงเย็นนายกรัฐมนตรีเรียกประชุม ครม. วาระพิเศษ

เวลา 18.30 น. นายปณิธาน วัฒนายากร เลขาธิการนายกรัฐมนตรี แถลงว่าคณะรัฐมนตรีเห็นชอบประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯเพิ่มเติมใน 5 จังหวัด คือ อุบลราชธานี มหาสารคาม ร้อยเอ็ด หนองบัวลำภู สกลนคร

เรื่องที่สอง ครม.มีมติอนุมัติให้วันที่ 17-18 พ.ค.เป็นวันหยุดราชการในท้องที่กรุงเทพฯ เพื่อดำเนินการให้เกิดความเรียบร้อยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

นายปณิธาน กล่าวว่า รัฐบาลยืนยันปฏิบัติการด้านความมั่นคงในพื้นที่ราชประสงค์ เนื่องจากมีสถานการณ์การชุมนุมที่ขัดกับกฎหมาย ไม่ได้เป็นการคุกคามหรือใช้อาวุธต่อประชาชน ไม่มีเหตุผลใดในการเรียกร้องให้ยุติปฏิบัติหน้าที่ รัฐบาลเรียกร้องให้กลุ่มชุมนุมยุติการกระทำดังกล่าว เรียกร้องให้กลุ่มแกนนำมอบตัวและสู่กระบวนการยุติธรรม ให้ยุติการกระทำทั้งหมดและหยุดยิง ที่อาจมีผลกระทบต่อความปลอดภัย

ส่วนนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เลขานุการ ศอฉ. แถลงว่า วันนี้ทาง ศอฉ. เห็นชอบให้ประกาศ เรื่อง ให้บุคคลและกลุ่มบุคคลออกจากพื้นที่ชุมนุมเพื่อเดินทางกลับภูมิลำเนาและยังกล่าวว่า ศอฉ.ได้มีคำสั่งที่ 49/2553 เรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใดๆ หรือสั่งให้กระทำการใดๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลหรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ รวม 106 บัญชี

(ดู “เพิ่มฉุกเฉิน 5 จว. ให้ กทม.หยุด 17-18 คุมธุรกรรม 100 บัญชี,” ประชาไท, 16 พ.ค. 53  ; คลิป 20100516_CRES_002)

เวลา 20.30 น. มีประกาศ ศอฉ. แจ้งเรื่อง

  1. ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงฉบับที่ 3 ให้พื้นที่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด และ จังหวัดสกลนคร เป็นพื้นที่ในเขตประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่มีความร้ายแรงฉบับที่ 2 เพิ่มเติม
  2. ประกาศ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เรื่อง ให้บุคคล และกลุ่มบุคคล ออกจากพื้นที่การชุมนุม เพื่อเดินทางกลับภูมิลำเนา ขอให้ผู้เข้าร่วมชุมนุม ออกจากพื้นที่การชุมนุมโดยเร็ว โดยให้แจ้งความประสงค์ ขอกลับภูมิลำเนา กับเจ้าหน้าที่ได้ทุกคน ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินจะให้ความคุ้มครอง และอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เวลา 15 น.

จากนั้น พ.อ. สรรเสริญได้แถลงต่อว่าเนื่องจากขณะนี้ กลุ่มก่อการร้าย ซึ่งชุมนุมอยู่ในพื้นที่ราชประสงค์ มีความพยายามที่จะสร้างสถานการณ์ความรุนแรงขึ้นในรูปแบบต่างๆ แล้วก็มีความพยายามในการที่จะปล่อยข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จ ศอฉ. จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเรียนข้อมูลเหล่านั้น เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน

ประเด็นแรก มีข้อมูลข่าวสารที่ชัดเจนว่า กลุ่มผู้ก่อการร้ายนั้นได้พยายามที่จะสร้างสถานการณ์ในลักษณะของการจัดพลซุ่มยิง ซึ่งเป้าหมายสำคัญก็มีหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจ ประชาชนทั่วไปที่ไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม สื่อมวลชน และแม้กระทั่งกลุ่มผู้ชุมนุมที่หลงเชื่อคำชักชวนเข้ามาอยู่ในพื้นที่การชุมนุมที่ราชประสงค์ เพราะฉะนั้นถ้าหากไม่มีความจำเป็นจริงๆ ที่จะต้องเข้าไปบริเวณราชประสงค์ ก็ขอให้หลีกเลี่ยงให้มากที่สุด

ประเด็นที่สองเรื่องข่าวลือ ในช่วงนี้มีความพยายามในการปล่อยข่าวลือ เป็นต้นว่ามีการขัดแย้งกันใน ศอฉ. ทั้งหลายทั้งปวงเป็นข้อมูลที่พยายามบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง ทำให้เกิดความสับสนด้านข้อมูลข่าวสาร และ พ.อ. สรรเสริญยังได้เปิดคลิปจำนวนหนึ่งเพื่อชี้แจง เช่น เปิดคลิปนายสมาพันธ์ ศรีเทพ ซึ่งถูกยิงที่ถนนราชปรารภเพื่อชี้แจงว่ามีคนตายแค่คนเดียว ไม่ใช่หลายคน, เปิดคลิปที่อ้างว่าเป็นผู้ก่อการร้ายที่อยู่ในคนเสื้อแดงยิงเอ็ม 79 เพื่อยืนยันว่า กลุ่มก่อการร้ายพยายามที่จะสร้างสถานการณ์

ประเด็นที่สาม เปิดคลิปอธิบายว่ามีคนพยายามจะจุดไฟใส่ถังน้ำมันของรถ กทม. แต่ถูกเจ้าหน้าที่ยิงที่ขา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าใช้กระสุนลูกซองยิงระดับไม่เกินหัวเข่าเพื่อยับยั้งการก่อการร้าย ไม่ได้ต้องการที่จะเอาชีวิต

ประเด็นที่สี่ เปิดคลิปอธิบายว่าเป็นภาพที่เจ้าหน้าที่ชุดระวังป้องกัน ใช้เอ็มสิบหกติดกล้องเล็ง เขาตรวจพบเป้าหมายเป็นคนถือระเบิดกำลังจะเข้ามาทำร้ายเจ้าหน้าที่ แล้วก็มีการยิงออกไป เป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีว่าไม่ได้ยิงตามอำเภอใจ แต่ยิงเมื่อเห็นเป้าหมายแล้วเท่านั้น แล้วก็มีผู้ควบคุมกำกับ มีการแต่งกายที่บ่งบอกชัดเจนว่าเป็นเจ้าหน้าที่ทหาร

ประเด็นสุดท้าย อธิบายรูปทหารกำลังเล็งยิงปืนที่มีลักษณะคล้ายปืนเอ็ม 79 ซึ่งพ.อ.สรรเสริญได้อธิบายว่าปืนนั้นไม่ใช่เอ็ม 79 แต่เป็นปืนยิงแก๊ซน้ำตา และเหตุที่นำออกมาใช้เนื่องจากแก๊ซน้ำตาแบบขว้างจะถูกผู้ชุมนุมหยิบแล้วขว้างกลับมา จึงต้องเปลี่ยนเป็นแบบยิงจากปืนแทน

ดูคลิป 20100516_CRES_003

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – องค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศประณามและเรียกร้องให้เลิกการประกาศเขตใช้กระสุนจริง

หมายเหตุ

 

<<< Back                                                                                                                                                         Next >>>

ลำดับเหตุการณ์

นอกเหนือ

เมษายน 2553

1 เมษายน 2553

นปช. – นายณัฐวุฒิยืนยันว่าหากรัฐบาลยังยืนกราน 9 เดือน ก็จะไม่มีการเจรจารอบ 3

รัฐบาล – พรรคร่วมรัฐบาลมีมติให้รัฐบาลอยู่ครบวาระหากแกนนำ นปช. ไม่รับข้อเสนอยุบสภาภายใน 9 เดือน

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – กลุ่ม 40 ส.ว. รณรงค์คัดค้านการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่นำไปสู่ความรุนแรงและร่วมปกป้องกรุงเทพฯ ปกป้องประเทศไทย โดยการติดธงไตรรงค์ที่รถ ระบุการชุมนุมของ นปช. เป็นภัยคุกคามของชาติ และมีการเตรียมก่อจราจล

กลุ่ม 40 ส.ว. แถลงต่อต้านคนเสื้อแดงและย้ำว่า พ.ต.ท. ทักษิณเป็นภัยคุกคามชาติ โดยนายประสาร มฤคพิทักษ์ แถลงว่าวันที่ 3 เม.ย. มีแนวโน้มที่จะเกิดความรุนแรง ด้วยการยิงระเบิดใส่ผู้ชุมนุมเพื่อนำไปสู่การจราจล ดังนั้นประชาชนกรุงเทพฯ ต้องลุกขึ้นมาจัดตั้งตัวเองและเฝ้าระวังความปลอดภัย ร่วมกันต่อต้านการจราจล น.ส. รสนา โตสิตระกูลกล่าวว่า คนไทยทุกคน โดยเฉพาะคน กทม. ต้องลุกขึ้นมาป้องกันตัวเอง เพราะแกนนำคนเสื้อแดงอาศัยมวลชนปลุกระดมสร้างความรุนแรง เป็นภัยคุกคามของชาติ ขอเชิญชาว กทม. ติดธงไตรรงค์ที่รถยนต์เพื่อให้คนเสื้อแดงยุติการชุมนุม

จุฬาฯ ประกาศปิดตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. เวลา 21.00 น. ถึงวันที่ 4 เม.ย. หลังจาก น.พ. ตุล สิทธิสมวงศ์ นัดชุมนุมคนเสื้อชมพูที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวันที่ 2 เม.ย. และฝ่ายแกนนำคนเสื้อแดงประกาศว่าจะนำมวลชนบุกไปยังจุฬาฯ (ดู “รวบ นปช. หมิ่นสถาบัน,” สยามรัฐ, 2 เม.ย. 53; “บุกจุฬาฯ ขู่หายนะ ปิดมหา’ ลัย-เสื้อชมพูนัดรวมพล,”ไทยโพสต์, 2 เม.ย. 53 ; “แดงบุกจุฬา ชมพูหลบ ปักหลักสวนลุม อธิการสั่งปิด 3 วัน 3 เมษาส่อเดือด,” คมชัดลึก, 2 เม.ย. 53 ; “แดงปัดเผา กทม. -ลุยชมพู จุฬาฯ ผวาปิด,” มติชน, 2 เม.ย. 53)

หมายเหตุ – ตำรวจจับหนุ่ม นปช. USA  (ดู “ฝากขังผู้ดูแลเว็บ นปช.USA หมิ่นเบื้องสูงผลัดแรก ศาลค้านประกัน,” ประชาไท, 2 เม.ย.53 ; “รวบ นปช. หมิ่นสถาบัน,” สยามรัฐ, 2 เม.ย. 53 ; ดูรายละเอียดคดีได้ที่ ศูนย์ข้อมูลฯ iLaw)

 

2 เมษายน 2553

นปช. –  เสื้อแดงระดมพลเดินหน้ายุทธการดาวฤกษ์ทั่วกรุง และแบ่งไปยื่นหนังสือถึงสถานทูตสหรัฐอเมริกา

นปช. เคลื่อนจากสะพานผ่านฟ้าฯ ไปสถานทูตสหรัฐอเมริกาเพื่อยื่นหนังสือ นพ.เหวงเปิดเผยว่า ทาง นปช. ได้ยื่นจดหมายขอบคุณนางฮิลลารี คลินตัน รมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ พร้อมกับยืนยันว่าการเคลื่อนไหวของ นปช. ไม่มีความรุนแรง

รัฐบาล

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – นพ. ตุลย์เข้าพบนายกรัฐมนตรีและยื่นหนังสือให้กำลังใจ โดยระบุว่าออกมาเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ 1) ปกป้องสถาบัน 2) ความเป็นอยู่ของคน กทม. ได้รับความเดือดร้อน และ 3) ไม่ให้ยุบสภา

กลุ่มจุฬาฯ เชิดชูคุณธรรมนำประชาธิปไตย ชมรมนักธุรกิจเพื่อประชาธิป ไตย กลุ่มปัญญาสยาม กลุ่มเยาวชนกล้าธรรม์-คนเสื้อสีชมพู-หลากสี นำโดยนายจรัล สุวรรณมาลา คณะบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ นางตรีดาว อภัยวงศ์ สุขุม อาจารย์พิเศษ คณะอักษรศาสตร์ จุฬ่าฯ พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร นพ. เกรียง ตั้งสง่า นายต่อตระกูล ยมนาค นายอนันต์ เหล่าเลิศวรกุล ฯลฯ ชุมนุมคัดค้านการยุบสภา ที่ลานพระบรมรูป ร. 6 สวนลุมพินี โดย พล.ต.อ. วสิษฐ เป็นตัวแทนกล่าวคำปฏิญาณจะพลีกายเพื่อปกป้องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อ่านแถลงการณ์ และร่วมกันร้องเพลงสดุดีมหาราชา แล้วพากันเดินเชิญชวนให้ติดธงชาติและริบบิ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ (ดู “ซัดสงครามกลางเมืองทุกเสื้อสี,” ไทยโพสต์, 3 เม.ย. 53 ; “ชมพูปะทะแดง จ่อใช้ฉุกเฉิน ตร. 42 กองร้อยรับมือ หึ่งถกลับ 5 เดิอนยุบ,” คมชัดลึก, 3 เม.ย. 53)

เกิดเหตุปาระเบิดเพลิงใส่รถพนักงานรับส่งเอกสารบริษัท มติชน จำกัด ที่จอดข้างรั้วด้านนอกบริษัท จนไฟลุกไหม้พังเสียหาย

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 3 เม.ย.53

 

3 เมษายน 2553

นปช. – นปช. เคลื่อนขบวนใหญ่ โดยแยกกันเป็น 2 ขบวน ขบวนแรกนำโดยนายวีระ นายจตุพร และ นพ. เหวง มุ่งหน้าไปชุมนุมที่แยกราชประสงค์ อีกขบวนนำโดยนายขวัญชัย ไพรพนา มุ่งสู่ ถ.วิภาวดีรังสิต และชุมนุมหน้าสถานีโทรทัศน์ช่อง NBT เรียกร้องให้เสนอข่าวที่เป็นกลาง

เวลาประมาณ 13.00 น. ห้างสรรพสินค้าต่างๆ รอบแยกราชประสงค์ต่างปิดทำการ ต่อมาช่วงเย็นแกนนำ นปช. ประกาศ 4 ข้อ 1) ให้รัฐบาลยุบสภาทันที 2) จะปักหลักชุมนุมไม่มีกำหนด 3) การชุมนุมจะเป็นไปอย่างสันติ และ 4) พร้อมฟังจุดยืนของรัฐบาล และพร้อมรับเหตุการณ์ทุกรูปแบบ

รัฐบาล – ค่ำวันเดียวกัน ศอ.รส. แถลงออกประกาศฉบับที่ 5 ห้ามบุคคลเข้าหรือให้ออกจากบริเวณพื้นที่บริเวณราชประสงค์ แต่ไม่เป็นผล

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – เวลาประมาณ 2.00 น. เกิดระเบิดไม่ทราบสาเหตุบริเวณลานจอดรถ ร.พ. เซ็นทรัลเมโมเรียล จ. เชียงใหม่ เวลาประมาณ 4.00 น. เกิดเหตุยิง m79 ใส่ห้างโลตัสสาขาพะเยา เวลา 20.20 น. ที่กรุงเทพฯ หน้าประตูทางเข้าองค์การโทรศัพท์สาขาสะพานขาว พบระเบิดแสวงเครื่องในถุงดำ โดยระหว่างการตรวจสอบได้เกิดเสียงระเบิดขึ้นหน้าอาคารพาณิชย์ห่างจากจุดที่พบระเบิดแสวงเครื่องประมาณ 300 เมตร แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ เจ้าหน้าที่คาดว่าเป็นระเบิดประเภทไปป์บอมบ์

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 4 เม.ย.53

 

4 เมษายน 2553

นปช. – การชุมนุมของ นปช. ในกรุงเทพฯ แบ่งออกเป็น 2 เวที คือบริเวณแยกราชประสงค์และผ่านฟ้า ด้านแกนนำเสื้อแดงประชุมกันที่ โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ ต่อมาเวลา 17.25 น. ที่ประชุมแกนนำ นปช. มีมติให้ปักหลักชุมนุมที่แยกราชประสงค์อย่างไม่มีกำหนด

รัฐบาล – ศอ.รส. ยื่นศาลขอหมายจับแกนนำ นปช. 5 คน ประกอบด้วยนายวีระ นายจตุพร นพ. เหวงและนายอริสมันต์

เจ้าหน้าที่ตำรวจหญิงแจกใบปลิวคำสั่ง ศอ.รส. แจ้งให้ผู้ชุมนุมทราบว่าการปิดแยกราชประสงค์ผิดกฎหมาย ด้านทหารได้เสริมกำลังบริเวณบ้านพักของบุคคลสำคัญ

นายอภิสิทธิ์แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจว่า การปิดสี่แยกราชประสงค์และถนนโดยรอบเป็นการใช้สิทธิ์เกินขอบเขตที่รัฐธรรมนูญรับรอง เป็นการกระทำผิดกฎหมาย ศอ.รส. จึงประกาศขอให้ผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่ โดยมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงเป็นผู้เจรจา ผลการเจรจาปรากฏว่าผู้ชุมนุมยอมเปิดเส้นทางจราจรบางส่วน นายอภิสิทธิ์กล่าวด้วยว่ารัฐบาลพร้อมลดวาระตัวเองลงถ้าสามารถทำให้สงบสุข สามารถพูดคุยกันได้ มั่นใจว่าถ้าทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากันจะใช้เวลาไม่ถึง 1 ปี 9 เดือน ขอยืนยันในประกาศของ ศอ.รส. ให้กลับไปใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญที่ผ่านฟ้าฯ รัฐบาลกำลังผ่อนคลายสถานการณ์ จะบังคับใช้กฎหมายและจะปฏิบัติตามแนวทางสากล เริ่มต้นจากมาตรการเบาไปหาหนัก ขอให้ประชาชน กทม. อดทนอดกลั้น

ทางด้าน ศอ.รส. ออกประกาศให้ผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่แยกราชประสงค์ รวมทั้งห้ามชุมนุมบนนถนนอีก 11 สายที่ล้อมรอบบริเวณดังกล่าว (ดู “ประกาศห้ามชุมนุมถนน11สายแดงเคลื่อนเย้ย,” มติชน, 4 เม.ย. 53)

เวลา 16.00 น. ศอ.รส. ออกประกาศฉบับที่ 6 ห้ามบุคคลเข้าหรือให้ออกขจากบริเวณพื้นที่ อาคาร สถานที่ที่กำหนด 11 เส้นทาง เพื่อสกัดกั้นไม่ให้คนเสื้อแดงไปชุมนุมที่ ถนนสีลม

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – กลางคืนคนร้ายปาระเบิดเอ็ม 67 เข้าใส่สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) และเกิดเหตุคาร์บอมระเบิดแสวงเครื่องในรถเก๋ง ที่ลานจอดรถ อาบอบนวดโพไซดอน ถนนรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นกิจการของครอบครัวนางพรทิวา นาคาศัย รมต.พาณิชย์ และเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 5 เม.ย.53

 

5 เมษายน 2553

นปช. – นปช. ดาวกระจายเคลื่อนขบวนจากสะพานผ่านฟ้าลีลาสไปที่สำนักงาน กกต. ที่ศูนย์ราชการฯ ถ. แจ้งวัฒนะ เพื่อทวงถามเรื่องคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ในที่สุด กกต. ได้นัดหมายให้ผู้ชุมนุมกลับมาฟังข้อสรุปในวันที่ 20 เม.ย.

นปช. โคราช ตั้งเวทีคู่ขนาน ที่อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ย่าโม) ริมถ.ราชดำเนิน เขตเทศบาลนครนครราชสีมา

นปช. ขอนแก่น รวมตัวกันขับไล่ นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม จากพรรคภูมิใจไทย เป็นประธานพิธีเปิดทางลอดสี่แยกสามเหลี่ยม ใกล้ห้างเซ็นทรัลพลาซ่า สาขาขอนแก่น

รัฐบาล –  ศอ.รส. ส่งทหารตรึงกำลังตั้งแต่แยกศาลาแดงหลังคนเสื้อแดงประกาศจะบุกสีลม

นายอภิสิทธิ์ ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ผอ.รมน.) มอบอำนาจ ผบ.ทบ. ยื่นร้องศาลแพ่งให้มีคำสั่งให้กลุ่มคนเสื้อแดงออกจากบริเวณราชประสงค์ (ดู “แดงป่วน 11 จุด เย้ย ศอ.รส.,” ไทยรัฐ, 6 เม.ย. 53)

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – สมาคมผู้ประกอบการวิสาหกิจในย่านราชประสงค์และสมาคมศูนย์การค้าไทยออกแถลงการณ์เรียกร้องการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับ นปช. ให้ได้ข้อยุติ และขอให้ นปช. ทบทวนเรื่องพื้นที่การชุมนุม ประธานวุฒิสภาแนะนำรัฐบาลให้ร่นระยะเวลาโรดแมป 9 เดือน

เกิดเหตุยิงเอ็ม79ใส่ห้างแม็คโคร ถ.ซุปเปอร์ไฮเวย์ เชียงใหม่-ลำปาง หมู่ที่ 6 ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แต่ไม่ระเบิด

เกิดเหตุยิงเอ็ม 79 ใส่โรงงานเฟอร์นิเจอร์ “ตนานุวัฒน์” บ้านม่อนปิน ต.แม่เหียะ เชียงใหม่ของกรรมการหอการค้าเชียงใหม่

หมายเหตุ – “แดงป่วน 11 จุด เย้ย ศอ.รส.,” ไทยรัฐ, 6 เม.ย. 53

 

6 เมษายน 2553

นปช. – ผู้ชุมนุม นปช.ที่ราชประสงค์ได้พยายามล้อมกรอบกองกำลังทหารและตำรวจ เพื่อขับไล่เจ้าหน้าที่ที่ยกกำลังมาปิดล้อมเส้นทางเข้า-ออกบริเวณแยกราชประสงค์ เพื่อกดดัน

ขณะเดียวกันคนเสื้อแดงในหลายจังหวัดก็จัดชุมนุมคู่ขนานไป เช่นที่อุดรธานี ร้อยเอ็ด ขอนแก่น เชียงราย ส่วนที่ศรีษะเกษ คนเสื้อแดงได้ผ่าจุดสกัดของตำรวจและทหารเข้าไปชับไล่นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ที่มาตรวจยี่ยมพื้นที่ภัยแล้ง พร้อมแจกถุงยังชีพให้ประชาชน ที่ อ.กันทรลักษ์

รัฐบาล – ศอ.รส. วางกำลังตำรวจทหารปิดล้อมผู้ชุมนุมรอบแยกราชประสงค์ การตอบโต้กันระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ชุมนุมเกิดขึ้นโดยรอบ สุดท้ายผู้ชุมนุมสามารถเคลื่อนไหวกดดันเจ้าหน้าที่ให้ถอยออกจากพื้นที่รอบราชประสงค์ได้สำเร็จ (ดู “ปะทะครั้งแรก รบ.หยั่งเชิงสลายก่อนถอย,” มติชน, 7 เม.ย. 53 ; “คำแถลงนายกฯแจกแจงเหตุระงับแผนสลายม็อบ,” มติชน, 7 เม.ย. 53 ; “นาทีต่อนาทีเครียด แดงปะทะตร.-ทหารครั้งแรก,” มติชน, 7 เม.ย. 53)

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – ศาลแพ่งมีคำสั่งให้ยกคำร้องของรัฐบาลที่ขอให้ศาลสั่งให้ผู้ชุมนุมออกจาก พื้นที่ราชประสงค์ โดยศาลแพ่งมีความเห็นว่า การชุมนุมของ นปช. โดยเฉพาะการปิดกั้นและขัดขวางเส้นทางสาธารณะในกรุงเทพมหานครนั้นเป็นการ กระทำไม่ชอบด้วยกฎหมาย และตามหลักกฎหมายนั้น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) มีอำนาจในการดำเนินการอยู่แล้ว

ด้านคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้กล่าวตำหนิคนเสื้อแดงที่บุกเข้าไปในสำนักงาน กกต.

ในวันเดียวกันนั้น เกิดเหตุวางระเบิด (แต่ไม่ระเบิด) บริเวณใกล้ทางเข้าประตูใหญ่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เวลา 13.30 น. เกิดเหตุยิงเอ็ม 79 ใส่ด้านหลังที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ในวันครบรอบการก่อตั้งพรรค

 

7 เมษายน 2553

นปช. – เช้าวันที่ 7 เมษายน กลุ่มผู้ชุมนุม นปช. ที่เวทีผ่านฟ้าได้เคลื่อนขบวนไปปิดล้อมรัฐสภา ซึ่งมีการประชุมคณะรัฐมนตรี วอร์รูมรัฐบาล และรัฐสภาอยู่ ต่อมาเวลาประมาณ 12.00 น. แกนนำ นปช. ได้ประกาศยุติการชุมนุมที่รัฐสภาแล้วให้ผู้ชุมนุมรีบเดินทางไปยังสถานีดาวเทียมไทยคมเนื่องจากมีกระแสข่าวว่ารัฐบาลจะตัดสัญญานของสถานีโทรทัศน์พีเพิลชาแนล ซึ่งเป็นช่องทางการสื่อสารหลักของคนเสื้อแดงขณะนั้น

เวลาประมาณ 12.20 น. นายอริสมันต์อ้างว่าตำรวจโยนแก๊ซน้ำตาเข้ามายังกลุ่มผู้ชุมนุม แล้วสั่งให้ผู้ชุมนุมบุกเข้าไปในรัฐสภา ทำให้ ส.ส. และเจ้าหน้าที่ด้านในแตกตื่นวิ่งหนีกันจ้าละหวั่น เมื่อ ส.ส. พรรคเพื่อไทยเข้ามาเจรจากับนายอริสมันต์กลุ่มคนเสื้อแดงจึงยอมถอยออกไปอยู่ในบริเวณประตูทางเข้ารัฐสภา ต่อมานายสุพร อัตถาวงศ์ได้ประกาศยุติการปิดล้อมรัฐสภาและให้ผู้ชุมนุมเดินทางไปที่สถานีดาวเทียมไทยคม ระหว่างที่คนเสื้อแดงกำลังทยอยออกไป ได้มีผู้เก็บระเบิดควัน 2 ลูก นำมาให้นายอริสมันต์ อ้างว่าเจ้าหน้าที่ขว้างมา นายอริสมันต์จึงนำคนเสื้อแดงที่เหลือกลับมาเรียกร้องหานายสุเทพ แล้วสั่งให้การ์ดเข้าไปตามหานายสุเทพในรัฐสภา จากนั้นนายสุเทพ พร้อมด้วยนายสาทิตย์และนายปณิธาน ต่างพากันปีนออกทางพระที่นั่งวิมานเมฆ ขณะที่เหตุการณ์กำลังจะบานปลายแกนนำจากเวทีราชประสงค์ได้โทรศัพเข้ามาขอให้นายอริสมันต์ลงจากเวที ต่อมาเวลาประมาณ 13.20 น. นายก่อแก้วและนายวิสาได้มาบัญชาการแทนนายอริสมันต์โดยสั่งให้ผู้ชุมนุมออกมาจากรัฐสภา ฝ่ายตำรวจชี้แจงว่าแก๊ซน้ำตาที่นายอริสมันต์อ้างว่าเจ้าหน้าที่โยนใส่ผู้ชุมนุมนั้น เป็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจราจล ซึ่งในช่วงที่คนเสื้อแดงปะทะกับเจ้าหน้าที่กระป๋องแก๊ซที่ติดตัวได้หล่นลงมาแล้วมีผู้ชุมนุมนำไปมอบให้นายอริสมันต์

หลังเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้แกนนำ นปช. ไม่พอใจบทบาทของนายอริสมันต์ ซึ่งไม่ทำตามมติของแกนนำหลายครั้งแล้ว ทั้งตอนไปสาดเลือดหน้าบ้านนายอภิสิทธิ์และการนำมวลชนเข้าไปไล่ทหารในทำเนียบรัฐบาล

นปช. เคลื่อนขบวนไปชุมนุมที่หน้าสถานีสถานีควบคุมดาวเทียมไทยคม ถ.รัตนา ธิเบศร์ จ.นนทบุรี เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐบาลทำการปิดการถ่ายทอดสด People Channel

เวลา 17.30 น. แกนนำ นปช. ทั้งหมดขึ้นเวทีราชประสงค์ ประกาศย้ำจุดยืนให้นายกฯ ยุบสภาภายใน 15 วัน พร้อมประกาศว่าหากมีการตัดสัญญานพีเพิลชาแนลจะต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรม

เวลา 18.00 น. โทรทัศน์ทุกช่องถ่ายทอดสดนายกฯ แถลงข่าวประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้บรรยากาศการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ผู้ชุมนุมก็ตื่นตัวพร้อมรับสถานการณ์การสลายการชุมนุม ส่วนที่สถานีไทยคม นนทบุรี คนเสื้อแดงจำนวนมากยังปักหลักชุมนุมอยู่ และ พ.ต.อ. ชัยโรจน์ ชัยยะ อดีตนายตำรวจ ได้นำคนเสื้อแดงราวพันคนไปยึดสถานีส่งสัญญานไทยคม ลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ซึ่งมีกำลังทหารมายึดไว้ตั้งแต่ช่วงเย็น

ส่วนที่ จังหวัดนครราชสีมา นปช.นครราชสีมา ตั้งเวทีปราศรัยที่ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เพื่อเตรียมพร้อมบุกยึดศาลากลางจังหวัดนครราชสีมาทันทีหากมีการสลายการชุมนุมที่กรุงเทพฯ

รัฐบาล – เวลาประมาณ 10.30 น. นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าที่ประชุม ครม. ได้อนุมัติตามที่ กอ.รมน. เสนอ ให้ขยายเวลาการบังคับใช้ พ.ร.บ. ความมั่นคงออกไปตั้งแค่วันที่ 8-20 เม.ย. และให้ขยายพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันเป็นผลกระทบ ขณะเดียวกันที่รัฐสภา นายสุเทพ รองนายกฯ เป็นประธานการประชุมวอร์รูมรัฐบาลติดตามสถานการณ์การชุมนุม มีแกนนำรัฐบาลมาร่วมอย่างพร้อมเพรียง ใช้เวลาประชุมประมาณ 1 ชม. และนายสุเทพได้คุยโทรศัพท์กับนายกฯ ด้วยสีหน้าเคร่งเครียด ก่อนเปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กระทรวงไอซีทีในฐานะคู่สัญญากับบริษัทไทยคมฯ สั่งให้ไทยคมยุติการให้บริการสถานีโทรทัศน์พีเพิลชาแนล โดยได้สั่งการไปตั้งแต่วันที่ 6 เม.ย.

เวลา 16.30 น. นายกรัฐมนตรีเรียกประชุม ครม. นัดพิเศษ ที่ ศอ.รส. ที่ ร.11 รอ. จากนั้นคณะรัฐมนตรีได้มีมติประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมือง อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอบางเสาธง อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา อำเภอคลองหลวง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตาม พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และให้ตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) มีนายสุเทพ เมือกสุบรรณ รองนายกฯ เป็นผู้อำนวยการ

วันเดียวกันนั้น นายสุเทพ ในฐานะ ผอ.ศอ.รส. ทำหนังสือถึง รมว.ไอซีที ระบุว่าคณะกรรมการ กอฉ.(กองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน) มีมติให้ปิดกั้นเว็บไซต์ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่อาจส่งผลต่อความมั่นคง 36 URL ซึ่งส่วนใหญ่เป็นช่องทางการสื่อสารของคนเสื้อแดง รวมทั้งเว็บไซต์ประชาไท ฟ้าเดียวกัน และคนเหมือนกัน โดยอ้างข้อกำหนดตามที่ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (ดู หนังสือศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ที่ กห 0407.45/1 เรื่อง “การปิดกั้นเว็บไซต์ตาม พรก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน” วันที่ 7 เม.ย. 53 ; และดูเพิ่มเติม รายงานการสัมมนา “วันเสรีภาพสื่อโลก: สื่อไทยภายใต้ภาวะ ‘ฉุกเฉิน’ ทางการเมือง,” ประชาไท, 6 พ.ค.53 ; “รบ.ประกาศภาวะฉุกเฉิน 6 จว.แดงสู้แตกหัก,” มติชน, 8 เม.ย.53 ; “รายงานพิเศษ อภิสิทธิ์ประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน,” ข่าวสด, 8 เม.ย.53 ; “ภาวะฉุกเฉินแดงระดมสู้,” ข่าวสด, 8 เม.ย.53 ; “ประกาศฉุกเฉิน ม็อบไม่ถอย,” ไทยรัฐ, 8 เม.ย.53)

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – เวลา 3.00 น. เกิดเหตุยิงระเบิดเอ็ม 79 ตกข้างห้องสำนักงานผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ภายในกองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) ถนนราชดำเนิน

วันเดียวกัน เกิดเหตุปาระเบิดหน้าที่ทำการตำรวจชุมชน (ศูนย์อยู่เย็น) ด้านหน้าทางเข้าห้าง เทสโก้โลตัส สาขานวมินทร์ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม และเกิดเหตุวางระเบิดแสวงเครื่อง (กู้ได้ทัน) บริเวณใต้เชิงสะพานวงแหวนขาออกลงสู่ ถนนรามอินทรา ใกล้กับห้างแฟชั่นไอส์แลนด์ แขวงเขตคันนายาว

กลางดึก เกิดเหตุยิงระเบิด m79 เข้าใส่ห้องออกกำลังกายข้างห้องสำนักงานผู้บัญชาการทหารบก มีนายทหารบาดเจ็บ 1 นาย

 

8 เมษายน 2553

นปช. – กลุ่มแท็กซี่และเสื้อแดงจำนวนหนึ่งกำลังมาคุมสถานการณ์หน้าปากซอยวิภาวดี 16 ซึ่งเป็นที่ตั้งสถานีวิทยุชุมชนคนรักแท็กซี่ เครือข่ายของนปช. เพราะหวั่นโดนทหารบุกยึดระงับออกอากาศ
ส่วนที่สถานีไทยคม คนเสื้อแดงได้ทยอยเดินทางมาชุมนุมปิดล้อมสถานีบริการภาคพื้นดินไทยคม อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี กว่า 2 พันคน ผู้ชุมนุมพยายามบุกเข้าไปในสถานีแต่ไม่สำเร็จ กลุ่มผู้ชุมนุมจึงสลายตัวไปในช่วงเย็น อย่างไรก็ตาม เวลาประมาณ 19.30 น. พีเพิลชาแนลสามารถออกอากาศได้อีกครั้งโดยใช้สถานีลับ

ส่วนที่ต่างจังหวัด มีการชุมนุมที่ศาลกลางจังหวัดในจังหวัดต่อไปนี้ ภาคเหนือ ประกอบด้วย 1.พะเยา 2.ลำปาง 3.น่าน 4.เชียงราย 5.แพร่ 6.เชียงใหม่ 7.ตาก 8.พิษณุโลก 9.อุตรดิตถ์ 10.พิจิตร 11.ลำพูน 300 คน 12.เพชรบูรณ์ 13.นครสวรรค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 14.นครราชสีมา 15.ชัยภูมิ 16.ร้อยเอ็ด 17.กาฬสินธุ์ 18.เลย 19.หนองคาย 20.สกลนคร 21.อุบลราชธานี 22.อำนาจเจริญ 23.สุรินทร์ 24.นครพนม 25.ขอนแก่น 26.มหาสารคาม 27.อุดรธานี 28.ศรีสะเกษ 29.ยโสธร 30.มุกดาหาร 31.หนองบัวลำภู ภาคกลางและภาคตะวันออก 32.ลพบุรี 33.อยุธยา 34.จันทบุรี 35.ปราจีนบุรี 36.ฉะเชิงเทรา 37.ชลบุรี 38.สระแก้ว

รัฐบาล – นายกรัฐมนตรียกเลิกการเดินทางไปประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนระหว่างวันที่ 7-9 เมษายน ที่ประเทศเวียดนามและการประชุมสุดยอดผู้นำความมั่นคงอาวุธนิวเคลียร์ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ระหว่างวันที่ 11-15 เมษายน

ศูนย์อำนวยการสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ตัดสัญญานพีเพิลชาแนลได้สำเร็จ กระทรวงไอซีทีตั้งทีมไล่ปิดเว็บไซต์จำนวนมาก รมว. มหาดไทยสั่งผู้ว่าราชการจังหวัดคุ้มกันศาลากลางอย่างเข้มงวด โดยหลังพีเพิลชาแนลถูกปิดได้มีกำลังทหารกับตำรวจปราบจราจลกว่า 3,000 นาย เข้าควบคุมสถานีไทยคม

ขณะที่ศาลอาญาได้ออกหมายจับแกนนำ นปช. 7 คน ที่นำผู้ชุมนุมบุกรัฐสภา ประกอบด้วยนายอริสมันต์ นายสุพร นายพายัพ เจ๋ง ดอกจิก นายเสงี่ยม สำราญรัก นายวันชนะ เกิดดี นางศิริวรรณ นิมิตศิลป์

ที่ ร.11รอ. พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก ในฐานะโฆษก ศอฉ. กล่าวว่าทาง ศอฉ.ได้มีการแจ้งเตือนในกรณีที่ผู้ชุมนุมนำรถจักรยานยนต์มาใช้ในการก่อกวนเพื่อให้เกิดความไม่สงบในพื้นที่ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ว่า การกระทำดังกล่าวมีเหตุอันควรสงสัยว่า ได้ใช้หรือจะใช้รถจักรยานยนต์ เพื่อกระทำการหรือสนับสนุนการกระทำให้เกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งยึดรถจักรยานยนต์ได้ โดยอาศัยอำนาจตามข้อ 3 ของประกาศที่ออกตาม มาตรา 11 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ รวมทั้งกรณีผู้ฝ่าฝืนคำสั่งห้ามเข้าในพื้นที่โดยขับขี่รถพาผู้ชุมนุมผ่านจุด ตรวจ ว่าเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งห้ามที่ออกตามข้อ 6 ของประกาศที่ออกตามมาตรา 11 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งยึดยานพาหะนะและจับกุมผู้ขับขี่ ผู้ครอบครอง และผู้นำพาหรือแกนนำในความผิดฐานฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่งที่ออกตาม มาตรา 11 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯ และต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำและปรับ

พ.อ. สรรเสริญกล่าวว่า สำหรับวิทยุชุมนุมที่อยู่ในข่ายปลุกระดมยั่วยุ ขณะนี้ทาง ศอฉ.ได้จัดทำบัญชีไว้แล้ว แต่ยอมรับว่าการดำเนินการไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่สามารถปิดคลื่นวิทยุได้ทันทีเพราะอยู่ในความดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ดังนั้น สิ่งที่ทำได้คือการดำเนินการทาง ด้านเทคนิค โดยการส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปควบคุมการออกอากาศ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าการปิดดีทีวีทุกระบบน่าจะสามารถสกัดกั้นมวลชนคนเสื้อแดงได้จำนวนไม่น้อย เพราะที่ผ่านมาแกนนำปลุกระดมผ่านดีทีวี ส่วนการวีดีโอลิงค์ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นั้นเชื่อว่าหลังจากปิดดีทีวี จะทำให้การวีดีโอลิงค์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้มาก ทำได้เฉพาะจุดที่ชุมนุมเท่านั้น (ดู “ศอฉ.สั่งห้ามมอเตอร์ไซค์-รถยนต์ขนคนร่วมเสื้อแดง ฝ่าฝืนจำคุก 2 ปี,” ประชาไท, 8 เม.ย.53 ; “ม็อบแดงรวมพลโต้ศอฉ.บุกราบ11-ไทยคม,” ไทยรัฐ, 9 เม.ย. 53 ; “แดงดีเดย์9โมงลุย10จุดดิ้นเปิดพีทีวีใหม่,” ข่าวสด, 9 เม.ย. 53 ; “พีทีวีจอมืด-ทหารยิงคลื่นกวนสัญญาณ,” คมชัดลึก, 9 เม.ย. 53)

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย –  ประธานวุฒิสภาแสดงความเห็นว่าการชุมนุมของคนเสื้อแดงไม่ใช่การชุมนุมโดยสงบแล้วเพราะมีการบุกรุกสถานที่ราชการ จึงเป็นเรื่องถูกต้องที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย ร่วมกันออกแถลงการณ์คัดค้านการสั่งปิดสถานีโทรทัศน์พีเพิลชาแนล หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท และเว็บไซต์อื่นๆ

ฝ่ายแกนนำพันธมิตรฯ ออกมากล่าวว่ารัฐบาลไม่ได้บังคับใช้กฎหมายอย่างเต็มที่ กลุ่มพันธมิตรฯ ขอสนับสนุนให้กำลังใจประชาชนทุกกลุ่มที่ออกมาปกป้องชุมชนของตัวเอง โดย พล.ต. จำลอง ศรีเมืองกล่าวว่าถ้ารัฐบาลจัดการไม่ได้ พันธมิตรฯ จะออกมาจัดการเอง

เวลา 0.45 น. เกิดเหตุคนร้ายขับรถยนต์และจักรยานยนต์ยิงเอ็ม-16 และเอ็ม-79 (แต่ไม่ระเบิด) ใส่ที่ทำการพรรคการเมืองใหม่ ถ.พระสุเมรุ แขวงบวร นิเวศน์ เขตพระนคร นอกจากนี้ยังเกิดเหตุยิงปืนและระเบิดเอ็ม 79 (แต่ไม่ระเบิด)เข้าใส่อาคารทีพีไอทาวเวอร์ แยกถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ตัดถนนจันทร์ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร และเวลา 20.00 น. เกิดเหตุปาระเบิดเอ็ม 67 ใส่ลานจอดรถของกรมการขนส่งทางบก เขตจตุจักร กทม.

303 นักวิชาการแสดงจุดยืนต่อต้านการยุบสภา (ดู “303นักวิชาการต้านรัฐอย่าซี้ซั้วยุบสภา,” ไทยโพสต์, 9 เม.ย. 53)

หมายเหตุ

 

9 เมษายน 2553

นปช. – ด้านเวทีที่ราชประสงค์ นปช. ผลักดันกับกำลัง ตำรวจปราบจลาจล หน้า ร.พ.ตำรวจ เพื่อป้องกันไม่ให้ตำรวจเข้าสลายการชุมนุม โดยท้ายที่สุด ตำรวจยอมกลับเข้าที่ตั้ง

วันเดียวกัน นปช. เดินทางไปชุมนุมและปิดล้อมสถานีควบคุมดาวเทียมไทยคม บริษัทไทยคม จำกัด (มหาชน) ถ.รัตนาธิเบศร์ ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี

อีกส่วนหนึ่งเดินทางไปที่สถานีบริการภาคพื้นดินไทยคม อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี และบุกยึดสถานที่เพื่อเชื่อมต่อสัญญาณ People Channel จากการครอบครองของทหารได้สำเร็จ หลังปะทะกับทหาร มีการยิงปืนกระสุนยางและขว้างแก๊สน้ำตา คนเสื้อแดงสามารถเชื่อมสัญญานได้สำเร็จ ทำให้พีเพิลชาแนลกลับมาถ่ายทอดได้อีกครั้ง เวลา 20.30 น. นายวีระขึ้นเวทีปราศรัยแถลงถึงความสำเร็จในการคืนสัญญานพีเพิลชาแนล (อย่างไรก็ตาม ในคืนนั้นเวลา 20.30 น. กำลังทหารจำนวนมากเข้ายึดพื้นที่สถานีไทยคมอีกครั้งหลังจากผู้ชุมนุมเสื้อแดงออกไปจากพื้นที่แล้ว และตัดสัญญานการออกอากาศพีเพิลแชนแนลทีวีอีกครั้ง ทว่าต่อมาพีเพิลแชนแนลกลับมาถ่ายทอดได้ในช่วงประมาณ 15.15 น. ของวันที่ 10 เม.ย.)

รัฐบาล – นายสุเทพ ในฐานะ ผอ. ศอฉ. ขีดเส้นตายให้ พล.ต.ท. ไถง ปราศจากศัตรู ผบช.ก. จับแกนนำเสื้อแดงให้ได้ภายในเวลา 48 ชั่วโมง ตอนเย็น 17.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจราจล 10 กองร้อย เดินแถวเข้าผลักดันผู้ชุมนุมด้านหน้าโรงพยาบาลตำรวจหลังได้รับคำสั่งให้จับกุมแกนนำ นปช.

ศอฉ. แถลงกฎการใช้กำลัง 7 ขั้นตอน และแถลงรายชื่อแกนนำ นปช. ที่ถูกออกหมายจับตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ประกอบด้วย 1. นพ. เหวง 2. นางดารุณี กฤติบุญญาลัย 3. นายจรัล ดิษฐาอภิชัย 4. นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ 5. นายนิสิต สินธุไพร 6. นายวีระ 7. นายก่อแก้ว พิกุลทอง 8. นายขวัญชัย สาราคำ (ไพรพนา) 9. นายชินวัฒน์ หาบุญพาด 10. นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท 11. นายอดิศร เพียงเกษ 12. นายวรพล พรหมิกบุตร 13. พ.ต.ท. ไวพจน์ อาภรรัตน์ 14. นายสำเริง ประจำเรือ 15. นายวิสา คัญทัพ 16. นางไพจิตร อักษรณรงค์ และ 17. พล.ต. ขัตติยะ สวัสดิผล

เวลา 22.10 น. นายกแถลงผ่านทางโทรทัศน์ต่อว่าผู้ชุมนุมเสื้อแดงว่าเหิมเกริม แต่รัฐบาลไม่ท้อ จะขอรักษากฎหมายต่อไป (ดู “แดงบุกยึดไทยคมปะทะเดือดหมายจับอีก 17,” ไทยรัฐ, 1 เม.ย.53 ; “ยึดไทยคม ฝ่าแก๊สน้ำตา-ทหาร,” ข่าวสด, 10 เม.ย.53 ; “นายกฯ ลั่น ยึด ก.ม.-ต้องชนะ,” กรุงเทพธุรกิจ, 10 เม.ย.53 ; “พรก.ฉุกเฉินหมดท่า รัฐบาลพ่ายแพ้ทุกแนวรบมิคสัญญีไทยคมลาดหลุมแก้ว,” ASTV ผู้จัดการรายวัน, 10 เม.ย.53)

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – คนร้ายนำระเบิดไปวางไว้บริเวณสะพานจ่ายไฟฟ้าและหม้อแปลงไฟฟ้าที่จ่ายไฟเข้านิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ตรงข้ามโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี แต่เจ้าหน้าที่เก็บกู้ไว้ได้ทัน

หลังมีการตัดสัญญานพีเพิลชาแนล และกระทรวงไอซีทีไล่ปิดเว็บไซต์จำนวนมาก หลายฝ่ายได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล พร้อมวิตกกังวลการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ของรัฐบาล สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 ประณามสื่อที่บิดเบือนยั่วยุและคัดค้านการคุกคามสื่อทุกรูปแบบ

ศูนย์การค้าสยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ และสยามดิสคัฟเวอรี่เปิดให้บริการ 10.00-18.00 น.

การประชุมวุฒิสภาล่มเนื่องจากกลุ่ม 40 ส.ว. ส่ง sms ชักชวนให้ ส.ว. หนีประชุม

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 10 เม.ย.53 และ 11 เม.ย.53

 

10 เมษายน 2553

นปช. – ที่ต่างจังหวัด นปช. เชียงใหม่ ผ่านแนวกั้นบุกยึด เข้าไปชุมนุมในศาลากลาง และสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 จังหวัดเชียงใหม่

นปช. ขอนแก่น ชุมนุมที่สวนรัชดานุสรณ์ หน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น

นปช. อุดรฯ (สถานีวิทยุชมรมคนรักอุดรประกาศให้คนเสื้อแดงมาชุมนุมกันที่ถนนหน้าศาลากลาง) กลุ่มคนเสื้อแดงราว 500 คน เปิดเวทีปราศรัยและบุกพังประตูรั้วเข้าไปยึดพื้นที่ในศาลากลางจังหวัด แต่ถูกเจ้าหน้าที่สกัดไว้

นปช. นครราชสีมา ตั้งเวทีเวทีคู่ขนานบริเวณลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี

นปช. พิษณุโลก ชุมนุมที่หน้าประตูศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก

นปช. ร้อยเอ็ด ชุมนุมด้านหน้าศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด เปิดเวทีปราศรัยโจมตีรัฐบาลและมีการนำยางรถยนต์มากองไว้ที่หน้าศาลากลางด้วย

นปช. มหาสารคาม ตั้งเวทีชุมนุมที่บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมือง มหาสารคาม และด้านหน้าศาลากลางจังหวัดมหาสารคาม

นปช. พะเยา ชุมนุมที่ศาลากลางจังหวัดพะเยา อ.เมือง จ.พะเยา

ที่อุบลราชธานี คนเสื้อแดงกลุ่มชักธงรบรวมตัวกันรวมตัวกันที่สนามบินจังหวัดเพื่อขับไล่นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ รมว. ศึกษาธิการ ส่วนที่หน้าศาลากลางจังหวัดกลุ่มคนเสื้อแดงชุมนุมกันร่วมชมการถ่ายทอดสดการชุมนุมในกรุงเทพฯ

ที่ลำพูน กลุ่มคนเสื้อแดงรวมตัวกันหน้าศาลากลางชมถ่ายทอดสด

รัฐบาล – เจ้าหน้าที่ทหารปฏิบัติการขอพื้นที่คืน ใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมที่บริเวณสะพานผ่านฟ้าตั้งแต่บ่ายถึงค่ำ และเกิดการปะทะกับผู้ชุมนุมใหลายจุดรอบๆ บริเวณการชุมนุม หลังเกิดเหตุ ศอฉ. ยืนยันว่าไม่ได้ยิงผู้ชุมนุม และกล่าวว่าคนเสื้อแดงเป็นฝ่ายใช้อาวุธ ฝ่าย นปช. ปฏิเสธว่าไม่ได้ยิง m79 ใส่ทหาร และไม่ทราบว่าฝ่ายที่ยิงเป็นใคร พล.ต.ขัตติยะกล่าวว่า ฝ่ายที่ยิง m79 ใส่ทหารคือ “นักรบโรนิน” เป็นกองกำลังอิสระ และกล่าวว่าทหารขึ้นไปซุ่มยิงอยู่บนตึกโรงเรียนสตรีวิทยาและคนเสื้อแดงจำนวนมากตายเพราะพลซุ่มยิงของทหาร ด้านพรรคเพื่อไทยแสดงภาพถ่ายชี้ว่าฝ่ายทหารทำผิดกฎการใช้กำลัง

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – เวลา 4.00 น. เกิดเหตุยิงเอ็ม 79 เข้าไปตกบริเวณลานจอดรถหลังตึกกองบังคับการปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ถ.พหลโยธิน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ

ห้างสรรพสินค้าบริเวณแยกราชประสงค์ปิดให้บริการโดยไม่มีกำหนด

20.00 น. มีเหตุยิงระเบิดใส่หลังคาตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล แต่ระเบิดไม่ทำงาน คาดว่าจะเป็นระเบิด m79 ต่อมาเวลา 20.15 น. มีเสียงระเบิดดังขึ้นอีกครั้งบริเวณเหนือห้องสีงาช้าง ชั้น 2 ตึกไทยคู่ฟ้า

กลางคืน ที่ ต.เชียงรากน้อย อ.บางปะอิน จ.อยุธยา เกิดเหตุวางระเบิดซีโฟร์บริเวณโคนเสาไฟฟ้าแรงสูงของ กฟผ. 2 ต้น ที่รับกระแสไฟฟ้ามาจากโรงไฟฟ้าวังน้อยส่ง ไปสถานีรังสิตเพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าในเขตกทม.และปริมณฑล เป็นระเบิดซีโฟร์ 6 ลูก แต่ทำงานเพียงแค่ 3 ลูก

หลังเหตุการณ์ 10 เมษา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุดเพื่อสอบสวนเหตุการณ์ ฝ่าย นปช. ส่งตัวแทนเข้าร่วมเป็นกรรมการกลางชันสูตรศพผู้เสียชีวิต

ที่ตรังและสุราษฎร์ธานี มีกลุ่มมวลชนชุมนุมคัดค้านการยุบสภา

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 11 เม.ย.53

 

11 เมษายน 2553

นปช. – นปช.นำโลงศพสีแดง 14 โลงมาวางเรียงกัน พร้อมตั้งเต็นท์และโต๊ะหมู่บูชา ทำพิธีบำเพ็ญกุศลและไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิตที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

พ.ต.ท.ทักษิณจี้นายอภิสิทธิ์รับผิดชอบ แกนนำ นปช. ประกาศนายกฯ ต้องยุบสภาแล้วออกนอกประเทศทันที

นปช.ปทุมธานี มาปักหลักหน้าสถานีบริการภาคพื้นดินไทยคม อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี เพื่อเรียกร้องให้เชื่อมสัญญาณ People Channel กลับคืนสู่ปกติอีกครั้ง พีเพิลชาแนลสามารถกลับมาถ่ายทอดได้อีกครั้ง แต่ไม่นานก็ถูกสัญญานรบกวนอีก

รัฐบาล – นายสุเทพและ ศอฉ.แถลงโต้ว่า ทหารไม่ได้ทำร้ายประชาชน แต่มีกลุ่มติดอาวุธสงครามแฝงอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุมยิงประชาชน

ในช่วงค่ำ แกนนำพรรคร่วมรัฐบาลหารือร่วมกันที่โรงแรมมิเลเนียมฮิลตัน มีมติให้ยื่นเงื่อนไขการเจรจาโดยให้รัฐบาลยุบสภาภายใน 6 เดือน หรือภายในเดือนตุลาคม แล้วจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ขณะที่ทางด้านแกนนำพรรค ปชป. มีท่าทีไม่เห็นด้วย

หลังเกิดเหตุวันที่ 10 เมษายน ที่ประชุมศอฉ. เห็นว่า เนื่องจากปรากฎว่าได้มีการกระทำผิดทางอาญาที่สำคัญเกิดขึ้น และเป็นเรื่องที่มีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อความมั่นคงของประเทศจึงพิจารณาเห็นว่า ควรที่จะเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิเศษพิจารณาว่ามีเหตุสมควรเป็นคดีพิเศษดำเนินการตาม พ.ร.บ. การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ จึงมอบหมายให้นายสุเทพ ในฐานะประธานกรรมการคดีพิเศษ นำเรื่องเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษเป็นการเร่งด่วน (ดู “รายงานการประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษครั้งที่ 3/2553,” วันที่ 16 เม.ย.53, หน้า 2-3)

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 12 เม.ย.53

 

12 เมษายน 2553

นปช. –  พรรคเพื่อไทยยื่นหนังสือต่อ ปปช. ฟ้องเอาผิดนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ เป็นผู้ออกคำสั่งจนทำให้เกิดความสูญเสียในเหตุการณ์วันที่ 10 เม.ย.53

นปช. นำโลงศพบรรจุศพผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ แห่ไปรอบกรุงเทพมหานครเพื่อประจานการใช้ความรุนแรงของรัฐบาล

รัฐบาล – พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา แสดงความเห็นว่ารัฐบาลควรยุบสภา ส่วนเรื่องเวลาควรหาทางออกด้วยการเจรจา ส่วนข้อสงสัยที่ว่าความสูญเสียของกองทัพเมื่อวันที่ 10 เม.ย.53เกิดขึ้นเพราะความแตกแยกในกองทัพนั้น พล.อ. อนุพงษ์กล่าวว่า เท่าที่ทราบข่าว อาจมีทหารที่รีไทร์ไปแล้ว คนพวกนี้ไม่ใช่ความแตกแยกของกองทัพ แต่เป็นผู้ปฏิบัติที่ผิดกฎหมาย ดังนั้นเจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการ เรามีข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ แต่จะไม่สั่งให้กองกำลังไปกวาดล้าง

พรรคร่วมรัฐบาลเสนอให้ยุบสภาภายใน 6 เดือน โดยไม่ต้องทำประชามติ ด้านนายชุมพล ศิลปอาชา พรรคชาติไทยพัฒนา เร่งพรรค ปชป. ให้สรุปจุดยืนเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

เวลาประมาณ 15.00 น. ศอฉ. เปิดเทปรายการ “ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้า” ออกโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ โดยนายแทนคุณ จิตต์อิสระ เป็นผู้ดำเนินรายการสัมภาษณ์นายทหารจากกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ จังหวัดปราจีนบุรี (พล ร.2 รอ.) พร้อมมีการเปิดคลิปวีดิโอเหตุการณ์วันที่ 10 เม.ย. ที่ระบุว่าเป็นของช่างภาพอิสระต่างประเทศซึ่งอยู่หลังแนวทหารหลายเหตุการณ์ ทั้งระหว่างการปะทะ การบาดเจ็บจากระเบิดM79 รวมไปถึงภาพของมือปืนโพกผ้าดำและมีผ้าแดงผูก ซึ่งทหารระบุว่าอาจเป็นกลุ่มมือที่สาม หรืออดีตทหารพรานต้องตรวจสอบกันอีกครั้ง พร้อมยืนยันทหารไม่แตกแยก ต่อสู้กันเอง

พ.ท.กิตติพงษ์ จรัญยานนท์ หัวหน้าฝ่ายยุทธการ จาก พล ร.2 รอ. กล่าวว่า ทหารได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติภารกิจในกรอบรัฐธรรมนูญและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ พ.ร.บ. ความมั่นคง พ.ร.ก. บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีการวางแผนร่วมกันอย่างเป็นระบบ และยึดถือความปลอดภัยผู้ร่วมชุมนุมเป็นหลัก มีการปฏิบัติจากเบาไปหาหนัก

พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด กล่าวว่า ผู้ชุมนมอาจมีอารมณ์ร่วมบ้างเพราะจิตวิทยารวมหมู่ แต่ไม่ได้รู้สึกกระด้างกระเดื่อง มีแต่แกนนำกับฮาร์ดคอร์เท่านั้น และอาจมีการยุยงให้บางกลุ่มฮึกเหิม แต่ละพื้นที่การปะทะเหตุการณ์ดำเนินเร็วมาก ดังนั้นขั้นตอนทั้ง 7 ขั้นตอนไม่สามารถกำหนดได้ว่าทำกี่นาที อย่างไรก็ตาม ทหารได้รับการต่อต้านทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นไม้เหลาแหลม อิฐตัวหนอน การกระโดดถีบ อย่างไรก็ตาม ทหารตระหนักดีว่าข้างหน้าคือคนไทยจึงพยายามใช้โล่ดันเป็นหลัก ส่วนการสูญเสียที่เกิดขึ้นตนไม่รู้จะตอบคำถามอย่างไร นอกจากเรียนข้อมูลว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมามีหลายภาพที่ฝั่งของกลุ่มคนเสื้อแดงยิงเข้าใส่เจ้าหน้าที่ ทหารไม่มีระเบิด ปืนที่มีอยู่ไม่ได้เล็งตรงใส่ผู้ชุมนุม แต่คงไม่สามารถหาภาพได้ว่าใครยิงใส่ผู้ชุมนุม และกระบวนการยุติธรรมเท่านั้นที่จะตรวจสอบในวันข้างหน้าว่าใครเป็นผู้กระทำ

ทั้งนี้ ผู้ดำเนินรายการได้กล่าวนำก่อนเปิดคลิปการปะทะกันโดยระบุว่าไม่ต้องการสร้างความเกลียดชังเพิ่มเติม แต่ต้องการคืนความจริงและความบริสุทธ์ให้กับเจ้าหน้าที่ทหาร โดยเจ้าหน้าที่ทหารได้บรรยายประกอบคลิปวีดิโอดังกล่าวว่า มีระเบิดตกเข้ามา โดนตั้งแต่ระดับพลทหารถึงระดับบัญชาการ ขณะที่มีทหารบางคนที่โดนสะเก็ดระเบิดพยายามโบกมืออย่ายิงซ้ำ แต่ก็มีการยิงซ้ำ และมีการขัดขวางการนำทหารเจ็บส่งออกนอกพื้นที่รวมถึงมีบางกลุ่มที่ทุบตีทหาร ที่ได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้ยังมีภาพชายโพกผ้าดำใช้ปืนอาก้าเล็งยิงตรงมุมตึกด้านหนึ่ง และวิ่งเข้าไปปะปนกับกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งคาดว่าเป็นกลุ่มผู้ไม่หวังดี

พ.อ.สรรเสริญกล่าวด้วยว่า การ์ดของกลุ่มผู้ชุมนุมมีลักษณะของการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี บางคนบอกว่าเป็นอดีตทหารพรานที่ไม่ได้รับราชการแล้ว ซึ่งก็ต้องหาหลักฐานพยานกันมาพิสูจน์ ส่วนอาวุธปืนที่ผู้ชุมนุมบางส่วนยึดไปได้นั้นมีความกังวลว่าจะมีการนำอาวุธ ไปสร้างสถานการณ์ แล้วโยนความผิดให้ทหาร อย่างไรก็ตามจะเร่งตรวจสอบว่าอาวุธที่หายไป

ผู้ดำเนินรายการกล่าวว่า ในขณะนี้ต้องระมัดระวังข้อมูลข่าวสาร เมื่อเกิดสงครามขึ้น สิ่งที่ถูกทำลายก่อนคือความจริง ต่างฝ่ายต่างใช้ข้อมูลที่คิดเอาเอง เราพยายามทำหน้าที่เพื่อคืนความเป็นธรรมให้ทุกฝ่าย ทั้งผู้ชุมนุมและททหารผู้เสียสละ อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มผู้ชุมนุมมีคนบางกลุ่มแอบแฝงเข้าไปก่อความวุ่นวายและพยายามใส่ร้าย ป้ายสีทหารและกองทัพด้วย

พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า ที่ผ่านมาสังคมกดดันทหารให้จัดการอย่างเด็ดขาด และทหารพยายามหลีกเลี่ยงมาโดยตลอด ผู้ดำเนินรายการกล่าวเสริมว่า และเมื่อต้องปฏิบัติตามหน้าที่แล้วก็เข้าทางผู้ที่ต้องการให้สถานการณ์บานปลาย แล้วมักมีการอ้างผู้เสียชีวิตเป็นความชอบธรรมของตัวเอง เพื่อตอบโต้มุ่งร้ายฝ่ายทหารและรัฐบาล

ผู้ดำเนินรายการกล่าว สรุปว่า ถึงเวลาที่เราต้องสามัคคีกันและจับกุมคนผิด ผู้ชุมนุมคงทราบว่าการชุมนุนนั้นได้สร้างความเสียหายอย่างยิ่งต่อประเทศ ท่านอาจจะบอกว่าต้องการประชาธิปไตย แต่ตอนนี้ประเทศไทยมีประชาธิปไตยอยู่แล้ว อย่าทำให้กลายเป็นความคลั่งประชาธิปไตยมากไปกว่านี้ รวมทั้งเรียกร้องให้ผู้ชุมนุมถอยออกมาจากพวกที่นิยมความรุนแรง เพื่อลูกหลานจะได้รู้ว่าพ่อแม่ของพวกเขาได้เสียสละอย่างมีปัญญา (ดู “ศอฉ.เปิดคลิปทหารออกทีวีพูล วอนประชาชนอย่าบริโภคสื่อด้านเดียว,” ประชาไท, 12 เม.ย. 53)

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – กกต. ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ยุบพรรค ปชป. และส่งเรื่องไปยังอัยการสูงสุดเพื่อร้องต่อศาล รธน.

ตัวแทนผู้ค้าย่านราชประสงค์เข้าร้องเรียนต่อประธานวุฒิสภา

โรงพยาบาลตำรวจแถลงผลการชันสูตรศพผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์วันที่ 10 เม.ย.53 จำนวน 11 ราย โดยระบุว่า 8 รายเสียชีวิตจากกระสุนปืนความเร็วสูง 1 รายถูกยิงเข้าที่หน้าอกโดนหัวใจ ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นกระสุนความเร็วสูงหรือความเร็วต่ำ 1 รายเสียชีวิตด้วยระบบการหายใจล้มเหลว โดยไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นเพราะแก๊สน้ำตาหรือไม่ อีก 1 รายคือผู้สื่อข่าวชาวญี่ปุ่นไม่แถลงผลชันสูตรเนื่องจากเป็นความประสงค์ของญาติ ในจำนวนผู้เสียชีวิตที่ถูกกระสุนทั้ง 9 รายนั้น 8 รายเป็นการยิงจากระยะไกล 1 รายเป็นการยิงจากระยะใกล้ไม่เกิน 1 เมตรหรือระยะประชิด

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ในพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ พ.อ. ร่มเกล้า ธุวธรรม รองเสนาธิการ พล.ร.2 รอ. ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน

นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นจี้รัฐบาลไทยสอบกรณีช่างภาพรอยเตอร์ถูกยิงเสียชีวิต

นพ.ตุลย์เป็นตัวแทนกลุ่มพลังเงียบเรียกร้องให้นายกฯ ไม่ยุบสภาและเรียกร้องให้ ผบ. เหล่าทัพ และ ผบ.ตร. ให้ความร่วมมือกับรัฐบาล

เกิดเหตุยิงเอ็ม 79 ตกไปยังข้างบ้านของรองผอ.โทรทัศน์ช่อง 5 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท

เกิดเหตุยิงปืนใส่อาคารไซเบอร์เวิลด์ ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กทม.

หมายเหตุ

 

13 เมษายน 2553

นปช.

รัฐบาล

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – สำนักราชเลขาธิการแถลงการณ์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โปรดเกล้าพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ค่ารักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บและค่าใช้จ่ายในการฌาปนกิจศพผู้เสียชีวิตแก่เจ้าหน้าที่และประชาชนในเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน 2553

หมายเหตุ

 

14 เมษายน 2553

นปช. – นปช. ประกาศยุบเวทีสะพานผ่านฟ้าและการชุมนุมบริเวณถนนราชดำเนิน นปช. ที่ชุมนุมอยู่ที่สะพานผ่านฟ้าย้ายไปชุมนุมที่แยกราชประสงค์ทั้งหมด ด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัยสร้างแรงกดดันให้รัฐบาลมากขึ้น

นปช. นครพนม เดินทางไปขับไล่รัฐมนตรีจากพรรคภูมิใจไทยที่เดินทางไปเป็นประธานพิธีรดน้ำดำในงานสงกรานต์ ที่วัดสร้างแก้ว หมู่ 5 ต.ไผ่ล้อม อ.บ้านแพง จ.นครพนม มีการชกณัฐมนตรี และเกิดการตะลุมบอนกัน

รัฐบาล – นายสุเทพ เทือกสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) และรองนายกฯ ในฐานะประธานกรรมการคดีพิเศษ มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ กห 0407.45/60 ถึงกรมสอบสวนคดีพิเศษ ระบุว่า ตามที่ได้มีกลุ่มบุคคลก่อความไม่สงบในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้ใช้อาวุธสงครามร้ายแรงกระทำประทุษร้าย ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพของบุคคลเพื่อล้มล้างอำนาจบริหาร ขู่เข็ญบังคับให้รัฐบาลกระทำการใดๆ และสร้างความปั่นป่วนให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชนอย่างต่อเนื่องตลอดมานับตั้งแต่ช่วงปลายปี พ.ศ. 2552 จนถึงวันที่ 13 เมษายน 53 ซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวถือเป็นการกระทำอันเป็นการก่อการร้าย ทำร้ายประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตลอดจนยึดอาวุธยุทธภัณฑ์ของทางราชการไปไว้ในครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

ซึ่งขณะนั้นเรื่องอยู่ระหว่างการดำเนินการการสืบสวนสอบสวนของพนักงานสอบสวน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ประธานกรรมการคดีพิเศษพิจารณาแล้วเห็นว่า เรื่องนี้เป็นการกระทำผิดที่เข้าข่ายเป็นความผิดที่มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ความมั่นคงของประเทศ และระบบเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ จำเป็นต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนตาง พ.ร.บ. การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงให้กรมสอบสวนคดีพิเศษนำคดีความผิดทางอาญานี้เสนอต่อคณะกรรมการคดีพิเศษเพื่อพิจารณา (ดู “รายงานการประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษครั้งที่ 3/2553” วันที่ 16 เม.ย. 53 หน้า 3-7)

เวลา 10.30 น. ที่กองบัญชาการ ศอฉ. กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ พ.อ. สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. แถลงผลการประชุมว่า ที่ประชุมได้สั่งการให้ผู้เกี่ยวข้องเร่งสำรวจและตรวจสอบอาวุธ ยุทโธปกรณ์ และยานพาหนะของรัฐที่สูญหายหรือถูกทำลายในระหว่างการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ก่อนแจ้งความดำเนินคดีภายในวันนี้ สิ่งที่กังวลคืออาจมีผู้ไม่หวังดีนำอาวุธเหล่านี้ไปสร้างสถานการณ์แล้วโยนความผิดให้เจ้าหน้าที่รัฐ

นอกจากนี้ พ.อ. สรรเสริญยังได้นำคลิปวิดีโอเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับ กลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อวันที่ 10 เมษายน จำนวน 5 คลิปมาเปิดให้สื่อมวลชนดู โดยในจำนวนนี้มีคลิปทหารยิงกลุ่มคนเสื้อแดงที่ถูกนำมาเผยแพร่ลงหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์หลายฉบับรวมอยู่ด้วย ทั้งนี้ พ.อ. สรรเสริญกล่าวชี้แจงว่าการใช้อาวุธปืนของทหารจะมี 2 ลักษณะคือ ยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อข่มขวัญ และยิงเพื่อปกป้องชีวิตของตน ซึ่งกรณีนี้เป็นการยิงเพื่อคุ้มครองการถอนตัวหลังถูกตีแตก ไม่ใช่การสุ่มยิงเพื่อหมายเอาชีวิตฝ่ายตรงข้าม เพราะเป็นการยิงทีละนัด ไม่ใช่การกราดยิงเป็นชุด อีกทั้งเมื่อมีการยิงปืนแล้วทหารก็ได้ถอนออกมา ไม่ได้เดินหน้าต่อ

ส่วนคลิปชายเสื้อแดงซึ่งถือธงในมือถูกลอบยิงจนสมองกระจาย ซึ่งมีการกล่าวกันว่าเป็นฝีมือทหารนั้น พ.อ. สรรเสริญกล่าวชี้แจงว่า มือมืดได้ยิงปืนที่มีอานุภาพร้ายแรงมาจากฝั่งที่ผู้ชุมนุมยืนอยู่ จึงอยากเตือนประชาชนที่ไปร่วมชุมนุมให้ระวัง เพราะอาจตกเป็นเหยื่อผู้ไม่หวังดีที่เอาชีวิตของประชาชนมาสร้างสถานการณ์

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า กลุ่มก่อการร้ายที่แฝงเข้ามามีจำนวนเท่าไร พ.อ. สรรเสริญกล่าวว่า ไม่สามารถเปิดเผยได้ แต่มีข้อมูลด้านการข่าว และมีเบาะแสอยู่ว่าใครเป็นใคร โดย พ.อ.สรรเสริญกล่าวว่า เป้าหมายของกลุ่มก่อการร้ายคือ เพื่อยกระดับสถานการณ์ให้รุนแรงขึ้น และต้องการบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร มีกลุ่มก่อการร้ายแฝงเข้ามาในพื้นที่ชุมนุมจริง หลายภาพที่ปรากฏจะเห็นว่ามีชายสวมเสื้อแจ็คเก็ตสีดำ ซึ่งมีตราสัญลักษณ์ของ นปช. อยู่ด้านหน้า คอยยืนอยู่แถวหน้าผู้ชุมนุม แต่ไม่เคยได้ยินใครส่งเสียงไล่ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็เกิดในสถานที่ชุมนุมทั้งสิ้น ดังนั้นถ้าแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมจะปฏิเสธว่าไม่รู้ไม่เห็น ชาติหน้าก็อย่าได้เกิดเป็นแกนนำอีกเลย (ดู “สรรเสริญชี้ทหารยิงเพื่อถอนกำลัง ระบุรู้ตัวกลุ่มผู้ก่อการร้ายแล้ว,” ประชาไท, 14 เม.ย. 53 ; ดูคลิป ศอฉ. 20100414_เหตุการณ์วันที่ 10 อธิบายคลิปภาพ_underdogThai_01 และ 20100414_เหตุการณ์วันที่ 10 อธิบายคลิปภาพ_underdogThai_02)

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 15 เม.ย.53

 

15 เมษายน 2553

นปช. – นปช. เชียงใหม่ แห่ป้ายติดภาพถ่ายคนเสื้อแดงที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ แห่ขบวนไปยังจวนผู้ว่าฯ พร้อมกับนำรูปนายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รอง ผบ.ทบ. มาวางบนพื้นให้ผู้ร่วมขบวนแห่เหยียบย่ำจน

นปช. น่าน ปิดทางเข้าออกวัดหัวเมือง บ้านหัวเมือง ต.แงง อ.ปัว จ.น่าน เพื่อขับไล่รัฐมนตรี ที่เดินทางมาเป็นประธานพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

รัฐบาล – นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11รอ.) ว่า ศอฉ.จะออกคำสั่งให้บุคคลเข้ารายงานตัวตามการประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และจะเริ่มเรียกตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน โดยนายสุเทพได้ลงนามในคำสั่งแล้ว

นายปณิธาน ยังให้รายละเอียดด้วยว่า เวลานี้มีผู้ถูกเรียกมารายงานตัวประมาณ 50 คน ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา โดยเหตุผลของการเรียกมารายงานตัวนั้น เพราะรัฐบาลต้องการจะดูว่าบุคคลเหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์อย่างไรหรือไม่ ทั้งนี้ไม่เกี่ยว ข้องกับการออกหมายจับบุคคลต่างๆ ก่อนหน้านี้ ซึ่งหากไม่มารายงานตัวจะมีความผิดตามประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (ดู “ศอฉ. ขึ้นบัญชี เรียก 50 คนหนุนแดงรายงานตัว,” prachatai, 16 เม.ย.53)

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – กลุ่ม “แนวร่วมคนรักชาติ” และกลุ่มเฟซบุ๊ก “มั่นใจคนไทยเกินล้านต่อต้านการยุบสภา” รวมตัวกันที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เชิญชวนกลุ่มพลังเงียบออกมาต่อต้านการชุมนุมของคนเสื้อแดง และสนับสนุนไม่ให้รัฐบาลยุบสภา

หมายเหตุ

 

16 เมษายน 2553

นปช. – นปช. ทำการปิดล้อมและปลดอาวุธเจ้าหน้าที่ตำรวจหน่วยคอมมานโดที่เข้ามาปิดล้อมเพื่อทำการจับกุมแกนนำ 6 คนที่พักอยู่ในโรงแรมโรงแรมเอสซีปาร์ค ถ.เลียบทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์ เขตวังทองหลาง และสามารถช่วยเหลือแกนนำได้ทั้งหมด

นปช. ศรีสะเกษ ขับไล่iรัฐมนตรี ที่เดินทางมาเป็นประธานในพิธียกช่อฟ้าอุโบสถวัดบ้านกระโพธิ์ช่างหม้อ ต.ดองกำเม็ด อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ

ที่พรรคเพื่อไทย นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงถึงกรณีที่ ศอฉ. ออกคำสั่งเรียกบุคคลที่เป็นนักการเมืองและนักธุรกิจจำนวนประมาณ 60 คน ให้ไปรายงานตัวต่อ ศอฉ. ว่า ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทยได้ประชุมหารือกัน เห็นว่ากรณีดังกล่าวเป็นการใช้กฎหมายเป็นเครื่องทางการเมือง เป็นการใช้อำนาจโดยไม่สุจริตและบิดเบือน ผู้ที่ได้รับหนังสือของ ศอฉ. จึงต้องมาพิจารณาดูว่าสมควรหรือไม่ที่จะต้องไปยอมรับอำนาจดังกล่าว เพราะลักษณะการใช้อำนาจเหมือนกับประเทศอยู่ ในภาวะของการปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งเป็นการใช้อำนาจอย่างอำเภอใจ ใช้อย่างไรกับใครก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงหลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม ในส่วนของสมาชิกพรรคเพื่อไทยที่ได้รับหนังสือ ก็จะให้ทนายความดำเนินการเพื่อทราบประเด็นว่า ศอฉ. ต้องการให้ชี้แจงเรื่องอะไร หลังจากนั้นก็จะส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือให้ทราบ โดยจะไม่ไปชี้แจงด้วยตนเอง เพราะเห็นว่าการออกคำสั่งดังกล่าวเป็นเพียงเกมการเมืองของรัฐบาล เพื่อต้องการสร้างข่าว และทำลายคู่แข่งทางการเมือง โดยหวังผลในการทำลายขวัญกำลังใจของผู้ชุมนุม

“พรรคเพื่อไทยขอเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง และ กรรมการ ศอฉ.ทุกคน ยุติการใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และควรยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้แล้ว เพื่อให้สังคมกลับคืนสู่ความสงบสุขต่อไป เพราะถึงประกาศใช้ก็ไม่สามารถบังคับได้ เนื่องจากการใช้กฎหมายดังกล่าวไม่เป็นธรรมกับบางฝ่าย และนับวันจะเพิ่มความขัดแย้งรุนแรงบานปลายออกไป” นายพร้อมพงศ์กล่าว

(ดู “วินมอไซค์-วิทยุชุมชนทยอยรายงานตัว ศอฉ.แล้ว ยังไร้เงานักการเมือง-นักธุรกิจ เผยมีอดีตขรก.ติดโผด้วย,” มติชนออนไลน์, 16 เม.ย.53,  ; “เพื่อไทยบอกปัด ศอฉ.ไม่ส่งคนเข้าไปชี้แจง แต่ให้ทนายทำหนังสือแทน,” มติชนออนไลน์, 16 เม.ย.53)

รัฐบาล – มีการประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษครั้งที่ 3/2553 ณ ห้องประชุมกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ โดยมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ เป็นประธาน (แทนนายกฯ)

ที่ประชุมมีมติตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (2) ประกอบมาตรา 10 (3) ของ พ.ร.บ. การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ให้คดีความผิดทางอาญากรณีก่อการร้าย การขู่บังคับให้รัฐบาลกระทำการใดๆ การทำร้ายประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ และกระทำต่ออาวุธยุทธภัณฑ์ของทางราชการ อันเกี่ยวกับการชุมนุมที่มิชอบด้วยกฎหมายในช่วงปลายปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นไปในราชอาณาจักร รวมถึงความผิดที่ต่อเนื่องหรือเกี่ยวพันกัน เป็นคดีพิเศษที่ต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ และให้มีพนักงานอัยการและ/หรืออัยการทหารมาสอบสวนร่วมกันตามมาตรา 32 ของ พ.ร.บ. การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ด้วย (ดู “รายงานการประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษครั้งที่ 3/2553,” วันที่ 16เม.ย. 53 หน้า 3-7)

ตำรวจคอมมานโดนับร้อยบุกจับแกนนำ นปช.ที่ โรงแรมเอสซีปาร์ค

ที่ ศอฉ. พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. กล่าวถึงความคืบหน้าในการให้บุคคลเข้ารายการงานตัวกับ ศอฉ. ตามมาตรา 11(2) ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ว่า มีบุคคลมารายงานตัวบ้างแล้ว ทั้งนี้ รายชื่อทั้งหมดที่เรียกมารายงานตัวมีประมาณ 54 คน ซึ่งประกอบด้วยนักการเมือง อดีตข้าราชการ หรือนักธุรกิจ แต่ไม่ขอเปิดเผยชื่อ เพราะอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย แต่ถ้าเลยเวลาการเข้ารายงายตัวแล้ว อาจเปิดเผยชื่อได้บางส่วน

พ.อ.สรรเสริญกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ศอฉ. ไม่ได้กำหนดวันเส้นตายไว้อย่างชัดเจน แต่จะดูไปตามความเหมาะสม คาดว่าน่าจะประมาณ 2 – 3 วัน

มีรายงานข่าวว่า พบกลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้างและเจ้าของวิทยุชุมชนจำนวน 21 คนเข้ามารายงานตัว โดยทั้งหมดเข้าให้การกับเจ้าหน้าที่ทหารของ ศอฉ. ก่อนให้ข้อมูลเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปราม ซึ่งข้อมูลทั้งหมดถูกปิดเป็นความลับ ส่วนบุคคลที่เหลืออีก 30 คนที่ยังไม่เข้ารายงานตัว รวมถึงนักการเมืองทั้ง 3 คน หากไม่เดินทางมาตามเวลากำหนด ศอฉ. จะดำเนินการออกหมายจับภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (ดู “วินมอไซค์-วิทยุชุมชนทยอยรายงานตัว ศอฉ.แล้ว ยังไร้เงานักการเมือง-นักธุรกิจ เผยมีอดีตขรก.ติดโผด้วย,” มติชนออนไลน์, 16 เม.ย.53

ทางด้านพรรค ปชป. นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี ศอฉ. ออกคำสั่งเรียกนักการเมืองและนักธุรกิจเข้ารายงานตัวว่า ถ้าคนกลุ่มนี้มีความบริสุทธิ์ใจควรให้ความร่วมมือ โดยรัฐบาลพร้อมเปิดโอกาสให้ชี้แจงข้อเท็จจริงอย่างเต็มที่ สาเหตุที่ ศอฉ.ต้องเรียกคนกลุ่มนี้ประมาณ 60 คน มารายงานตัว เพื่อจะได้ทราบข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา ดีกว่าปล่อยให้วิเคราะห์ ประเมิน และรับข้อมูลจากรายงานข่าวอย่างเดียว ทั้งนี้ ใครไม่ให้ความร่วมมือ จะมีความผิดตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่สำคัญสังคมอาจสงสัยว่าคนเหล่านี้เกี่ยวข้องกับกลุ่มแดงก่อการร้ายจริง จึงไม่กล้ามาพบ ศอฉ. (ดู “ปชป.ชี้คนเบี้ยวรายงานตัวศอฉ.น่าสงสัย,” มติชนออนไลน์, 17 เม.ย.53)

เมื่อเวลา 21.16 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ออกแถลงการณ์ผ่านทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ ย้ำว่า รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายอย่างเด็ดขาด เพราะมันหมายถึงการรักษาความเป็นบ้านเมืองที่มีกฎหมาย ความมั่นคงของชาติ และการปกป้องรักษาสถาบันหลักของชาติ

 “การบังคับใช้กฎหมายนั้น เมื่อเช้านี้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจครับ ได้ใช้ความพยายามในการเข้าจับกุมแกนนำบางส่วนซึ่งไม่ประสบความสำเร็จ แต่ว่าอย่างไรก็ตาม การดำเนินการนั้นไม่ได้หมายความว่าจะไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ สิ่งที่รัฐบาลและ ศอฉ. ดำเนินการขณะนี้ ก็คือการดำเนินการเพื่อที่จะทำให้การบังคับใช้กฎหมายและการแก้ไขปัญหานั้น เป็นไปได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้นในอนาคต ประการแรกคือได้มีการขยายผลไปสู่กลุ่มคนในการสนับสนุนการชุมนุมก็ดี ซึ่งเชื่อมโยงการก่อการร้าย เพราะฉะนั้นในขณะนี้ได้มีการเรียกบรรดาบุคคลซึ่งอาจจะอยู่ในข่ายของการสนับสนุนกระบวนการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของทางธุรกิจ การให้ที่พักพิง การอำนวยความสะดวก หรือการมีส่วนร่วมในการยุยงปลุกระดมให้เกิดปัญหาความปั่นป่วนในบ้านเมือง ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้ครับ ก็จะสามารถนำไปสู่การดำเนินคดีและการบังคับใช้กฎหมายได้อย่างกว้างขว้างมากขึ้น”

“ได้มีการมอบหมายให้ทางคณะกรรมการคดีพิเศษ ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้และวันนี้มีมติเป็นเอกฉันท์ในการที่จะรับเรื่อง ก่อการร้ายทั้งหมดเข้าไปเป็นคดีพิเศษ ซึ่งเราก็คาดว่าจะทำให้การดำเนินการตามกฎหมายและการดำเนินคดีนั้นกระทำได้ รวดเร็วมากยิ่งขึ้น”

“สำหรับการดำเนินการในการบังคับใช้กฎหมาย และความไม่สำเร็จที่ผ่านมานั้น ก็ทำให้ในส่วนของผมนั้นได้มาทบทวนดูโครงสร้างต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาครับ และได้ตัดสินใจแล้วที่จะปรับโครงสร้างในส่วนของ ศอฉ. เพื่อให้มีการสามารถระดมกำลังในลักษณะที่มีความเป็นเอกภาพและบูรณาการได้มาก ยิ่งขึ้น เพื่อจะเข้ามาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการก่อการร้ายเป็นการ เฉพาะและก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าผู้รับผิดชอบ ซึ่งจากเดิมนั้นท่านรองนายกฯ สุเทพ เทือกสุบรรณนั้น เป็นผู้บริหารในเรื่องของสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งหมด ในขณะนี้ได้มีการตัดสินใจว่าจะทำให้กระบวนการของการบังคับบัญชาต่างๆ นั้น สามารถทำได้เข้มข้นและมีความกระชับมากยิ่งขึ้น สอดรับกับการปรับโครงสร้างภายใน ศอฉ.เอง”

“ดังนั้น ผมจึงได้มีคำสั่งที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าผู้รับผิดชอบเป็น พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และเพิ่มอำนาจให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากการรับผิดชอบแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วไปแล้ว จะเข้ามาดูแลในเรื่องของปัญหาการก่อการร้ายโดยตรงรวมไปด้วย เป็นส่วนหนึ่งของอำนาจหน้าที่ใหม่ ซึ่งคำสั่งดังกล่าวจะถูกเผยแพร่ผ่านสื่อสารมวลชนในคืนนี้ต่อไป”

(ดู “มาร์คหวังว่าชาวไทยจะได้ฉลองปีใหม่ตามสมควร พร้อมตั้งอนุพงษ์เป็น ผอ.ศอฉ.,” ประชาไท, 17 เม.ย.53 ; ดูคลิป 20100416_CRES_001)

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – กลุ่มเสื้อหลากสี ชุมนุมหน้ากรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ เพื่อให้กำลังใจทหาร รัฐบาลและนายกรัฐมนตรี ไม่ให้ยุบสภา และเรียกร้องให้ช่วยกันคืนความสงบสุขแก่ประเทศไทย

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 17 เม.ย.53

 

17 เมษายน 2553

นปช.

รัฐบาล – เวลา 11.30 น. ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11รอ.) พันเอก สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก ในฐานะโฆษกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) แถลงชี้แจงสื่อมวลชน ภายหลังการประชุม ศอฉ. ว่า ผู้ที่รับผิดชอบ ศอฉ.ในภาพรวมทั้งหมดยังคงเป็น ผอ.ศอฉ. คือรองนายกรัฐมนตรีสุเทพฯ เหมือนเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ถัดจาก ผอ.ศอฉ. จะมีผู้กำกับการปฏิบัติ ซึ่งยังเป็น รองนายกรัฐมนตรีสุเทพเหมือนเดิม และในลำดับถัดไปคือหัวหน้าผู้รับผิดชอบ มีการเปลี่ยนแปลงจาก รองนายกรัฐมนตรีสุเทพ เป็นพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ทำหน้าที่แทน

โฆษก ศอฉ. กล่าวว่า ใน ศอฉ. มีทั้งฝ่ายข้าราชการประจำ และฝ่ายการเมือง ผู้ที่เป็น ผอ.ศอฉ. จะเป็นผู้กำหนดแนวทางและนโยบายในภาพรวม ซึ่งจะต้องมีการประสานกับภาครัฐบาลเพื่อให้ทราบแนวทางและนโยบายของรัฐบาล แล้วมาแปลงรายละเอียดเป็นนโยบายที่จะสั่งการลงไปยัง ศอฉ. ให้ปฏิบัติในแนวทาง โดยรองนายกรัฐมนตรีสุเทพจะเป็นผู้กำกับรายละเอียดการปฏิบัติของหน่วยต่างๆ ภายใน ศอฉ. ซึ่งมีทั้งหน่วยกำลัง หน่วยส่งกำลัง หน่วยทีมกฎหมาย ที่ปรึกษา การรักษาพยาบาล และอีกหลายเรื่อง ฉะนั้นผู้กำกับการปฏิบัติจะกำกับในทุกๆ เรื่อง ส่วนลำดับสุดท้ายที่มีการเปลี่ยนแปลงคือหัวหน้าผู้รับผิดชอบ จะเป็นผู้ที่สั่งการในเรื่องการใช้กำลัง ที่เปลี่ยนจากรองนายกรัฐมนตรีสุเทพฯ เป็นผู้บัญชาการทหารบก เพื่อให้การควบคุมสั่งการ มีสายการบังคับบัญชาที่สั้นขึ้น ไม่ต้องขออนุมัติขึ้นไปถึงรองนายกรัฐมนตรี

นอกจากนี้ โฆษก ศอฉ. ยังแสดงความห่วงใยเกี่ยวกับอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ถูกคนเสื้อแดงยึดไปแต่ยังไม่ได้รับคืน ซึ่งได้มีการแจ้งความไปแล้ว โดยเกรงว่าจะมีผู้ไม่หวังดีนำอาวุธเหล่านั้นไปใช้เพื่อสร้างสถานการณ์แล้วโยนความผิดให้เจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่ง และโยนความผิดให้คนเสื้อแดงอีกส่วนหนึ่ง

สำหรับความชุลมุนที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ 10 เม.ย. นั้นต้องเข้าใจในภาพรวมว่าเจ้าหน้าที่พยายามบังคับใช้กฎหมาย โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของการใช้กำลัง ไม่ได้มีความมั่วเกิดขึ้นในฝ่ายของเจ้าหน้าที่ แต่สิ่งที่เกิดคือกลุ่มก่อการร้ายที่แฝงตัวอยู่กับผู้ชุมนุมนำอาวุธมาใช้ ยังความสูญเสียทั้งเจ้าหน้าที่และผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงเอง จึงเกิดความชุลมุนวุ่นวายขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นบทเรียนทั้งกลุ่มผู้ชุมนุมเอง และเจ้าหน้าที่ การปฏิบัติงานในครั้งต่อไป เจ้าหน้าที่จะต้องมีความระมัดระวังตัวมากกว่านี้ ต้องมีความชัดเจนในขั้นตอนการปฏิบัติที่สามารถจะปกป้องชีวิตเจ้าหน้าที่เอง ด้วย ขณะเดียวกันก็คำนึงถึงความปลอดภัยของกลุ่มผู้ชุมนุมด้วยเช่นกัน

ส่วนการจัดการปัญหาผู้ก่อการร้ายนั้น โฆษกศอฉ.กล่าวว่าขณะนี้กำลังพยายามทำ โดยสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้สังคมโดยรวม และพยายามสื่อความหมายนี้ลงไปยังกลุ่มผู้ชุมนุมที่รวมอยู่ในพื้นที่ราชประสงค์ว่า อาจจะถูกหยิบเป็นเหยื่อของความรุนแรง ขอวิงวอนพี่น้องที่เป็นญาติ หรือคนรู้จักกับผู้ชุมนุมได้สื่อสารเรื่องนี้ให้ผู้ชุมนุมทราบ และออกจากพื้นที่ชุมนุม ถ้าผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่ได้เร็วเท่าไร เราก็สามารถจัดการกับกลุ่มก่อการร้ายได้เร็วเท่านั้น แต่ถ้าท่านยังอยู่ ก็เท่ากับท่านปกป้องกลุ่มก่อการร้าย และสร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้เจ้าหน้าที่ สร้างความเดือดร้อน สร้างความเสียหายให้กับบ้านเมืองและเศรษฐกิจอยู่ในปัจจุบัน ตัวแปรอยู่ที่ท่าน ผู้ชุมนุมผู้ไม่ได้รู้เรื่องกับการก่อการร้าย ถ้าท่านออกเร็ว บ้านเมืองจบเร็ว

สำหรับการขอคืนพื้นที่ราชประสงค์ ศอฉ.จำเป็นต้องบังคับใช้กฎหมายในภาพรวม คนที่เคยทำผิดต้องได้รับผิด การขอคืนพื้นที่ การปฏิบัติในหลากหลายลักษณะ ได้รวมอยู่ในการบังคับใช้กฎหมาย ทุกอย่างต้องทำ เพียงแต่เมื่อไรเท่านั้นที่จะมีความพร้อม ขณะนี้เรากำลังเตรียมการในทุกๆ เรื่องให้พร้อม ทั้งการฟื้นฟูกำลังพล ยุทโธปกรณ์ ให้มีความพร้อมควบคู่ไปกับการทำความเข้าใจกับสังคมและกลุ่มผู้ชุมนุม

โฆษก ศอฉ. ยังชี้แจงกรณีที่พลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ได้ให้ความเห็นเมื่อตอนเช้าว่าการสลายการชุมนุมเพื่อขอคืนพื้นที่เมื่อวันที่ 10 เมษายน เจ้าหน้าที่ได้ทำผิดหลักการตามหลักสากล เพราะการปฏิบัติการวันนั้นได้ทำในเวลา 18.00 น.ว่า ศอฉ. ดำเนินการมาตั้งแต่ช่วงเวลากลางวันและโฆษกฯ ก็ได้เรียนให้ทราบแล้วว่าในยามค่ำนั้น เป็นอุปสรรคต่อทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติและเป็นปัญหาต่อผู้ชุมนุมด้วย เพราะฉะนั้นเวลา 18.15 น. จึงไม่มีการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ เพราะมีการตั้งแนวขอบโดยรอบแล้ว แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังเวลา 18.15 น. นั้นเป็นการที่กลุ่มผู้ชุมนุมกลับเข้ามาผลักดันเจ้าหน้าที่ออกไป (ดู “สรรเสริญยัน ศอฉ.ไม่สลายชุมนุมกลางคืน แต่ผู้ชุมนุมเข้ามาดันเจ้าหน้าที่เอง,” ประชาไท, 18 เม.ย.53 ; “ศอฉ. ชี้แจงสื่อ รองนายกฯ สุเทพยังเป็นผอ.ศอฉ. แต่เปลี่ยนให้ผบ.ทบ. เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบสถานการณ์ฉุกเฉิน,” ศูนย์สื่อทำเนียบรัฐบาล, 17 เม.ย.53

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – กลุ่มคนเสื้อหลากสี ชุมนุมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ต่อต้านการยุบสภา

หมายเหตุ

 

18 เมษายน 2553
นปช. – แกนนำ นปช. มีมติระดมพลครั้งใหญ่ขับไล่รัฐบาลอีกครั้ง ภายใต้ยุทธศาสตร์ “รวมพลแดงทั่วไทย ไล่ทรราชมือเปื้อนเลือด” ในวันที่ 20 เมษายน ที่แยกราชประสงค์

รัฐบาล – เวลา 11.20 น. ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) พันเอก สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก ในฐานะโฆษกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) แถลงภายหลังการประชุม ศอฉ. ว่า จากกรณีการปฏิบัติภารกิจเมื่อวันที่ 10 เมษายน ที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน รวมทั้งประชาชนที่มาร่วมชุมนุมทางการเมืองต่างได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ส่วนหนึ่งก็มาจากเหตุของการปฏิบัติภารกิจที่มีลักษณะการเข้าปะทะกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถูกลอบทำร้ายโดยกลุ่มก่อการร้ายที่มีอาวุธสงครามหลายชนิด ทั้งวัตถุระเบิด กระสุนปืนจริง ทำให้เกิดความสูญเสียขึ้น ซึ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า ในพื้นที่การชุมนุมเป็นพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัย กลุ่มก่อการร้ายพร้อมที่จะใช้อาวุธทำร้ายทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชนที่มาร่วมชุมนุมได้ในทุกโอกาส ดังนั้น เมื่อเป็นพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัย ศอฉ.จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มมาตรการจุดตรวจ ด่านตรวจ จุดสกัด มีการตั้งด่านที่มีความแข็งแรงเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนในพื้นที่ภูมิภาค ต่างๆ เดินทางเข้ามายังพื้นที่การชุมนุมที่ไม่ปลอดภัย โดยหากมีความพยายามที่จะฝ่าฝืนเข้ามา มาตรการในเบื้องต้นคือ เจ้าหน้าที่มีความจำเป็นที่จะต้องสั่งห้าม แต่หากยังมีความพยายามที่จะจับกลุ่มกันแล้วฝ่าฝืนเข้าไป เจ้าหน้าที่มีความจำเป็นที่จะต้องผลักดันด้วยการใช้กำลังตามกฎของการใช้กำลังทั้ง 7 ประการ เริ่มจากมาตรการขั้นเบาไปขั้นหนัก แต่เราจะไม่ยอมให้กลุ่มผู้ที่จะพยายามเข้ามาในพื้นที่ชุมนุมได้กระทำการในลักษณะที่ทำร้ายเจ้าหน้าที่ ยึดยานพาหนะ อาวุธยุทโธปกรณ์ได้อีก หากมีความพยายามที่จะดำเนินการในลักษณะอย่างนั้น ก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้อาวุธ

“ถ้าเจ้าหน้าที่จะถูกทำร้าย เขามีความจำเป็นที่จะต้องปกป้องชีวิตของเขา และมีความจำเป็นที่จะต้องป้องกันไม่ให้ยานพาหนะและอาวุธยุทโธปกรณ์ถูกยึดไป เพราะที่ผ่านมาอาวุธและพาหนะถูกยึดไปส่วนหนึ่ง แม้ว่าจะได้ยานพาหนะคืนมา แต่อาวุธยุทโธปกรณ์ยังไม่ได้คืน ซึ่งจะเป็นภัยร้ายแรงในอนาคต หากมีผู้ไม่หวังดีหยิบฉวยอาวุธเหล่านี้ไปสร้างสถานการณ์”

นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าไปควบคุมในลักษณะของการส่งชุดระวัง ป้องกัน เข้าไปควบคุมในพื้นที่สูง อาคารสูงโดยรอบ เพื่อระวังป้องกันไม่ให้มีผู้ไม่หวังดีไปใช้พื้นที่เหล่านั้นแล้วสร้างสถานการณ์ โดยเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ที่จะไปปฏิบัติภารกิจเป็นชุดระวังป้องกัน เพื่อควบคุมพื้นที่สูงเหล่านั้นจะแต่งกายในชุดเครื่องแบบที่สามารถตรวจสอบ ได้อย่างชัดเจน เพื่อความสบายใจและแสดงความบริสุทธิ์ใจ ซึ่งโฆษก ศอฉ. อธิบายเพิ่มเติมกับผู้สื่อข่าวด้วยว่า การส่งเจ้าหน้าที่ไปควบคุมพื้นที่สูงนั้นเป็นการทำให้พื้นที่ปลอดภัย ซึ่งที่ผ่านมาก็เห็นแล้วว่าในพื้นที่ที่มีการชุมนุมมีกลุ่มก่อการร้ายแฝงตัวอยู่ เราไม่สามารถที่จะใช้อาวุธตรงหน้าได้ เพราะพี่น้องประชาชนปะปนอยู่ เพราะฉะนั้นวิธีการที่จะแยกกลุ่มผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งและบังคับไม่ให้กลุ่มก่อการร้ายสามารถใช้อาวุธได้อย่างมีเสรีต่อเจ้าหน้าที่และประชาชนก็ต้องใช้วิธีนี้

และ ศอฉ.ยังได้รับการแจ้งจากประชาชนส่วนหนึ่งที่หลงเชื่อคำยุยงแล้วเข้ามาร่วมการชุมนุม ซึ่งปรากฏว่ามีบรรดากลุ่มผู้ชักชวนหรือแนวร่วมที่ชักชวนเข้ามา ได้ไปยึดบัตรประจำตัวประชาชนของประชาชนเหล่านั้น ทำให้เขาไม่กล้าที่จะเดินทางกลับบ้าน จึงขอให้สื่อมวลชนช่วยกระจายข่าวว่า ประชาชนสามารถที่จะออกจากพื้นที่ได้ โดยไปแจ้งกับเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ว่ามีความประสงค์จะเดินทางกลับบ้าน แม้ว่าจะไม่มีบัตรประจำตัว ซึ่งเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ พร้อมที่จะอำนวยความสะดวกในการเดินทางกลับบ้านให้ แล้วจึงกลับไปแจ้งความว่าบัตรประจำตัวหรือเอกสารถูกยึด ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่สุดที่เจ้าหน้าที่จะสามารถดำเนินการกับการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย ได้ให้เสร็จเรียบร้อยเพื่อนำความสงบกลับมา ก็อยู่ที่ตัวพี่น้องประชาชนโดยทั่วไปที่หลงเชื่อ และถูกยุยุงให้กลับมาร่วมชุมนุม ฉะนั้นถ้าหากประชาชนออกจากพื้นที่การชุมนุมได้เร็วเท่าไร เจ้าหน้าที่ก็ปฏิบัติงานได้ง่ายเท่านั้น

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าต้องมีผู้ชุมนุมเหลือจำนวนเท่าไร ศอฉ. ถึงจะตัดสินใจสลายการชุมนุมโฆษก ศอฉ. กล่าวว่าบอกไม่ได้บอกแล้วก็ทำงานไม่สำเร็จ พร้อมเมื่อไรทำทันที

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า มวลชนจำนวนมากอย่างนั้นเจ้าหน้าที่จะสกัดอย่างไร โฆษก ศอฉ. กล่าวว่า มีจำนวนมาก เราก็จะเอาไปมากเหมือนกัน และหากต้องเกิดการปะทะก็ต้องเกิด โดยเป็นการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้นและเด็ดขาด เพราะถ้าเราไม่มีความเด็ดขาดในการบังคับใช้กฎหมายทุกอย่างจะไม่มีอะไรสำเร็จเลย แต่ถ้าคิดในมุมเดียวว่าไม่อยากให้เกิดความสูญเสีย บ้านเมืองเราไปไม่รอด เพียงแต่ว่าความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นนั้น เจ้าหน้าที่ได้พยายามอย่างที่ถึงสุดแล้วที่จะไม่ให้เกิดด้วยมาตรการต่างๆ พยายามอย่างที่สุดแล้วที่จะใช้วิธีการปฏิบัติจากเบาไปหาหนัก เจ้าหน้าที่ก็เป็นคนมีเลือดเนื้อ ถ้าจะเข้ามาทำร้ายเขาถึงแก่ชีวิตจะมายึดอาวุธเขาเหมือนเดิมแบบไร้ศักดิ์ศรี แล้วนำอาวุธไปซึ่งไม่รู้จะนำไปสร้างสถานการณ์ที่ไหนหรือเปล่า จะมีคนที่สูญเสียจากการนำอาวุธไปใช้อีกหรือเปล่าเรายอมไม่ได้อีกแล้ว (ดู “โฆษก ศอฉ. ลั่นกำลังพร้อมเมื่อไหร่จะสลายทันที,” ประชาไท, 19 เม.ย.53 ; “ศอฉ. เพิ่มมาตรการคุมเข้มการชุมนุม ตั้งด่านตรวจสกัดไม่ให้ประชาชนเดินทางเข้าพื้นที่ชุมนุมที่ไม่ปลอดภัย,” ศูนย์สื่อทำเนียบรัฐบาล, 18 เม.ย. 53

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – PAD จัดประชุมใหญ่เครือข่ายทั่วประเทศ ที่มหาวิทยาลัยรังสิต จ.ปทุมธานี

กลุ่มคนเสื้อหลากสี ชุมนุมที่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ต่อต้านการยุบสภา

หมายเหตุ

 

19 เมษายน 2553

นปช. – ช่วงบ่ายที่พรรคเพื่อไทย พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ แถลงขอเข้าเฝ้า ขอพึ่งพระบารมีในการพระราชทานแนวทางแก้ไขความขัดแย้ง

ที่สำนักงานสหประชาชาติ ถ.ราชดำเนิน นปช. ยื่นหนังสือถึงสหประชาชาติ ให้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาสังเกตการณ์การชุมนุม เพื่อป้องกันไม่ให้มีการใช้อาวุธปราบปรามประชาชน

นปช.สมุทรปราการ แห่ศพสมาชิกที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 10 เมษายน 2553 รอบเมืองปากน้ำ

รัฐบาล – กำลังทหาร-ตำรวจรพร้อมอาวุธครบมือเข้าตรึงพื้นที่ย่านถนนสีลม หลังจากมีข่าวว่าเสื้อแดงจะไปขยายพื้นที่การชุมนุมไปพื้นที่ดังกล่าว

เวลาประมาณ 21.00 น. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (เอ็นบีที) มีรายการสัมภาษณ์พิเศษนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี โดยมีนายแทนคุณ จิตต์อิสระ เป็นผู้ดำเนินรายการ

นายอภิสิทธิ์ได้ชี้แจง ถึงการปรับเปลี่ยนหน้าที่ของ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ใน ศอฉ.ว่าเป็นไปเพื่อความเหมาะสมที่จะให้สายการบังคับบัญชากระชับและเข้มข้นมากขึ้น โดยฝ่ายนโยบายก็ยังมี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ กำกับอยู่ ส่วนเรื่องการเมืองตนก็ยังดูอยู่ แต่ไม่ว่าคำตอบทางการเมืองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร การใช้กฎหมายก็ยังต้องดำรงอยู่ วันนี้คนที่ไม่เห็นด้วยกับการยุบสภาก็ออกมา เพราะเขามองว่าถ้าปล่อยให้ใช้กำลังข่มขู่ให้เปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยไม่สนใจกฎหมายก็จะไม่เป็นสังคมประชาธิปไตย เป็นปัญหาในระยะยาว สำหรับพื้นที่ราชประสงค์ รัฐบาลมีหน้าที่ต้องคืนสิ่งนี้ให้เป็นปกติแต่เป็นไปด้วยความยากลำบากขณะนี้เหมือนคน 2 กลุ่มถูกจับเป็นตัวประกัน กลุ่มแรกคือคนกทม.และภาคธุรกิจ กลุ่มที่สองคือ กลุ่มที่ไปชุมนุมเพราะมีความเดือดร้อนและกลายเป็นโล่กำบังให้กับแกนนำ เรากำลังจะมีมาตรการช่วยเหลือผลกระทบจากราชประสงค์ก่อน กลุ่มแรกคือ บรรดาลูกจ้างที่ขาดรายได้จากการปิดกิจการ แต่เรื่องที่ใหญ่กว่าคือเอาพื้นที่คืนต้องบังคับใช้กฎหมาย

เราทราบว่าคนส่วนใหญ่ อยากให้มันจบเร็ว ใครก็อยากให้จบเร็วที่สุด แต่ต้องคำนึงถึงสภาพความเป็นจริง ประสิทธิภาพ ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากวิธีการ คงบอกตารางเวลาไม่ได้ แต่เจ้าหน้าที่คงดูวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและเสียหายน้อย แต่การขีดเส้นกันคงไม่เป็นผลดีและเป็นการกดดันเจ้าหน้าที่ ตอนนี้ฝ่ายความมั่นคงก็ชี้แจงเป็นลำดับว่าการเผชิญกับกองกำลังใช้อาวุธต้อง ใช้อะไรบ้าง สังคมต้องช่วยกันให้เขาทำงานได้ภายใต้ภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อความสำเร็จของ งาน

เมื่อผู้ดำเนินรายการถามว่าจะสื่อถึงญาติผู้เสียชีวิตอย่างไรเพราะหลายคนเข้าใจผิด นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า อยากให้ความจริงได้รับการพิสูจน์ และยืนยันว่ากองทัพ เจ้าหน้าที่ทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ต้องได้รับการยกย่องว่าทำแบบมืออาชีพ ตามกฎกติกาสากล ไม่เช่นนั้นคงไม่มีความสูญเสียของทหารมากเช่นนี้ ต้องเปิดใจให้เป็นธรรม ส่วนการแก้ปัญหาเรื่องยุบสภา ตนก็ย้ำมาตั้งแต่ต้นว่าถ้ายุบแล้วบ้านเมืองแตกแยกมากขึ้นและไม่แน่ใจว่าจะได้สิ่งที่ฝ่ายต่างๆ ต้องการ ระบอบประชาธิปไตยจะมีปัญหา นี่ไม่ใช่เรื่องยื้อเวลา แต่กลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวว่าไม่ยุบสภาเขาคำนึงถึงบ้านเมืองในอนาคตไม่ใช่ เรื่องของรัฐบาล ส่วนข้อเรียกร้องที่มีต่อตนเองนั้นความจริงต้องพิสูจน์ออกมา

ผู้ดำเนินรายการกล่าวว่า อยากให้เชิญชวนผู้ชุมนุมบางส่วนที่ยังไม่รู้ว่าถูกชักจูงให้กระทำการที่อาจ ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนก็ไม่สบายใจที่มีเรื่องนี้คาบเกี่ยวกับการชุมนุมมาตลอด มีสื่อที่ก้าวล่วงสถาบันของชาติ แม้แต่ผู้นำทางการเมืองบางคนก็เริ่มพูดก้าวล่วงไปเรื่องอื่นแล้ว เราไม่ควรยอมรับสนับสุนนสิ่งเหล่านี้

ผู้ดำเนินรายการแสดงความเห็นว่าดูเหมือน พล.อ. อนุพงษ์ก็ล้วงลูกฝ่ายการเมืองอยู่บ้าง เช่นบอกให้แก้การเมืองด้วยการเมือง นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ความจริงก็พูดตรงกัน ส่วนของการเมืองก็ต้องไปว่ากัน แต่เรื่องความมั่นคงท่านก็ต้องรับผิดชอบ (ดู “มาร์คแจงปรับหัวศอฉ.ให้เข้มขึ้น ย้ำเคลียร์เร็วสุดแต่ยังไม่ขีดเส้น เร่งเยียวยาลูกจ้างราชประสงค์,” prachatai, 19 เม.ย.53

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – เวลา 14.00 น. กลุ่มองค์กรภาคประชาชน 16 องค์กร ประกอบด้วย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล, สถาบันพระปกเกล้า, ศูนย์สันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.), เครือข่ายหยุดทำร้ายประเทศไทย ทุกฝ่ายหยุดใช้ความรุนแรง, เครือข่ายสันติวิธี, กลุ่มประชาชนผู้ไม่เอาสงครามกลางเมือง, กลุ่มนักวิชาการประชาธิปไตยเห็นต่างกันได้ แต่อย่าใช้ความรุนแรง, เครือข่ายจิตอาสา, คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35, เครือข่ายพุทธิกา, กลุ่มนักศึกษาใส่ใจไทย, องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.), กลุ่มเยาวชนศึกษาสันติวิธี, ศูนย์อาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ มูลนิธิชุมชนไท ได้เดินทางไปยื่นหนังสือถึงนายกฯ และ ผอ.ศอฉ. ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ เพื่อเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้สันติวิธีและการเจรจา ช่วยกันพาประเทศไทยออกจากวิกฤต จากนั้นตัวแทนกลุ่มองค์กรภาคประชาชน 16 องค์กร ได้เดินทางไปยังแยกราชประสงค์ เพื่อยื่นหนังสือดังกล่าวให้แก่แกนนำ นปช.ด้วยเช่นกัน โดยกลุ่มดังกล่าวมีข้อเสนอ 5 ข้อ ได้แก่

  1. ขอให้การสูญเสียเลือดเนื้อและชีวิตในเมื่อวันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมาเป็นบทเรียนแก่ทุกฝ่ายว่า ความรุนแรงไม่ใช่หนทางที่จะพาประเทศไทยออกจากวิกฤตได้ เพราะทำให้ความขัดแย้งแตกแยกยิ่งรุนแรง และทำให้ความสมานฉันท์ของคนในประเทศยิ่งเกิดได้ยากยิ่งขึ้น การใช้กำลังบังคับให้ยุติการชุมนุม หรือผลักดันผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่นั้น ถ้ามีผู้ชุมนุมจำนวนมากเป็นหมื่นคนขึ้นไปแล้ว ประสบการณ์ของทุกประเทศทั่วโลกและของประเทศไทยคือ ถึงแม้จะพยายามลงมือโดยไม่ให้มีการสูญเสีย แต่ไม่เคยมีประเทศใดสามารถทำสำเร็จได้โดยไม่มีการสูญเสียเลือดเนื้อเลย แต่กลับยิ่งทำให้เหตุการณ์ลุกลามไปมากขึ้นทั้งสิ้น โดยเฉพาะสำหรับประเทศไทยในขณะนี้ที่มีกลุ่มบุคคลที่ไม่ทราบสังกัดที่แน่ชัด เข้ามาใช้ความรุนแรงด้วยจะยิ่งทำให้เกิดความสูญเสียมากยิ่งขึ้น การชุมนุมของ นปช. ที่สี่แยกราชประสงค์ เป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องหาทางคลี่คลายแก้ไข แต่ขอให้ไม่ใช้วิธีการรุนแรงและการสลายการชุมนุม เพราะจะเกิดความสูญเสียยิ่งไปกว่าที่ผ่านมา และจะยิ่งทำให้เหตุการณ์ลุกลามบานปลายจนถึงขนาดอาจจะเกิดสงครามกลางเมืองได้ และในด้านของผู้ชุมนุมก็ต้องไม่ใช้ความรุนแรง และไม่ให้มีอาวุธในที่ชุมนุม

 

  1. ขอให้ทั้งสองฝ่ายถอยคนละก้าว เพื่อเปลี่ยนเส้นทางที่กำลังพาประเทศไทยมุ่งหน้าไปสู่การแตกหักและความพัง พินาศของทุกฝ่าย มาใช้ “สันติวิธี” ในการแก้ปัญหา โดยขอให้รัฐบาลถอยก้าวหนึ่งด้วยการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง และ ขอให้คนเสื้อแดงถอยก้าวหนึ่งด้วยการเปลี่ยนที่ชุมนุมจากสี่แยกราชประสงค์ เป็นพื้นที่อื่น หรืออย่างน้อยต้องเปิดพื้นที่ให้ห้างร้านต่างๆ ในบริเวณนั้นสามารถทำการได้ตามปกติเพื่อลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการค้า ซึ่งไม่ได้มีแต่ผู้ประกอบการรายใหญ่ แต่มีผู้ประกอบการรายย่อยๆ พนักงาน และคนหาเช้ากินค่ำจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากในขณะนี้ และควรหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวที่จะนำไปสู่การปะทะหรือการสูญเสีย ทุกฝ่ายควรตระหนักว่า “การเมือง” ในระบอบประชาธิปไตยคือ “การเอาชนะใจประชาชน” ไม่ใช่ด้วยการใช้กำลัง หรือการบังคับให้คนอื่นต้องปฏิบัติตาม การถอยก้าวหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียเลือดเนื้อไม่ใช่ความพ่ายแพ้ แต่จะชนะใจประชาชน และจะเป็นการรุกในทางการเมือง ฝ่ายใดยอมถอยก้าวหนึ่งก่อนจะได้ความชอบธรรมในทางการเมือง และทำให้อีกฝ่ายต้องถอยด้วย ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีโอกาสอีกครั้งในการหาทางออกโดยที่ไม่ต้องแลกด้วย เลือดเนื้อชีวิต
  2. ขอให้ทุกฝ่ายใช้วิธีการเจรจาและการประนีประนอมกันในการแก้ปัญหา ในการเจรจาที่ผ่านมาทั้งสองฝ่ายต่างเห็นพ้องต้องกันแล้วว่า วิกฤตการณ์ทางการเมืองและความขัดแย้งของคนในประเทศควรจบที่การเลือกตั้ง ครั้งหน้า สิ่งที่แตกต่างกันมีแต่เพียงว่าเราควรมีการเลือกตั้งเมื่อไร สภาผู้แทนราษฎรเหลือเวลาเพียง 1 ปี 8 เดือน ถ้าเราเลือกตั้งเร็วขึ้นและยุติปัญหาได้ ก็ควรจะเป็นหนทางที่ประเทศไทยควรเลือกมากกว่าวิถีทางที่มุ่งหน้าไปสู่การแตก หักและความสูญเสีย รัฐบาลยอมที่จะให้มีเลือกตั้งเร็วขึ้นแล้ว คนเสื้อแดงควรที่จะยอมประนีประนอมในเรื่องระยะเวลาด้วย เพราะมีประชาชนจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วยกับการยุบสภา และยังมีความเห็นที่หลากหลายที่ทั้งสองฝ่ายควรต้องรับฟัง ดังนั้นทั้งสองฝ่ายควรผ่อนเงื่อนไขเข้าหากัน และหากรอบเวลาที่ยอมรับกันได้ทุกฝ่าย เพราะประชาธิปไตยนั้นไม่มีใครได้ 100 เปอร์เซ็นต์ตามที่ต้องการ พรรคการเมืองต่างๆ ในสภา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลก็ควรใช้กลไกรัฐสภาและมีการ เจรจากันเพื่อช่วยหาทางออกให้กับประเทศด้วย
  3. ขอให้ทุกฝ่ายหยุดการนำเสนอข้อมูลที่เป็นด้านเดียว เพราะในสถานการณ์ความขัดแย้งแบ่งข้างของคนในประเทศเช่นนี้ การที่แต่ละฝ่ายต่างให้ข้อมูลด้านเดียวในการสร้างความชอบธรรมให้กับฝ่ายของ ตนเอง จะยิ่งนำไปสู่ความเกลียดชังและความแตกแยกของคนในประเทศยิ่งขึ้น
  4. ขอให้ทหารอย่าทำรัฐประหารอีก เพราะจะยิ่งทำให้ประเทศไทยยิ่งถลำลึกลงไปในวิกฤตการณ์ยิ่งขึ้น และจะทำให้ประชาธิปไตยที่ทุกฝ่ายช่วยกันประคับประคองและพาเดินหน้ามาจนถึง ขณะนี้จะถอยหลังไปหลายสิบปี กองทัพจากที่เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายให้กับรัฐบาลจะกลายเป็นคู่ขัด แย้งโดยตรง และจะถูกต่อต้านจนจะนำไปสู่การสูญเสียเลือดเนื้อชีวิต ซึ่งจะทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายจนแก้ไขไม่ได้ยิ่งขึ้น นับจากนี้ไปคนไทยต้องเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาโดยใช้วิถีทางประชาธิปไตยเท่านั้น

น.ส.สาลี อ่องสมหวัง ประธานกลุ่มผู้ไม่เอาสงครามกลางเมือง หนึ่งใน 16 องค์กรภาคประชาชนที่เข้ายื่นหนังสือถึงรัฐบาล ให้สัมภาษณ์หลังเดินทางเข้ามาพบแกนนำ นปช. เพื่อยื่นข้อเรียกร้อง 5 ข้อว่า ตัวแทน 16 องค์กรภาคประชาชนจะเข้าพบผู้บริหารสถานีโทรทัศน์แต่ละช่อง ในวันที่ 20 เมษายนนี้ เริ่มจาก 10.00 น. เข้าพบผู้บริหารช่อง 9 ต่อด้วยช่อง 5 เวลา 14.00 น. และช่อง 3 เวลา 16.30 น. เพื่อขอให้มีรายการที่จะเปิดโอกาสหาทางออกจากความรุนแรงในภาวะวิกฤต และช่วยป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรง นอกจากนี้ กลุ่มจะมีการจัดกิจกรรมต่อเนื่อง เช่น การสวดมนต์ภาวนาของทุกศาสนา และในวันที่ 20 เมษายน จะจัดเวทีเครือข่ายของภาคสังคม นักธุรกิจและนักวิชาการที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ (ดู ”16 องค์กรภาคประชาชนยื่นหนังสือรัฐบาลอย่าสลายรุนแรง-แนะสองฝ่ายถอยเจรจา,” ประชาไท, 20 เม.ย.53)

กลุ่มคนเสื้อหลากสีชุ,นุมที่สวนจตุจักร สนับสนุนนายกฯ และคัดค้านการยุบสภา

เครือข่ายประชาชนคนรักชาติฯ ภูเก็ต (multi ภูเก็ต)ชุมนุมศาลากลาง ให้กำลังใจรัฐบาล คัดค้านการยุบสภา ที่ศาลากลาง ภูเก็ต

หมายเหตุ

 

20 เมษายน 2553

นปช. – แกนนํา นปช. สั่งทําปลอกแขนใหม่ให้กับสื่อมวลชนทุกแขนงที่เข้ามาทําข่าวในพื้นที่การชุมนุม เพื่อป้องกันผู้ไม่ประสงค์ดีและฝ่ายรัฐบาลแฝงตัวปะปนเข้ามาเป็นผู้สื่อข่าว โดยปลอกแขนใหม่เป็นสีเขียวสกรีนคําว่า “ยุบ“ยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชน” นปช.จะมอบให้กับผู้สื่อข่าวที่ลงทะเบียนยืนยันตัวตนและต้นสังกัดชัดเจน หากผู้สื่อข่าวคนใดไม่มีปลอกแขนใหม่ จะไม่อนุญาตให้เข้ามาบริเวณด้านหลังเวทีที่มีแกนนำหลายคนประจำอยู่อย่างเด็ดขาด

เวลา 10.30 น. ที่หลังเวทีใหญ่ ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร เข้าหารือกลุ่มแกนนำ อาทิ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นพ.เหวง โตจิราการ นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ นานประมาณ 30 นาที จากนั้นทั้งหมดร่วมกันแถลงข่าว โดยผู้ว่าฯกทม.กล่าวว่า มาเยี่ยมผู้ชุมนุมด้วยความห่วงใย หารือกันหลายเรื่องๆแรกเกี่ยวกับพื้นที่ถนนราชดำเนิน ตั้งแต่สะพานมัฆวานรังสรรค์ ถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แกนนำนปช.ยืนยันไม่กลับไปอีก จะชุมนุมที่ราชประสงค์เป็นหลัก

หลังเที่ยง นายณัฐวุฒิพร้อมด้วยแกนนำขึ้นเวทีแถลงการเคลื่อนไหวยกระดับเพื่อเรียก ร้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ยุบสภาว่า ขณะนี้มีการจัดกำลังทหารเข้ามาถนนสีลม ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลเตรียมสลายการชุมนุมในไม่ช้า เมื่อเป็นเช่นนี้ทางแกนนำขอให้พี่น้องเสื้อแดงมารวมพลังที่เวทีราชประสงค์ ทั้งนี้นายกฯอยู่ในค่ายทหาร ประชุมครม. ในค่ายทหาร ประกอบกับสั่งกำลังทหารเข้ามาซุ่มในจุดต่างๆ อย่างผิดสังเกต บางคนอยู่ในลักษณะพร้อมยิง ทั้งที่คนเสื้อแดงไม่ได้เข้าไปในพื้นที่สีลม ดังนั้นเราขอประกาศว่าจะไม่เข้าไปในพื้นที่สีลม

นายณัฐวุฒิกล่าวอีกว่า เมื่อรัฐบาลจะใช้กำลังทหารสลายการชุมนุมอย่างสงบ เราจึงขอประกาศมติอย่างเป็นทางการของกลุ่มนปช. ว่าจะปรับเปลี่ยนบรรยากาศให้เป็นลักษณะ สู้รบ ผู้ชุมนุมทุกคนจะแปรสภาพจากนักท่องเที่ยวเป็นนักรบ เราจะตั้งค่ายหอประตูศึกเพื่อเตรียมรับมือกำลังทหาร โดยตั้งด่านสำคัญทั้ง 6 จุด มีแม่ทัพประจำด่าน ดังนี้ ด่านที่ 1 บนถนนสีลม ตั้งประจันหน้ากับกลุ่มทหาร มีนายขวัญชัย ไพรพนา นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ นายพายัพ ปั้นเกตุ และนายชินวัฒน์ หาบุญพาด ดูแลพื้นที่ด่านที่ 2 บริเวณแยกมาบุญครอง พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรรัตน์ นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก ดูแลด่านที่ 3 ถนนอังรีดูนังต์ นายสมชาย ไพบูลย์ และนายประแสง มงคลศิริ ดูแลด่านที่ 4 แยก ประตูน้ำ นายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ และพ.ต.ต. เสงี่ยม สำราญรัตน์ ดูแลด่านที่ 5 ถนนเพลินจิต นายนิสิต สินธุไพร นายสำเริง ประจำเรือ นายวันชนะ เกิดดี ดูแล และด่านที่ 6 ถนนสารสิน หลังสวนลุมพินี นายเพชรวรรต วัฒนพงษ์ศิริกุล และนางกัลยาภัทร มณีจักร หรือ ดีเจอ้อม ซึ่งเป็นด่านของกลุ่มนัรบล้านนากลุ่มรักเชียงใหม่ 51 ดูแล

นายณัฐวุฒิกล่าวต่อว่า ด่านทั้งหมดขอให้ผู้ชุมนุมให้ความร่วมมือตั้งด่านให้หนาแน่น ป้องกันไม่ให้ทหารเข้ามาสลาย และแบ่งหน้าที่จัดเวรยาม ป้องกัน จัดสิ่งกีดขวาง และช่วงเย็นจะให้แกนนำรักษาด่านทุกด่านมารายงานความคืบหน้าบนเวที ทั้งนี้มีข่าวว่าภายในไม่กี่วันนี้จะมีการใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมอย่าง แน่นอน จึงขอให้ป้องกันตัวเองให้ดี หลังจากค่ายหอประตูศึกพร้อมแล้ว เราจะออกไปลุยกับนายอภิสิทธิ์ทันที

นายณัฐวุฒิ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีกลุ่มคนใช้วิชามารขึ้นป้ายบริเวณกทม. ระบุข้อความว่า “รัฐไทยใหม่ ชัยชนะแดงทั้งแผ่นดิน ทักษิณจงเจริญ” และลงชื่อว่ารปช.รวมทั้งมีข้อความระบุว่า ประธานาธิบดีทักษิณ ชินวัตร ประมุชแห่งรัฐไทยใหม่ ลงชื่อนปช.” ขอประกาศว่าการกระทำดังกล่าวไม่เกี่ยวกับนปช.และเป็นความพยายามใช้โมเดล 6 ตุลาฯ 19 ใส่ร้ายประชาชนเพื่อเข่นฆ่าทำร้ายประชาชน ดังนั้นหากใครเห็นการกระทำดังกล่าวขอให้แจ้งมายังแกนนำ เพื่อแจ้งตำรวจดำเนินคดี คนพวกนี้ต้องโดนจัดการอย่างเด็ดขาด

ในช่วงบ่าย บริเวณ แยกศาลาแดง ถนนราชดำริตัดถนนสีลม กลุ่มเสื้อแดงตั้งด่านป้องกันขนาดใหญ่ที่สุด โดยนำไม้ไผ่ปลายแหลมมาขัดกันทำเป็นบังเกอร์กั้นปิดทางเข้าออกถนนราชดำริ มีตาข่ายสีเขียวคลุมไว้

ต่อมาบนเวทีราชประสงค์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อแถลงว่า ฝากถึงนายอภิสิทธิ์ว่าถ้าไม่อยากเป็นผู้พ่ายแพ้ ขอให้ยุบสภาแสดงความรับผิดชอบการสลายการชุมนุม และนำการเมืองเข้าสู่การเลือกตั้ง ก่อนจะกลายเป็นทรราชตลอดกาล หากยุบสภาแล้วนปช.จะประชุมแกนนำเสื้อแดงทั่วประเทศ เพื่อลงสัตยาบันว่าจะเปิดให้หาเสียงโดยไม่สกัดขัดขวาง และอาสาเป็นหูเป็นตาดูแลไม่ให้เกิดเหตุ ระหว่างรอคำตอบวันที่ 21 เม.ย. จะเคลื่อนออกจากที่ตั้งเพื่อขับไล่นายอภิสิทธิ์

แกนนำนปช.กล่าวอีกว่า กรณีชายชุดดำในคืนวันที่ 10 เม.ย. ตนไม่รู้จักกองกำลังนี้ ไม่สามารถติดต่อหรือสั่งการได้ ดังนั้นจะบอกให้เลิกปฏิบัติการไม่ได้ เท่าที่รู้คือเป็นทหารที่รับไม่ได้กับการฆ่าประชาชนของนายทหารยุคปัจจุบัน ส่วนจะเป็นผู้ก่อการร้ายหรือเป็นใคร ให้ถามนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ที่บอกให้ตนสั่งชายชุดดำหยุดยิงทหาร เพราะเขาระเบิดทหารของรัฐบาลตาย แต่ตนตอบว่าสั่งไม่ได้ นายกอร์ปศักดิ์จึงบอกว่าถ้าเช่นนั้นจะจัดการกับชายชุดดำ ตนก็บอกว่าจัดการได้เต็มที่เลย แต่พออีกวันรัฐบาลกลับบอกว่าคนเสื้อแดงเป็นผู้ก่อการร้าย ตนไม่เชื่อว่าคนชุดดำ 2-3 คนจะทำให้คนตายและบาดเจ็บมากถึงเพียงนี้

“วันที่ 21 เม.ย.กลุ่มคนเสื้อแดงจะเคลื่อนขบวนคาราวานแจกซีดี “ความจริง10 เม.ย. ใครฆ่าประชาชน” ความยาว 30 นาที จำนวน 1 ล้านแผ่น ให้ประชาชนทั่วประเทศ ทั้งในกรุง เทพฯและต่างจังหวัด” แกนนำ นปช. กล่าว

 

ด้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ออกแถลงการณ์ผ่านนายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษา ใจความสรุปว่า ตามที่มีบุคคลผู้ไม่ปรารถนาดีต่อบ้านเมืองขึ้นป้ายบริเวณถนนสีลม ทำนองว่าผมเป็นประมุขของรัฐไทยใหม่ เป็นประธานาธิบดีนั้น ผมขอประณามการกระทำนี้ ใช้ความเท็จจงใจใส่ร้ายป้ายสีทางการเมืองที่เลวร้ายที่สุด เป็นการกระทำของผู้ไม่ปรารถนาดีต่อบ้านเมือง สร้างความแตกแยกในแผ่นดินให้ขยายวงกว้างออกไปอีก บุคคลดังกล่าวกำลังเพลิดเพลินกับการทุจริตเงินภาษีของประชาชน ซ้ำร้ายยังตอกลิ่มสร้างความแตกแยกในชาติ

แถลงการณ์ พ.ต.ท. ทักษิณ ระบุอีกว่า ขอเรียกร้องให้บุคคลเหล่านี้ยุติการกระทำ เพราะกำลังทำบาปและสร้างความแตกแยกในชาติ คนไทยทุกคนรวมทั้งผมและครอบครัว เทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไม่มีใครคิดดำเนินการตามที่ระบุในข้อความใส่ร้าย ขอเรียกร้องเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนหาตัวกลุ่มบุคคลเบื้องหลังการกระทำดัง กล่าว นำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษอย่างเฉียบขาดต่อไป (ดู ”วิถีปืนจากฝั่งทหาร พฐ.ชี้แล้ว ยิงนักข่าวยุ่นตาย,” ข่าวสดออนไลน์, 21 เม.ย. 53)

รัฐบาล – ที่ประชุม ครม. เห็นชอบแต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติมในคณะกรรมการ ศอฉ. ให้แต่งตั้ง คุณหญิงแพทย์หญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม เป็นกรรมการ ศอฉ.และให้มีผลตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน

ครม. ยังอนุมัติรับโอนนางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ภรรยาของ พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม จากตำแหน่ง ผอ.สำนักบริหารกลาง สำนักงานปลัด ก.วิทยาศาสตร์ฯ ให้มาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำด้านสังคม สำนักนายกรัฐมนตรี (ดู “ครม. ตั้งหมอพรทิพย์เป็นกรรมการ ศอฉ. ตั้งภรรยา พ.อ.ร่มเกล้า เป็นที่ปรึกษานายก,” ประชาไท, 20 เม.ย.53)

นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ออกประกาศกรมสอบสวนคดีพิเศษ เรื่อง มติคณะกรรมการคดีพิเศษให้คดีความผิดทางอาญาอื่นเป็นคดีพิเศษ

ให้การกระทำความผิดทางอาญากรณีก่อการร้าย การขู่บังคับให้รัฐบาลกระทำการใดๆ การทำร้ายประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ และกระทำต่ออาวุธยุทธภัณฑ์ของทางราชการ อันเกี่ยวกับการชุมนุมที่มิชอบด้วยกฎหมายในช่วงปลายปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นไปในราชอาณาจักร รวมถึงความผิดที่ต่อเนื่องหรือเกี่ยวพันกัน เป็นคดีพิเศษ (ดู ประกาศกรมสอบสวนคดีพิเศษ เรื่อง มติคณะกรรมการคดีพิเศษให้คดีความผิดทางอาญาอื่นเป็นคดีพิเศษ วันที่ 20 เม.ย. 53)

09.00 น. ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. เป็นประธานประชุมศอฉ. จากนั้นเวลา 10.30 น. พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศอฉ. แถลงว่า ที่ประชุมทบทวนการปฏิบัติงานหลังจากที่เมื่อวันที่ 19 เม.ย. ได้มีการเรียกผู้บังคับหน่วยถึงระดับผู้บังคับกองพันมาชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติเมื่อถูกกลุ่มผู้ชุมนุมเข้ากดดันกำลังเจ้าหน้าที่ วันนี้ศอฉ.ได้มีการทบทวนเรื่องเดิม และมีการรายงานข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม ทั้งในส่วนข่าวส่วนกลาง และหน่วยหทารที่ลงพื้นที่แล้ว ตรงกันว่า กลุ่มก่อการร้ายที่แฝงตัวอยู่ในการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดง ได้มีการเตรียมระเบิดขว้าง ระเบิดขวด ไม้เหลาแหลมทั้งที่ใช้ลักษณะของการถือแทง หรือยิงจากหน้าไม้ ไม้ที่ตอกตะปู น้ำกรด ฉะนั้นศอฉ. จึงมีความจำเป็นต้องชี้แจงให้ทราบว่า เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจจำเป็นต้องปรับแนวทางการปฏิบัติ จากเดิมที่เจ้าหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎการใช้กำลัง ตั้งแต่การใช้โล่ดันจนถึงขั้นสุดท้ายคือการใช้กระสุนยาง ไม่ใช้กระสุนจริงในการป้องกันชีวิตของเจ้าหน้าที่ ซึ่งวันนี้จะต้องปรับใหม่โดยจำเป็นจะต้องรักษาระยะห่างระหว่างเจ้าหน้าที่ ทหาร ตำรวจ ผู้ปฏิบัติงาน กับกลุ่มผู้ชุมนุมให้ได้ระยะประมาณ 30 – 40 หลาเพื่อความปลอดภัย คงจะไม่สามารถใช้โล่ไปดันกันอยู่ได้ เนื่องจากผู้ชุมนุมมีระเบิดขว้าง น้ำกรด ไม้เหลาแหลม ซึ่งล้วนแต่ทำให้เสียชีวิตได้ทั้งสิ้น ฉะนั้นขั้นตอนการปฏิบัติจะเป็นลักษณะของการรักษาระยะให้ห่างจากกลุ่มผู้ชุมนุมในระยะดังกล่าว ทั้งนี้ เริ่มต้นอาจจะต้องทำการยิงด้วยแก๊สน้ำตาจากเครื่องยิง เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ชุมนุมบุกผ่านแนวสกัดเข้ามา ถ้าเลยจากนั้นจะเป็นไปตามขั้นตอนจากเบาไปหาหนัก คือการใช้น้ำ เครื่องขยายเสียงกำลังสูง แก๊สน้ำตาชนิดขว้าง และใช้กระสุนยางที่ยิงจากปืนลูกซอง แต่ถ้าไม่สามารถ สกัดกลุ่มผู้ชุมนุมได้ก็จำเป็นที่จะต้องปฏิบัติการในลักษณะความเฉียบขาดเพื่อปกป้อง ชีวิต เพราะถือว่าได้พยายามที่จะดำเนินการตามขั้นตอน เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียอย่างที่สุดแล้ว ถ้าผู้ชุมนุมยังบุกเข้ามาอีก เจ้าหน้าที่ก็มีความจำเป็นต้องใช้อาวุธ

“แต่อย่างที่เรียนให้ทราบเมื่อวานนี้ว่า การใช้อาวุธก็ต้องมองให้ได้ใน 3 ลักษณะ คือเราไม่ได้หมายที่จะเอาชีวิตท่าน เราทำเพื่อหยุดยั้งการปฏิบัติที่ผิดกฎหมายของท่านให้ได้ แล้วก็สมเหตุสมผล ซึ่งจากภาพการปฏิบัติที่จะเกิดขึ้น ถ้าหากมี เชื่อมั่นว่าพี่น้องประชาชน สื่อมวลชนจะเข้าใจ จากวิธีการในการปฏิบัติ อาวุธปืน กระสุนจริงก็คงจะยิงไปในพื้นที่ต่าง ๆ ที่เป็นไปตามหลักการทั้ง 3 ข้อ นอกเสียจากว่าเราจะตรวจพบกลุ่มผู้ที่มีอาวุธสงครามอยู่ในมือ ซึ่งอยู่ทางด้านหลังของกลุ่มผู้ชุมนุม และพยายามที่จะยิงทำร้ายประชาชนผู้ชุมนุม หรือยิงทำร้ายเจ้าหน้าที่ อย่างนี้ก็มีความจำเป็นที่เจ้าหน้าที่ทหารที่มองเห็นเป้าหมายจะสามารถใช้ อาวุธของเขา ในการที่จะยับยั้งสิ่งนี้ได้” โฆษกศอฉ. กล่าว

 

อย่างไรก็ตาม โฆษกศอฉ. กล่าวว่า หากวันข้างหน้ามีการขอพื้นที่การชุมนุมคืน เราก็ยังปฏิบัติตามกฎของการใช้กำลัง 7 ข้ออยู่เหมือนเดิม คือการใช้โล่ดัน การแสดงกำลัง การใช้กระบอง ฉะนั้นจึงต้องแยกแยะให้ถูกว่า การปฏิบัติที่เจ้าหน้าที่เคลื่อนที่เข้าหากลุ่มผู้ชุมนุมนั้นก็เป็นไปตาม หลักสากลจากเบาไปหาหนัก แต่ถ้ากลุ่มผู้ชุมนุมพยายามที่จะเคลื่อนที่ไปในที่ต่างๆ ที่ไม่สามารถให้ไปได้ เนื่องจากจะทำความสูญเสียให้กับสังคมโดยรวม ก็จะดำเนินการในลักษณะของการรักษาระยะต่อห่างจากกลุ่มผู้ชุมนุมในระยะ 30 – 40 หลา

ที่ประชุมยังพูดถึงกลุ่มคนเสื้อแดงระบุมีคนนำเอาข้อมูลการประชุมระดับผู้บังคับกองพันไปแจ้งกับแกนนำ มีกระดาษเขียนชัดเจนว่าภายใน 7 วันจะดำเนินการอย่างนั้นอย่างนี้ ยอมให้มีผู้สูญเสียได้จำนวนเท่านั้นเท่านี้ ผมยืนยันว่าเป็นข้อมูลเท็จ ในฐานะโฆษกศอฉ.รับผิดชอบเป็นเลขานุการการประชุม ไม่เคยทำเอกสารอย่างนั้น ขอให้รู้ด้วยว่าเป็นเท็จ ปกติการประชุมทุกครั้งประธานไม่ว่านายสุเทพ เทือกสุบรรรณ รองนายกฯ หรือพล.อ.อนุพงษ์ จะย้ำเสมอว่าต้องปฏิบัติอย่างละเอียดรอบคอบ ให้นึกเสมอว่าคนที่เคลื่อนไหว หรือเราเคลื่อนไหวก็คือคนไทยด้วยกัน ส่วนการสลายการชุมนุมพร้อมเมื่อไหร่ทำทันที”โฆษกศอฉ.กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกฯ ขอเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพึ่งพระบารมีแก้ไขปัญหาของประเทศ พ.อ.สรรเสริญกล่าวว่า มีคนพูดเยอะแล้ว และท่านโตกว่าตน ท่านน่าจะคิดได้ดีมากกว่าตน ให้สังคมเป็นผู้พิจารณา และเจ้าหน้าที่จะไม่ยอมให้ผู้ชุมนุมบุกไปที่ร.พ.ศิริราชเด็ดขาด เพราะเรื่องนี้สำคัญ และพระองค์ท่านอยู่เหนือความขัดแย้งด้านการเมือง

ด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผอ.ศอฉ. ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวที่ถามถึงข่าวที่จะมีการขอคืนพื้นที่การชุมนุมภายใน 1-2 วันนี้ว่า รัฐบาลตั้งใจบังคับใช้กฎหมาย ส่วนจะเป็นวันไหน ตอบไม่ได้ แต่ศอฉ.ดำเนินการทุกอย่างด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังให้มีความเสียหายน้อยที่สุด จึงขึ้นอยู่กับช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสม ส่วนการให้เจ้าหน้าที่พกอาวุธจริงนั้น ไม่มีเจตนาทำร้ายประชาชน แต่เหตุการณ์เวันที่ 10 เม.ย. เราเห็นว่ามีคนตั้งใจทำร้ายเจ้าหน้าที่ ศอฉ.จึงมีมติชัดเจนว่าให้เจ้าหน้าที่ใช้อาวุธจริงได้

ส่วนที่กลุ่มพันธมิตรฯ ขีดเส้นรัฐบาลจัดการม็อบเสื้อแดงภายใน 7 วันนั้น นายสุเทพกล่าวว่า นายกฯ เรียนกับประชาชนผ่านทีวีไปแล้วเมื่อคืนวันที่ 19 เม.ย.ว่าไม่ควรมาบังคับขีดเส้นกัน การแก้ปัญหาต้องให้เจ้าหน้าที่ทำงานอย่างอิสระ ดูความเหมาะสมของเหตุการณ์ การกดดันว่าต้องทำภายในกี่วัน จะทำให้เจ้าหน้าที่กดดันและทำงานยาก

นายสุเทพกล่าวอีกว่า รัฐบาลยอมไม่ได้หากกลุ่มเสื้อแดงจะเคลื่อนไหวสร้างปัญหากับบ้านเมืองต่อไป รัฐบาลจะเดินหน้าจับกุมแกนนำ และผู้ก่อการร้ายที่รวมอยู่ในกระบวนการนี้ ส่วนที่แกนนำเสื้อแดงประกาศบนเวทีว่าศอฉ.สั่งการจับตายแกนนำนั้น ไม่เป็นความจริง เราตั้งใจดำเนินการทุกอย่างตามกฎหมาย แต่ถ้าต่อสู้ ใช้อาวุธทำร้ายเจ้าหน้าที่ ทางเจ้าหน้าที่ได้รับอนุญาตให้ใช้อาวุธจริงเพื่อปกป้องตัวเองได้

เวลา 13.50 น.ที่ศูนย์แถลงข่าวศอฉ. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ แถลงผลประชุมครม.ว่า ในที่ประชุมครม. นายสุเทพ ในฐานะผอ.ศอฉ.รายงานสถานการณ์ต่างๆ รวมทั้ง แนวทางแก้ปัญหา และครม.เห็นชอบหลักการตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) เสนอเรื่องชดเชยเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์วันที่ 10 เม.ย. โดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกับเหตุการณ์ 7 ต.ค. 2551 และสงกรานต์ปี 2552

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นการปูทางเพื่อดึงสถาบันลงมาหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ตนไม่สามารถตอบเช่นนั้นได้ แต่ยืนยันว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้น ชี้ให้เห็นว่าไม่ใช่เหตุบังเอิญ มีการเชื่อมโยงกับการกระทำหลายอย่างก่อนหน้านี้ เช่น การตัดต่อคลิปเสียง และมีความพยายามหลายอย่าง ซึ่งเป้าหมายความเคลื่อนไหวมีหลายสิ่งบ่งบอกว่าไปไกลกว่าเรื่องยุบสภาหรือ การเมืองเฉพาะหน้า หรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตนและรัฐบาล

นายกฯ กล่าวด้วยว่า แม้สถานการณ์จะมีข้อเรียกร้องเรื่องการเมืองและความเดือดร้อน แต่ยืนยันว่ามีขบวนการที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายและมีเป้าหมายการ เปลี่ยนแปลงซึ่งไปไกลกว่านั้น จึงขอความร่วมมือประชาชน แก้ไข ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและดีที่สุด คือช่วยกันแยกกลุ่มคนที่ไม่เกี่ยวกับขบวนการก่อการร้ายออกมาให้ได้ ซึ่งรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงจะไม่ยอมให้มีภัยคุกคามเกิดขึ้น จากกระบวนการนี้ เราต้องจัดการ

ผู้สื่อข่าวถามว่าเหตุผลที่นายกฯไม่เลือกยุบสภาหรือลาออกคืออะไร นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า

“สรุปง่ายๆ ว่าในการตัดสินใจทำทั้งสองอย่างไม่ได้แก้ปัญหา ผมคิดว่าประชาชนจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับแนวคิดเรื่องการจำนนต่อข้อเรียกร้อง เพราะจะทำให้สูญเสียความเป็นนิติรัฐ และมีผลกระทบรุนแรงต่อการใช้กฎหมายของบ้านเมืองในอนาคต ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองขณะที่สถานการณ์ยังเป็นแบบนี้ คงไม่ทำให้ปัญหาความแตกแยกหรือความรุนแรงหมดสิ้นไปได้ โดยเฉพาะถ้าเรามองเห็นถึงกระบวนการที่ไปไกลกว่าเรื่องที่จะพูดถึงผมหรือ รัฐบาล”

เมื่อถามว่าครม.พิจารณาทางออกอย่างไรบ้าง นายกฯกล่าวว่า นายสุเทพสรุปสถานการณ์และยืนยันถึงหลักที่พูดกันตลอดเวลาว่า ข้อเรียกร้องของประชาชนที่เป็นความเดือดร้อนและเป็นธรรม รัฐบาลพร้อมเดินหน้าแก้ไข ส่วนปัญหาการเมือง รัฐบาลไม่เคยปิดกั้น เริ่มตั้งแต่การเจรจา ฉะนั้นในฝ่ายการเมืองจะต้องพิจารณาร่วมกันต่อไป แต่การก่อการร้ายหรือวาระที่ไปไกลถึงขั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ส่วนนี้มีความจำเป็นต้องแก้ไขและดำเนินการโดยร่วมกันทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่ายความมั่นคง

จากนั้นนายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ แถลงผลประชุมครม.ว่า ครม.เห็นชอบตามที่นายกฯ เสนอขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติครม.ที่เกี่ยวข้องกับ กรอบอัตรากำลังข้าราชการพลเรือนสามัญในภาพรวม เพื่อรับโอนนางณิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ผอ. สำนักบริหารกลางอำนวยการระดับสูง สำนัก งานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภรรยาพ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ที่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 เม.ย. มาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกฯ ฝ่ายข้าราชการประจำด้านสังคม อำนวยการระดับสูง กลุ่มงานยุทธศาสตร์และการวางแผน สำนักเลขาธิการนายกฯ

จากนั้นนายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกฯ ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกฯ แถลงว่า นายกฯ และรองนายกฯ รายงานครม.ทราบถึงการทำงานของศอฉ. และการเพิ่มเติมกรรมการศอฉ. โดยให้พ.ญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผอ.สถาบันนิติวิทยา ศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม เป็นกรรมการศอฉ. เพื่อให้การทำงานของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์มีความละเอียดและรวดเร็ว ทั้งนี้ รองนายกฯ ลำดับเหตุการณ์และชี้แจงแนวทางดำเนินการของศอฉ. การปฏิบัติการวันที่ 10 เม.ย. อย่างละเอียด เน้นศอฉ.ปฏิบัติการกลางวัน ทหารเตรียมถอนกำลังออกแต่ผู้ที่มีพฤติกรรมก่อการร้าย ใช้อาวุธเข้าปะทะเจ้าหน้าที่จึงเกิดเหตุการณ์ขึ้น ขณะนี้เจ้าหน้าที่ถอนกำลังเพื่อฟื้นฟูและเพื่อเตรียมพร้อมปฏิบัติงาน รวมถึงปรับหัวหน้ารับผิดชอบเป็นพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.

นายปณิธาน กล่าวว่านายกฯ ชี้แจงต่อ ครม.ว่า งานของรัฐบาลแก้ปัญหาคู่กับศอฉ. คืองานด้านการเมืองกับงานด้านรักษาความสงบ ของศอฉ. โดยงานการเมืองมีความพยายามเจรจาอย่างต่อเนื่อง แต่เกิดเหตุวุ่นวาย กระทบต่อการเจรจาจึงเดินหน้าต่อไปไม่ได้

ผู้สื่อข่าวถามว่าการเจรจาระหว่างกลุ่มเสื้อแดงและรัฐบาลดำเนินไปถึงจุดไหน นายปณิธานกล่าวว่า นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกฯ ประสานงานอยู่ รัฐบาลยินดีเจรจาตั้งแต่แรก โดยช่วงเย็นวันนี้ หรือวันที่ 21 เม.ย. พรรคร่วมรัฐบาลจะประชุมกัน นายสุเทพคงเข้าประชุมด้วย เรื่องเจรจาน่าจะชัดเจนขึ้น

เมื่อถามว่าขณะนี้อำนาจสลายการชุมนุมอยู่ที่ใคร นายปณิธาน กล่าวว่า ชัดเจนว่าพล.อ.อนุพงษ์ได้รับหน้าที่ดูแลศอฉ. มีอำนาจเต็มที่ในการปราบปรามผู้ก่อการร้าย หากเกิดสถานการณ์ที่ไม่สามารถตัดสินใจได้ เกิดการปะทะทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ จะต้องนำเรื่องเข้าที่ประชุมศอฉ. โดยนายกฯ และรองนายกฯ รวมถึงผู้เกี่ยวข้องร่วมกันตัดสินใจ ส่วนตัวเลขของผู้ชุมนุมขณะนี้ ยอมรับว่าเพิ่มมากขึ้นจากช่วงวันหยุดสงกรานต์ที่ผ่านมา แต่ยังไม่ใช่จำนวนที่มากมาย กลางวันผู้ชุมนุมมีจำนวนลดลงและเพิ่มในช่วงค่ำ

เมื่อถามว่าทำไมรัฐบาลไม่สลายการชุมนุมในช่วงกลางวันที่มีผู้ชุมนุมน้อย นายปณิธาน กล่าวว่า การสลายหรือไม่สลาย ไม่ได้อยู่ที่ตัวเลขผู้ชุมนุม แต่รัฐบาลมีเป้าหมายว่าต้องแยกกลุ่มติดอาวุธที่แอบแฝงในกลุ่มผู้ชุมนุมออกมา อย่างไร รัฐบาลต้องจับแกนนำที่ถูกออกหมายจับ ให้ออกมาจากกลุ่มผู้ชุมนุม รัฐบาลต้องป้องกันประชาชนให้ปลอดภัย และต้องรักษาพื้นที่บริเวณแยกราชประสงค์ให้ปลอดภัย เนื่องจากมีศูนย์การค้าและห้างร้านที่มีความสำคัญ

วันเดียวกันเวลา 09.45 น. นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) เข้าพบ พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผบช.น. เพื่อ ประสานความร่วมมือกรณีอธิบดีดีเอสไอได้รับมอบหมายเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน คดีที่เกิดขึ้นในการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ชุมนุม เมื่อวันที่ 10 เม.ย. จากนั้นนายธาริต พล.ต.ท. สัณฐาน พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รองผบช.น. ฝ่ายสอบสวน พ.ต.อ.วีรวิทย์ จันทร์จำเริญ รอง ผบก.น.1 พ.ต.อ.พัลลภ สุวรรณบัตร รองผบก. น.2 ร่วมหารือกันที่ห้องประชุมปารุสกวัน 1 ใช้เวลาประมาณ 1 ช.ม.

นายธาริตกล่าวว่า ผบช.น.และรองผบช.น. ได้ให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงของบช.น.ร่วมสอบสวนคดีพิเศษที่จะเสนอต่อรมว. ยุติธรรม และนายกฯ โดยพล.ต.ต.อำนวยเป็นที่ปรึกษาการดำเนินคดีในคดีพิเศษ และหน่วยอื่นๆ เข้ามาร่วมทำงานอีกประมาณ 10 หน่วย คดีจะทำอย่างโปร่งใส เป็นธรรม ไม่โอนเอียง

เวลา 19.00 น.ที่ ร.11 รอ. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นประธานประชุม ศอฉ. จากนั้นเวลา 20.30 น. พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. แถลงว่า ที่ประชุมมีการพูดถึงเรื่องความพยายามของกลุ่มคนเสื้อแดงบางส่วนที่ พยายามจะสร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้นในสังคม โดยมีการรื้อถอนอิฐบล็อกซีเมนต์ไว้ทำร้ายเจ้าหน้าที่ ซึ่งทางกรุงเทพมหานครได้เเจ้งความดำเนินคดีข้อหาทำลายทรัพย์สินของ กทม. และวันนี้ได้รับรายงานจากหน่วยรอบพื้นที่ว่า กลุ่มผู้ชุมนุมจะมีการจุดพลุตะไลขึ้นไปหวังสร้างอันตรายให้กับเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งการจุดบริเวณราชประสงค์หวังสร้างความลำบากให้กับเจ้าหน้าที่ที่ใช้อากาศยาน แต่เราไม่วิตกว่าอากาศยานจะถูกบั้งไฟ แต่กลัวว่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง

ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า พื้นที่การชุมนุมไม่ปลอดภัยจริงๆ อยากวิงวอนให้ออกจากพื้นที่โดยเร็ว หากผู้ชุมนุมคนใดประสงค์จะเดินทางกลับบ้าน ขอให้แจ้งให้ทราบ แม้จะถูกยึดบัตรประจำตัว และใส่เสื้อแดงก็สามารถกลับบ้านได้ โดยออกมาพบตำรวจเพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้อำนวยความสะดวก ซึ่งจะไม่มีตำรวจคนใดจับท่านขณะนี้

ศอฉ. ให้ความสำคัญกับกรณีที่เสื้อแดงจะเคลื่อนไปสีลม ซึ่งเรามีทหารที่มีการตั้งจุดตรวจสกัดอยู่ ผบ.หน่วยจะต้องมาดูแลเพราะกลุ่มผู้ชุมนุมมีอาวุธหลากหลายชนิด ซึ่งขอเน้นย้ำว่า วันนี้เจ้าหน้าที่มีความพร้อมแล้วที่จะปฏิบัติภารกิจที่บังคับใช้ตามกฎหมาย อยู่ที่สถานการณ์ความเหมาะสม

พ.อ.สรรเสริญกล่าวอีกว่า กรณีกลุ่มเสื้อแดงนำผลการประชุม ศอฉ. มาปล่อยว่าจะมีการปฏิบัติภารกิจให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน และมีคนสูญเสีย 500 คนก็ยอม ศอฉ. ยืนยันว่าไม่จริง ไม่เคยมีผลประชุมอย่างนี้ ที่ผ่านมาหลีกเลี่ยงความรุนแรงมาโดยตลอด (ดู “ศอฉ. ปรับแนวปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎการใช้กำลัง เข้มมาตรการจากเบาไปหาหนักตามหลักสากล,” ศูนย์สื่อทำเนียบรัฐบาล, 20 เม.ย.53  ; ดู “ศอฉ.พบกลุ่มเสื้อแดงรื้อถอนอิฐบล็อกซีเมนต์มาทำเป็นก้อนอิฐซึ่งอาจใช้ทำร้ายเจ้าหน้าที่,” ศูนย์สื่อทำเนียบรัฐบาล, 20 เม.ย.53  ; ดู “สรรเสริญชี้เสื้อแดงสร้างความวุ่นวายให้สังคม เพราะรื้ออิฐไว้ทำร้าย จนท.เตรียมบั้งไฟถล่ม ฮ.,” ประชาไท, 21 เม.ย.53 ; ดู “วิถีปืนจากฝั่งทหาร พฐ.ชี้แล้ว ยิงนักข่าวยุ่นตาย,”ข่าวสดออนไลน์, 21เม.ย.53

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – เวลา 16.00 น. ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า กลุ่มประชาชนพิทักษ์ชาติ หรือกลุ่มเสื้อหลากสี และกลุ่มเฟซบุ๊กต้านการยุบสภา รวมตัวคัดค้านการยุบสภา โดยใช้รถติดเครื่องขยายเสียงเป็นเวทีปราศรัย น.พ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำนำร้องเพลงสดุดีมหาราชา ทำพิธีบวงสรวงและวางพวงมาลา โดยมีผู้ชุมนุมทยอยเข้าวางดอกกุหลาบสีชมพู เสร็จแล้วเชิญชวนทุกคนหันไปทางโรงพยาบาลศิริราช แล้วร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี

นพ.ตุลย์ให้สัมภาษณ์ว่า พล.อ.ชวลิตและนายสมชายมีหนังสือผ่านราชเลขาธิการเพื่อขอเข้าเฝ้าฯ โดยมีเป้าหมายให้พระองค์ท่านลงมาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นการกระทำไม่บังควร ล่วงละเมิด ล่วงเกิน ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ขอให้หยุดการกระทำนี้ทันที ทั้งสองไม่ได้สำนึกตัวเองเลย ตอนนี้เหมือนเป็นขี้ข้าของพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นเสื้อแดงคนหนึ่ง บังอาจดึงพระองค์ท่านลงมา ต้องไม่ลืมว่าทั้งสองเคยสั่งตำรวจฆ่าประชาชนเมื่อ 7 ต.ค. 51 สมควรได้รับโทษประหารชีวิต

นพ.ตุลย์กล่าวอีกว่า ดีใจที่จำนวนผู้ออกมาแสดงพลังล้นหลาม จากแค่ 20 คนเมื่อเที่ยงวันที่ 13 เม.ย. หนึ่งสัปดาห์เพิ่มขึ้นหลายพันคน และยังมีคนเสื้อหลากสีกระจายไปจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ วันที่ 21 เม.ย. เวลา 16.00 น. จะไปแสดงพลังที่วงเวียนใหญ่ ทำพิธีสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ดู “วิถีปืนจากฝั่งทหาร พฐ.ชี้แล้ว ยิงนักข่าวยุ่นตาย,”ข่าวสดออนไลน์, 21 เม.ย.53

กลุ่มเสื้อหลากสีชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า

ที่เชียงใหม่ เกิดเหตุปาระเบิดเอ็ม 26 หน้าร้านยิ่งเจริญโมบาย ตรงข้าม ธนาคารกรุงเทพ สาขาสันกำแพง และปาระเบิดแสวงเครื่องใส่ข้างธนาคารกรุงเทพ สาขาจอมทอง

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 21 เม.ย.53

 

21 เมษายน 2553

นปช. – นปช. ขอนแก่น ขวางรถไฟพิเศษที่บรรทุกรถและสรรพาวุธของทหารที่สถานีรถไฟขอนแก่น

ส.ส.เพื่อไทยวอล์กเอาต์ออกจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร หลังสภามีมติไม่รับญัตติให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์ 10 เมษายน 2553

รัฐบาล – พล.ต.ต.สุรพล พินิจชอบ ผู้บังคับการกองพิสูจน์หลักฐาน (พฐ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ออกมาปฏิเสธข่าวกรณีมีการรายงานว่ากองพิสูจน์หลักฐานสรุปผลการตรวจสอบเหตุปะทะระหว่างทหารกับกลุ่มคนเสื้อแดง วันที่ 10 เมษายน โดยระบุว่า ภาพเหตุการณ์กองกำลังไม่ทราบฝ่ายใช้อาวุธปืนซุ่มยิงทหารและประชาชน บนอาคารสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลนั้น เป็นเพียงแค่กิ่งไม้ไหว และผู้สื่อข่าวญี่ปุ่น สังกัดสำนักข่าวรอยเตอร์ ถูกยิงมาจากฝ่ายทหาร

พล.ต.ต.สุรพล ยืนยันว่า กระแสข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง เพราะเมื่อกองพิสูจน์หลักฐานได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ โดยได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บพยานหลักฐานทั้งหมด จำนวน 3 ครั้ง ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการตรวจพิสูจน์ให้รอบด้าน โดยยังไม่มีการสรุปผลแต่อย่างใด การวิเคราะห์หลักฐานจะต้องนำหลักฐานทุกอย่างมาประมวลสรุปอีกครั้ง พร้อมย้ำว่า ข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านสื่อออกไป ไม่ใช่ข้อมูลของกองพิสูจน์หลักฐานแน่นอน แต่ยืนยันว่าจะเร่งตรวจสอบโดยเร็วที่สุด คาดว่าจะสามารถสรุปผลได้ภายใน 2 สัปดาห์นี้

ทั้งนี้จากการตรวจสอบที่เกิดเหตุบริเวณถนนดินสอและหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา เป็นจุดปะทะใหญ่ พบหลุมระเบิด 2 จุด แสดงว่ามีการใช้ระเบิดจริง แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นระเบิดชนิดใด อาวุธที่ใช้ในวันดังกล่าว คาดว่าเบื้องต้น มี 2 ชนิด คือ M16 และอาก้า แต่ยังไม่ได้รับการยืนยัน เนื่องจากต้องมีการตรวจคราบเขม่าหรือวิเคราะห์สารเคมีอีกครั้ง (ดู “ผบก.กองพิสูจน์หลักฐานปัดข้อมูลวิถีกระสุน สังหารนักข่าวยุ่นไม่ใช่ของพฐ.ยันยังไม่ได้สรุปรอ2สัปดาห์,” มติชนออนไลน์, 21 เม.ย.53  ; ดู “ผบก.พฐ.ปัดข่าวได้ผลสรุปเหตุการณ์ 10 เม.ย.,” ผู้จัดการออนไลน์, 21 เม.ย.53

ทั้งนี้ก่อนหน้าได้มีรายงานข่าวว่า เมื่อวันที่ 20 เม.ย. แหล่งข่าวระดับสูงจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติเปิดเผยว่า กองพิสูจน์หลักฐานกลาง (พฐ.) ได้รายงานผลตรวจพื้นที่เกิดเหตุบริเวณแยกคอกวัว และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หลังเกิดเหตุปะทะระหว่างทหารและกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงเมื่อวันที่ 10 เม.ย.ต่อ พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา ที่ปรึกษา สบ.10 ว่า จากการตรวจสอบจุดอาคารสูง ริมถนนราชดำเนิน ซึ่งมีการระบุว่าเป็นจุดที่กองกำลังไม่ทราบฝ่ายใช้ปืนซุ่มยิงทหารและประชาชน นั้น ผลการตรวจสอบไม่พบร่องรอยเขม่าดินปืน หรือพบปลอกกระสุนตกในที่เกิดเหตุแต่อย่างใดทั้งสิ้น ส่วนที่มีคลิปพบความเคลื่อนไหวนั้นเป็นกิ่งไม้ไหวช่วงกลางคืน และควันที่พบในคลิปสันนิษฐานว่าเกิดจากกระสุนปืนที่ยิงมาโดนบริเวณตัวอาคาร แล้วลอยขึ้นไป จนทำให้เกิดภาพเหมือนมีคนซุ่มยิงและมีควันคล้ายการยิงปืน นอกจากนี้จากการตรวจสอบคลิปภาพถ่ายต่างๆ ที่รวบรวมได้กรณีนักข่าวชาวญี่ปุ่นสังกัดสำนักข่าวรอยเตอร์พบว่า ช่วงแรกนักข่าวญี่ปุ่นอยู่หลังแนวทหาร แต่เมื่อแนวทหารถอยร่นจากการตอบโต้ของคนเสื้อแดง ปรากฏว่า นักข่าวคนดังกล่าวได้มายืนอยู่ในจุดด้านหน้าของการปะทะระหว่างทหารกับกลุ่ม เสื้อแดง และแนววิถีกระสุนมาจากฝั่งทหาร นอกจากนั้นในส่วนของคลิปที่สำนักข่าวฝรั่งเศสระบุว่าทหารยิงปืนใส่ผู้ชุมนุม แต่ทางศอฉ.ระบุว่าเป็นเพียงการยิงคุ้มกันช่วงถอนตัวนั้น จากการตรวจสอบคลิปอย่างต่อเนื่องของกองพิสูจน์หลักฐานกลาง พบว่ามีการยิงกระสุนใส่ประชาชนจริง และบางช่วงยังมีเสียงทหารด้วยกันบอกให้หยุดยิง และบอกว่าพอแล้ว ซึ่งรายงานทั้งหมด คณะพนักงานสอบสวนเก็บรวบรวมหลักฐานไว้แล้ว (ดู “วิถีปืนจากฝั่งทหาร พฐ.ชี้แล้ว ยิงนักข่าวยุ่นตาย,” ข่าวสดออนไลน์, 21 เม.ย.53 ; ดู “กองพิสูจน์หลักฐานเผยคลิปซุ่มยิงที่แท้กิ่งไม้ไหว ส่วนทหารยิงปืนใส่ประชาชนจริง,” ประชาไท, 20 เม.ย.53

พล.ต.ต. อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น. รับผิดชอบงานสอบสวน ในฐานะที่ปรึกษาคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ แถลงถึงคดีเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน ว่ามีจำนวน 82 คดี เป็นคดีที่มีการชันสูตรผลิกศพ 20 คดี

ทางด้านดีเอสไอตั้งคณะทำงาน 7 ชุด สอบสวนคดีประกอบด้วย (1) เหตุระเบิด 44 แห่ง (2) เหตุบุกรุกคารรัฐสภา (3) เหตุบุกรุกสถานีไทยคม (4) เหตุปะทะหน้ากองทัพภาคที่ 1 (5) ยึดรถทหารและยุทธภัณฑ์บนสะพานปิ่นเกล้า และ (6) เหตุปะทะที่สี่แยกคอกวัว

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – เวลา 2.30 น. คนร้ายยิงจรวดอาร์พีจีใส่ถังน้ำมันของคลังน้ำมันของบริษัทท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด บริเวณถนนลำลูกกา คลอง 16 ไฟลุกไหม้ด้านล่างของถังน้ำมันแต่เจ้าหน้าที่สกัดเพลิงไว้ได้ทัน

กลุ่มคนเสื้อหลากสี ชุมนุมที่วงเวียนใหญ่ อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

กลุ่มคนรักสีลมและเสื้อหลากสี ตั้งเวทีปราศรัยเผชิญหน้ากับ นปช. ที่แยกศาลาแดง ฝั่งสีลม

หมายเหตุ

 

22 เมษายน 2553

นปช. – ที่สำนักงานสหประชาชาติ ถ.ราชดำเนิน นปช. ยื่นหนังสือถึงเลขาธิการสหประชาชาติ เรียกร้องให้เข้ามาแทรกแซง โดยการส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้ามาป้องกันไม่ให้รัฐบาลใช้กำลังเข้าปรามปรามประชาชน

นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. ยื่นฟ้องนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ ต่อศาลแพ่ง ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ไม่ให้จำเลยทั้งสองสั่งการเจ้าหน้าที่เข้าสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงบริเวณแยกราชประสงค์

ศาลแพ่งมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้จำเลยทั้งสองดำเนินการตามหลักสากลและดูแลความสงบ ใช้มาตรการจากเบาไปหาหนัก

รัฐบาล – เวลา 23.30 น. นายสุเทพแถลง กรณีที่มีข่าวว่าเสื้อแดงจะบุกเข้าไปพื้นที่สีลมนั้น ทางรัฐบาลได้พยายามวางมาตรการที่จะดูแลป้องกันให้ประชาชนที่ประกอบอาชีพในสีลมโดยส่งทหารตำรวจเข้าไปในพื้นที่ 2 วันที่ผ่านมา เหตุการณ์เรียบร้อยดี จนกระทั่งเมื่อค่ำที่ผ่านมาได้เกิดเหตุคนร้ายยิงเอ็ม 79 ใส่พี่น้องประชาชนชาวสีลมทำให้มีคนบาดเจ็บและเสียชีวิต รัฐบาลขอแสดงความเสียใจและสั่งการให้เจ้าหน้าที่เข้าไปแก้ควบคุมโดยทันที ป้องกันไม่ให้ผู้ก่อการร้ายสร้างสถานการณ์ซ้ำเติมอีก และรัฐบาลขอให้ประชาชนที่อยู่สีลมด้านหน้าให้ถอยร่นออกจากฝั่งผู้ชุมนุมให้พ้นจากระยะการยิงของ M79 ซึ่งจากการตรวจของเจ้าหน้าที่ชัดเจนแล้วว่า ทิศทางการยิง M79 มาจากทางด้านหลังพระบรมรูป ร.6 ซึ่งเสื้อแดงชุมนุมอยู่

ดู 20100422_CRES_001

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – ขณะที่มีผู้ชุมนุมต่อต้านการชุมนุมของคนเสื้อแดงอยู่ที่บริเวณแยกศาลาแดง ถนนสีลม เกิดเหตุยิง เอ็ม79 ใส่ศาลาแดง-สีลม 5 ลูกซ้อน 3 ลูกแรกยิงใส่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสศาลาแดง อีก 2 ลูกยิงใส่บริเวณถนนสีลม มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บกว่า 70 คน

หมายเหตุ

 

23 เมษายน 2553

นปช. – แกนนำ นปช. ลดระดับข้อเรียกร้อง ยื่นเงื่อนไขให้นายกฯ ยุบสภาใน 30 วัน รวมกับเวลารักษาการของรัฐบาลเป็น 90 วัน แล้วจะยุติการชุมนุม

คณะฑูตจากหลายประเทศเข้าพบแกนนำคนเสื้อแดงที่เวทีราชประสงค์ เสนอให้ถอยคนละก้าว

แกนนำคนเสื้อแดงให้ผู้ชุมนุมเปลี่ยนสีเสื้อหลังจาก ศอฉ. ตั้งด่านสกัดผู้เข้าร่วมชุมนุม

รัฐบาล – นายกฯ อภิสิทธิ์ปฏิเสธข้อเรียกร้องของ นปช.

นายธาริตในฐานะเลขานุการคณะกรรมการคดีพิเศษแถลงว่า คณะกรรมการคดีพิเศษได้มีมติ ให้การกระทำความผิด 4 กรณีเป็นคดีพิเศษ ได้แก่ 1.การกระทำเกี่ยวกับการก่อการร้าย 2.การขู่บังคับรัฐบาล 3. การกระทำที่เป็นการประทุษร้ายต่อประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ 4. การกระทำต่ออาวุธยุทธภัณฑ์ของทางราชการ นายธาริตกล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมามีการวางระเบิดตามที่ต่างๆ 45 ครั้ง เหตุการณ์ที่ต่อเนื่องมาโดยตลอดจนถึงการยิงระเบิดที่สีลมเมื่อคืนที่ผ่านมาเข้าลักษณะการกระทำความผิดที่เป็นการก่อการร้าย

นอกจากนี้ นายธาริตยังเรียนเพิ่มเติมเรื่องการจับกุม 1 ใน 24 คนที่ศาลได้ออกหมายจับไว้ คือ นายเมธี เมื่อวานนี้ ซึ่งมีความผิดหลายเรื่อง รวมถึงความผิดเกี่ยวกับการใช้อาวุธยุทธภัณฑ์ของทางราชการ นายเมธีได้ให้การเป็นสาระสำคัญหลายประการ ยอมรับว่าได้เกี่ยวพันกับเหตุการณ์ปะทะเมื่อวันที่ 10 เม.ย. โดยกลุ่มของนายเมธีได้ยึดเอาอาวุธยุทธภัณฑ์ของเจ้าหน้าที่ไปจำนวนหนึ่งแล้วนำไปแจกจ่ายให้บุคคลอื่นหลายคน ซึ่งจากการตรวจค้นรถของนายเมธีก็ได้พบปืนกลมือด้วย

“เป็นส่วนสำคัญที่ได้ยอมรับว่าอาวุธร้ายแรงของทางราชการนั้นได้มีการยึดไปจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารแล้วก็นำไปไว้เพื่อใช้ต่อสู้ในโอกาสต่อไป อีกส่วนหนึ่ง [นายเมธี] ได้ยอมรับในข้อเท็จจริงว่าในการปะทะกันในที่เกิดเหตุนั้น ได้มีการใช้อาวุธร้ายแรงจากฝ่ายของนายเมธีในการยิงเข้าใส่กลุ่มทหารที่เข้าขอคืนพื้นที่อีกด้วย นอกจากนั้นก็ยังได้ยอมรับในข้อเท็จจริงว่าเมื่อย้ายการชุมนุมมาที่สี่แยกราชประสงค์แล้วก็มีการประชุมปรึกษาหารือเพื่อวางแนวทางกันทุกวัน ณ สถานที่ซึ่งยังไม่ขอเปิดเผย” นายธาริตกล่าวถึงการให้ปากคำของนายเมธี ซึ่งนายธาริตได้เข้าสอบปากคำเองด้วย

 

ดู 20100423_CRES_001

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – ม็อบหลากสีชุมนุมใหญ่ จี้นายกฯ สลายการชุมนุม

ที่ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก เวลาประมาณ 10.00 น. น.ส.จีรนุช เปรมชัยพรผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท (www.prachatai.com) ผู้รับมอบอำนาจจากมูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน เป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี (จำเลยที่ 1) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผอ.ศอฉ. (จำเลยที่ 2) ร.ต. ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รมว. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (จำเลยที่ 3) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (จำเลยที่ 4) และกระทรวงการคลัง (จำเลยที่ 5) เรื่อง ละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เป็นคดีหมายเลขดำที่ 1455/2553 โดยเรียกร้องค่าเสียหาย 350,000 บาท กรณีมีคำสั่งปิดกั้น www.prachatai.com และขอให้ศาลเปิดการไต่สวนฉุกเฉินเพื่อขอให้คุ้มครองชั่วคราว ในการยกเลิกการปิดกั้น www.prachatai.com จนกระทั่งเวลาประมาณ 17.30 น. ศาลได้นั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษายกฟ้อง โดยไม่มีการไต่สวน ระบุจำเลยทั้งหมดมีอำนาจตามพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ (ดู “ศาลแพ่งยกฟ้อง กรณีประชาไทฟ้องถูกปิดกั้นเว็บไซต์ ละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน,” ประชาไท, 24 เม.ย.53

เกิดเหตุระเบิดเอ็ม 67 ภายในสวนลุมไนท์บาซาร์

กลุ่มเสื้อหลากสี ชุมนุมที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้าและถนนสีลม

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 24 เม.ย.53

 

24 เมษายน 2553

นปช. – นปช. ปรับยุทธวิธี สั่งมวลชนเลิกใส่เสื้อแดง

นปช. อุดรธานี ตั้งด่านที่หน้าที่ว่าการอำเภอโนนสะอาดไปถึงสถานีตำรวจภูธรอำเภอโนนสะอาด เพื่อสกัดเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะเดินทางไปกทม. และทำได้การยึดและอุปกรณ์ของตำรวจได้หลายรายการ

รัฐบาล – นายกฯ อภิสิทธิ์ประกาศไม่ยุบสภาภายใน 30 วัน อ้างว่าคนส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้ยุบสภา และสั่งให้นายกอร์ปศักดิ์หยุดเจรจากับแกนนำเสื้อแดง

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – กลุ่มเสื้อหลากสีชุมนุมที่สวนหลวง ร.9 ในตอนเข้า และชุมนุมที่สวนจตุจักร ในตอนเย็น

กลุ่มเสื้อหลากสี นครศรีธรรมราช รวมตัวกันที่ลานหน้าวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ทำพิธีสาปแช่งแกนนำ นปช. และขอบารมีองค์พระธาตุเจดีย์ปกป้องคุ้มครองประเทศไทยและสถาบันพระมหากษัตริย์

กลุ่มประชาชนเขต อ.เมือง อ.บ้านนา จ.นครนายก ชุมนุมกันในเขตเทศบาลเมือง อ.เมือง และเคลื่อนขบวนไปไปที่บริเวณสวน ร.9 เฉลิมพระเกียรติ ริมแม่น้ำนครนายก เพื่อคัดค้านการชุมนุมของ นปช.

กลุ่มคนเสื้อหลากสีอุดรธานี ชุมนุมที่สนามทุ่งศรีเมือง หน้าศาลากลางจังหวัด

กลุ่ม “เมืองคนงามพิทักษ์กษัตริย์” ซึ่งเป็นชาว อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี รวมตัวกันที่บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอบ้านโป่ง เพื่อแสดงความจงรักภักดี รวมพลังปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์

หมายเหตุ

 

25 เมษายน 2553

นปช. – กลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้างเสื้อแดง กทม. และ นปช. สมุทรปราการ เคลื่อนพลจากเวทีใหญ่แยกราชประสงค์ ไปบ้านนายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้ยุบสภา

นปช. ปทุมธานี ปิดถนนพหลโยธินทั้งคู่ขนานและทางด่วนขาเข้า กทม. บริเวณปากซอยคลองหลวง 26 หลักกิโลเมตรที่ 36 ม.3 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรเดินทางมาจากต่างจังหวัดเพื่อเข้าไปสลายการชุมนุมคนของ นปช. โดยทำการยึดรถตู้ รถกระบะ และหกล้อลูกกรงเหล็กของเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้จำนวนทั้งหมด 50 คัน

นปช. อ.ท่าแร่ จ. สกลนคร ปิดถนนบริเวณกลางสามแยกสามแยกตลาดสดบ้านท่าแร่ เพื่อสกัดกำลังทหารจากนครพนมที่จะเดินทางไปกรุงเทพฯ

รัฐบาล

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ร่วมกับตัวแทนจากผู้นำ 3 ศาสนา และเครือข่าย และ กทม. จัดพิธีทำบุญประเทศไทยขึ้นบริเวณท้องสนามหลวง เพื่อให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตปัญหาบ้านเมืองด้วยความสงบ สันติ ปราศจากความรุนแรง รวมทั้งนำพาความร่มเย็นกลับคืนมาสู่ประเทศไทย

กลุ่มเสื้อหลากสี และคณะสงฆ์จาก จ.ลำพูน แต่งชุดขาว ทำพิธีสวดมนต์ภาวนาขอให้ประเทศชาติสงบสุข ที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)

กลุ่มเสื้อหลากสี ปัตตานี ชุมนุมที่บริเวณลานพระรูป ร.5 ด้านหน้าศาลากลาง เรียกร้องให้รัฐบาลปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ รัฐบาลบริหารประเทศต่อ ไม่ยุบสภา

กลุ่มเสื้อหลากสี เชียงใหม่ ชุมนุมที่สวนสุขภาพ ข้างหอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อแสดงพลังและร้องเพลงชาติ

22.30 น. เกิดเหตุปาระเบิดเอ็ม 67 ใส่หน้าบ้านพักนายบรรหาร ศิลปะอาชา บริเวณถนนจรัญสนิทวงศ์ เขตบางพลัด เป็นครั้งที่ 2 มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 10 ราย

23.45 น. คนร้ายยิงระเบิดเอ็ม 79 ใส่สำนักงานตำรวจภูธรภาค 5 อ.เมือง จ.เชียงใหม่

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 26 เม.ย.53

 

26 เมษายน 2553

นปช. – ที่ถ.มิตรภาพ บริเวณสี่แยกทางเข้า อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น นปช. ขอนแก่น เดินขบวนไปที่ในอำเภอเมืองขอนแก่น และใช้รถบรรทุก 18 ล้อ มาปิดกั้น ถ.มิตรภาพ บริเวณสี่แยกทางเข้า อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น เพื่อสกัดขัดขวางตำรวจทหารที่จะเข้ากรุงเทพฯ

นปช. ปทุมธานี ปิดถ.พหลโยธิน ก่อนถึงตลาดไท ทางเข้าวัดพระธรรมกาย อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เพื่อสกัดเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารที่จะเดินทางเข้ากรุงเทพ

นปช. อยุธยา ใช้รถยนต์ปิด ถ.พหลโยธิน วงแหวนรอบนอก หลักกม.ที่ 56 ต.ลำไทร อ.วัง น้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ตรวจค้นรถโดยสาร รถบัส รถตู้ รถบรรทุก ซึ่งคาดว่าจะนำตำรวจหรือทหารเข้ากรุงเทพ

นปช. อยุธยา ตั้งด่านสกัดขบวนรถตู้ตำรวจของตำรวจภูธรจังหวัดลพบุรี ที่เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ริมถนนสาย 347 ปทุมธานี-บางปะหัน ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.อยุธยา

นปช. ฉะเชิงเทรา นำรถสองแถวปิดประตูทางเข้าออกกองกำกับการตำรวจภูธร จ.ฉะเชิงเทรา และตั้งเวทีปราศรัย เพื่อขัดขวางไม่ให้ส่งตำรวจเข้าร่วมปฏิบัติการในกรุงเทพฯ

นปช. แดงสระบุรี ตั้งด่านขวาง ถ.พหลโยธิน ก.ม.90-91 ต.ห้วยขมิ้น อ.หนองแค จ.สระบุรี เพื่อขัดขวางการเดินทางเข้ากรุงเทพของตำรวจ-ทหาร

นปช. สมุทรปราการ นำรถยนต์มาปิดถนนสุขุมวิทขาเข้า กทม. ปากซอยสันติคาม ต.สำโรงเหนือ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ เพื่อสกัดเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เดินทางเข้ากทม.

นปช. พิษณุโลก ปิดทางเข้าออกกองกำกับตำรวจตระเวนชายแดน ค่ายเจ้าพระยาจักรี สกัดกั้นไม่ให้กองร้อยควบคุมฝูงชน เดินทางเข้ากรุงเทพ

ที่สี่แยกแม่ต๋ำ อ.เมือง จ.พะเยา นปช. พะเยาและเชียงราย ตั้งด้านเพื่อสกัดไม่ให้ตำรวจจาก จ.พะเยา เดินทางเข้ากรุงเทพฯ แต่ไม่สามารถสกัดได้

นปช. พะเยา ชุมนุมที่หน้าศาลากลางจังหวัดพะเยา

นปช. เพชรบูรณ์ ปิดถนนบริเวณ หมู่ 4 บ้านราหุล สี่แยก อ.บึงสามพัน เพื่อสกัดตำรวจเดินทางเข้ากรุงเทพฯ

นปช. แม่ฮ่องสอน พยายามจะยึดด่านตรวจร่วมบ้านผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ของตำรวจสภ.น้ำเพียงดินและทหารหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 7 เพื่อสกัดไม่ให้ส่งกำลังทหาร-ตำรวจเข้ากรุงเทพฯ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากถูกทหารเข้าขัดขวาง

นปช. อุดรธานี ปิดถนนหน้า สภอ.โนนสะอาด ถนนมิตรภาพ และแยกทางเข้า อ.หนองวัวซอ ถ.อุดรธานี-หนองบัวลำพู และปิดสถานีรถไฟอุดรธานี เพื่อขัดขวางทหารที่จะเดินทางเข้ากรุงเทพ

นปช. ม็อบคนเสื้อแดงฮือล้อมกรอบรถลำเลียงทหารไม่ให้แล่นผ่านถนนวิภาวดีรังสิต ปากซอยวิภาวดี 16 (ซอยโชคชัยร่วมมิตร) กทม. เพราะกลัวจะเข้าไปช่วยสลายม็อบเสื้อแดงราชประสงค์

รัฐบาล – เวลา 18.30 น. ณ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิดกำเนิด โฆษกกองทัพบก ในฐานะโฆษก ศอฉ. แถลงกรณีการปฏิบัติภารกิจในการบังคับใช้กฎหมายต่อกลุ่มผู้ชุมนุมที่สร้างความเดือดร้อนบริเวณอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และกรณีที่กลุ่มนปช. ยกระดับการชุมนุมไปสู่การก่อการร้ายแบบเต็มรูปแบบ มีการจาบจ้วงสถาบันเบื้องสูงด้วยการพยายามโยงใยบุคคลที่ใกล้ชิด ทั้งนี้ ศอฉ.ได้แจกผังล้มเจ้าให้แก่สื่อมวลชนด้วย

โดย พ.อ. สรรเสริญได้แถลงว่า การปฏิบัติภารกิจในบริเวณพื้นที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในวันนี้มีสาเหตุเนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงไปปิดการจราจรบริเวณตลาดไท โดยมีการพยายามที่จะตรวจค้นรถโดยสารของประชาชนทั่วไป ทั้งรถส่วนบุคคลหรือรถโดยสาร เพื่อที่จะสร้างความวุ่นวายเดือดร้อนให้กับประชาชน และพยายามจะควานหาเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ โดยอ้างว่าป้องกันไม่ให้เดินทางเข้ามาปฏิบัติภารกิจในพื้นที่กรุงเทพฯ ศอฉ. จึงได้จัดกำลัง ประกอบกำลังจากตำรวจภูธรภาค 1 ตำรวจภูธรภาค 7 และกองพลทหารม้าที่ 1 ไปสลายการชุมนุมในพื้นที่ ซึ่งเมื่อประมาณ 10 นาทีที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้เดินทางถึงในพื้นที่เกิดเหตุ ปรากฏว่ากลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงวิ่งหนีเข้าไปในบริเวณพื้นที่ตลาดไท ขณะนี้เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจกำลังตามจับกุมตัวอยู่

ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้เป็นความพยายามที่จะสร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน เพื่อส่งผลกดดันต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ กลุ่มแกนนำคนเสื้อแดงเองก็บอกว่าพยายามจะยกระดับการชุมนุม ซึ่งโดยปกติผิดกฎหมายอยู่แล้ว ไปสู่การก่อการร้าย อย่างที่เห็นเป็นการซ่องสุมอาวุธกันเป็นจำนวนมาก แล้วก็พยายามที่จะผูกโยงเรื่องราวต่างๆ โดยใช้ข้อมูลอันเป็นเท็จมุ่งโจมตีสถาบันเบื้องสูง อันเป็นที่รักเคารพของคนไทยทุกคน โดยเฉพาะมีการดำเนินการกันแบบเป็นระบบ ผ่านทางกลุ่มบุคคลทั้งที่เป็นแกนนำหลัก แกนนำรอง บางคนก็อยู่ในระหว่างการพิจารณาว่าจะมีคดีหรือไม่ ก็หนีไปก่อน เช่น ดา ตอร์ปิโด สุชาติ นาคบางไทร จักรภพ เพ็ญแข ชูพงษ์ ถี่ถ้วน ที่เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่ามีพฤติกรรมอย่างไร ไม่ว่าจะผ่านทางสื่ออินเตอร์เน็ต เว็บไซต์นปช.ยูเอสเอ องค์กรเสื้อแดงระหว่างประเทศ หรือ Red Shirt International Organization สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ความจริงวันนี้ Thai Red News , Voice of Thaksin รวมถึงวิทยุชุมชนต่างๆ คนรักแท็กซี่ของนายชินวัฒน์ หาบุญพาด เหล่านี้คือสื่อสีแดงที่ให้ข้อมูลข่าวสารในลักษณะที่หมิ่นเหม่ และจาบจ้วงต่อสถาบันเบื้องสูงอันเป็นที่รักเคารพของคนไทยอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีโรงเรียน ผู้ปฏิบัติงานนปช.แดงทั้งแผ่นดิน ซึ่งแกนนำนปช. ล้วนเป็นบุคลากรหลักของโรงเรียนทั้งสิ้น ที่มีความพยายามที่จะสร้างวาทกรรม มีชุดความคิดอำมาตย์ ไพร่ เนื้อหาในเชิงของการบิดเบือน ปลุกปั่น กระทบต่อความมั่นคงของรัฐอยู่ตลอดเวลา

โฆษก ศอฉ. ล่าสุดกล่าวถึงข้อมูลอันเป็นเท็จคือเรื่องของท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีฆะระ รองราชเลขาธิการ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ว่าการใส่ร้ายโจมตีท่านผู้หญิงจรุงจิตต์นั้นถือว่าเป็นเรื่องที่เป็นข้อมูลอันเป็นเท็จทั้งสิ้น และเป็นสิ่งที่ไม่บังควร ซึ่งทางแกนนำนปช. ก็พยายามที่จะหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาสร้างความสับสนให้กับสังคม บิดเบือนข้อเท็จจริง มุ่งที่จะโจมตีไปยังท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ หรือหลายคนอาจจะมีความคิดว่า มีวัตถุประสงค์อื่นใดที่สูงไปกว่านี้ สังคมก็จะต้องพิจารณากัน

ต่อมาเวลา 20.10 น. พ.อ. สรรเสริญ แก้วกำเนิด ได้นำแผนผังเครือข่ายขบวนการล้มเจ้ามาแจกจ่ายสื่อมวลชนด้วย ทั้งนี้ พ.อ.สรรเสริญเปิดเผยว่า เอกสารที่แจกจ่ายให้สื่อมวลชน เป็นเอกสารบทวิเคราะห์ของ ศอฉ.เกี่ยวกับการจาบจ้วงสถาบันอันเป็นที่เคารพรักของคนไทย หลายคนมีคดีความชัดเจนแล้ว บางส่วนเป็นผู้ต้องสงสัย ไม่ได้หมายความว่า ศอฉ.จะกล่าวให้ร้ายท่านหนึ่งท่านใด เป็นเพียงบทวิเคราะห์ได้พิจารณากัน

หลังจากนั้นเวลา 20.20 น. ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เปิดเผยว่ามีโครงข่ายขบวนการล้มสถาบันว่า สิ่งที่จะต้องทำขณะนี้มีสองอย่างคือ การสร้างให้เกิดความเข้าใจในหมู่ประชาชนว่ากำลังมีปัญหาแบบนี้เกิดขึ้น และการทำงานในการที่จะดำเนินการตามกฎหมายก็จะต้องเดินหน้าต่อไป ซึ่งเมื่อมีโครงข่ายเชื่อมโยงก็จะต้องสามารถหาให้ครบถ้วน

“ความจริงแล้วการเคลื่อนไหวในเรื่องนี้มีมาโดยตลอดตามสื่อต่างๆ แต่ความเชื่อมโยงต่างๆ ในขณะนี้ทาง ศอฉ.ได้เห็นภาพที่เป็นเครือข่ายชัดเจนมากยิ่งขึ้นก็ต้องดำเนินการต่อไป” นายอภิสิทธิ์กล่าว

 

นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงความเคลื่อนไหวของกลุ่ม นปช. ที่ตั้งด่านตามเส้นทางการจราจรตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อสกัดการเดินทางของเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ ว่า ภาพรวมของสถานการณ์ทั้งหมดในหนึ่งถึงสองวันที่ผ่านมา ได้เห็นการเคลื่อนไหวของทางกลุ่มนปช.ในหลายพื้นที่ เป็นผลโดยตรงมาจากการที่แกนนำและเวทีเน้นย้ำว่า จะมีการสลายการชุมนุม ซึ่งตนคิดว่าตรงนี้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเคลื่อนไหว และเป็นสิ่งที่ตนและคณะทำงานในขณะนี้ได้ย้ำมาโดยตลอดว่า เราต้องสามารถที่จะรองรับการเคลื่อนไหวในลักษณะนี้ได้ (ดู “ศอฉ. สลายการชุมนุมกลุ่มนปช. ที่สร้างความเดือดร้อน ขัดขวางการปฏิบัติภารกิจของเจ้าหน้าที่,”ศูนย์สื่อทำเนียบรัฐบาล, 26 เม.ย.53 ; ดู “มาร์ครับเครือข่ายล้มสถาบันเคลื่อนไหวตลอด ช่วงนี้เห็นภาพมากขึ้น ศอฉ.แจกแผนผังขบวนการล้มเจ้า,” มติชนออนไลน์, 26 เม.ย.53 ; ดู “ศอฉ.ตีแผ่ขบวนการล้มเจ้า เผยบุคคลใกล้ชิด-บริวารแม้วคิดร้ายสถาบัน,” ผู้จัดการออนไลน์, 26 เม.ย.53 ; ดู “สรรเสริญอัดเสื้อแดงทำตามกันเป็นลัทธิ ยกระดับสู่การก่อการร้าย-มุ่งโจมตีสถาบัน,” ประชาไท, 27 เม.ย.53

ครม. เศรษฐกิจเห็นชอบแนวทางการเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมที่พื้นที่ราช ประสงค์และสะพานผ่านฟ้า โดยเฉพาะ 1) การช่วยเหลือสภาพคล่อง 2) ช่วยเหลือพนักงานลูกจ้างถูกเลิกจ้างเพราะการ ชุมนุม 3) ช่วยเหลือธุรกิจรายย่อย

ตำรวจและทหารสลายการชุมนุมม็อบ นปช. ปทุมธานี และ ศอฉ. ประกาศสลายการชุมนุมทุกที่ที่ปิดถนน

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – เกิดเหตุปาระเบิดชนิด เค 75 (แต่ไม่ได้ปลดเซฟ) ที่หน้าโชว์รูมรถเบนซ์คาร์แม๊ค ถนนพระราม 9 ซอย 22

กลุ่มเสื้อหลากสี ชุมนุมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เรียกร้องความสงบกลับคืนสู่สังคม และคัดค้านการยุบสภา

กลุ่มเสื้อหลากสี จ.ชลบุรี รวมตัวกันร้องเพลงชาติและเพลงสรรเสริญพระบารมี และตั้งเวทีปราศรัยทางด้านซ้ายของประตูเมืองพัทยา

กลุ่มสภาประชาชน 4 ภาค ชุมนุมที่ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา เรียกร้องให้จัดการกับเสื้อแดง และคัดค้านการยุบสภา

กลุ่มเสื้อหลากสีอรัญประเทศ จ.สระแก้ว ร่วมรณรงค์เดินถือธงชาติไทย ร้องเพลงชาติไทย รอบตลาดเมืองอรัญประเทศ คัดค้านการยุบสภา

กลุ่มศิษย์เก่าและปัจจุบันของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช รวมตัวกันที่หน้าประตูโรงเรียน ขับไล่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. ออกจากสายสัมพันธ์ เลือดขาว-แดง (ขาว-แดงเป็นสีของโรงเรียน)

เครือข่ายคนพังงาปกป้องชาติและราชบัลลังค์ เดินขบวนในเขตเทศบาล เพื่อแสดงพลังสนับสนุนรัฐบาล และต่อต้านคนเสื้อแดง

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 27 เม.ย.53

 

<<< Back                                                                                                                                                                                 Next>>>

 

ลำดับเหตุการณ์

นอกเหนือ

เหตุการณ์ตั้งแต่เริ่มชุมนุม-สลายการชุมนุม

12 มีนาคม 2553

นปช. – นปช. เปิดฉากรณรงค์การชุมนุม (kick off campaign) “กิจกรรม 12 มีนา 12 นาฬิกาลั่นกลองศึกเขย่าขวัญอำมาตย์” โดยมีการรวมตัวกัน 7 จุด 1.อนุสาวรีย์ปราบกบฏหลักสี่ 2.อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินวงเวียนใหญ่ 3.แยกบางนา-ตราด 4.ศาลากลาง จ.นนทบุรี 5.อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-สามเหลี่ยมดินแดง 6.สวนลุมพีนี และรณรงค์ไปตามจุดต่างๆ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

นปช. ต่างจังหวัดทั่วประเทศ รณรงค์ในจังหวัดและทยอยเดินทางเข้ามาร่วมชุมนุมที่กรุงเทพ (เท่าที่ระบุได้จากสื่อ) (อีสาน 19 จังหวัด ) อุบลธานี กาฬสินธุ์ ยโสธร ร้อยเอ็ด มุกดาหาร นครราชสีมา อำนาจเจริญ หนองคาย นครพนม สกลนคร อุดรธานี ขอนแก่น สุรินทร์ มหาสารคาม (เหนือ 17 จังหวัด) เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร อุทัยธานี ชัยนาถ พิจิตร (ภาคตะวันออก-ภาคกลาง) ชลบุรี ปราจีนบุรี ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ อยุธยา (ภาคใต้) สุราษฎร์ธานี ตรัง พัทลุง สตูล สงขลา

นปช. อยุธยาขับไล่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯที่มาตรวจเยี่ยมด่านตรวจวังน้อยกิโลเมตรที่ 65-66 หมู่ 4 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา (ที่ตั้งสกัด-ตรวจการเคลื่อนเข้ากรุงเทพฯ ของรัฐบาล)

รัฐบาล

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – 35 ประเทศยกระดับการเตือนภัยพลเมืองของตนเองในการเดินมายังประเทศไทย ธนาคาร 6 แห่ง 9 สาขา แจ้ง ธปท.ขอปิดดำเนินการชั่วคราว

หมายเหตุ – ข่าวจาก www.khaosod.co.th,มติชน และ ไทยรัฐ , 13 มี.ค. 53

 

13 มีนาคม 2553

นปช. – ที่กรุงเทพ นปช. ตั้งเวทีชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้า และจัดเตรียมสถานที่รองรับผู้ชุมนุมที่ทยอยมาจากต่างจังหวัด, คนผู้ชุมนุมจากต่างจังหวัดเริ่มเดินทางเข้ามาถึง กทม.

นปช. ภาคอีสาน 17 จังหวัด มารวมตัวกันที่ อ.ปากช่องนครราชสีมา เพื่อเคลื่อนขบวนเข้ากรุงเทพพร้อมกัน

นปช. ภาคเหนือ รวมตัวกันที่สนามกีฬา จ. นครสวรรค์เพื่อเคลี่ยนขบวนเข้ากรุงเทพพร้อมกัน

นปช. ภาคตะวันออก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว นครนายก ชลบุรี ระยอง ตราด รวมตัวกันที่ อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา เพื่อเคลื่อนขบวนเข้ากรุงเทพ

รัฐบาล – รัฐบาลส่งนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรีเข้าเจรจากับแกนนำ นปช.

เจ้าหน้าที่ทหารตำรวจรักษาความปลอดภัยและวางรั้วลวดหนามรอบทำเนียบรัฐบาล

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – กองบัญชาการทหารบก ถ.ราชดำเนินกลาง คณะสงฆ์อาสาพัฒนาสันติวิธีและพระสงฆ์กลุ่มสังฆสามัคคีเดินทางไปที่หน้า บก.ทบ.ขอบิณฑบาตกองทัพไม่ใช้ความรุนแรงกับประชาชน

ที่สถานีรถไฟฟ้าสยาม เครือข่ายหยุดทำร้ายประเทศไทย รณรงค์แจกคู่มือ “ไม่เอาความรุนแรง” แก่คนกรุงเทพ เตรียมรับการชุมชุม

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 14 มี.ค.53 และ ไทยรัฐ 14 มี.ค.53

 

14 มีนาคม 2553

นปช. – นปช. เริ่มต้นการชุมนุมใหญ่อย่างเป็นทางการ เรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาภายใน 24 ชั่วโมง นปช. ตั้งเวทีใหญ่ที่สะพานผ่านฟ้า พื้นที่การชุมนุมของคนเสื้อแดงครอบคลุมพื้นที่ตลอดถนนราชดำเนิน ด้านหนึ่งไปจรดลานพระบรมรูปทรงม้าและตึกไทยคู่ฟ้า อีกด้านหนึ่งจรดสนามหลวงและเชิงสะพานปิ่นเกล้า สันติบาลประเมินจำนวนผู้ชุมนุมว่ามี 120,000-200,000 คน ส่วนสื่อต่างประเทศประเมินว่ามีมากกว่า 200,000 คน นับเป็นการชุมนุมทางการเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย

นปช. นนทบุรี ปทุมธานี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา เคลื่อนขบวนมาทางเรือตามลำน้ำเจ้าพระยา มาขึ้นที่บริเวณท่าเรือสามพระยา เขตพระนคร กทม. เพื่อเข้าร่วมการชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้าฯ (www.khaosod.co.th 15 มี.ค.53)

รัฐบาล

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทรายฝ่าย

หมายเหตุ

 

15 มีนาคม 2553

นปช. – นปช. เคลื่อนขบวนไปยังกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) ถนนพหลโยธิน สถานที่ตั้งของกองบัญชาการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย เพื่อรอฟังคำตอบของรัฐบาลหลังยื่นคำขาดให้ยุบสภา
(ย่อหน้าใหม่) เมื่อผู้ชุมนุมเคลื่อนมาถึงหน้า ร.11 รอ. ทหารจากกองพันปฏิบัติการจิตวิทยา กรมรบพิเศษที่ 2 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ จ.ลพบุรี ซึ่งเข้ามาตั้งหน่วยปฏิบัติการภายในกรมทหารราบที่ 11 รอ. ได้เปิดเพลงพระราชนิพนธ์ สลับการการปราศรัย เพื่อกลบเสียงของเวทีปราศรัยของ นปช.

หลังผ่านเส้นตายเวลา 12.00 น. ไปประมาณ 1 ชั่วโมง นายณัฐวุฒิได้ประกาศว่า วันรุ่งขึ้นถ้ารัฐบาลอภิสิทธิ์ยังไม่ลาออก ผู้ชุมนุมจะใช้วิธี “หลั่งเลือดเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย” โดยสันติวิธี ซึ่งจะเจาะเลือดคนเสื้อแดงหนึ่งแสนคนหนึ่งล้านซีซี รวบรวมกันไปเทประท้วงหน้าประตูทำเนียบรัฐบาล หากยังไม่ยุบสภาอีกจะนำไปเทที่หน้าพรรคประชาธิปัตย์และหน้าบ้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะตามลำดับ จากนั้นผู้ชุมนุมจึงได้เดินทางกลับ (ดู “คนเสื้อแดงเคลื่อนถึงราบ 11 แล้ว,” ประชาไท, 15 มี.ค.53  ; และดูคำปราศรัยประกาศหลั่งเลือดเพื่อประชาธิปไตยที่ “ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ: ‘เลือดทุกหยดที่ไหล คือเลือดไพร่ที่ไม่มีเส้น’,” ประชาไท, 15 มี.ค.53)

รัฐบาล – นายกรัฐมนตรีขึ้นเฮลิคอปเตอร์จาก ร. 11 รอ. หลังจากมวลชนเสื้อแดงมาชุมนุมหน้า ร.11 รอ.

นายกรัฐมนตรีแถลงยืนยันว่าจะไม่ดำเนินการตามข้อเรียกร้องของ นปช.

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – เกิดเหตุยิงเอ็ม 79 ใส่กองรักษาการณ์ กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ (ร.1 พัน 1 รอ.) ถนนวิภาวดีรังสิต จำนวน 4 ลูก ทำให้ทหารบาดเจ็บ 2 นาย คาดว่าผู้ก่อเหตุยิงมาจากทางยกระดับโทลล์เวย์

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 16 มี.ค.53

 

16 มีนาคม 2553

นปช. – นปช. เจาะเลือด 3แสนซีซี ใส่แกลลอนแล้วนำไปเทที่หน้าทำเนียบรัฐบาลและพรรคประชาธิปปัตย์ ยุทธวิธีเทเลือดส่งผลให้แกนนำ นปช. ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากหลายฝ่าย รวมทั้งแนวร่วม เช่น พล.ต.ขัตติยะ และนายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ แกนนำกลุ่มแดงสยาม สุดท้ายในช่วงค่ำแกนนำ นปช.ประกาศตัดแดงสยามออกจากขบวนการ

นปช. เชียงใหม่ พร้อมพระสงฆ์ นำเลือดไปแห่รอบอนุสาวรีย์เจ้ากาวิละ หน้ากองบัญชาการมณฑลทหารบกที่ 33 อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และทำพิธีบวงสรวง พร้อมราดเลือดใส่กระถางธูปบูชา

รัฐบาล

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – เกิดเหตุยิงเอ็ม 79 ไปตกใกล้ๆ บ้านของนายอักขราทร จุฬารัตน์ ประธานศาลปกครองสูงสุด ใน ซ.ลาดพร้าว 23

ที่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ตอนเช้ามืด เกิดเหตุคนร้ายขี่จักรยานยนต์ขว้างระเบิดใส่บริษัทเชียงใหม่คอนสครัคชั่น จำกัด ซึ่งเป็นของนายคะแนน สุภา พ่อตานายเนวิน ชิดชอบ

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 17 มี.ค.53

 

17 มีนาคม 2553

นปช. – นปช. นำเลือดไปเทที่หน้าบ้านนายกรัฐมนตรี ที่สุขุมวิท 31 ขณะที่ นปช. อีกกลุ่มหนึ่งเดินทางไปยื่นหนังสือที่สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย

ที่ จ.นครราชสีมา นปช. โคราช เจาะเลือดที่ลานอนุสาวรีย์ย่าโม นำเลือดไปเทที่บ้านไร้กังวล ถ.สืบสิริ อ.เมือง บ้านพักของพล.อ.เปรมติณสูลานนท์ แต่ถูกสกัดก่อนถึงบ้าน 500 เมตร จึงทำการเทเลือดใส่รูปพลเอกเปรมแทน

ในช่วงค่ำ นปช.ประกาศบนเวทีว่าจะชุมนุมยืดเยื้อจนกว่าจะได้รับชัยชนะ พร้อมประกาศตัดขาดกลับกลุ่มแดงสยามของนายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ และกลุ่มของ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก ที่ออกมาโจมตีแนวทางเคลื่อนไหวของ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน

รัฐบาล – นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เสนอให้ใช้สภาฯ เป็นทางออกของความขัดแย้ง โดยเปิดอภิปรายทั่วไปตาม ม.179 อย่างไรก็ตามการประชุมต้องล่มไปเนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบ เพราะ ส.ส.จำนวนมากไม่กล้าเดินทางมาประชุม

การประชุมสภาผู้แทนราษฎรสามารถดำเนินการได้ตามปกติ แต่องค์ประชุมไม่ครบ

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – ฝ่ายสมาชิกวุฒิสภา 60 คน เข้าชื่อกันเพื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไป ส่วนกลุ่ม 40 ส.ว.แสดงท่าทีสนับสนุนรัฐบาล

สนนท.ออกแถลงการณ์สนับสนุน นปช.

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 18 มี.ค.53 และไทยรัฐ 19 มี.ค.53

 

18 มีนาคม 2553

นปช. – แกนนำ นปช. มีมติกดดันอีกระลอกด้วยการเคลื่อนพลใหญ่วันที่ 21 มี.ค. รณรงค์ทั่วกรุงเทพเรียกร้องให้คนกรุงออกมาขับไล่รัฐบาล

นปช. สุรินทร์ รณรงค์ในเมือง ตลาดเทศบาลตำบลกังแอน อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ หาเสบียงสนับสนุนการชุมนุมที่กรุงเทพ

นปช. เชียงใหม่ แห่โลงศพ และดอกไม้จันทน์ไปชุมนุมบริเวณหน้าศูนย์ประสานงานพรรคประชาธิปัตย์ ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เพื่อแสดงจุดยืนว่าไม่ยอมรับนายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์

รัฐบาล – หลังบ้านพักถูกเทเลือด นายกฯ สั่งดำเนินคดีกับแกนนำเสื้อแดงที่พูดว่าจะเอาเลือดไปล้างเท้า ด้านกรรมการสิทธิ์ระบุม็อบละเมิดสิทธิ์คุกคามประชาชน

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – กสม. นำโดย ดร.อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เข้าพบนายกรัฐมนตรี ที่ ร.11 รอ. หลังการพูดคุยกันนายกรัฐมนตรีและประธาน กสม. ได้แถลงร่วมกัน โดยประธาน กสม.กล่าวว่า ได้นำข้อเสนอเชิงตกลงระหว่าง นปช.กับรัฐบาล โดยผู้ชุมนุมตกลงว่าจะชุมนุมโดยสงบ และรัฐบาลจะดูแลเรื่องความสงบเรียบร้อย รวมถึงมีข้อตกลงที่จะไม่มีการปิดล้อมที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและองค์รัชทายาท สถานที่ราชการ สนามบิน และสถานทูต โดยทางรัฐบาลขอเพิ่มข้อตกลงเรื่อง จะต้องไม่มีการปิดล้อมบ้านพักของนายกรัฐมนตรีหรือของพรรคประชาธิปัตย์ เพราะการปิดล้อมบ้านพักของบุคคลเป็นการละเมิดสิทธิ์ ทั้งนี้ประธาน กสม. ยังระบุว่า รัฐบาลพร้อมที่จะเปิดการเจรจา หากนำไปสู้ข้อยุติทางการเมืองและความสงบ โดยต้องเคารพกติกาด้วยกันทุกฝ่าย

ด้านนายอภิสิทธิ์แถลงว่า ตนมีความจริงใจในการแลกเปลี่ยนพูดคุยกันด้วยเหตุผล แต่ต้องอยู่บนเงื่อนไขการชุมนุมที่อยู่ภายใต้กรอบกติกา ถ้าเป็นการชุมนุมนอกกติกา ไม่อาจที่จะเข้าสู่กระบวนการพูดคุยได้ เพราะไม่อาจทำให้สังคมต้องอยู่ภายใต้หรือเดินตามการข่มขู่คุกคาม

อย่างไรก็ตาม ในวันเดียวกันนั้น นายสาทิตย์ วงษ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯและแกนนำคนเสื้อแดงประกาศทำสงคราม “อำมาตย์” กับ “ไพร่” ว่า ถือเป็นเงื่อนไขนำไปสู่ความขัดแย้งที่จะนำประเทศกลับไปสู่สงครามคอมมิวนิสต์เหมือนเมื่อ 30 ปีที่แล้ว สิ่งที่รัฐบาลพยายามทำคือการอธิบายให้ข้อมูลข้อเท็จจริงกับประชาชนว่า ความหมายของทั้งสองคำคืออะไร โดยนายกฯ สั่งการในที่ประชุม ศอ.รส. ชี้แจงเรื่องดังกล่าวอย่างเป็นระบบทั้งผ่านสื่อ และผ่านเครือข่ายในต่างจังหวัด โดยมี กอ.รมน.รับผิดชอบ และจะให้นักวิชาการทำความใจกับประชาชน

ด้านนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช.-แดงทั้งแผ่นดิน กล่าวว่า นปช.พร้อมเจรจากับนายอภิสิทธิ์คนเดียวเท่านั้น บนพื้นฐานการเจรจาแบบเสมอภาค ส่วน นพ.เหวง โตจิราการ กล่าวยืนยันข้อเสนอเดิมคือการยุบสภา หากนายกฯ จะเจรจาก็พร้อมเจรจาด้วย

อย่างไรก็ตาม ในเวลา 21.00 น. นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ หนึ่งในแกนนำ นปช. ให้สัมภาษณ์ถึงสาเหตุการไม่ยอมเปิดเจรจากับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อยุติปัญหาว่า การเจรจาจะเกิดขึ้นได้เมื่อทั้ง 2 ฝ่ายมีความเท่าเทียมกัน แต่วันนี้รัฐบาลยังให้สื่อของรัฐออกข่าวโจมตี ใส่ร้ายป้ายสีพวกตน และคนเสื้อแดงว่าเป็นพวกล้มเจ้า คิดลอบสังหารนายกฯ ทำให้กลายเป็นผู้ร้ายของสังคม แล้วตนจะไปนั่งเจรจาทำไม ถ้ารัฐบาลอยากเจรจาอย่างจริงใจ ก็ควรเปิดพื้นที่ให้พวกตนมีโอกาสชี้แจงนำเสนอข้อเท็จจริงต่อพี่น้องประชาชน ทั่วประเทศผ่านสื่อของรัฐด้วย (ดู “กสม. แม่สื่อเจรจา นายกฯ-นปช. สองฝ่ายยังตั้งแง่,” ประชาไท, 19 มี.ค. 53)

นายอภิสิทธิ์และแกนนำ นปช. แสดงท่าทีตอบรับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่เรียกร้องให้มีการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับ นปช. แกนนำ นปช. มีข้อเสนอให้ถ่ายทอดสดการเจรจา ด้านรัฐบาลเสนอให้ผู้ชุมนุมคืนพื้นที่บริเวณแยกมิสกวันถึงแยกลานพระบรมรูปทรงม้า ถ.อู่ทองใน ถ.ศรีอยุธยา ตั้งแต่แยกวัดเบญจมบพิตฯ ถึงแยก พล.1 เพื่อใช้พื้นที่สำหรับจัดงานกาชาด

เกิดเหตุวางระเบิดป้ายรถเมล์ ประจำทาง หน้ากระทรวงยุติธรรม อาคารซอฟท์แวร์พาร์ค ถ. แจ้งวัฒนะ (ระเบิดแสวงเครื่องบรรจุท่อ pvc) จาก www.khaosod.co.th 20 มี.ค.53

กลุ่มประชาชนจากเขตบางรัก เดินทางไปให้กำลังใจนายกรัฐมนตรีที่บ้านพัก จาก ไทยรัฐ 19 มี.ค.53

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 19 มี.ค.53

 

19 มีนาคม 2553

นปช. – นปช. จัดการชุมนุมย่อยในพื้นที่หลายจังหวัด เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง นครสวรรค์ สกลนคร ชัยภูมิ นครราชสีมา เลย หนองคาย ขอนแก่น มุกดาหาร อุดรธานี อุบลราชธานี พัทลุง

แกนนำ นปช. ปฏิเสธที่จะให้ กสม. เป็นตัวกลางในการเจรจากับรัฐบาล

รัฐบาล

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – กลางคืน เกิดเหตุขว้างขวดบรรจุน้ำมันใส่รถถัง หน้ากองพลทหารม้าที่ 2 (พล.ม.2) ถนนพหลโยธิน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 20 มี.ค.53

 

20 มีนาคม 2553

นปช. – นปช. จัดการรณรงค์รอบกรุงเทพฯ นำโดยรถมอเตอร์ไซต์และรถยนต์ส่วนตัวนับหมื่นคัน สันติบาลประเมินว่ามีจำนวนผู้ชุมนุมร่วมขบวนมากกว่า 65,000 คน

ในช่วงเย็น นายณัฐวุฒิ เลขาธิการ นปช. แถลงว่า นปช.ไม่ปิดประตูการเจรจาเพราะการเจรจาเป็นแนวทางที่ดีที่สุด แต่ไม่ต้องการเจรจากับนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี จะเจรจากับผู้มีอำนาจสูงสุดคือ นายอภิสทธิ์ ในเงื่อนไขเดียวคือ ยุบสภาทันที ไม่ต้องพูดถึงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หลังจากยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่จึงมาเริ่มกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญ (ดู “แกนนำแถลงมวลชนมากสุดในประวัติศาสตร์ ยอมเจรจานายกฯ ปัดคนกลาง,” prachatai, 20 มี.ค. 53)

รัฐบาล – เวลา 10.00 น. ร.11 รอ. นายสาธิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยนายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฯ ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงถึงท่าทีของรัฐบาลว่า การแสดงออกจากฝ่ายของกลุ่มผู้ชุมนุมยังเป็นท่าทีที่ไม่มีความจริงใจที่จะเจรจา เนื่องจากล่าสุดได้มีการเรียกร้องให้มีการยุบสภาก่อนจึงจะมีการเจรจากัน ในขณะเดียวกันรัฐบาลเองเห็นว่าข้อเสนอที่ทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เสนอเข้ามาเป็นตัวประสานการเจรจานั้น รัฐบาลพร้อมที่จะเจรจา แต่ต้องตั้งอยู่บนกติกาพื้นฐานของการที่จะต้องมีการตกลงร่วมกันก่อน เพราะฉะนั้นการสร้างเงื่อนไขของฝ่ายกลุ่มผู้ชุมนุมที่มีการแถลงออกมาเมื่อวานนี้ (19 มี.ค. 53) จึงเป็นการสร้างเงื่อนไขที่ไม่สามารถที่จะนำไปสู่การเจรจาได้

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงเจตนาของกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงว่า คงจะขัดขวางไม่ให้รัฐบาลทำงานได้ และใช้ความเดือดร้อนของประชาชนเป็นตัวต่อรอง ซึ่งท่าทีของนายกรัฐมนตรีก็ชัดเจนคือเราจะไม่ให้มีการจับสังคมเป็นตัวประกัน จากนี้ไปรัฐบาลก็จะพยายามแก้ปัญหาทุกทาง โดยการเจรจาก็เป็นอีกทางออกหนึ่ง ซึ่งขณะนี้เราต้องรอความจริงใจจากทางกลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งเชื่อว่าคงรอสัญญาณ จาก พ.ต.ท.ทักษิณฯ ว่าพร้อมที่จะมีการเจรจาเพื่อหาทางออกในเรื่องนี้หรือไม่ (ดู “เทพไทระบุเสื้อแดงจัดฉาก จ้างรถ 2,000-3,000 คนยืนเชียร์ 500,” prachatai, 20 มี.ค. 53)

นายกฯ เดินสายให้สัมภาษณ์สื่อ ระบุว่ารัฐบาลไม่ปิดกั้นที่จะพูดคุยกับผู้ชุมนุมเพื่อหาทางออกร่วมกัน แต่การชุมนุมต้องเป็นไปตามกติกาของรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม ปัญหาคือ พ.ต.ท. ทักษิณไม่ยอมรับการพูดคุย (ดู “นายกรัฐมนตรีย้ำหากยุบสภาต้องเป็นการเลือกตั้งที่ทุกฝ่ายยอมรับกติกา,” prachatai, 20 มี.ค. 53 และยังมีการให้สัมภาษณ์ TNN และ ThaiPBS ด้วย)

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – เวลาประมาณ 1.30 น. เกิดเหตุปาระเบิดประดิษฐ์ใส่ป้ายโรงเรียนเปรมติณสูลานนท์ บ้านหนองกุงขี้ควง หมู่ 5 ต.บัวเงิน อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น

21.50 น. เกิดเหตุระเบิดบริเวณสนามหญ้าสำนักงานใหม่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ที่สนามบินน้ำ นนทบุรี แต่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ

ต่อมาเกิดเหตุยิงอาร์พีจีใส่กระทรวงกลาโหม เวลาประมาณ 22.45 น. เกิดเหตุระเบิดที่ชุมชนแพร่งภูธร ถนนตะนาว ศาลเจ้าพ่อเสือ หลังกระทรวงกลาโหม มีผู้บาดเจ็บเป็นชาย 1 คน ถูกสะเก็ดระเบิดที่แขนขวา ต่อมาเจ้าหน้าที่ระบุว่าเป็นการยิงอาร์พีจีใส่กระทรวงกลาโหม แต่พลาดไปโดนสายไฟ เจ้าหน้าที่ตรวจค้นรถกระบะที่จอดทิ้งห่างจุดเกิดเหตุ 700 ม. พบเครื่องยิงอาร์พีจี ปืนกลมือ ระเบิดมือขว้างเอ็ม 67 กระสุนปืน และเสื้อสีแดง โดนภาพจากกล้องวงจรปิดปรากฏภาพคนร้าย 2 ราย

นอกจากนี้ยังมีรายงานข่าวว่าพบระเบิดซีโฟร์วางไว้บริเวณเชิงสะพานปิ่นเกล้า แต่เจ้าหน้าที่สามารถเก็บกู้ได้ทัน เหตุการณ์ระเบิดทั้งหมดรัฐบาลและ นปช. ต่างกล่าวหาว่าเป็นการกระทำของอีกฝ่าย

หมายเหตุ – จาก www.khaosod.co.th 21-22 มี.ค.53

 

22 มีนาคม 2553

นปช. – นปช. ออกแถลงการณ์ยื่อข้อเสนอต่อรัฐบาล 5 ข้อ โดยขอเจรจากับนายกรัฐมนตรีคนเดียว ได้แก่ (1) ให้ยุบสภาทันที (2) ยืนยันไม่มีข้อเรียกร้องอื่นใดนอกเหนือจากนี้ (3) ยินดีให้มีการเจรจา (4) เมื่อยุบสภาแล้วทุกฝ่ายต้องสลายตัวทันที และ (5) ให้จัดการเลือกตั้งที่สุจริตและยุติธรรม

หน่วยสันติวิธีของ นปช. ขอเข้าตรวจสอบอาวุธของทหารและตำรวจที่มาตั้งจุดบริเวณใกล้ที่ชุมนุม คือ วัดโสมนัสราชวรวิหาร ราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย (สนามม้านางเลิ้ง)

ที่อุดรธานีและหนองคาย นปช.อุดรธานี และหนองคาย ร่วมกันขับไล่นายกฯ ที่เดินทางไปตรวจราชการ-สภาพลำน้ำโขงจาก จ.อุดร ถึง หนองคาย จนนายกต้องยุติภารกิจและกลับกรุงเทพ

รัฐบาล

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – พระสงฆ์จากขอนแก่นกว่า 100 รูป ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอบิณฑบาตให้คืนอำนาจแก่ประชาชนเพื่อนำสังคมพ้นวิกฤต ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์

เกิดเหตุปาระเบิด เอ็ม-67 ใส่ป้อมยามหมวดการทางตลิ่งชัน ถ.สิรินธร ขาเข้า กทม.

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 23 มี.ค.53

 

23 มีนาคม 2553

นปช. – นปช. รณรงค์ด้วยขบวนรถจักรยานยนต์ทั่วกรุงเทพ แจกจ่ายสติ๊กเกอร์รณรงค์ให้ยุบสภา ให้แก่ประชาชน

ส.ส.พรรคเพื่อไทยทั่วประเทศกว่า 100 คน ขึ้นเวทีที่ผ่านฟ้าให้กำลังใจคนเสื้อแดงที่มาชุมนุมขับไล่รัฐบาล

รัฐบาล – รัฐบาลย้ายที่ประชุม ค.ร.ม. จากราบ 11 มาที่กระทรวงสาธารณสุข

ครม. มีมติขยายเวลาการประกาศใช้ พ.ร.บ. ความมั่นคงฯ ต่อไปอีก 7 วัน เฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ตำรวจและทหารหลายพันนายเข้าปิดถนนและตรึงกำลังบริเวณรัฐสภา ห้าม ส.ส. และเจ้าหน้าที่เข้ารัฐสภา นายกรัฐมนตรีอนุมัติเพิ่มกำลังพลในการรักษาความสงบ โดยใช้เจ้าหน้าที่จำนวน 47,000 นาย เมื่อรวมกับกำลังเสริมคาดว่ามีเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 64,000 นาย

ส่วนความคืบหน้ากรณียิงอาร์พีจีใส่กระทรวงกลาโหม เจ้าหน้าที่ได้ลายมือผู้ต้องสงสัย พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผบช.น. แถลงข่าวการออกหมายจับ ส.ต.ต. บัณฑิต สิทธิทุม อายุ 43 ปี อดีตตำรวจตระเวณชายแดน

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – เวลา 14.20 น. หลังเสร็จการประชุม ครม. เพียงครึ่งชั่วโมง เกิดเหตุยิงระเบิดเอ็ม 79 รวม 2 ลูก ใส่ลานจอดรถกระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ

ส่วนที่เชียงใหม่ พบลูกระเบิด m79 ข้างอาคารห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลแอร์พอร์ตพลาซ่า หลังจากเข้ามาตรวจสอบเจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่าน่าจะเป็นการนำมาวางเพื่อสร้างสถานการณ์

นางแบบ มิสแม็กซิม เดินทางมาปลอบขวัญ ให้กำลังใจและมอบดอกกุหลาบสีขาว ให้นายทหารและกำลังพลที่ปฏิบัติหน้าที่ ภายในกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 24 มี.ค.53

 

24 มีนาคม 2553

นปช. – ส.ส. เพื่อไทยปฏิเสธเข้าร่วมการประชุมรัฐสภา หลังจากที่ทหารได้ทำการปิดล้อมรัฐสภาทุกด้าน โดยการนำรั้วลวดหนามมาขึงกั้น เสริมแท่นคอนกรีตปิดทุกด้าน ด้านละ 3 ชั้น นำรถบรรทุกน้ำ รถบดถนน รถเครน รถขนขยะมากั้นเป็นชั้นๆ เพื่อวางแนวป้องกัน วางกำลังตำรวจ-ทหารยืนประจำการเรียงแถวหน้ากระดานอยู่ทุกแยก เพื่อป้องกันเดินทางมาประท้วงนายกรัฐมนตรีที่จะมาประชุมสภาของ นปช.

ท่านผู้หญิงวิรยา ชวกุล ขึ้นเวที นปช. นำผู้ชุมนุมร่วมจุดเทียนชัยถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงหายจากพระอาการประชวร พร้อมร้องเพลงสดุดีมหาราชา

รัฐบาล – นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและโฆษกพรรคภูมิใจไทย กล่าวปฏิเสธกระแสข่าวที่ว่าผู้ต้องสงสัยยิงอาร์พีจีใส่กลาโหมเป็นคนติดตามนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช. มหาดไทย

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – ประธานวุฒิสภาตำหนิรัฐบาลที่นำกำลังทหารมาปิดล้อมรัฐสภา ขณะที่กลุ่ม ส.ว. นายไพบูลย์ นิติตะวัน นายสมชาย แสวงการ นายประสาร มฤคพิทักษ์ นายคำนูญ สิทธิสมาน และ น.ส. รสนา โตสิตระกูล แถลงการตอบโต้ประธานวุฒิสภา เนื่องจากต้องการให้คงกำลังทหารไว้รักษาความปลอดภัย

เกิดเหตุวางระเบิดบริเวณริมรั้วกรมบังคับคดี ถ.บางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพ

ในช่วงค่ำเกิดเหตุวางระเบิดถล่มหน้าห้องควบคุมไฟฟ้า ภายในศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี เจ้าหน้าที่ระบุว่าเป็นระเบิดทีเอ็นที ห่างกันราว 1 ชั่วโมง เกิดเหตุปาระเบิดชนิดขว้าง m 67 ใส่กรมยังคับคดี

 

25 มีนาคม 2553

นปช. – นปช. ประมาณ 400 คน โกนหัวประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภา ที่เวทีชุมนุมสะพานผ่านฟ้าฯ

รัฐบาล – ศอ.รส. สรุปเหตุการณ์ระเบิดว่ามีทั้งหมด 20 ครั้ง ในกรุงเทพและปริมณฑล 16 ครั้ง และมีเหตุก่อนประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ 4 ครั้ง นอกจากนี้มีรายงานข่าวจากสันติบาลว่า เมื่อวันที่ 24 มี.ค. สมาชิกกลุ่มโจรก่อการร้ายอาร์เคเคจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มนายสะแปริง บาซอ และสมาชิก 50 คน ได้เดินทางเข้ากรุงเทพเพื่อร่วมเคลื่อนไหวกับ นปช. และหาโอกาสสร้างสถานการณ์ความรุนแรง และจากการข่าวยังพบความเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความรุนแรงที่เป็นสมาชิกชมรม PNYS จำนวนมากพร้อมอาวุธ เดินทางมาพักอาศัยหน้า มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – เกิดเหตุวางระเบิดเอ็ม 26 ตู้เอทีเอ็ม ธนาคารกรุงเทพ หน้าบริษัท เอส.เค. เลเธอร์ จำกัด บ้านสันกลาง หมู่ 3 ต.สนกลาง อ.สันกำแพง เชียงใหม่ แต่เจ้าหน้าที่สามารถที่จะเก็บกู้ไว้ได้

เครือข่ายสันติวิธีเดินรณรงค์รอบวงเวียนอนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหยุดเอาประชาชนเป็นตัวประกัน

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 26 มี.ค.53

 

26 มีนาคม 2553

นปช. – ขบวนมอเตอร์ไซค์ หน่วยโฆษณาประชาสัมพันธ์ของ นปช. จัดขบวนออกจากสะพานผ่านฟ้าฯ ตระเวนไป 5 สาย เชิญชวนชาวกรุงเทพฯ มาร่วมชุมนุมใหญ่ในวันที่ 27 มี.ค. เรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภา

ขณะที่แกนนำ นปช. กลุ่มหนึ่งเข้าหารือกับคณะตัวแทนทูต 15 ประเทศ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจถึงแนวทางการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง

รัฐบาล – ชมรมนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตยรณรงค์หน้าอาคารสีลมคอมเพล็กซ์ ขอให้คนเสื้อแดงชุมนุมโดยสันติ และคัดค้านการเรียกร้องให้ยุบสภา

ตอนเช้า มีผู้นำระเบิดขว้างชนิดเอ็ม 67 โยนไว้บนสนามหญ้า บริเวณริมรั้ว ใกล้ลานจอดรถ ภายในรั้วของสำนักงานอัยการสูงสุด ถนนรัชดาภิเษก เจ้าหน้าที่เก็บกู้ได้

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 27 มี.ค.53

 

27 มีนาคม 2553

นปช. – นปช. เคลื่อนขบวน 8 สาย ไปกดดันทหารรอบพื้นที่ชุมนุมให้ถอนกำลังกลับหน่วยของตน ที่ตั้งของทหาร 8 จุดรอบที่ชุมนุมได้แก่ 1 บริเวณสนามม้านางเลิ้ง 2 บริเวณวัดบวรนิเวศฯ 3 บริเวณวัดตรีทศเทพ 4 วัดมกุฏกษัตริยาราม 5 วัดสุนทรธรรมทานหรือวัดแคนางเลิ้ง 6 วัดโสมนัสฯ 7 (โรงเรียนวชิราวุธฯ ถนนพระราม 8) วิทยาลัยราชมงคลพาณิชยการพระนคร รวมทั้งทำเนียบรัฐบาล ในตอนค่ำ

รัฐบาล – บ่ายวันเดียวกัน พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษก บช.น. แถลงข่าวว่า ศอ.รส. มีคำสั่งให้ถอนทหาร 8 จุดที่คนเสื้อแดงเคลื่อนมวลชนเข้ากดดันกลับสู่ที่ตั้งทั้งหมด และให้ตำรวจเข้าดูแลพื้นที่บริเวณ ถ.ราชดำเนิน รัฐสภา และเขาดิน

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – เกิดเหตุระเบิด 3 แห่งในพื้นที่กรุงเทพ แห่งแรก ช่วงค่ำเกิดเหตุปาระเบิดเข้าใส่หน้าสถานี โทรทัศน์ช่อง 5 สนามเป้า ถนนพหลโยธิน มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 ราย เป็นทหารเวร 1 ราย และพลเรือนที่ขับรถผ่านมา 2 ราย แห่งที่สอง ต่อมาเวลาประมาณ 21.40 น. เกิดเหตุยิงระเบิดเอ็ม 79 ใส่เจ้าหน้าที่บริเวณเต็นท์รักษาการ ด้านหน้าสถานีวิทยุโทรทัศน์ ช่องเอ็นบีที ถ.วิภาวดีฯ มีผู้บาดเจ็บ 4 ราย เป็นพลทหารและพนักงาน รปภ. คาดว่าเป็นการยิง m79 มาจากทางยกระดับโทลล์เวย์ แห่งที่สาม เกิดเหตุขว้างระเบิดลูกเกลี้ยงชนิดขว้าง K-75 ในอาคาร 120 ปี กรมศุลกากร ถนนสุนทรโกษา แขวงและเขตคลองเตย กทม.

นอกจากนั้น ยังเกิดเหตุยิงเอ็ม 79 และปืนอาก้าใส่ ธนาคารกรุงเทพ ใน จังหวัดพะเยาด้วย

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 28 มี.ค.53

 

28 มีนาคม 2553

นปช. – เวลาประมาณ 7.30 น. นายขวัญชัย ไพรพนา นำคนเสื้อแดงเดินทางไปที่หน้ากรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ขณะเดียวกันฝ่ายแกนนำ นปช. ที่สะพานผ่านฟ้าได้ประชุมหารือกัน

กระทั่งเวลา 9.30 น. แกนนำ นปช. ลงมติให้เวลานายอภิสิทธิ์ตัดสินใจ 1 ชั่วโมงว่าจะเจรจาหรือไม่ โดยแกนนำ นปช. ยินดีเจรจาที่ไหนก็ได้

เวลา 10.50 น. แกนนำ นปช. แถลงไม่ขัดข้องในการเจรจา โดยผู้ชุมนุมจะปักหลักอยู่ที่สะพานผ่านฟ้า ส่วนมวลชนที่อยู่หน้าราบ 11 จะยังปักหลักรอความคืบหน้าของการตกลงเรื่องการเจรจาหน้าราบ 11

ในที่สุดเวลา 13.20 น. ก็ได้ข้อสรุปว่าทั้งสองฝ่ายจะเจรจากันเวลา 16.00 น. ที่สถาบันพระปกเกล้า กลุ่มคนสนแดงที่ชุมนุมหน้าราบ 11 จึงสลายการชุมนุม

ตอนเย็น 3 แกนนำ นปช. (นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ และ นพ. เหวง โตจิราการ) เจรจา เจรจากับรัฐบาล (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์) ที่ห้องประชุมสภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ เริ่มต้นเจรจาเมื่อเวลา 16.30 น. ถึง 20.00 น. ถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 การเจรจานัดแรกไม่ได้ข้อยุติ ทั้งสองฝ่ายจึงนัดเจรจากันอีกครั้งในวันที่ 29 มี.ค. เวลา 18.00 น.

รัฐบาล – เวลา 9.00 น. อภิสิทธิ์ออกแถลงการณ์ถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ กล่าวว่าไม่พร้อมเจรจาหากยังมีการกดดันหน้ากรมทหารราบที่ 11 นายสุเทพ เทือกสุบรรณประกาศว่า หากมีการบุกเข้าไปในกรมทหารราบที่ 11 จะให้ผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารประกาศกฎอัยการศึกเพื่อปกป้องเขตทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์

ต่อมาเวลา 10.45 น. นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ กล่าวผ่านช่อง 11 ว่า นายกรัฐมนตรีจะเจรจากับแกนนำ นปช.

เวลา 12.10 น. นายกรัฐมนตรีนั่งเฮลิคอปเตอร์มาที่ราบ 11 เพื่อรับเอกสารจำนวนหนึ่งและออกไปโดยไม่ทราบจุดหมาย

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – เวลาประมาณ 4.00 น. เกิดเหตุยิงอาวุธปืนเอ็ม 79 ยิงเข้ามาภายในกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ ศอ.รส. และเป็นที่พักของนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น (แต่ในช่วงที่เกิดเหตุ นายกฯ และนายสุเทพ ไม่ได้พักอยู่เหมือนเช่นทุกคืนที่ผ่านมา) จำนวน 2 นัด มีพลทหารได้รับบาดเจ็บ 4 นาย โดยพลทหาร 1 รายบาดเจ็บสาหัส

16.00 น. เกิดเหตุมีคนใช้อาวุธปืนยิงใส่ธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานขาว ซอยหลานหลวง 10 ถ.หลานหลวง จำนวน 5 นัด

22.30 น. เกิดเหตุปาระเบิดเอ็ม 67 ใส่ป้ายรถเมล์หน้าบ้านนายบรรหาร ศิลปอาชา ปากซอยจรัญสนิทวงศ์ 57 บางพลัด คนที่เดินผ่านถูกสะเก็ดระเบิดบาดเจ็บ 1 คน

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 29 มี.ค.53

 

29 มีนาคม 2553

นปช. – ณัฐวุฒิแถลงบนเวทีว่า นปช. ยังยืนยันให้นายกรัฐมนตรียุบสภา ส่วนระยะเวลาจะเป็นเท่าไรตามที่หลายฝ่ายเสนอ 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ค่อยมาเจรจา

เจรจาครั้งที่ 2 เริ่มขึ้นเวลา 18.00 น. ที่สถาบันพระปกเกล้าฯ นายอภิสิทธิ์เสนอกรอบในการเจรจาว่า จะยุบสภาวันนี้หรืออีก 15 วันไม่เชื่อว่าจะเป็นทางออกให้สังคม ได้หารือพรรคร่วมรัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องแล้ว ไม่มีปัญหาถ้าจะยุบสภาก่อนหมดวาระ แต่ต้องปูทางไปสู่ความสงบก่อนมีการเลือกตั้ง เช่น แก้รัฐธรรมนูญ ลดความแตกแยกในสังคม แต่ฝ่าย นปช. เห็นว่าการแก้รัฐธรรมนูญไม่มีทางเป็นไปได้เพราะพรรค ปชป. ไม่เห็นด้วยกับการแก้ จึงสายเกินไปที่จะพูดเรื่องนี้ ดังนั้น จึงขอให้เลือกตั้งใหม่เลยเพื่อให้บ้านเมืองกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ให้ยึดผลการเลือกตั้งเป็นตัวตั้ง นายอภิสิทธิ์กับนายจตุพรตอบโต้กันอย่างไม่ลดละ ฝ่ายรัฐบาลเสนอกรอบเวลา 9 เดือนในการยุบสภาและเสนอให้ทำประชามติเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น การเจรจาดำเนินมาถึงเวลา 20.20 น. นายจตุพรได้ตัดบทขอยุติการเจรจา โดยไม่สามารถหาข้อตกลงอะไรได้ และไม่ชัดเจนว่าจะมีการนัดหมายเจรจาต่อหรือไม่ หลังการเจรจาดังกล่าวฝ่ายรัฐบาลมีท่าทีอยากเจรจาต่อ ส่วนฝ่าย นปช. นายวีระแสดงท่าทีอยากเจรจาต่อ แต่นายจตุพรไม่ต้องการเจรจาอีกต่อไป

รัฐบาล – นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย แถลงสรุปการเจรจาวันแรกว่า (1) ทั้งสองฝ่ายยอมรับกรอบการเจรจาร่วมกัน (2) ทั้งสองฝ่ายไม่ปฏิเสธข้อเสนอยุบสภา เพียงแต่ต้องเจรจาว่าการยุบสภาควรจะเกิดขึ้นเมื่อไรและควรดำเนินการใดๆ ก่อนยุบสภาหรือไม่ และ (3) การเข้าสู่โต๊ะเจรจาอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่มีการเคลื่อนขบวนชุมนุมไปยังที่ใด

ด้านนายสุเทพได้หารือกับแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ 6 ประเด็นตามมติคณะกรรมการสมานฉันท์ โดยทุกอย่างจะเสร็จสิ้นในปลายปี

ก่อนการเจรจา 2 ฝ่ายในช่วงเย็น นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้แถลงว่า ในวันที่ 30 มีนาคม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปบาห์เรน จึงมอบหมายให้ตนเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และในฐานะเป็นผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) จึงตัดสินใจใช้ห้องประชุมกรมทหารราบที่ 11 เป็นสถานที่ประชุม ครม. รวมถึงจะใช้สถานที่ดังกล่าวในการประชุม

คณะกรรมการชุดต่าง ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ตนเป็นประธาน จนกว่าจะยกเลิก ศอ.รส. ก็จะกลับเข้าทำงานที่ทำเนียบรัฐบาลตามเดิม

ครม. มีวาระเกี่ยวกับความมั่นคง 2 เรื่อง คือ การเสนอให้ ครม. เห็นชอบประกาศพื้นที่ความมั่นคงตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราช อาณาจักร (พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ) ในพื้นที่โดยรอบอำเภอชะอำ และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อดูแลความปลอดภัยให้กับผู้นำประเทศที่จะเดินทางเข้าร่วมประชุมกลุ่ม ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า และจีน ในระหว่างวันที่ 2-5 เมษายนโดยจะมอบหมายให้ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รมว.กลาโหม เป็นผู้อำนวยการ ศอ.รส. ในพื้นที่ดังกล่าว

นายสุเทพ กล่าวว่า อีกวาระหนึ่งขึ้นอยู่กับผลการเจรจาระหว่างฝ่ายรัฐบาลและแกนนำแนวร่วม ประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ค่ำวันนี้ หากเป็นที่ยุติ ทุกคนกลับบ้านได้ สถานการณ์เข้าสู่สภาพปกติ ก็จะไม่ต่ออายุพ.ร.บ.มั่นคงในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล แต่ถ้าผลการเจรจาไม่เรียบร้อยและนปช.มีท่าทีชุมนุมยืดเยื้อตนก็จะเสนอ ครม. ขอความเห็นชอบประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงต่อไปอีก 7 วัน (ดู “สุเทพเตรียมเสนอต่อพ.ร.บ.มั่นคงอีก 7 วัน,” prachatai, 30 มี.ค.53)

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – พธม. ออกแถลงการณ์เรื่อง “ปฏิรูปใหญ่ประเทศไทย…ทางออกจากวิกฤต” ไม่เห็นด้วยกับการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับ นปช. เพราะแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงนั้นไม่ใช่ตัวแทนของคนทั้งประเทศ เป็นเพียงหุ่นเชิดของทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคดีอาญาแผ่นดินในคดีโกงชาติ ดังนั้นนายกรัฐมนตรีจะต้องไม่ยอมรับการเจรจาที่จะกลายเป็นเครื่องมือหรือสร้างความชอบธรรมให้กับระบอบทักษิณ ทั้งนี้ พธม. เห็นว่าการยุบสภาไม่ใช่ทางออกของประเทศ เนื่องจากข้อเสนอให้มีการยุบสภาของผู้ชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงนั้น เป็นข้อเสนอที่มีวาระซ่อนเร้นเพื่อปูทางไปสู่การฟอกความผิดให้ทักษิณ ชินวัตร ประกอบการยื่นข้อเสนอนี้มาพร้อมกับการก่อการชุมนุมที่ไม่ปกติ เพราะมีการก่อเหตุรุนแรง และการก่อวินาศกรรมคู่ขนานไปด้วยกัน โดยเอาชีวิตของประชาชนผู้บริสุทธิ์เป็นเครื่องสังเวยและเครื่องมือต่อรองกับรัฐบาล

พธม. ขอเรียกร้องให้รัฐบาลบังคับใช้กฎหมายลงโทษกับผู้ที่กระทำผิดกฎหมายอย่าง เคร่งครัดและมีประสิทธิภาพ ทั้งการกระทำความผิดในการชุมนุมที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ การกระทำความผิดในการยุยงปลุกปั่นมวลชนด้วยข้อความอันเป็นเท็จผ่านสถานี วิทยุโทรทัศน์และวิทยุชุมชน การก่อวินาศกรรม ฯลฯ เพื่อทำให้ประเทศชาติกลับเข้าสู่ภาวะความเป็นปรกติสุขโดยเร็วที่สุด (ดู “พันธมิตรค้านยุบสภา ชี้รัฐบาลกำลังเจรจากับหุ่นเชิดของนักโทษ,”_prachatai, 29 มี.ค. 53

นักวิชาการเครือข่ายสันติประชาธรรม 155 คน เสนอให้ (1) นายกรัฐมนตรียุบสภาภายใน 3 เดือน (2) ฝ่าย นปช. ไม่ควรยืนยันให้ยุบสภาทันที และ (3) ทุกฝ่ายต้องยอมรับผลการเลือกตั้ง

ที่เชียงใหม่ เกิดเหตุระเบิดตู้โทรศัพท์สาธารณะหน้าวัดทรายมูลเมือง ถนนทรายมูล ต.พระสิงห์ อ.เมือง และเกิดเหตุปาระเบิดเอ็ม 26 ใส่สำนักงานศาลปกครอง จ.เชียงใหม่

ที่กรุงเทพ ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า เมื่อเวลาประมาณ 20.15 น. เกิดเหตุเสียงดังคล้ายระเบิดบริเวณภายในรั้วทำเนียบรัฐบาล ฝั่งประตูทางเข้าด้านสะพานมัฆวานรังสรรค์ ถ.ราชดำเนิน โดยจากการตรวจสอบพบว่าเป็นประทัดปิงปอง มีขนาดเท่าลูกแก้ว ขว้างเข้ามาจากนอกรั้วทำเนียบรัฐบาล จำนวน 3 ลูก แต่เกิดระเบิดเสียงดัง 1 ลูก ส่วนอีก 2 ลูกไม่ทำงาน จากเหตุดังกล่าวไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ

ด้านเจ้าหน้าที่ทหารได้เก็บระเบิดที่ยังไม่ทำงานอีก 2 ลูก ไปตรวจสอบหาหลักฐานต่อไป ทั้งนี้ ทหารที่รักษาความปลอดภัยบริเวณดังกล่าว ได้เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า เป็นการปาเข้ามาจากด้านนอกทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเมื่อช่วงบ่ายวันที่ 29 มี.ค. ก็มีการปาระเบิดชนิดเดียวกันเข้ามาในพื้นที่เดียวกันนี้ 3 ลูก โดยเกิดเสียงดัง 1 ลูก ส่วนอีก 2 ลูก ไม่ทำงาน

สรุปแล้วตลอดทั้งวัน มีการขว้างเข้ามาประมาณ 5-6 ลูก และก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงกลางดึกของวันที่ 28 มี.ค. ก็มีผู้ขว้างระเบิดประเภทเดียวกันเข้ามาในจุดเดียวกัน 2 ลูก แต่เป็นเพียงระเบิดก่อกวนที่มีเสียงดัง ไม่มีอานุภาพร้ายแรง (ดู “สุเทพเตรียมเสนอต่อพ.ร.บ.มั่นคงอีก 7 วัน,” prachatai, 30 มี.ค. 53

ต่อมาเวลา 20.40 น.ที่ผ่านมา พ.ต.ท.สำเริง ส่งเสียง รองผกก. สน.ดุสิต ได้เดินทางมาดูที่เกิดเหตุ พร้อมเปิดเผยว่า ดูแล้วน่าจะเป็นการก่อกวนมากกว่า เพราะเป็นเพียงประทัดปิงปองที่ไม่มีอานุภาพร้ายแรงพอที่จะทำให้บาดเจ็บหรือ เสียชีวิตได้

นอกจากนี้ยังเกิดเหตุยิงปืนใส่กระจกประตูธนาคารกรุงเทพ สาขาบางยี่ขัน ปากซอยจรัญสนิทวงศ์ 57/3 ห่างจากบ้านนายบรรหาร ศิลปอาชา เล็กน้อย

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 30 มี.ค.53

 

30 มีนาคม 2553

นปช. – ฝ่าย นปช. แถลงว่า ถ้าจุดยืนของรัฐบาลยังอยู่ที่ 9 เดือนยุบสภา ก็ไม่จำเป็นต้องเจรจา แต่หากรัฐบาลพิจารณาข้อเสนอ 3 เดือนของนักวิชาการ แกนนำ นปช. ก็จะนำเข้าที่ประชุมเพื่อลงมติ

แกนนำ นปช. ประกาศระดมมวลชนครั้งใหญ่เพื่อยกระดับไปอีกขั้น กำหนดดีเดย์วันที่ 3 เม.ย.

รัฐบาล – เวลา 07.45 น. ณ ท่าอากาศยานขนส่งทหาร กองบิน 6 (บน.6) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ก่อนออกเดินทางไปเยือนบาห์เรนถึงกรณีที่การเจรจากับแกนนำคนเสื้อแดงครั้งที่ 2 ไม่สามารถหาข้อยุติได้ว่า รัฐบาลได้ใช้ความพยายามอย่างถึงที่สุด รับฟังข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุม และรับฟังจากประชาชนทั่วไปที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างจากผู้ชุมนุม ได้พยายามเสนอทางออกที่คิดว่ามีเหตุมีผลรองรับชัดเจน และได้ให้ทางตัวแทนของกลุ่มผู้ชุมนุมได้ใช้เวลาในการกลับไปพิจารณาเพราะตนจะ เดินทางไปต่างประเทศและกลับในวันที่ 31 มีนาคม 2553 แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่าได้รับการปฏิเสธอย่างรวดเร็ว ทั้งๆ ที่นายวีระ มุสิกพงศ์ แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุม ได้พยายามเปิดทางให้มีการพูดคุยกันในวันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน 2553 แต่ก็กลับมีการส่งสัญญาณให้ปิดการเจรจาโดยเร็ว เมื่อเป็นเช่นนี้รัฐบาลก็ยังยืนอยู่ในจุดเดิม นั่นก็คือจะพูดคุยกับผู้ชุมนุมได้เสมอหากผู้ชุมนุมไม่มีการเคลื่อนไหวในลักษณะที่กดดันหรือคุกคาม พร้อมๆ กับที่จะบริหารสถานการณ์ของการชุมนุมให้เกิดผลกระทบความเดือดร้อนน้อยที่สุด ทั้งนี้ก็อยากขอให้ประชาชนช่วยกันแสดงออกว่าจริงๆ นี้ประเทศเราต้องการทางออกที่ไม่ใช่เป็นเรื่องของความต้องการของคนหนึ่งคนใด หรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ถ้าประชาชนได้แสดงออกโดยสันติวิธีในรูปแบบต่างๆ ให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่นั้นต้องการที่จะให้บ้านเมืองกลับเข้าสู่ภาวะปกติและรัฐบาลก็มีข้อเสนอที่ถือว่าสมเหตุสมผลแล้ว ก็คงจะช่วยลดการสนับสนุนของผู้ชุมนุมได้

นายกรัฐมนตรียังตอบผู้สื่อข่าวถึงเรื่องความจำเป็นที่จะต้องมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯ ด้วยว่า ก็เพราะมีปัญหาการก่อวินาศกรรม รวมทั้งการชุมนุมที่มีคนจำนวนมากก็มีความละเอียดอ่อนอยู่ในหลายสถานการณ์ กฎหมายความมั่นคงที่ได้ประกาศใช้มาก็สามารถช่วยให้การชุมนุมซึ่งมีลักษณะยืดเยื้อ ไม่มีปัญหาความรุนแรงเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในอดีต (ดู “นายกรัฐมนตรีเผยการหารือแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงได้ใช้ความพยายามอย่างถึงที่สุดแล้วพร้อมยืนยันเดินหน้าบริหารราชการต่อไป,” ข่าวทำเนียบ, 30 มี.ค. 53

ครม. มีมติขยายเวลาการประกาศใช้ พ.ร.บ. ความมั่นคงฯ ถึงวันที่ 7 เม.ย. และเพิ่มพื้นที่ อ.ชะอำ 2 ตำบล และ อ.หัวหิน 2 ตำบล เพื่อรับการประชุมสุดยอดแม่น้ำโขง

นพ. วรงค์ เดชกิจวิกรม รองโฆษกพรรค ปชป. แถลงว่ารัฐบาลยอมยุบสภาในวันที่ 6 ธันวา 53 เลือกตั้งวันที่ 23 ม.ค. 54

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – ด้านนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว. นนทบุรี อดีตประธานคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง เสนอให้รัฐบาลกับ นปช. ปิดห้องเจรจา และกล่าวว่าการแก้รัฐธรรมนูญโดยตัดการทำประชามติออกไปสามารถดำเนินการเสร็จสิ้นได้ภายใน 4 เดือน

ที่รัฐสภา กลุ่มสยามสามัคคี นำโดย พล.อ. สมเจตน์ บุญถนอม และเพื่อน ส.ว. แถลงประณาม พ.ต.ท. ทักษิณ ที่วีดีโอลิงค์มายังเวที นปช. ทุกคืน และมีบางตอนพาดพิงสถาบันเบื้องสูง

เวลา 20.00 น. เกิดเหตุคนร้าย 2 คน ขับรถจักรยานยนต์ปาเอ็ม 67 เข้าไปในรั้วของมูลนิธิรัฐบุรุษ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ถนนอู่ทองนอก แขวงและเขตดุสิต กทม.

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 31 มี.ค.53

 

31 มีนาคม 2553

นปช. – พ.ต.ท. ทักษิณวิดีโอลิงค์มายังเวทีใหญ่ที่สะพานผ่านฟ้าฯ ปลุกคนเสื้อแดงให้รวมพลังสู้ครั้งใหญ่ในวันที่ 3 เม.ย. กดดันให้รัฐบาลอยู่ไม่ได้ ระบุการต้องสู้ต้องจบก่อนสงกรานต์

รัฐบาล

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – เกิดเหตุยิงระเบิดเอ็ม 79 ถล่มสำนักงานขนส่ง หมู่ 4 ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ

หมายเหตุ – www.khaosod.co.th 1 เม.ย.53

 

<<< Back                                                                                                                                                                                 Next>>>

ลำดับเหตุการณ์

นอกเหนือ

เหตุการณ์ก่อนเริ่มมีการชุมนุม

กุมภาพันธ์ 2553

13 กุมภาพันธ์ 2553

นปช.

รัฐบาล

ฝ่ายที่สาม / ไม่ทราบฝ่าย – ช่วงเวลา 22.30 น. เกิดเหตุยิงระเบิดเอ็ม 79 เข้าไปในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพาณิชย์พระนคร ฝั่งถนนพระราม 5 ริมคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งอยู่ห่างจากทำเนียบรัฐบาลเพียง 50 เมตร แรงระเบิดส่งผลให้รถยนต์ที่จอดอยู่เสียหาย 3 คัน (ดู “บันทึกประเทศไทย ปี 2553,” (กรุงเทพฯ: มติชน, 2554), หน้า 74-75.)

หมายเหตุ – 1 เดือนก่อนหน้านี้ ช่วงเวลา 3.oo น. ของวันที่ 14 มกราคม ได้เกิดเหตุยิงเอ็ม 79 เข้าไปยังอาคารของกองบัญชาการทหารบก หลังจากนั้นวันที่ 21 มกราคม พล.ต.ท. สัณฐาน ชยนนท์ นำกำลังเข้าตรวจค้นบ้านพักของ พล.ต. ขัตติยะ สวัสดิผล ภายใน ม.พัน 4 รอ. พบระเบิดสังหาร อาวุธปืนพกสั้นพร้อมกระสุนปืน และระเบิดเอ็ม 26 ขณะเดียวกันกำลังทหารอีกชุดหนึ่งได้เข้าตรวจค้นบ้านพักแฟลตชุมชนทหารภายใน ม.พัน 3 รอ. พบลูกกระสุนระเบิดเอ็ม 79 กระสุนปืนเอ็ม 16 ระเบิดซีโฟร์ ระเบิดเคโม ระเบิดทีเอ็นที กระสุนปืนสงคราม ฯลฯ

กระทั่งวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พล.ต. ขัตติยะได้เข้ามอบตัวกับตำรวจกองปราบปรามหลังถูกแจ้งข้อกล่าวหามีและครอบครองอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน แต่ได้รับการปล่อยตัวกลับโดยไม่ต้องประกันตัว ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 5 มกราคม ได้มีคำสั่งกระทรวงกลาโหมให้ พล.ต.ขัตติยะพักราชการตามการเสนอของกองทัพบกที่ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดทางวินัยใน 2 ข้อกล่าวหา คือ (1) การหนีราชการไปต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต และ (2) การให้สัมภาษณ์ดูหมิ่นผู้บังคับบัญชา ต่อมาในช่วงปลายเดือนมกราคมต่อเนื่องถึงต้นเดือนมกราคมทหารหลายกองพลได้จัดกิจกรรมแสดงพลังปกป้องสถาบันกษัตริย์ ประกาศตนเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีระเบียบวินัย ให้กำลังใจ ผบ.ทบ. และประท้วง พล.ต. ขัตติยะที่ให้สัมภาษณ์พาดพิงผู้บังคับบัญชาอย่างรุนแรง
(ดู บันทึกประเทศไทย ปี 2553,(กรุงเทพฯ: มติชน, 2554), หน้า 46-48.)

 

14 กุมภาพันธ์ 2553

นปช.

รัฐบาล

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของศาลฎีกาได้พบระเบิดซีโฟร์หนัก 3 ปอนด์ ใส่กล่องน้ำผลไม้วางไว้ริมรั้วของศาลฝั่งข้างคลองหลอด (ดู “บันทึกประเทศไทย ปี 2553,” (กรุงเทพฯ: มติชน, 2554), หน้า 75.)

หมายเหตุ

 

16 กุมภาพันธ์ 2553

นปช. – เวลา 10.20 น. ที่ห้างอิมพีเรียล ลาดพร้าว แกนนำนปช.แดงทั้งแผ่นดิน นำโดย นายวีระ มุสิกพงศ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ร่วมกันแถลงข่าว โดยนายวีระ กล่าวว่า วันที่ 26 ก.พ. ซึ่งเป็นวันที่ศาลฎีกาฯ นัดฟังคำพิพากษาคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านบาทของพ.ต.ท.ทักษิณ นปช. จะไม่นัดชุมนุมใหญ่ตามที่รัฐบาลคาดหมาย นายวีระยังกล่าวถึงกรณีที่ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ระบุว่ายังจะร่วมกับคนเสื้อแดงนั้น ว่า พล.ต. ขัตติยะเป็นนักสู้ เคลื่อนไหวอิสระ แต่แนวทางแตกต่างกับ นปช. โดยเฉพาะเรื่องการใช้ความรุนแรง ซึ่ง นปช. ยืนยันใช้หลักสันติอหิงสา ดังนั้น การกระทำใดของ เสธ. แดงจะไม่เกี่ยวกับ นปช.

ด้านนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. ได้แถลงโดยอ้างว่าตนได้รับเอกสารลับที่เกี่ยวข้องกับแผนปฏิบัติการรับมือคนเสื้อแดงจำนวน 37 หน้า ของหน่วยงานความมั่นคงที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นประธานการประชุมเมื่อวันที่ 12 ก.พ. มาเปิดเผยว่า เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารล้อมปราบประชาชนเหมือนกับเหตุการณ์สงกรานต์เลือด และโมเดล 6 ต.ค. โดยหัวใจของเอกสารชุดนี้มีการระบุแนวความคิดในการรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ กทม. ปริมณฑล และต่างจังหวัด ที่เป็นพื้นที่เพ่งเล็ง 38 จังหวัด และมีโครงการที่จะปล่อยซีดีและหนังสือแดงล้มเจ้าไปตามต่างจังหวัด ก่อนจะตระเวนจับกุมแกนนำในข้อหาไม่จงรักภักดี

นายจตุพรกล่าวอีกว่า ในแผนดังกล่าวได้มีการเตรียมกำลัง 51 กองร้อย และมีกำลังที่ถือปืนเอ็ม 16 ด้วย ดังนั้นขอประกาศว่า ครั้งนี้คนเสื้อแดงจะไม่เดินตามเกมของรัฐ แต่เราจะกำหนดแผนขึ้นใหม่ นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คนเสื้อแดงไม่ประกาศชุมนุมใหญ่ เพื่อไม่ให้รัฐบาลรู้ถึงแผนของเรา (ดู “จตุพรเปิดเอกสารลับกวาดล้างแดง พลิกเกมไม่ชุมนุมใหญ่ บิ๊กจิ๋วย้ำสันติวิธี ไม่มีทางอื่น,” ประชาไท, 16 ก.พ. 53

รัฐบาล – ที่กองบัญชาการกองทัพเรือ พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผบ.ทหารสูงสุด เป็นประธานในการประชุม ผบ.เหล่าทัพ โดยมี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผบ.ทร. พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผบ.ทอ. และ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาการ ผบ.ตร. พร้อมคณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่ เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง หลังจากนั้น พล.ต.อ.ปทีปให้สัมภาษณ์ถึงการดูแลสถานการณ์ บ้านเมืองว่า ได้เตรียมความพร้อมทั้งใน กทม. และต่างจังหวัดในภาพรวมทั้งหมด โดยตำรวจนครบาลมีการตั้งจุดตรวจและเพิ่มตำรวจสายตรวจมากขึ้น รวมถึงให้ตำรวจสายสืบลงพื้นที่ไปหาข่าว

พล.ต.อ. ปทีปกล่าวอีกว่า เป็นห่วงบุคคลที่สามจะเข้ามาก่อเหตุใน 10 วันอันตราย แม้ด้านการข่าวไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง แต่ก็ไม่ประมาท ติดตามการข่าวตลอดเวลา ส่วนความคืบหน้าการลอบยิงลูกระเบิดเอ็ม 79 ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร และที่บริเวณศาลฎีกานั้น ขณะนี้ยังไม่ได้รับผลการตรวจสอบ ต้องรอการพิสูจน์

พล.ต.อ. ปทีปกล่าวด้วยว่า มีคำสั่งให้ พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผบช.น. จัดชุดสืบสวนเพื่อหาตัวผู้ที่กระทำผิด และกำชับให้เพิ่มความเข้มในการจัดตั้งจุดตรวจ จุดสกัดในพื้นที่สุ่มเสี่ยงที่อาจจะเป็นเป้าหมายในการก่อความวุ่นวาย ทั้งในสถานที่ราชการสำคัญ บ้านพักบุคคลสำคัญ สาธารณูปโภค โดยสถานที่ราชการสำคัญที่เป็นเป้าหมาย

ด้านที่ทำเนียบรัฐบาล การประชุม ครม. บรรยากาศค่อนข้างเคร่งเครียด โดยใช้เวลาในการพิจารณาตามระเบียบวาระเพียง 2 ชั่วโมง โดยนายอภิสิทธิ์ได้ลุกออกจากห้องไปก่อนการประชุม ครม.จะเลิก เพื่อไปร่วมหารือนอกรอบที่ห้องรับรองของนายกรัฐมนตรี อาคารสำนักเลขาธิการ ครม. กับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม และนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการ สมช. รวมถึง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ทั้งนี้ การหารือใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง คาดว่าจะเป็นการหารือถึงสถานการณ์ด้านความมั่นคง และทางการเมืองที่มีแนวโน้มความรุนแรงขึ้น

ต่อมา นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม ครม.ว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามสถานการณ์ความมั่นคง (คตม.) จำนวน 24 คน มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ทำหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบและประเมินแนวโน้มสถานการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประเทศ หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ คณะกรรมการชุดนี้ ถ้าไม่มีคำสั่งยกเลิกจะอยู่จนครบวาระการทำงานของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ขณะนี้ยังใช้กฎหมายตามปกติได้อยู่ แต่ คตม.จะประเมินสถานการณ์และปรับแผนแบบวันต่อวัน หากมีความจำเป็นต้องประกาศ พ.ร.บ.มั่นคงฯ นายกฯ ก็พร้อมเรียกประชุม ครม. เพื่อขอมติได้ตลอดเวลา

การแต่งตั้ง คตม. ใช้อำนาจตามมาตรา 11 วรรค 6 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ปี 2534 คตม. มีจำนวน 24 ตำแหน่ง โดยมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง เป็นประธาน รมว.กลาโหม เป็นรองประธานกรรมการ มีรมว.ศึกษาธิการ รมต.ประจำสำนักนายกฯ ผบ.เหล่าทัพ และปลัดกระทรวงด้านความมั่นคง เป็นกรรมการ มีเลขาธิการสภาความมั่นคง เป็นกรรมการและเลขานุการ เป็นต้น นายปณิธานกล่าวว่าอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้ มีประมาณ 7 ประการได้แก่

  1. ติดตามตรวจสอบและประเมินแนวโน้มสถานการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อย หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐและประชาชน
  2. เสนอแนะและประสานการทำงานกับหน่วยงานด้านความมั่นคง และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง วางแผนเตรียมการป้องกัน และแก้ไขปัญหา
  3.  เสนอมาตรการและแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ่น
  4. ขอให้เจ้าหน้าที่รัฐ หน่วยงานของรัฐ ช่วยเหลือการปฏิบัติงานของกรรมการ
  5. เชิญบุคคลหรือคณะบุคคลมาให้คำปรึกษา หรือแนะนำการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
  6. แต่งตั้งอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคลเพื่อพิจารณา หรือดำเนินการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย และ
  7. ให้ส่วนราชการ และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนด้านบุคลากรและงบประมาณ ในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการและให้สนับสนุนแก่หน่วยงานรัฐที่ได้รับการ ประสาน ให้ปฏิบัติภารกิจรักษาความสงบเรียบร้อยจากคณะกรรมการ

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุเทพ เทือกสุบรรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ให้สัมภาษณ์ว่า ความเห็นในที่ประชุม ครม. เห็นว่าสถานการณ์ในขณะนี้อาจจะมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดปัญหาความวุ่นวาย ความเสียหายเกิดขึ้นกว้างขวาง จึงสั่งการให้ส่วนราชการต่างๆ ที่มีหน้าที่เตรียมรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องมีคณะกรรมการชุดพิเศษที่ติดตามประเมินสถานการณ์ร่วมกัน โดยมีเลขาธิการ สมช. เป็นเลขานุการของ คตม.

นาย ถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการ สมช. กล่าวว่า คตม. เป็นการดำเนินการเพื่อรักษาระเบียบสังคม รักษากฎหมายความสงบเรียบร้อย โดยจะใช้กฎหมายปกติ และใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายปกครองเป็นหลัก ส่วนกฎหมายพิเศษ หรือกฎหมายความมั่นคง แม้จะให้อำนาจรัฐหลายประการในการดูแลความสงบเรียบร้อยได้ดีขึ้น แต่รัฐบาลตระหนักดีว่า เป็นกฎหมายที่มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ ดังนั้นกฎหมายพิเศษต้องใช้เฉพาะที่จำเป็น และใช้เท่าที่จำกัด ให้กระทบต่อสิทธิเสรีภาพประชาชนน้อยที่สุด ขณะนี้มีการประเมินสถานการณ์ว่า อาจมีความไม่สงบเรียบร้อย มีการยั่วยุหรือมีการชุมนุมเรียกร้องของคนบางกลุ่มอาจมีมือที่สามเข้ามาผสมโรง เป็นสถานการณ์ที่เจ้าหน้าที่ต้องเตรียมการ แต่ยังไม่ถึงขั้นที่จะใช้กฎหมายความมั่นคง เมื่อประเมินสถานการณ์ทุกอย่างแล้ว ฝ่ายความมั่นคงจึงมีมติตั้ง คตม. มาติดตามสถานการณ์เพื่อรายงานสถานการณ์ต่อนายกรัฐมนตรีเป็นระยะ

นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หนึ่งในคณะกรรมการติดตามสถานการณ์ความมั่นคง (คตม.) กล่าวว่า เป้าหมายคือ การใช้กำลังเจ้าหน้าที่ทั้งหมด ไม่ได้เป็นการไปต่อสู้กลุ่มผู้ชุมนุม แต่เป็นการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การดูแลรักษาความปลอดภัยของนายกฯ และบุคคลสำคัญ ต้องทำอย่างเต็มที่จะกลัวคนเหล่านี้ไม่ได้ ส่วนความปลอดภัยของครอบครัว ครม.นั้น ฝ่ายตำรวจได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่ดูแลด้วย รวมไปถึงองคมนตรีและองค์คณะผู้พิพากษา (ดู “ตั้งแล้ว คตม. กุมอำนาจพิเศษ,” ไทยรัฐ, 17 ก.พ. 53 ; “จตุพรเปิดเอกสารลับกวาดล้างแดง พลิกเกมไม่ชุมนุมใหญ่ บิ๊กจิ๋วย้ำสันติวิธี ไม่มีทางอื่น,” ประชาไท , 16 ก.พ. 53)

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ

 

24 กุมภาพันธ์ 2553

นปช. – แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)-แดงทั้งแผ่นดิน ประชุมกันที่ชั้น 6 ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าว และนายวีระ มุสิกพงศ์ ประธาน นปช. ได้แถลงมติดังนี้

  1. สถานการณ์การเมืองในขณะนี้ รัฐบาลพยายามที่จะสร้างภาพลักษณ์ที่เสียหายต่อขบวนการเสื้อแดง โดยไปผูกโยงการเคลื่อนไหวกับคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านบาท ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ โดยสร้างกระแสผ่านสื่อสารมวลชนจนดูว่าบ้านเมืองจะเข้าสู่กลียุคและจะเกิดสงครามกลางเมืองขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเมือง จึงมีมติว่าการอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกา ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์นั้น คนเสื้อแดงจะเดินทางไปฟังหรือไม่ฟังก็ได้ โดยแกนนำ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดแต่ไม่นัดหมายชุมนุม เพื่อไม่ให้ตกหลุมพรางของฝ่ายรัฐบาลที่ต้องการจะใช้วันนั้นก่อเหตุเพื่อนำกำลังออกมาปราบปรามการชุมนุมของคนเสื้อแดง
  2. เสื้อแดงจะเริ่มต้นเคลื่อนไหวใหญ่ “12 มีนาฯ เคลื่อนพลทั้งแผ่นดิน” โดยจะเริ่มเคลื่อนพลจากต่างจังหวัดเข้าสู่กรุงเทพฯ

นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช. กล่าวว่า จะเริ่มชุมนุมที่ท้องสนามหลวงมาตาม ถ.ราชดำเนิน และไม่มีการกำหนดวันยุติการชุมนุม ตั้งเป้ากันว่าประชาชนจะมาร่วมชุนนุมกันนับล้าน แกนนำคนเสื้อแดงจะกำหนดยุทธวิธีเพื่อเอาชนะไปตามสถานการณ์ในขณะนั้น เป้าหมายคือขับไล่รัฐบาลและระบอบอำมาตยาธิปไตย

นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส. สัดส่วนพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า จะเคลื่อนพลเข้าสู่กรุงเทพฯ ถึงเช้าตรู่วันที่ 14 มี.ค. ซึ่งจะใช้วันนั้นเป็นวันประกาศชุมนุมใหญ่ และนับถอยหลังอำมาตยาธิปไตยและรัฐบาล การที่เคลื่อนพลวันที่ 12 มี.ค. นั้นเพราะต้องการแยกออกจากคดียึดทรัพย์ เพราะรู้มาว่าหลังคำพิพากษา 26 ก.พ. ในวันที่ 28 ก.พ. จะมีการก่อวินาศกรรม 8 จุดในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการสร้างความรุนแรงเพื่อป้ายสีคนเสื้อแดง (ดู มติชน, 25 ก.พ. 53, น.2 ; มติชน, 25 ก.พ. 53, น. 1 ; ASTV ผู้จัดการรายวัน, 25 ก.พ. 53 ; โพสต์ทูเดย์, 25 ก.พ. 53 ; บ้านเมือง, 25 ก.พ. 53 ; กรุงเทพธุรกิจ, 25 ก.พ. 53 ; พิมพ์ไทย, 25 ก.พ. 53.)

รัฐบาล – มีการประชุมกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด (กอ.รมน.จว.) ณ สโมสรทหารบก ถ.วิภาวดีรังสิต โดยมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เป็นประธาน ประชุมร่วมกับ พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ในฐานะ ผอ.รมน. พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา รอง ผบ.ทบ. ผล.อ. พิรุณ แผ้วพลสง เสธ.ทบ. ในฐานะเลขาธิการ กอ.รมน. นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการ สมช. และผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ หลังการประชุมเสร็จสิ้นนายสุเทพแถลงผลการประชุมว่า เป็นการประชุมเพื่อซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับกลยุทธ์และยุทธศาสตร์ในการดูแลแก้ไขปัญหาที่คุกคามความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ซึ่งมอบหมายภารกิจให้กับผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะที่เป็น ผอ.รมน.จว. ได้นำไปปฏิบัติ

นายสุเทพกล่าวถึงกรณีที่ นปช. จะเคลื่อนพลเข้ากรุงเทพฯ ว่า หากการชุมนุมไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อนก็สามารถทำได้ แต่ถ้ากลุ่มผู้ชุมนุมปิดทางเข้าออกกรุงเทพฯ รัฐบาลต้องเข้าไปแก้ไขปัญหา

ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการนัดชุมนุมใหญ่ของ นปช. ว่า รัฐบาลจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยนายสุเทพ ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามสถานการณ์ความมั่นคง (คตม.) ติดตามอย่างต่อเนื่อง และจะให้นายสุเทพทบทวนว่าจะคง คตม.ไว้จนวันที่ 14 มีนาคมหรือไม่  (ดู “แดงดีเดย์ชุมนุมใหญ่ 12 มีนา,” มติชน, 25 ก.พ. 53, น.2 ; มติชน, 25 ก.พ. 53, น. 1 ; ASTV ผู้จัดการรายวัน, 25 ก.พ. 53 ; โพสต์ทูเดย์, 25 ก.พ. 53 ; บ้านเมือง, 25 ก.พ. 53 ; กรุงเทพธุรกิจ, 25 ก.พ. 53 ; พิมพ์ไทย, 25 ก.พ. 53)
หมายเหตุ – ดูบทวิเคราะห์การนัดชุมนุมใหญ่ของ นปช. เพิ่มเติมใน “แดงแรง (ไม่) ตก ดีเดย์ 14 มี.ค.บ่มสุกงอม เผด็จศึกอำมาตย์,” มติชน, 25 ก.พ. 53, น. 11

ในนสพ. บ้านเมืองและกรุงเทพธุรกิจยังอ้างแหล่งข่าวจากเสื้อแดงและเพื่อไทยด้วยว่า “จะมีกลุ่มการ์ด นักรบชุดดำ และทหารพราน แทรกซึมเข้ามาดูแลมวลชนทุกกลุ่ม”  (ดู “แดงเป่านกหวีด 14 มีนา ม็อบใหญ่เข้ากรุง,” บ้านเมือง , 25 ก.พ. 53 ; “แดงนัดชุมนุมใหญ่ 14 มีนา,” กรุงเพทธุรกิจ, 25 ก.พ. 53.)

ต่อมาในคอลัมน์รายงานพิเศษ “สี่เกลอ เครียดเปลี่ยนขั้ว-ล้มรัฐ ‘เทพ’-3ป.สู้กองทัพแดงกัยภารกิจ ‘เสธ.แดง’ ที่ดูไบ” ของ สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ให้ข้อมูลว่า เสื้อแดงมีกองกำลังติดอาวุธ มีนักรบชุดดำที่ พล.ต.ขัตติยะ จัดตั้งไว้ พร้อมรับมือเจ้าหน้าที่รัฐ  (ดู “สี่เกลอ เครียดเปลี่ยนขั้ว-ล้มรัฐ ‘เทพ’-3ป.สู้กองทัพแดงกัยภารกิจ ‘เสธ.แดง’ ที่ดูไบ,” คอลัมน์รายงานพิเศษ สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์, 26 ก.พ. – 4 มี.ค.53.)

ต่อมาในวันที่ 26 ก.พ. 53 บางกอกทูเดย์ รายงานว่ามีการทำบัญชีดำเครือข่ายทักษิณ-คนเสื้อแดง 212 รายชื่อ (ดู “Blacklist 212 คนสีแดง โดนระนาว สั่งจับตา-ไม่จับตาย,” บางกอกทูเดย์, 26 ก.พ. 53)

 

26 กุมภาพันธ์ 2553

นปช.

รัฐบาล

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอ่านคำพิพากษายึดทรัพย์ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จำนวน 46,373 ล้านบาท (ดู “ศาลตัดสินยึดทรัพย์ทักษิณ4.6หมื่นล้าน,” คม ชัด ลึก, 26 ก.พ. 53)

หมายเหตุ

 

27 กุมภาพันธ์ 2553

นปช. – นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวระหว่างบันทึกเทปรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ถึงกรณีที่กลุ่มคนเสื้อแดงนัดชุมนุมใหญ่วันที่ 14 มี.ค. ว่ามี 3 เงื่อนไขที่จะยุบสภาคือ เรื่องเศรษฐกิจไม่เป็นปัญหาแล้ว แต่เหลืออีก 2 เรื่อง รัฐธรรมนูญกับเรื่องหยุดใช้ความรุนแรง และถ้าเป็นไปไม่ได้ เราก็ต้องเดินหน้าบริหารบ้านเมืองไปเพราะไม่รู้ว่าจะเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้นทำไม (ดู มติชน, 28 ก.พ. 53)

และรัฐบาลได้เตรียมแผนรักษาความสงบเรียบร้อย ทั้งนี้เชื่อว่า การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงเพื่อต้องการให้เกิดรัฐประหาร และความรุนแรง (ดู สยามรัฐ, 28 ก.พ. 53)

รัฐบาล

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย –  กลางคืน เกิดเหตุขว้างระเบิดลูกเกลี้ยง เอ็ม 67 ใส่ธนาคารกรุงเทพ สาขาสีลม สาขาถนนพระราม 2 ซอย 65 สาขาพระประแดง และสาขาสำโรงเหนือ จ.สมุทรปราการ นอกจากนี้ คนร้ายยังโทรฯ ข่มขู่วางระเบิดที่ธนาคารกรุงเทพ สาขาพุทธมณฑลสาย 4 จ.นครปฐม อีก 1 แห่ง

เวลา 21.45 น. มีคนร้ายขว้างระเบิดเข้าไปบริเวณธนาคารกรุงเทพ สาขาย่อยสีลม ปากซอยสีลม 28 ถนนสีลม เขตบางรัก กทม. ระเบิดเสียงดังสนั่น แรงระเบิดทำให้ผิวถนนด้านหน้าธนาคารเกิดหลุมลึก ตู้โทรศัพท์ด้านหน้าธนาคารเสียหาย รวมทั้งกระจกด้านหน้าของธนาคารแตกหลายจุด จากการสอบสวนเบื้องต้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทราบว่าคนร้ายขี่จักรยานยนต์เข้ามาบริเวณดังกล่าวแล้วขว้างระเบิด ซึ่งคาดว่าเป็นระเบิดลูกเกลี้ยง เข้าไปบริเวณข้างธนาคาร

นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า มีผู้พบระเบิดที่บริเวณที่จอดรถของธนาคารกรุงเทพ สาขาพระราม 2 แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเก็บกู้ได้ทัน (ดู “บึ้มแบงก์กรุงเทพ 2 จุดป่วน กทม.,” มติชน, 28 ก.พ. 53)

หมายเหตุ

 

28 กุมภาพันธ์ 2553

นปช.

รัฐบาล – นายสุเทพ เทือกสุบรรณให้สัมภาษณ์ต่อกรณีระเบิด ธนาคารกรุงเทพว่า “ผมเชื่อว่าเหตุการณ์จะรุนแรงมากกว่าเดือน เม.ย. 2552 เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณต้องการที่จะเอาข้ออ้างไปฟ้องศาลโลก แต่ผมจะระมัดระวังไม่ให้เกิดความรุนแรงใดๆ ขึ้น” นอกจากนี้ยังระบุถึงข้อเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาว่า ในมุมมองของตนไม่เห็นว่าการยุบสภาจะช่วยทำอะไรให้ดีขึ้นได้ อาจมีความขัดแย้งมากขึ้นอีกเพราะต้องไปแข่งกันในสนามเลือกตั้ง นายสุเทพกล่าวอีกว่า ขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องประกาศใช้กฎหมายพิเศษ แต่หากสถานการณ์บานปลายเหมือนสงกรานต์ปีที่แล้วก็ต้องใช้กฎหมายพิเศษเข้าควบคุมสถานการณ์เพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรงจนกระทบกับประชาชนทั่วไป

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

 

มีนาคม 2553

3 มีนาคม 2553
นปช.

รัฐบาล

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – ช่วงกลางดึกของวันที่ 3 มี.ค. ที่ผ่านมา ได้มีคนร้ายเข้าไปขโมยอาวุธสงครามในคลังแสงของกองพันทหารช่างสนาม 401 ค่ายอภัยบริรักษ์ จ.พัทลุง โดยอาวุธสงครามที่หายไปมีจำนวน 3 รายการ คือลูกระเบิดแบบสังหารบุคคล แบบเอ็ม 67 จำนวน 69 ลูก เครื่องกระสุนปืนแบบเอชเค และแบบเอ็ม 16 จำนวนอย่างละ 3,100 นัด

ทั้งนี้ มีรายงานว่า อาวุธสงครามที่หายไปน่าจะเป็นคนกำลังพลภายในหน่วย เนื่องจากสภาพอาวุธสงครามภายในคลังแสงที่เหลืออยู่ไม่มีสภาพของการรื้อค้น แบบกระจัดกระจายเหมือนกับลักษณะการขโมยเหมือนกับการปล้นปืนที่กองพันพัฒนา ที่ 4 จ.ปัตตานี เมื่อปี 2547 ที่ผ่านมา  (ดู “งัดคลังแสงทหารฉกระเบิดกระสุนปืน 6 พันนัด ‘มาร์ค’ รับมีข่าววินาศกรรม รวบผู้ต้องสงสัยบึ้มแบงก์ มหาเถรปรามพระ-ห้ามยุ่ง,” ไทยรัฐ, 7 มี.ค.53)

หมายเหตุ

 

5 มีนาคม 2553

นปช.

รัฐบาล

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – กลุ่มคนเสื้อแดงกว่า 5,000 คน ชุมนุมที่ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา โดยมีแกนนำ นปช. ไปปราศรัยเพื่อระดมคนเดินทางไปร่วมชุมนุมใหญ่ที่กรุงเทพฯ โดย พ.ต.ท. ทักษิณได้วีดีโอลิงค์เข้ามาคุยกับผู้ชุมนุมด้วย

หมายเหตุ

 

6 มีนาคม 2553

นปช. – ที่วัดนวลจันทร์ ย่านบึงกุ่ม นปช.จัดอบรมโรงเรียนผู้นำ นปช. โดยมีแกนนำคนเสื้อแดงมน กทม. นับร้อยคนเข้าร่วม นพ. เหวง โตจิราการ ได้กล่าวว่า การจัดชุมนุมครั้งนี้แกนนำ นปช. ได้มีการวางระบบไว้อย่างรัดกุมที่สุดแทบไม่มีช่องโหว่ใดๆ ที่จะให้ฝ่ายที่ไม่หวังดีเข้ามาแทรกแซงได้เหมือนครั้งสงกรานต์เลือด นอกจากนี้ยังถือเป็นการชุมนุมที่เน้นในเรื่องสันติวิธีเป็นหลัก ไม่มีการใช้กำลังอาวุธ ผู้ชุมนุมและการ์ดจะต้องปลดอาวุธทุกชนิดก่อนเข้ามาร่วม เมื่อคนเสื้อแดงมารวมตัวกันเป็นล้านหรือเกือบล้านแล้ว หากรัฐบาลไม่คิดจะรับฟังเสียงประชาชนเลยก็คงเป็นไปไม่ได้

สำหรับระยะเวลาในการชุมนุมนั้น นพ.เหวง กล่าวว่า เบื้องต้นกำหนดไว้ 7 วัน และเพื่อรักษาความปลอดภัยจะมีการใช้หน่วยการ์ด ที่คัดมาจากตัวแทนคนเสื้อแดงแต่ละจังหวัด ราวหมื่นคน รับหน้าที่ป้องกันมวลชนในพื้นที่ทั้งหมด แต่บริเวณพื้นที่ชุมนุมชั้นใน นปช. จัดชุดหน่วยสันติวิธีสวมเสื้อสีขาว เข้าไปแทรกตามจุดต่างๆไว้ เพื่อเข้าไปเจรจายุติความรุนแรงทุกกรณี

ด้านนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช. กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี เรียก พล.ต.ท. สัณฐาน ชยนนท์ ผบช.น. เพื่อสอบถามความเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงนั้น เป็นเรื่องที่อธิบายได้ชัดว่า การต่อสู้ครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องระหว่างคนเสื้อแดงกับ รัฐบาล แต่เป็นเรื่องของประชาชนกับระบอบอำมาตย์ วันนี้พล.อ.เปรม ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วเพราะการเรียก ผบช.น. มาถามเรื่องความเคลื่อนไหว และสั่งการให้ดำเนินการคนเสื้อแดงนั้น ไม่ใช่หน้าที่ขององคมนตรี ความจริงเป้าหมายที่แท้จริงของคนเสื้อแดงก็คือ พล.อ.เปรม  (ดู “งัดคลังแสงทหารฉกระเบิดกระสุนปืน 6 พันนัด ‘มาร์ค’ รับมีข่าววินาศกรรม รวบผู้ต้องสงสัยบึ้มแบงก์ มหาเถรปรามพระ-ห้ามยุ่ง,” ไทยรัฐ, 7 มี.ค.53)

รัฐบาล – นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่ใกล้จะเริ่มต้นขึ้น ว่าการปิดการจราจรไม่ใช่การชุมนุมโดยสงบตาม รธน. ถ้าเหตุการณ์จำเป็นต้องใช้กฎหมายพิเศษก็จะใช้ และยอมรับว่าจากการข่าวของฝ่ายความมั่นคงมีการประเมินว่าอาจจะมีการก่อวินาศกรรมด้วยในช่วงที่เสื้อแดงชุมนุม ขณะที่ นพ. บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า พรรคประชาธิปัตย์ประเมินความเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงว่า จะเคลื่อนไหวใน 3 รูปแบบสร้างความขัดแย้งนำสู่ความรุนแรง ได้แก่ 1) สร้างข้อมูลเท็จ 2) ยกระดับความรุนแรง และ 3) พาดพิงสถาบันสูงสุดของชาติ  (ดู “งัดคลังแสงทหารฉกระเบิดกระสุนปืน 6 พันนัด ‘มาร์ค’ รับมีข่าววินาศกรรม รวบผู้ต้องสงสัยบึ้มแบงก์ มหาเถรปรามพระ-ห้ามยุ่ง,” ไทยรัฐ, 7 มี.ค.53)

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ

 

8 มีนาคม 2553

นปช.

รัฐบาล – เวลา 14.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (กปภ.ช. นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ประชุมหารือร่วมกับ ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้อำนวยการสำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ของกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมการรับสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล

หลังเสร็จสิ้นการประชุมนายกรัฐมนตรีได้แถลงเนื้อหาในการประชุม นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเหตุผลที่ระงับการเดินทางไปเยือนประเทสออสเตรเลียนในระหว่างวันที่ 13-17 มี.ค. ว่า เมื่อขณะนี้คณะกรรมการที่ติดตามสถานการณ์ความมั่นคงเห็นว่าสถานการณ์มีความจำเป็นที่จะต้องประกาศกฎหมายความมั่นคง ก็คิดว่าภารกิจของตนคงจะต้องดูแลให้การบริหารสถานการณ์ช่วงนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย  (ดู “รัฐบาลหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมรับมือสถานการณ์การชุมนุมในพื้นที่กทม.และปริมณฑล,” กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษกทำเนียบ, 8 มี.ค.53

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ

 

9 มีนาคม 2553

นปช. – นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ในฐานะแกนนำ นปช.กล่าวถึงกรณีที่ ครม. เห็นชอบให้ประกาศใช้ พ.ร.บ. ความมั่นคงว่า คนเสื้อแดงไม่ให้ความสนใจในเรื่องนี้ เพราะ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวมีความศักดิ์สิทธิ์น้อยกว่ารัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ดังนั้นหากมีการสกัดกั้นไม่ให้เข้ามาชุมนุม คนเสื้อแดงย่อมมีสิทธิฝ่าด่านเข้าชุมนุมได้ อีกทั้งการชุมนุมของคนเสื้อแดงขับไล่รัฐบาลเป็นการชุมนุมต่อสู้ด้วยสันติ สงบ อหิงสา จะมีกลุ่มการ์ด นปช. ประมาณ 5,000 คน มาคอยรักษาความปลอดภัย และประสานงานไม่ให้เกิดการกระทบกระทั่ง ดังนั้นถ้าฝ่ายรัฐบาลไม่สกัดกั้น หรือไม่พยายามสร้างสถานการณ์ใส่ร้ายป้ายสี การชุมนุมก็จะเป็นไปอย่างสงบ ด้าน นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช.กล่าวว่าการที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงถือเป็นการกระทำผิดรัฐธรรมนูญ เนื่องจากประชาชนมีสิทธิชุมนุมตามรัฐธรรมนูญ พ.ร.บ. เป็นกฎหมายที่ต้องออกโดยมีีองค์ประกอบตามที่กำหนดคือ ต้องมีสถานการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงอย่างร้ายแรง แต่การที่ประชาชนจะเดินทางมาร่วมชุมนุมโดยใช้รถอีแต๋นนับหมื่นคัน ขอถามว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงอย่างไร ในเมื่อทุกคนที่มาไม่ได้พกพาอาวุธ การประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวยังเป็นการปฏิบัติที่เกินกว่าเหตุ รัฐบาลมีความผิดตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอาญา มาตรา 157 ยิ่งรัฐบาลประกาศใช้กฎหมายที่รุนแรงก็เท่ากับเป็นการราดน้ำมันใส่กองเพลิง

ด้านพรรคเพื่อไทยไม่เห็นด้วยกับการประกาศใช้ พ.ร.บ. ความมั่นคง และมีการกล่าวว่าความรุนแรงจะเกิดขึ้นจากมือที่สาม ซึ่งบัญชาการมาจากลอนดอน (หมายถึงนายเนวิน ชิดชอบ ซึ่งในขณะนั้นบินไปอังกฤษ)

ด้านนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย แถลงว่า พรรคได้ตั้งศูนย์ช่วยเหลือดูแลความปลอดภัยประชาชน (ศชปป.) ขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนที่เดินทางชุมนุม ซึ่งอาจประสบภัยอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงรับเรื่องราวร้องทุกข์ กรณีเกิดพลัดหลงและสูญหาย อีกทั้งให้คำปรึกษาข้อกฎหมายกับประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือถูกกลั่นแกล้ง โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค. จนกว่าการชุมนุมจะยุติในช่วงค่ำ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้วีดิโอลิงค์ไปยังที่ชุมนุมของคนเสื้อแดงในต่างจังหวัดหลายแห่ง

ในเช้าวันเดียวกัน นายคำพอง ซามาตร์ คนเสื้อแดงจากนครพนม ได้ขว้างขี้วัวใส่บ้านพักนายกอภิสิทธิ์ จึงถูกตำรวจจับส่งฟ้องศาลทันควัน ศาลพิพากษาลงโทษกักขัง 10 วัน ไม่รอลงอาญา  (ดู “บ้านนายกฯอีกปาขี้วัวถล่ม,” ไทยรัฐ, 10 มี.ค.53 ; “บุกเดี่ยวปาขี้วัวบ้านมาร์ค,” มติชน, 10 มี.ค.53 ; “แดงนครพนมบุกบ้านมาร์คปาขี้วัวถล่ม,” แนวหน้า, 10 มี.ค.53 ; “เร่งฟ้องเสธ.แดง เทพลั่นก่อเหตุจับ,” ASTV ผู้จัดการรายวัน, 10 มี.ค.53 ; “จับอีกรายที่ 2 ปาอึบ้านนายกฯ,” ข่าวสด, 10 มี.ค.53)

รัฐบาล – คณะรัฐมนตรีมีมติ

  1. เห็นชอบร่างประกาศและร่างข้อกำหนดพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร รวม 3 ฉบับ ในระหว่างวันที่ 11-23 มีนาคม 2553 (เขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและบางอำเภอในเขตปริมณฑล) ตามที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เสนอ ได้แก่1.1 ร่างประกาศ เรื่อง พื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร [ให้เขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 7 จังหวัด (นนทบุรี นครปฐม ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร บางจังหวัดประกาศเฉพาะบางอำเภอ) เป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นผู้รับผิดชอบในการป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และจัดทำแผนการดำเนินการในการบูรณาการ กำกับ ติดตาม และเร่งรัดหน่วยงาน ของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด รวมทั้งจัดตั้งศูนย์อำนวยการหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออื่น เพื่อปฏิบัติภารกิจนี้เป็นการเฉพาะ]1.2 ร่างประกาศ เรื่อง การให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 เป็นเจ้าพนักงานหรือพนักงานหน้าที่ตามกฎหมาย[ให้ กอ.รมน. มีอำนาจดำเนินการตามกฎหมาย 18 ฉบับ]1.3 ร่างข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 [ออกข้อกำหนดที่ให้อำนาจ กอ.รมน. สามารถดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล]
  2. เมื่อเหตุการณ์สิ้นสุดลงแล้ว ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำรายงานผลส่งให้ กอ.รมน. เพื่อรวบรวมเสนอนายกรัฐมนตรี เพื่อรายงานต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาทราบโดยเร็ว ตามมาตรา 15 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ต่อไป

มีรายงานข่าวด้วยว่าในที่ประชุม ครม. นายสุเทพได้สรุปการประเมินสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง โดยได้กล่าวว่า หากผู้ชุมนุมมีจำนวนมากจะไม่เกิดความรุนแรง แต่หากมีจำนวนน้อยหรือมีจำนวนมากแต่ชุมนุมไปแล้ว 7 วันไม่บรรลุเป้าหมาย ก็มีแนวโน้มจะเกิดความรุนแรงสูง ที่หนักใจคือมีคนกลุ่มหนึ่งที่ต้องการใช้ ความรุนแรง ใช้ระเบิดในการสร้างสถานการณ์หรือก่อวินาศกรรม สิ่งเหล่านี้ประชาคมข่าวกรองนานาชาติรู้ดีว่าคนเหล่านี้ไม่ใช่นักประชาธิปไตย แต่เป็นพวกผู้ก่อการร้ายที่ต้องการสร้างภาพทางการเมืองที่เกิดการกระทำรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อนำความเสียหาย การบาดเจ็บเสียชีวิตของคนไปเคลื่อนไหวเรียกร้องต่อในเวทีนานาชาติ
นอกจากนี้ยังมีการกำหนดรัฐมนตรีคณะเล็กจำนวน 9 คน เพื่อประชุมประเมินสถานการณ์ในภาวะฉุกเฉินในการใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกอบด้วย

  1. นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
  2. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
  3. พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์
  4. นายวีระชัย วีระเมธีกุล รองนายกฯ
  5. พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม
  6. นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย
  7. นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน
  8. นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม
  9. นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรฯ

เวลา 14.15 น. นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกฯ ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบการประกาศใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตามที่ คตม.เสนอมา เนื่องจากเห็นว่าสถานการณ์ช่วงตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค. มีแนวโน้มจะเกิดความวุ่นวายทางการเมืองจากการที่มีกลุ่มบุคคลบางกลุ่มประกาศเจตนารมณ์ในการปลุกระดมมวลชน ระดมยานพาหนะจำนวนมาก โดยกำหนดให้มีการชุมนุมและปิดล้อมสถานที่สำคัญใน กทม. และพื้นที่บางส่วนของปริมณฑล ซึ่งมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยในการบริหารราชการแผ่นดิน จึงต้องมีการประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ เพื่อดูแลความปลอดภัยของประชาชนและให้การบริหารจัดการรักษาความสงบมีความเป็นเอกภาพ และได้มอบหมายให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณเป็นผู้บัญชาการสถานการณ์

นายอภิสิทธิ์ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่าอยากให้ผู้มาชุมนุมช่วยพิจารณาดูว่าจะลุกมาสู้เพื่อใคร และเพื่ออะไร รัฐบาลพยายามให้สถานการณ์สงบ ไม่ใช้กำลังเพราะหากมีการใช้กำลัง คนที่จะได้รับประโยชน์คนสุดท้ายคือรัฐบาล รวมทั้งยังมีความเสี่ยงมากขึ้น

ส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์ เวลา 14.00 น. มีการประชุม ส.ส. พรรค นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่าได้รับทราบแนวทางของผู้เตรียมเคลื่อนไหวในการชุมนุมว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรงด้วย 3 เหตุผล คือ

  1. มีการเตรียมการคล้ายกับเหตุการณ์เดือน เม.ย. ที่ผ่านมา
  2. แนวทางการชี้นำของ พ.ต.ท.ทักษิณและ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ในการที่ไม่ยอมรับคำตัดสินยึดทรัพย์
  3. แกนนำปลุกระดมให้คนก่อความรุนแรงอย่างเปิดเผย

และทั้งนี้พรรคห่วงใยใน 5 สถานการณ์คือ

  1. การก่อวินาศกรรม
  2. การโจมตีสถาบันต่างๆ
  3. การสร้างความเข้าใจที่เป็นเท็จว่ารัฐบาลเตรียมปราบปรามผู้ชุมนุม
  4. มีการปล่อยข่าวเรื่องศาสนา
  5. ความเชื่อมั่นต่างประเทศ

ส่วน นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ที่ประชุมวิเคราะห์สถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น โดยประเมินว่าความเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงจะแยกปฏิบัติการเป็นหลายสาย สรุปเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1) ประกาศดำเนินการเปิดเผยโดยมี นปช. เป็นแกนนำ และ 2) กลุ่มที่ไม่เปิดเผย ดำเนินการแบบคู่ขนาน ซึ่งจะมีการวางระเบิด 2 จุดใหญ่ และขว้างระเบิดในพื้นที่หลายจุดเป็นดาวกระจาย นอกจากนี้จะปิดล้อมสถานที่ราชการ จับตัวบุคคลสำคัญของประเทศ

มีรายงานข่าวด้วยว่า ในที่ประชุม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ นายสุเทพได้วิเคราะห์ถึงสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงว่า การข่าวในทางลับที่มีสายในเสื้อแดงแจ้ง ว่าในระดับแกนนำมีการพูดถึงการระเบิด และจะมีการวางระเบิดตึกอาคารขนาดใหญ่หลายจุด รวมถึงจะมีการใช้รถมอเตอร์ไซค์ขว้างระเบิดมือมากถึง 30-40 จุด อย่างที่เคยเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกับเมื่อคืนวันที่ 27 กุมภาพันธ์ เพื่อข่มขวัญและดิสเครดิตรัฐบาล และกดดันให้เกิดการเจรจาต่อรองเพื่อให้นายกฯ ยุบสภาหรือลาออก

บ่ายวันเดียวกัน นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เชิญคณะทูตานุทูต องค์กรระหว่างประเทศ และผู้แทนหอการค้าประเทศต่างๆ ประมาณ 100 คน มาชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองไทย และมาตรการในการดูแลรักษาความปลอดภัย ระหว่างการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง

นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ออกหนังสือด่วนที่สุดลงวันที่ 9 มี.ค. ถึงเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เรื่องการดำเนินการรักษาความปลอดภัยในบริเวณรัฐสภา โดยแจ้งเจ้าหน้าที่รัฐสภาให้หาสถานที่ปลอดภัยจัดเก็บเอกสารสำคัญ ของสภาเพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น พร้อมกำชับให้กวดขันดูแลรักษาความปลอดภัยโดยรอบรัฐสภาเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

พ.ต.อ.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ รักษาการ ผบก.ป. กล่าวภายหลังประชุมคณะทำงานติดตามความเคลื่อนไหวทางการเมืองว่า ขณะนี้ได้ตั้งคณะทำงาน 3 ชุด เพื่อติดตามการชุมนุมของคนเสื้อแดง ได้แก่ กลุ่มที่พกอาวุธ กลุ่มวิทยุชุมชน และกลุ่มผู้ชุมนุมที่เคลื่อนไหวทางการเมือง โดยได้เตรียมเอาผิด พ.ร.บ. การจราจร กรณีหากมีการปิดถนน ไปจนถึงข้อหากบฏหากมีการบุกทำลายสถานที่ราชการ

นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทยกล่าวว่า รมว. มหาดไทยได้สั่งการไปยัง ผวจ. เพื่อให้ดูแลพื้นที่ โดยเฉพาะในภาคอีสานและภาคเหนือ รวมถึงตั้งจุดตรวจดูแลการเดินทางเข้ามาใน กทม. ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบว่ารถที่ขนคนเข้านั้นถูกกฎหมายหรือไม่

นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่ารัฐบาลจะเร่งทำความเข้าใจกับประชาชน 3 เรื่องก่อนถึงวันชุมนุมใหญ่ของกลุ่มเสื้อแดง ได้แก่

  1. จุดยืนของรัฐบาลว่า ไม่ใช่คู่ขัดแย้งกับกลุ่มเสื้อแดง แต่มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
  2. รัฐบาลเคารพการชุมนุมภายใต้รัฐธรรมนูญ
  3. หากการชุมนุมผ่านไปได้ด้วยดี บ้านเมืองจะเดินหน้าไปได้

โดยวันที่10 มี.ค.จะมีการจัดรายการพิเศษทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 11 ให้ผู้แทนหน่วยงานต่างๆมาชี้แจงแผนรับมือกับการชุมนุม นายสาทิตย์ กล่าวด้วยว่า สื่อตกเป็นเป้าหมายหลายแห่ง ดังนั้น สื่อของรัฐทั้งช่อง 5, 9, 11 ต้องระวังตัวและเตรียมแผนดูแลหากเกิดสถานการณ์วิกฤต จะมีการส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงไปอารักขาและตั้งจุดตรวจด้วย
ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย

หมายเหตุ

 

10 มีนาคม 2553

นปช. – พ.ต.ท. ทักษิณส่งข้อความสั้น SMS มายังโทรศัพท์มือถือของสมาชิกที่สมัครรับข้อมูลข่าวสารทาง TSLive ว่า “14 นี้ร่วมทวงคืนประชาธิปไตยและความเป็นธรรมที่หายไป เพื่ออนาคตลูกหลานไทย”

แกนนำ นปช.แถลงที่ชั้น 6 ศูนย์การค้าอิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าว โดยนายจตุพร พรหมพันธุ์ กล่าวว่า ช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา คนในซีกรัฐบาลได้ออกมากุข่าวสร้างสถานการณ์ด้วยการระบุว่าจะมีการวางระเบิด 3-4 จุดใหญ่ และ 40 จุดย่อย รวมทั้งการก่อวินาศกรรม ขอเตือนทั้งนายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ และนายเนวิน ที่ได้ร่วมคิดสร้างสถานการณ์เมษาเลือด (2552) ว่า คนเสื้อแดงจะไม่ยินยอมให้สถานการณ์กลับมาซ้ำรอย และพร้อมที่จะ แหวกด่านมาร่วมชุมนุมภายใต้รัฐธรรมนูญ

บ่ายวันเดียวกัน แกนนำกลุ่ม นปช. ได้ประชุมกันที่ห้องประชุมชั้น 4 ศูนย์การค้าอิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าว เพื่อสรุปแผนและยุทธศาสตร์การเคลื่อนทัพ

ในช่วงเย็น นายโคทม อารียา ผอ.ศูนย์การศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าพบนายวีระ ประธาน นปช. เพื่อนำเสนอเอกสารและแนวทางเรื่องการชุมนุมโดยสันติวิธี นายโคทม กล่าวว่า เสนอให้ทาง นปช. และรัฐบาลร่วมกันป้องกัน ระงับ และบรรเทาความรุนแรง ถ้าต่างฝ่ายยอมรับที่จะร่วมมือกันก็ต้องมีมาตรการที่ชัดเจน ด้วยการตั้งเป็นคณะบุคคลมารับผิดชอบ ในส่วนของรัฐบาลทราบว่ามีการตั้งนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกฯ เป็นตัวแทนแล้ว ในส่วน นปช.มีการเสนอชื่อ นพ.เหวง โตจิราการ ที่รับผิดชอบด้านสันติวิธีมาตลอด เป็นตัวแทนในการประสานงานครั้งนี้

ที่สถานีวิทยุพีเพิลแชนแนลเรดิโอ ห้างอิมพีเรียล ลาดพร้าว มีการเปิดตัวศูนย์ข่าวสื่อประชาธิปไตย หรือ DNN โดยมีนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข บก.นิตยสาร Voice of Taksin เป็นประธานศูนย์ เพื่อเป็นศูนย์รับแจ้งเหตุ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งประสานงานในการชุมนุมใหญ่ของกลุ่ม นปช. รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนที่มาร่วมชุมนุมนำภาพและคลิปวิดีโอมาส่งต่อเพื่อเผยแพร่และเก็บเป็นหลักฐาน โดยมีสถานีวิทยุพีเพิล แชนแนลเป็นแม่ข่าย ส่วนทางเว็บไซต์จะมี www.thailandmirror.com เป็นเว็บหลักในการเผยแพร่ข่าวไปทั่วโลก นอกจากนี้ยังเปิดคอลเซ็นเตอร์ 10 คู่สาย ไว้รับข้อมูล

ช่วงบ่ายกลุ่มคนเสื้อแดงจัดงานทอดผ้าป่าประชาธิปไตย โดยมีนางเยาวเรศ ชินวัตร เป็นประธาน ที่อิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าว เพื่อระดมทุนสนับสนุนค่าน้ำมันให้คนเสื้อแดงมาร่วมชุมนุมใหญ่ที่กรุงเทพ

รัฐบาล – ที่รัฐสภา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (ผอ.รมน.) ได้เรียกประชุมกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) เพื่อเตรียมรับมือการชุมนุมของกลุ่ม นปช. จากนั้นนายอภิสิทธิ์ได้แถลงว่า ที่ประชุมได้มีการอนุมัติแผน หลังจากที่ ครม.ประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล หลักสำคัญที่ได้เน้นย้ำคือการรักษาความสงบเรียบร้อยไม่ให้การชุมนุมมีผลกระทบให้สถานการณ์ลุกลามและกระทบการใช้ชีวิตของประชาชน ส่วนแนวปฏิบัตินั้นจะยึดถือตามแนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2551 ซึ่งกติกาที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่ายยึดถือ เพราะศาลชี้ไว้ชัดว่า การชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธตามรัฐธรรมนูญนั้นเป็นการชุมนุมที่ได้รับการคุ้มครอง แต่ต้องไม่สร้างความหวาดกลัว ข่มขู่ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ รวมทั้งการใช้ชีวิตปกติของประชาชน ซึ่งหากการชุมนุมไม่เป็นไปตามเงื่อนไข เจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปดำเนินการตามกฎหมายได้ ซึ่งศาลชี้ไว้ชัดเจนว่าจะต้องปฏิบัติตามหลักสากลและต้องดำเนินการสมควรแก่เหตุ และที่ประชุมยังเห็นชอบให้ตั้งคณะทำงานประสานงานกับแกนนำผู้ชุมนุม โดยมีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกฯ เป็นประธาน

นอกจากนั้น ในที่ประชุมดังกล่าว ยังมีคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. ความมั่นคงฯ ให้จัดตั้ง “ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย” (ศอ.รส.) เป็นหน่วยขึ้นตรง กอ.รมน. มีภารกิจในการป้องกัน ป้องปราม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคง และให้รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง เป็นผู้อำนวยการ ศอ.รส.  (ดู คำสั่งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ที่ 103/2553 เรื่อง “การจัดตั้งศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย” ลงวันที่ 11 มี.ค. 2553)

ต่อมาเวลา 14.00 น. ที่กองบัญชาการกองทัพบก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง ได้เป็นประธานในการประชุมศูนย์อำนวยการรักษาความสงบ (ศอ.รส.) โดยมี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รองผบ.ทบ. พล.อ.พิรุณ แผ้วผลสง เสนาธิการทหารบก พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผบช.น. พล.ท.คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 และนายทหารระดับผู้บังคับกองพล เข้าร่วมประชุมโดยใช้เวลากว่า 5 ชั่วโมง

จากนั้นเวลา 19.00 น. นายสุเทพพร้อมด้วยคณะกรรมการ ศอ.รส. ได้แถลงข่าวว่า เมื่อนายกฯ ในฐานะ ผอ.รมน. ตั้งตนเป็น ผอ.ศอ.รส. จึงเชิญผู้มีหน้าที่รับผิดชอบมาหารือขั้นตอนรายละเอียดการปฏิบัติ โดยมีข้อกำหนด ได้แก่ มอบหมายให้เจ้าหน้าที่รัฐร่วมปฏิบัติดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย กำลังที่ใช้ทั้งหมดมี 50,000 คน เป็นทหาร 30,000 คน ตำรวจ 10,000 คน และพลเรือน 10,000 คน หากจำเป็นก็จะเพิ่มเติมในช่วงการชุมนม โดย มีเป้าหมายใหญ่คือดูแลรักษาความสงบของบ้านเมืองให้ได้ ให้ประชาชนใช้ชีวิตตามปกติสุข เจ้าหน้าที่จะไม่พกพาอาวุธ ไม่มีเจตนาปราบปรามใคร เจ้าหน้าที่มีอุปกรณ์ป้องกันตัวเองและที่จำเป็นในการระงับเหตุตามหลักสากล คือ โล่ กระบอง แก๊สน้ำตา รถดับเพลิง เว้นแต่ว่าการชุมนุมเกิดมีคนร้ายแฝงมาทำร้ายเจ้าหน้าที่ จะมีตำรวจชุดปฏิบัติการพิเศษหรือหน่วยสวาทเข้าปราบปรามคนร้าย ซึ่งแต่งเครื่องแบบตำรวจชัดเจน นอกจากชุดนี้ไม่มีใครติดอาวุธ ยกเว้นสารวัตรทหารและตำรวจที่ลาดตระเวน

มีข้อกำหนดไม่ให้ผู้ชุมนุมบุกรุกสถานที่ราชการหรือบ้านเรือนทั้งคนธรรมดาและคนสำคัญ เพราะการกระทำแบบนี้ไม่คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 63 ถือเป็นการกระทำผิดกฎหมาย และ ศอ.รส. จะจัดเจ้าหน้าที่เข้าไประงับจับกุมดำเนินคดีทันที

ข้อห้ามอื่นคือต้องไม่พกพาอาวุธมาโดยเด็ดขาด วันที่ 11 มี.ค. เจ้าหน้าที่จะตั้งด่านตรวจค้นอาวุธ ตรวจบัตรประชาชน ตรวจทะเบียนรถ เพื่อไม่ให้นำอาวุธหรือคนต่างด้าวมาร่วมชุมนุม รถที่ห้ามเข้ามาเด็ดขาดคือรถอีแต๋นและรถที่ใช้ทำไร่ทำนา ส่วนรถกระบะที่ขนคนเข้ามาห้ามไม่ให้เข้ามา ยกเว้นรถที่ขนสินค้าเกษตร หากรถปิกอัพที่เข้ามา กทม.ไม่เกี่ยวการชุมนุม การชุมนุมสามารถเข้ามาได้ แต่ต้องแจ้งให้อำเภอที่ตั้งทราบว่ามาทำอะไร ทั้งนี้ หากผู้ชุมนุมนำรถปิกอัพขนคนมา เรากำหนดจุดจอดรถไว้ชานเมือง และจัดรถบัสรับส่งให้เดินทางมาถึงจุดที่ชุมนุม

ตั้งแต่วันที่ 11 มี.ค.เป็นต้นไป ห้ามไม่ให้ใช้วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องขยายเสียงปลุกระดมให้ประชาชนกระทำการใด ที่กระทบต่อความมั่นคงของบ้านเมืองโดยเด็ดขาด

นอกจากนี้ ยังมีสายตรวจพิเศษพลเรือน ตำรวจ ทหาร ตระเวนไปดูแลความสงบเรียบร้อยเต็มพื้นที่ เพื่อป้องกันการวินาศกรรมใน กทม.

และตั้งแต่เวลา 18.00 น. วันที่ 11 มี.ค. เป็นต้นไป ศอ.รส.จะตั้งกองบัญชาการที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์

นอกจากนี้ ยังกำหนดให้ทุกเส้นทางที่ไป รพ.ศิริราช เป็นเส้นทางต้องห้าม สำหรับผู้ชุมนุมชุมนุมทั้งทางบกและทางน้ำ การชุมนุมต้องไม่ให้กระทบและระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท

ในการสนธิกำลังเจ้าหน้าที่พลเรือน ตำรวจและทหาร พล.ท. คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 ได้รับมอบหมายให้กำกับควบคุมการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ในการใช้กำลังรักษาความสงบเรียบร้อย โดยจะสนธิกำลังของพลเรือนตำรวจทหารไปปฏิบัติหน้าที่ด้วยกันในทุกภารกิจ ตั้งแต่คืนนี้ตามจุดยุทธศาสตร์ต่างๆ ที่สำคัญทั่ว กทม.

ที่กรมประชาสัมพันธ์ เวลา 13.00 น. นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เชิญตัวแทนสื่อมวลชนแขนงต่างๆ เข้ารับมอบนโยบายและแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ และฟังบรรยายสรุปการเตรียมความพร้อมในการรับมือในการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง นายสาทิตย์กล่าวด้วยว่า การที่รัฐบาลตัดสินใจใช้ พ.ร.บ. ความมั่นคงฯ เหตุผลใหญ่สุดคือเพื่อรักษาความสงบและไม่ให้เกิดเหตุการณ์รุนแรง ซึ่งด้านการข่าวมีความชัดเจนว่าการชุมนุมครั้งนี้มีแนวโน้มใช้ความรุนแรง ดูได้จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 27 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งมีการขว้างระเบิดธนาคารกรุงเทพและพบว่ามีความพยายามปลุกระดม รวมถึงพบว่ามีบางฝ่ายจะฉกฉวยสถานการณ์ ทั้งนี้เจ้าหน้าที่จะไม่ใช้ความรุนแรง หากเกิดความรุนแรงขึ้น ไม่ใช่การกระทำของรัฐอย่างเด็ดขาด

ที่ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล เวลา 15.30 น. นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันแถลงข่าวชี้แจงสื่อต่างประเทศ เกี่ยวกับการประกาศใช้ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรดูแลการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดง

ที่กระทรวงต่างประเทศ นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ได้เชิญเอกอัครราชทูตสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) เข้าพบ เนื่องจากกระทรวงการต่างประเทศพบว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ใช้ยูเออีเป็นฐานเคลื่อนไหวทางการเมืองในไทย จึงขอความร่วมมือเอกอัครราชทูตยูเออีให้รายงานและประสานกับรัฐบาลยูเออีทราบว่า การเคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในระหว่างวันที่ 12 – 14 มีนาคมนี้ มีเป้าหมายที่จะล้มล้างรัฐบาล ขอให้ยูเออีอย่าอนุญาตให้ พ.ต.ท.ทักษิณ พำนักอยู่ที่ยูเออีโดยเด็ดขาดอย่างไรก็ตาม เอกอัครราชทูตยูเออีรับปากว่าจะนำเรื่องนี้ไปรายงานรัฐบาลให้เร็วที่สุด

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เครือข่าย “หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ความรุนแรง” และกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมต่างๆ นำโดย พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผอ.สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล นักวิชาการ นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ นายกสมาคมนักข่าวฯ ร่วมกันแถลงข่าว “ไม่เอาความรุนแรง” เสนอแนวทางป้องกันความรุนแรงโดยการร่วมกันรณรงค์ “ไม่เอาความรุนแรง” ด้วยการใช้สัญลักษณ์ เช่น ติดธงชาติที่หน้าบ้านหรือที่ทำงาน สวมเสื้อสีขาว ผูกริบบิ้นขาว ใช้ดอกไม้ หรือสัญลักษณ์ใดๆ ที่สื่อถึงสันติภาพและการไม่ใช้ความรุนแรง รวมทั้งขอเชิญประชาชนร่วมกันส่งข้อความ “ไม่เอาความรุนแรง” ไปยังประชาชนกลุ่มต่างๆ เพื่อยับยั้งความรุนแรง และออกแถลงการณ์ ขอให้ทุกฝ่ายไม่ใช้ความรุนแรงต่อกัน รัฐบาลต้องบังคับใช้กฎหมายเท่าที่จำเป็นและเหมาะสมต่อการรักษาความสงบเรียบร้อย เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมการชุมนุมต้องไม่ติดอาวุธ ผู้ชุมนุมต้องอยู่ในขอบเขตของการไม่ใช้ความรุนแรงและไม่มีอาวุธ ต้องไม่ใช้วิธีการที่เป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น นอกจากนี้ในวันที่ 11 มี.ค. ทางเครือข่ายจะการเดินรณรงค์ “หยุดทำร้ายประเทศ หยุดใช้ความรุนแรง” ที่บริเวณห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง และจะรณรงค์ในที่อื่นๆ อย่างต่อเนื่อง

ขณะที่กลุ่ม “ประชาชนผู้ไม่เอาสงครามกลางเมือง” ซึ่งมี น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เป็นผู้ประสานงาน ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 เรื่อง “ทำกรุงเทพให้เป็นบางรัก 14 มีนาคม วันแห่งความรักสันติ” โดยเรียกร้องให้รัฐบาลและผู้ชุมนุมยึดมั่นในสันติวิธี ขอให้ชุมนุมในที่ตั้งไม่กระจายจนปิดกรุงเทพฯ เพราะจะเป็นการยั่วยุทำให้เกิดปัญหาฉุกเฉิน รวมทั้งขอให้ผู้ชุมนุมหยุดให้ข่าวในเชิงสั่งการให้ใช้ความรุนแรง และเรียกร้องให้ประชาชนเป็นหูเป็นตาช่วยระงับเหตุ พร้อมกันนี้ได้นัดหมายประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงรวมตัวกันรณรงค์ที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม แยกปทุมวัน กทม.ในวันที่ 11 มีนาคม เวลา 14.30 น.

ขณะที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าสยาม กลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ได้ออกแถลงการณ์ในนาม “กลุ่มเยาวชนศึกษาสันติวิธี” จัดกิจกรรมการรณรงค์สันติวิธี พร้อมออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ยึดมั่นการปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมในทุกสถานการณ์ภายใต้หลักการสิทธิมนุษยชนสากลอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งต้องหนักแน่นในการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดในกรณีที่จำเป็น เพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพลเมืองส่วนรวม นอกจากนี้ ผู้ชุมนุมจะต้องมีความรับผิดชอบในการจัดการชุมนุมอย่างเคร่งครัดโดยยึดมั่นในหลักการสันติวิธี ใช้สิทธิตามหลักการสากล และขอให้ประชาชนทำหน้าที่นักข่าวพลเมือง ร่วมกันเป็นหูเป็นตา สอดส่องดูแลความสงบสุขเรียบร้อยในบ้านเมือง และแสดงเจตจำนงความปรารถนาสันติสุขในบ้านเมืองด้วยวิธีการต่างๆ ด้วยความเห็นในเชิงสันติวิธี

ที่โรงแรมเรดิสัน ชมรมสมาชิกวุฒิสภา 2543-2549 ได้จัดเสวนาเรื่อง “ทางออกประเทศไทย” โดยมีผู้ร่วมเสวนาเป็นอดีต ส.ว. 43-49 อาทิ นายสุชน ชาลีเครือ ประธานชมรมและอดีตประธานวุฒิสภา นางประทีป อึ้งทรงธรรม อดีต ส.ว.กทม. นายบุญเลิศ ไพรินทร์ อดีต ส.ว.ฉะเชิงเทรา โดยส่วนใหญ่เรียกร้องให้มีการยุบสภา

ฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกนัดประเดิมสนามในวันที่ 13-14 มี.ค. ประกาศเลื่อนโปรแกรมการแข่งออกไปทุกคู่

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ประกาศหยุดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน ตั้งแต่วันที่ 12-14 มี.ค. และจะเปิดเรียนตามปกติอีกครั้งในวันที่ 15 มี.ค.

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ประกาศงดการเรียนการสอนในวันที่ 13-14 มี.ค. และสำหรับคณะที่จะมีการสอบในช่วงเวลาดังกล่าวก็ให้เลื่อนการสอบออกไป

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม โดยเฉพาะวิทยาลัยนาฏศิลปกรุงเทพฯ ประกาศเลื่อนการสอบปลายภาคเรียนที่ 2 เป็นวันที่ 21-23 เม.ย. แทน

ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ได้ออกหนังสือเวียนแจ้งไปยังสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ให้เตรียมการป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อย

หมายเหตุ – สำหรับคำสั่งของศาลปกครองกลางที่นายกฯ อภิสิทธิ์กล่างถึงนั้น เป็นคำสั่งกรณีที่ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการสลายการ ชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ยื่นฟ้องนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี และพล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. ว่ากระทำการขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและมิได้เป็นการบริหารราชการบ้านเมืองโดย หลักนิติธรรมตามมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งศาลพิเคราะห์ว่าการชุมนุมหน้ารัฐสภาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ไม่ใช่การชุมนุมโดยสงบอันจะได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญปี 2550 อีกทั้งการปิดกั้นมิให้การเข้าออกรัฐสภาในวันดังกล่าว เป็นไปเพื่อมิให้คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา อันจะทำให้คณะรัฐมนตรีเข้าบริหารราชการแผ่นดินและการจัดทำบริการสาธารณะเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงมีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าสลายการชุมนุมเพื่อแก้ไขปัญหาการ กระทำของผู้ชุมนุมได้ อย่างไรก็ตาม การกระทำของตำรวจเพื่อสลายการชุมนุมจะต้องกระทำเท่าที่จำเป็นโดยคำนึงถึง ความเหมาะสม มีลำดับขั้นตามหลักสากลที่ใช้ในการสลายการชุมนุมของประชาชน เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่อาจดำเนินการตามอำเภอใจได้ คำสั่งศาลปกครองกลางระบุด้วยว่า โดยปรากฎข้อเท็จจริงเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่า ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมของตำรวจในวันที่ 7 ตุลาคม มีประชาชนเสียชีวิต 1 คน และได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก โดยประชาชนที่เข้าร่วมการชุมนุมจำนวนมากไม่ได้รับทราบการแจ้งเตือนและ มาตรการสลายการชุมนุมของตำรวจ

เวลา 00.15 น. นายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย ได้เดินทางออกจากประเทศไทยไปประเทศอังกฤษ โดยมีผู้ร่วมเดินทางอีก 2 คน คือนายวิชัย รักศรีอักษร เจ้าของ บริษัท คิงเพาเวอร์ และ นายธีรพลนพรัมภา อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สมัยนายสมัคร สุนทรเวชเป็นนายกรัฐมนตรี

ศาลฎีกามีหนังสือลงวันที่ 10 มี.ค. 2553 ถึง พล.ต.ท.วุฒิ ลิปตพัลลภ ผบช.สตม. เรื่องขอให้ถอนรายชื่อบุคคลต้องห้ามออกนอกประเทศ ระบุว่าคดีที่คุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ ตกเป็นจำเลยคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง บัดนี้ศาลมีคำพิพากษาเรียบร้อยแล้ว จึงขอให้ถอนรายชื่อคุณหญิงพจมานออกจากรายชื่อบุคคลต้องห้ามเดินทางออกนอกประเทศ

มีรายงานข่าวว่า น.ส.พินทองทาและน.ส.แพทองธาร ชินวัตร เดินทางออกจากประเทศไทยไปเมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เวลา 23.10 น. ส่วนคุณหญิงพจมาน ดามาพงษ์ และนายพานทองแท้ ชินวัตร เดินทางออกจากประเทศไทยในคืนเดียวกัน โดยมีปลายทางอยู่ที่ฮ่องกง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธานส.ส.พรรคเพื่อไทย ออกเดินทางไปประเทศสิงคโปร์ ใน เวลา 21.20 น.

(ดู “จี้รัฐ-เสื้อแดงยุติรุนแรง,” กรุงเทพธุรกิจ, 11 มี.ค.53 ; “นายกฯ ยันต้องดูแลศิริราช ปลอดภัยระดับสูงสุด,” ไทยรัฐ, 11 มี.ค.53 ; “เรียกสื่อไทย-เทศแจงใช้พรบ.มั่นคง,” ASTV ผู้จัดการรายวัน, 11 มี.ค.53 ; “ยึดสันติวิธี วอนแดงเลิกคิดปิดเมือง โคทมบุกกล่อม นปช.,” คม ชัด ลึก, 10 มี.ค.53 ; “อ้อ-โอ๊คเผ่นฮ่องกง มาร์คเย้ยแม้วทิ้งแดงรับเคราะห์,” ASTV ผู้จัดการรายวัน, 11 มี.ค.53 ; “33 จุดเสี่ยงรัฐจับตาห้าง-สี่แยก พัลลภไม่ยุ่ง-จิ๋วผ่าตา,” คม ชัด ลึก, 11 มี.ค.53 ; “ตร. 5 หมื่นรับมือแดง จ้าง 2 พันปาขวดน้ำมัน,” ASTV ผู้จัดการรายวัน, 11 มี.ค.53 ; “ห้ามแดงทั้งทางบก-ทางน้ำ ผ่านรพ.ศิริราช,” แนวหน้า, 11 มี.ค.53 ; “แดงฮึ่มแหกทุกด่าน ระทึกรถตู้ไล่บี้ขบวนนายกฯ ทหารกระจายกำลังทั่วกรุง,” สยามรัฐ, 11 มี.ค.53 ; “ภาคปชช.ปลุกพลังเงียบ ต้านรุนแรง ติดธงชาติ-ริบบิ้นสีขาว,” แนวหน้า, 11 มี.ค.53 ; “รบ.สั่งปิดวิทยุ-ทีวีปลุกระดม อ้อ-โอ๊คเผ่น,” มติชน, 11 มี.ค.53 ; “ทักษิณโหมไฟสั่งแดงฝ่าด่านเข้ากรุง,” บ้านเมือง, 11 มี.ค.53 ; “สีขาวโผล่แล้วปลุกพลังเงียบ หยุดทำร้ายไทย,” ไทยโพสต์, 11 มี.ค.53 ; “14 มีนา วันแห่งความรักสันติ ภาคสังคมปลุก เรียกร้องไม่เอาความรุนแรง,” มติชน, 11 มี.ค. 53 ; “แดงบุกค่ายทหาร-สน.ยิงทันที,” ไทยโพสต์, 11 มีงค. 53 ; “ริบบิ้นขาวโผล่ตีกิน สร้างภาพเป็นกลางต้านความรุนแรง,” ASTV ผู้จัดการรายวัน, 11 มี.ค.53 ; “ศอ.รส.งัดกฎเหล็กคุมเข้มม็อบแดงยึดกทม.,” ข่าวสด, 11 มี.ค.53 ; “อ้อ-โอ๊คบินนอก’จิ๋ว’หลบ!ผ่าตา-เหลิมก็ไม่อยู่,” ข่าวสด, 11 มี.ค.53 ; “เสื้อแดงใช้ช่องพีเพิลแชนแนลเปิดศึกโต้สื่อรัฐ,” กรุงเทพธุรกิจ, 11 มี.ค.53)

 

11 มีนาคม 2553

นปช. – ที่ห้างอิมพีเรียล ลาดพร้าว มีการประชุมแกนนำ นปช. กำหนดแผนการเคลื่อนไหววันที่ 12 มี.ค. จากนั้นนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช. แถลงว่า กองทัพเสื้อแดงทุกภูมิภาคจะมาถึงกรุงเทพฯ ไม่เกิน 12.00 น. วันที่ 14 มี.ค. คนเสื้อแดงขอสงวนสิทธิ์นำรถเข้ากรุงเทพฯ โดยไม่ต้องขออนุญาตใดๆ แล้ว เที่ยงวันที่ 14 มี.ค. จะเปิดเวทีปราศรัยเป็นทางการ นายวีระ มุสิกพงษ์ประธาน นปช. จะนำอ่านแถลงการณ์ “โค่นรัฐบาลอำมาตย์ ยุบสภา” ประกาศข้อเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ยุบสภา ถ้าผ่านวันที่ 14 มี.ค.ไปแล้วรัฐบาลยืนยันจะอยู่ต่อ นปช.จะยกระดับการชุมนุมการต่อสู้จนกว่าจะคืนอำนาจให้ประชาชน

“รัฐบาลชุดนี้เป็นสัญลักษณ์ของการใช้อำนาจระบอบอำมาตยาธิปไตยเหนือประชาธิปไตย ผมยืนยันว่า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และพรรคประชาธิปัตย์ ได้มาเป็นรัฐบาลวันนี้เพราะขบวนการของอำมาตย์ที่เคลื่อนไหวมาก่อนวันที่ 19 กันยายน 2549 การผลักดันให้อภิสิทธิ์ขึ้นเก้าอี้นายกฯ คือการแสดงว่าพลังของอำมาตยาธิปไตยในประเทศนี้ยิ่งใหญ่เหลือเกิน

 

สิ่งที่เราต้องการคือให้ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริงและอำมาตย์ต้องถอยไป เราไม่มีการประกาศสงครามครั้งสุดท้ายและไม่มีการประกาศชัยชนะในระหว่างการ ต่อสู้ เราพร้อมที่จะแพ้ทุกวัน แต่ขอชนะแค่วันเดียว ครั้งเดียว คือโค่นล้มอำมาตย์ แต่ขั้นแรกรัฐบาลต้องไปก่อน

 

การล้มรัฐบาล ชุดนี้เป็นการเข้าประชิดตัวกระบวนการต่างๆ เป็นหลักกิโลเมตรแรก ยุบสภาแล้วก็ให้มีการเลือกตั้ง แล้วเราก็จะใช้พลังของเราเคลื่อนไหวในสนามเลือกตั้งเพื่อช่วงชิงเอาอำนาจรัฐ มาไว้กับนักการเมืองที่เราไว้ใจ แล้วพรรคการเมืองที่ได้อำนาจรัฐมาก็ต้องใช้อำนาจนั้นในการสร้างประชาธิปไตย นี่คือหลักกิโลเมตรต่อไป” ณัฐวุฒิกล่าว

ด้านนายจตุพรยืนยันว่า กลุ่มเสื้อแดงจะไม่ใช้ความรุนแรง จะยึดสันติวิธี หากมีความรุนแรงก็เป็นเพราะรัฐบาลสร้างสถานการณ์เอง และเมื่อเสียงปืนนัดแรกดังขึ้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเตรียมหาประเทศใหม่อยู่และรัฐบาลเตรียมนับถอยหลังได้เลย นอกจากนี้นายจตุพรยังอ้างว่า เมื่อคืนที่ผ่านคนในบ้านสี่เสาเทเวศร์เรียก ผบช.น.เข้าพบและสั่งให้ดำเนินการกับแกนนำเสื้อแดง ข้อมูลดังกล่าวได้มาจากนายตำรวจระดับนายพลคนหนึ่ง ซึ่งหากเป็นความจริงเท่ากับว่าพล.อ.เปรม ออกโรงบัญชาการเองอย่างเต็มตัว

เวลา 14.30 น. ที่สำนักงาน ป.ป.ช.นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ยื่นหนังสือถึง ป.ป.ช.ให้เอาผิดทางอาญากับนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ กรณีออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่รัฐตั้งด่านสกัดผู้ที่จะมาชุมนุม ซึ่งเป็นการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เข้าข่ายเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

รัฐบาล – เวลา 10.00 น. ที่กองบัญชาการกองทัพบกนายสุเทพ ในฐานะผู้อำนวยการ ศอ.รส. เป็นประธานประชุมเตรียมพร้อมการรักษาความสงบการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดง จากนั้นมีการแถลงข่าว โดยได้นำเจ้าหน้าที่แต่งเครื่องแบบต่างๆ ทั้งหน่วยอรินทราช ตำรวจจราจร สายตรวจ และหน่วยปะฉะดะ มาให้สื่อมวลชนบันทึกภาพเพื่อให้ประชาชนทราบว่าเจ้าหน้าที่แต่ละชุดแต่งกายอย่างไร พร้อมทั้งยืนยันด้วยว่า การตั้งด่านไม่ได้ต้องการสกัดผู้ชุมนุม แต่ทำเพื่อตรวจค้นอาวุธเท่านั้น แต่หากผู้ชุมนุมไปบุกรุกเคหสถานหรือสถานที่ราชการจะเข้าสลายการชุมนุมทันที ซึ่งการสลายการชุมนุมจะทำตามหลักสากล นายสุเทพกล่าวว่า ตั้งแต่มีการประกาศพื้นที่ กทม. และปริมณฑลเป็นพื้นที่ความมั่นคง รถอีแต๋นจะเข้ามาไม่ได้เด็ดขาด รถกระบะที่บรรทุกขนคนก็เข้ามาไม่ได้ ยกเว้นผู้ที่เดินทางทำกิจธุระตามปรกติ แต่ต้องมีหนังสือรับรองจากอำเภอในภูมิลำเนาติดตัวมาด้วย ส่วนเรื่องสถานีวิทยุและโทรทัศน์ที่มีการปลุกระดมนั้น ให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม และสภาความมั่นคงแห่งชาติ ตั้งคณะทำงานพิเศษขึ้นมาติดตาม

พล.ร.ต. นริศ ประทุมสุวรรณ เลขานุการกองทัพเรือ แถลงถึงการจัดกำลังกองทัพเรือรักษาความปลอดภัยบริเวณ ร.พ. ศิริราช และแจ้งว่า ศอ.รส. กำหนดพื้นที่ห้ามใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ โดยรอบ ร.พ.ศิริราช เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ และประกาศให้ท่าเรือร.พ.ศิริราช ท่าวังหลัง ท่าช้าง ท่าพระจันทร์ ท่าราชนาวีสโมสร ท่าราชนาวิกสภา ท่านิเวศวรดิษฐ์ และท่าราชวรดิฐ เป็นท่าเรือที่ห้ามไม่ให้เรืออื่นใดที่ไม่ใช่เรือโดยสารประจำท่าจอดรับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสิ่งใดๆ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ และกำหนดพื้นที่เขตวัดอรุณราชวรารามถึงบางกอกน้อยเป็นพื้นที่ควบคุมพิเศษ จึงขอให้เรือที่สัญจรที่จะผ่านในพื้นที่ดังกล่าวใช้เส้นทางชิดฝั่งพระนคร ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบกและโฆษก ศอ.รส. กล่าวชี้แจงเรื่องการห้ามใช้ถนนบริเวณรอบทำเนียบและบริเวณแยกสี่เสาเทเวศร์ ซึ่งจะเริ่มจัดวางอุปกรณ์ปิดเส้นทางจราจรในคืนวันที่ 11 มี.ค.

นายมานิต วัฒนเสน ปลัดกระทรวงมหาดไทย ทำหนังสือด่วนที่สุดถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ให้ตั้งจุดตรวจค้นอาวุธสงครามหรือสิ่งผิดกฎหมาย โดย และให้เข้มงวดกวดขันรถที่ใช้ในการเกษตร (อีแต๋น) ไม่ให้วิ่งบนพื้นผิวทางหลวงทุกประเภทโดยเด็ดขาด หากฝ่าฝืนให้จับกุมดำเนินคดีตามกฎหมาย ส่วนรถยนต์บรรทุกสินค้าและพืชผลทางการเกษตร หรือการพาณิชย์ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจตรวจสอบตามความเหมาะสม

ในการประชุมสภาพิจารณากระทู้ถามสด นายอภิสิทธิ์ชี้แจงเรื่องการประกาศใช้ พ.ร.บ. ความมั่นคงฯ ว่า การประกาศใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรไม่เหมือนกับการประกาศ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพราะการประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ นั้น มุ่งป้องปรามเหตุ ไม่ใช่การปราบปราม ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการประกาศใช้ใน กทม. ชะอำ ภูเก็ต หัวหิน ก็ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน และรัฐบาลจะเปิดเผยข้อมูลให้สื่อได้ติดตามอย่างโปร่งใส ถ้าทุกคนอยู่ในกรอบกฎหมายก็สามารถจะผ่านเหตุการณ์นั้นไปได้ นายกรัฐมนตรีย้ำว่า รัฐบาลจะดำเนินการทุกวิถีทางไม่ให้สถานการณ์บานปลาย และตนไม่เคยปิดทางยุบสภาหรือลาออก แต่การตัดสินใจของตนจะอยู่บนประโยชน์ของส่วนรวมที่เป็นทางออกทำให้บ้านเมืองสงบสุข เดินหน้าได้ ไม่มีความขัดแย้ง หรือกระทบต่อระบบ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และระบอบประชาธิปไตย

นายกฯ ชี้แจงด้วยว่า การออก พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ไม่ได้จำกัดสิทธิการชุมนุม แต่เพื่อให้การชุมนุมเรียบร้อย ส่วนที่ว่ารัฐบาลหวังสร้างสถานการณ์รุนแรงเพื่อไปสู่การรัฐประหารนั้นไม่จริง

“ผมเห็นด้วยว่าประชาชนส่วนใหญ่เข้ามาไม่ได้มีเจตนาเกินเลยสิทธิตามรัฐธรรมนูญ แต่แกนนำบางคนรับรองได้หรือไม่ว่าการชุมนุมจะปราศจากอาวุธ เพราะมีการพูดถึงตัวเลขผู้ชุมนุม 1 ล้านคน กับขวดน้ำมัน 1 ล้านลิตร [หมายถึงคำปราศรัยของนายอริสมันต์บนเวทีชุมนุมใหญ่ “รวมพลคนเสื้อแดงอีสาน เช็คกำลังพล เตรียมความพร้อมร่วมสู้ศึกครั้งสุดท้าย เพื่อเอาคนดีกลับกลับเมืองไทย และทวงคืนประชาธิปไตยกลับคืนมา”” ที่ จ.ขอนแก่น วันที่ 31 ม.ค. 53] ซึ่งจะทำให้กรุงเทพฯ เป็นทะเลเพลิง นี่คือความสงบหรือไม่ ผมไม่ได้ห่วงรัฐบาล แต่ห่วงประชาชน ห่วงระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลนี้ไม่ได้ประโยชน์อะไรทั้งสิ้นหากเกิดจลาจล คนที่อยากให้เกิดคือคนที่ต้องการล้มล้างรัฐบาล หรือล้มล้างมากกว่ารัฐบาล”

บริเวณบ้านพักนายกรัฐมนตรีมีการวางกำลังรักษาความปลอดภัยแน่นหนาขึ้น ส่วนที่ทำเนียบรัฐบาลมีกำลังทหารจากหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ จ.ลพบุรี จำนวน 2กองร้อย เข้าประจำการรักษาความปลอดภัย ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ได้ทยอยเก็บเอกสารสำคัญ เตรียมย้ายไปสถานที่สำรองหากทำเนียบถูกปิดล้อม

กระทรวงศึกษาธิการประกาศเลื่อนการรับสมัครนักเรียนชั้น ม.1 และ ม.4 ระหว่างวันที่ 13-17 มี.ค. ในจังหวัดที่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ทั้งนี้ รวมถึงยกเลิกการรับสมัครทางเว็บไซต์และทางไปรษณีย์ของโรงเรียน 12 แห่งในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นในตามที่ได้มีการประกาศเพิ่มช่องทางไปก่อนหน้านี้ด้วย

ฝ่ายที่สาม/ไม่ทราบฝ่าย – สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยออกแถลงการณ์ว่า การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ควรกระทำผ่านสถาบันประชาธิปไตยของไทย ไม่ใช่ด้วยการใช้ความรุนแรง การประท้วงอย่างสันติถือเป็นเครื่องหมายของสังคมประชาธิปไตย เราเรียกร้องให้ผู้ประท้วงและแกนนำปฏิเสธการใช้ความรุนแรง และใช้สิทธิในการชุมนุมและการประท้วงโดยสันติตามที่ระบุไว้ในกฎหมาย นอกจากนี้ เราขอให้รัฐบาลไทยใช้ความอดทนอดกลั้นต่อผู้ประท้วงด้วย

เครือข่ายหยุดทำร้ายประเทศไทยหยุดใช้ความรุนแรง พร้อมกลุ่มแนวร่วมนิสิตนักศึกษา สวมเสื้อสีขาวออกเดินรณรงค์ที่บริเวณสี่แยกปทุมวัน โดยมีการมอบพวงมาลัยดอกไม้และธงชาติติดป้ายข้อความ “ไม่ใช้ความรุนแรง” แก่ผู้ที่สัญจรไปมา

นายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง กรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้นำหนังสือจากสมาคมนักข่าวและปลอกแขนสีเขียวที่มีสัญลักษณ์ของสมาคมนักข่าวฯ ไปมอบให้นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. เพื่อแจ้งต่อไปยังแกนนำ นปช. การ์ด และผู้ชุมนุมรับทราบตรงกันว่า ในการทำข่าวการชุมนุมครั้งนี้สื่อมวลชนทุกแขนงจะสวมปลอกแขนดังกล่าวเป็นสัญลักษณ์ของสื่อมวลชน ขอให้อำนวยความสะดวกในการทำข่าวด้วย

น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ได้กล่าวผ่านรายการสภาท่าพระอาทิตย์ของสถานีเอเอสทีวี เตือนรัฐบาลว่าไม่ควรประมาท เพราะเชื่อว่าจะรุนแรงกว่าเหตุการณ์เดือน เม.ย. 2552 สิ่งที่ต้องระวังคือการยิง ปาระเบิด เป้าหมายการชุมนุมครั้งนี้มี 3 อย่าง คือ ล้มอำนาจรัฐ จัดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารปกครองอำนาจเบ็ดเสร็จ และสถาปนารัฐไทยใหม่ ส่วนจะสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลที่มีกำลังพล อาวุธ และกฎหมายอยู่ในมือ

เวลา 15.00 น. ที่ห้องรับรองอาคารรัฐสภา นายโคทม อารียา เข้าพบนายอภิสิทธิ์ พร้อมยื่นหนังสือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ให้คำมั่นว่ารัฐบาลจะไม่สลายการชุมนุม และไม่มีนโยบายปราบปรามหรือสร้างสถานการณ์ใดๆ ถ้าจำเป็นที่รัฐบาลต้องใช้กำลังก็จะไม่ใช่การเข้าไปสลายการชุมนุม แต่เข้าไปดำเนินการตามกฎหมายเพื่อรักษาความสงบและทำให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อย

เวลา 10.45 น. ทนายคารม พลพรกลาง พร้อมคณะ ในนามเครือข่ายนักกฎหมายเพื่อประชาธิปไตยและต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (คปต.) ยื่นหนังสือผ่านนายประชา ประสพดี ประธานคณะกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนฯ เพื่อให้ตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล เพราะการประกาศใช้ พ.ร.บ. ความมั่นคงเกรงจะเกิดเหตุใช้กำลังทหารเข่นฆ่าประชาชนเหมือนเดือน เม.ย.2552

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)ออกแถลงการณ์ว่า กสม. มีความห่วงใยอย่างยิ่งต่อการนัดชุมนุมในวันที่ 12 มี.ค. นี้ ซึ่งกำลังเป็นที่วิตกและหวั่นเกรงในหมู่ประชาชนอย่างกว้างขวางว่าอาจนำไปสู่สถานการณ์ที่รุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในสังคมประชาธิปไตย การแสดงความเห็น การรวมตัว และการชุมนุม เป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลซึ่งรัฐธรรมนูญได้ประกันเสรีภาพไว้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ ต้องเป็นไปโดยสงบและปราศจากอาวุธ กสม. จึงขอวิงวอนให้ทุกฝ่ายยึดมั่นในสันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรง เคารพสิทธิและเสรีภาพซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ กสม. กำลังเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินงานของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ พฤติกรรมการชุมนุมที่จะทำให้เกิดการละเมิดสิทธิและเสรีภาพ

“เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ” ออกแถลงการณ์ชวนสังคมไทยตั้งสติ เพื่อก้าวข้ามวิกฤตประเทศ ยึดแนวทางหัวใจความเป็นมนุษย์

พรรคการเมืองใหม่แจกคู่มือต่อต้านการจลาจล
หมายเหตุ – เวลา 11.20 น. ที่สำนักงานฝ่ายคดีอาญา 9 ถนนรัชดาภิเษก พนักงานสอบสวนกองปราบปรามได้ควบคุมตัว พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก พร้อมสำนวนการสอบสวน ไปมอบให้พนักงานอัยการ เพื่อพิจารณาสั่งฟ้อง พล.ต.ขัตติยะ ในความผิดฐานครอบครองอาวุธปืนโดยผิดกฎหมาย เนื่องจากเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 53 เจ้าหน้าที่ตำรวจสนธิกำลังกับทหาร เข้าตรวจค้นบ้านพัก พล.ต.ขัตติยะ ในกองพันทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ (พัน ม.4 รอ.) และจากการตรวจค้นในรถตู้ยี่ห้อเบนซ์ หมายเลขทะเบียน ศข 121 กทม.พบระเบิดลูกเกลี้ยงเอ็ม 26, เอ็ม 79, อาวุธปืนขนาด.32 และกระสุนปืนจำนวนมาก ต่อมา วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พล.ต.ขัตติยะได้เข้ามอบตัวกับพนักงานสอบสวนกองปราบปราม พร้อมให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ทั้งนี้พนักงานอัยการนัดสั่งคดีว่าจะฟ้องหรือไม่ในวันที่ 22 เม.ย.

ต่อมา เวลา 16.00 น.เจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปราม พร้อมหน่วยคอมมานโด อาวุธครบมือ นำสำนวนคดีบุกยึดสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ ใส่รถกระบะมาเตรียมยื่นขอศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย (พธม.) ผู้ต้องหา กระทั่ง 16.30 น. พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาราชการแทน ผบ.ตร. แจ้งว่าไม่มีคำสั่งออกหมายจับ ขณะที่คดีอยู่ระหว่างสอบสวนสำนวนเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปรามจึงต้องเดินทางกลับ

มีรายงานข่าวด้วยว่าภริยาและบุตรของนายกรัฐมนตรีได้เดินทางออกไปพักที่หัวหินแล้ว ส่วนตระกูลชินวัตรที่มีบทบาทในพรรคเพื่อไทย อาทิ นางเยาวภา และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ได้เดินทางออกนอกประเทศไปแล้วเช่นกัน

(ดู “ทูตสหรัฐฯแถลงดักคอนปช.ยุติแผนรุนแรง,” แนวหน้า, 12 มี.ค.53 ; “ชงอัยการฟัน เสธ.แดงซ่องสุมอาวุธสงคราม,” แนวหน้า, 12 มี.ค.53 ; “สุเทพสั่งสกัดรถปิกอัพเข้ากรุงต้องขอใบอนุญาต,” โลกวันนี้, 12 มี.ค.53 ; “ทูตมะกันเตือนแดงอย่ารุนแรง,” โพสต์ทูเดย์, 12 มี.ค.53 ; “หมายจับ พธม. ยึดสนามบิน-โดนเบรก,” ข่าวสด, 12 มี.ค.53 ; “โชว์เครื่องแบบคุมม็อบ สกัดมือที่สามป่วน,” โพสต์ทูเดย์, 12 มี.ค.53 ; “พรึบวันนี้ 7 จุดกรุงดีเดย์แดงขีดเส้นยุบสภา,” ข่าวสด, 12 มี.ค.53 ; “นายกฯ-ขุนทหารปักหลักร.11รับมือม็อบแดง,” ไทยรัฐ, 12 มี.ค.53 ; “สงค์ปูดแดงเผาเมืองฮาร์ดคอร์ปาบึ้มป่วน,” พิมพ์ไทย, 12 มี.ค.53 ; “ผ่าแผนยึดเมืองกรุง วันม็อบเสื้อแดงชุมนุมใหญ่,” มติชน, 12 มี.ค.53 ; “เตือนสติแดง-รัฐบาล ใช้สันติวิธี,” ข่าวสด, 12 มี.ค.53 ; “กระจาย 6 จุด แดงบุกกรุง รัฐบาลสั่งอารักขาเข้มศิริราช,” เดลินิวส์, 12 มี.ค.53 ; “มาร์คยันไม่รุนแรง สหรัฐจี้ นปช. ยึดสันติวิธี สื่อคาดแขนเขียวทำข่าว,” คม ชัด ลึก, 12 มี.ค.53 ; “ขีดเส้น15 ม.ค. ปิดกรุง แดงขู่มาร์คต้องยุบสภา,” ไทยโพสต์, 12 มี.ค.53 ; “อารักขาเข้มศิริราช ต้านสงครามกลางเมือง,” ASTV ผู้จัดการรายวัน, 12 มี.ค.53 ; “ทูตมะกันเต้นต่อต้านรุนแรง ชาวเน็ตขอสันติ,” ไทยโพสต์, 12 มี.ค.53 ; “อารักขาศิริราช 3 หมู่เรือ 4 กองร้อย ทร.แดงขู่หลัง14 มี.ค. แตกหัก,” คม ชัด ลึก, 12 มี.ค.53 ; “แม้วจาบจ้วงในหลวง เปิดใจแค้นอำมาตย์,” ASTV ผู้จัดการรายวัน, 12 มี.ค.53)

Next>>>